www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

UTTARADIT

UTTARADIT : General Information

      A province in the Lower North, Uttradit has a long history developing through the years since pre-historic time.
      
avisthailand


       The site of the original town, then called Bang Pho Tha It, was located on the right bank of the Nan River. It flourished as a port for goods transportation. As a result, King Rama V elevated its status into a province and re-named it Uttradit, literally the Port of the North.

      Uttradit is located 491 kilometres from Bangkok and covers an area of 7,838 square kilometres and is divided into the following districts: Muang, Tron, Laplae, Phichai, Tha Pla, Nam Pat, Fak Tha, Ban Khok, and Thong Saen Khan.


UTTARADIT : How to get there
By Car

1. From Bangkok, take Highway No. 1 (Phahonyothin) and Highway No. 32 to Nakhon Sawan via Ayutthaya, Ang Thong, Sing Buri, Chai Nat, then use Highways No. 117 and No. 11 to Uttaradit via Phitsanulok.

2. From Bangkok, drive to In Buri, then turn into Highway No. 11 (In Buri-Tak Fa route) and proceed to Uttaradit via Phitsanulok.

By Bus

Air-conditioned buses and non air-conditioned buses depart from Bangkoks Mochit 2 Bus Terminal to Uttaradit daily. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information. Private bus companies which operate daily bus services to Tak are such as Win Tour (Tel: 0 2936 3753-4), Choet Chai Tour (Tel: 0 2936 0199).

By Rail

Trains depart from Hua Lamphong to Uttaradit every day. Contact Bangkok Railway Station Tel. 1690, 0223 7010, 0 2223 7020 or visit www.railway.co.th for more information.

UTTARADIT : Activities

Khlong Tron National Park

Klong Tron National Park is situated in an approximate area of 518.80 square kilometers, covering the areas of virgin forests in Thongsaengkhan District, Nam Pad District of Uttaradit Province. Apart from large canals and gullies, the National Park also has beautiful natural sightseeing spots including Huai Niam Waterfall, Kokmonkaew Waterfall, Tham Jan, Tham Jedee, Tham Suadao, Tham Phatang, Kao Phumiang, as well as cliffs, and provides recreational facilities.

Klong Tron National Park is situated in an approximate area of 518.80 square kilometers, covering the areas of virgin forests in Thongsaengkhan District, Nam Pad District of Uttaradit Province. Apart from large canals and gullies, the National Park also has beautiful natural sightseeing spots including Huai Niam Waterfall, Kokmonkaew Waterfall, Tham Jan, Tham Jedee, Tham Suadao, Tham Phatang, Kao Phumiang, as well as cliffs, and provides recreational facilities. It consists of high and low mountains. Major mountains of the National Park include Kao-phumiang, Kao-kwumrua, Kao-ngairua, Kao-samliam, Kao-yuak, Kao-thanon, Kao-daed, Kao-maipha, Kao-takbon, Kao-namyai, Kao-phakkhuang, Kao-jan. Kao-phumiang is the highest mountaintop (1,500 meters above the medium sea level) located in the east of the National Park, and being the source of major gullies flowing westward into the Nan River.

Attractions in National Park are as follow:

- Kaojedee Kaojedee is a beautiful and unique pagoda-shaped stony mountain, situated approximately 500 meters away from Thamjan.

- Chan Cave or Tham Jan a medium-sized, 15-meter-wide cave, situated in the right-hand side of Klongtron National Conserved Forest, within the areas of Tambon Phak-khwa and Tambon Thongsaengkhan, at the depth of 200 meters from the cave entrance. The Cave cannot be accessed by car.

- Klong Tron Waterfalls Originating from Klong Tron Gully, the Klong Tron Waterfalls consist of two separate waterfalls, including a 4-step, 20-meter-high waterfall, situated approximately 1,500 meters away from the other 30-meter-high waterfall. Tourists have to access the Waterfalls by walking due to unavailability of vehicle routes.

- Pha Phu Miang Pha Phu Miang is a beautiful and unique large-sized cliff, situated between Ban Tonkhanun and Ban Bangkhampom (approximately 10 km away from the village). When overlooking from the cliff, tourists are able to have a view of the whole village. Tourists have to access the cliff by walking due to unavailability of vehicle routes.

How to get there : by car ; From Muang District of Uttaradit Province, you may take Highway No.11 to Ban Nam Ang of Tron District, and take Highway No.1047 to Nam Pad District (Total distance from Muang District to Nam Pad District is 70 km).

Admission Fee: Adult 200 Baht Child 100 Baht

Accommodation : National Park provides Bungalow and tent for tourists.

For more information please call +66 2562 0760. or website : www.dnp.go.th

Remarks: National Park closed during September 1- October 31 of each year.

Khuean Sirikit

Khuean Sirikit at Tha Pla district some 68 kilometres from town on the Uttaradit-Tha Pla Road, is the countrys large earthen dam. Built to dam up the Nan River, the dike is 800 metres long. Beyond the dam is a large lake with beautiful scenery. During the cool season, the attractively landscape terrain bursts out in a profusion of colourful flowers and blooms. There are accommodation and boating services available.

Wat Yai Tha Sao

To the east of town about three kilometres away on Samranrun Road is Wat Yai Tha Sao. It features and old chapel with beautiful wood-carved door panels and lintels.

Wat Thamma Thipatai

Wat Thamma Thipatai at In Chai Mi intersection is where the door panels of the large and ancient Vihan of Wat Phra Fang are kept. The panels, made of wood, measure 2.2 metre wide x 5.3 metre high. The carved design is of the graceful style of the Late Ayutthaya Period. They are rated as the second best such creation next only to those at Wat Suthat in Bangkok.

Wat Phra Thaen Sila At
A little further from Wat Phra Yun, some 14 kilometres from town is Wat Phra Thaen Sila At. The major feature is the base of a sermon platform built with laterite. The square slab with pattern is believed to have been made during the Sukhothai Period. Annual celebrations are held at the three temples in February.

Namtok Mae Phun

The Mae Phun waterfall, located at Ban Ton Klua, is about twenty kilometres from town. The dam-like barrier creates multi-level cascades amid pleasant natural surroundings.

Bo Lek Nam Phi

Bo Lek Nam Phi is the source of the best quality steel which was used to fashion swords and weapons in the past. Today, there are still two "wells" in existence. Ores from these two sources are believed to have been used to make swords for kings only. This ancient site can be reached by going for a distance of 42 kilometres to Thong Saen Khan district and continue for another 14 kilometres on Highway 1245.

Sak Yai Forest Park

The Sak Yai Forest Park in Nam Pat district about 80 kilometres from town on Highways Nos. 1045, 1146 and 1047, features the largest teak tree in the world. It has a circumference of 9.87 metres and is believed to be about 1,500 years old. Unfortunately, its top has been broken of by storm but the trunk still stands.

Phu Soi Dao National Park

Phu Soi Dao National Park covers an area of 149,375 rai and Amphoe Ban Khok, Amphoe Nam Pat, Uttaradit, and Amphoe Chat Trakan, Phitsanulok. Geographically, it consists of high mountains along the Thai-Lao border, whose summit is Phu Soi Dao which is 2,102 metres above sea level. Its topography consists of high mountains covered with undulating hill evergreen forest with prairie and pine forest such as the forest of Son Sam Bai (Pinus Kesiya). It is cool nearly all year with various kinds of wild flowers such as Ngon Nak (Murdannia giganteum) and Dok Din (Aeginetia indica), which grow in the pine forest of Phu Soi Dao. The national park can be visited all year. However, colourful flowers bloom during the rainy season. It is recommended to visit the park at the end of the rainy season and at the beginning of winter. Interesting attractions in the park are Namtok Phu Soi Dao, Lan Son and Namtok Sai Thip.

To get there: From Uttaradit, take Highway No. 1045. Pass Sirikit Dam to Amphoe Nam Pat, a distance of 68 kilometres. Then, take Highway No. 1239 to Ban Huai Mun for 47 kilometres. From there, take Highway No.1268 for 18 kilometres to Namtok Phu Soi Dao. It is the starting point of the walk to the Lan Son Summit. Accommodation and camping area are provided in the park. For more information, please contact Phu Soi Dao National Park at Tel. 0 5541 9234-5 or visit www.dnp.go.th

Wat Tha Thanon

Located in town on the Nan River bank is Wat Tha Thanon, which houses Luang Pho Phet, the principal Buddha statue of the province. It is of the Chiang Saen style and cast in bronze.

Wat Klang

Wat Klang, about three kiometres from Muang district at Tambon Ban Kae, is an old temple with beautiful plaster bas-reliefs over the Ubosot. Inside are rare wall murals of the Early Rattanakosin Period style depicting the Jataka and assemblage of celestial beings.

Uttaradit Provincial Cultural Hall

Once the official residence of the provincial governor, the Uttaradit Provincial Cultural Hall houses important historical relics. A major item is the "Yan Mat", a carved wooden carrying pole made by Late Ayutthaya Period craftsmen.

Praya Phichai Dap Hak Memorial

The Praya Phichai Dap Hak Memorial is installed in front of the townhall erected in honour of a hero. As governor of Muang Phichai (south of Uttaradit) about 200 years ago during the Thon Buri Period, the valiantly fought with Burmese evaders until one of his swords broke in two. But he prevailed over them. Hence the sobriquet Phichai of the Broken Sword.

Wat Phra Yun Phutthabat Yukhon

This temple, near Wat Phra Borom That Thung Yang, features a Chiang Saen-style Mondop which covers a pair of holy Footprint. It also houses a Sukhothai-style Buddha statue cast in bronze.

 

Wat Phra Borom That Thung Yang

Wat Phra Borom That Thung Yang is about three kilometres from town on Highway No.102. An old temple, it was once called Wat Mahathat. There is a large, circular-shaped, Ceylonese-style Chedi enshrining a Holy Relic.

Phra Si Phanommat Memorial

The Phra Si Phanommat Memorial, in Laplae district, commemorates a community leader who was highly repeated by the townspeople. The Chinese-descended tax collector on alcohol products contributed tremendously to the development of the community and was rewarded with the rank of Phra Si Phanommat from King Rama V.

Laplae

Laplae district can be reached from the provincial town by taking Highway No. 102, taking a right turn after about 3 kilometres onto Highway No. 1041 and continue on for a further 6 kilometres. The site was originally an ancient community during the Ayutthaya Period. It served as a secret hide-out for people in Phrae and Nan who fled from enemy or calamity as its location was sandwiched in between mountains. Today Laplae is an attractive place to visit with interesting ancient sites and hand-crafted, materials. It is also a major producer of Langsat, the province's famous fruit.


อุตรดิตถ์ : ข้อมูลทั่วไป

หล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

      อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

       อุตรดิตถ์เป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานการค้นพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา และสมัยธนบุรี มีเมืองพิชัยและสวางคบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ บางโพธิ์ท่าอิฐ ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง อุตรดิตถ์ ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาอุตรดิตถ์กลับเจริญขึ้นกว่าเมืองพิชัย จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดและเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่ง ขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก โทร. 0 5524 5357-8 หรือ 1155
  2. สถานีตำรวจภูธรอุตรดิตถ์ โทร. 0 5544 2370-1, 0 5541 1038
  3. โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โทร. 0 5541 4484-8
  4. บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 5541 1940
  5. สถานีขนส่ง โทร. 0 5541 1059
  6. สถานีรถไฟ โทร. 0 5541 1023
  7. ที่ว่าการอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โทร. 0 5541 1037, 0 5541 3758

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์
http://www.uttaradit.go.th
ททท.สำนักงานแพร่ (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์)
http://www.tourismthailand.org/phrae

อุตรดิตถ์ : ข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลการเดินทางของ จ. อุตรดิตถ์ แนะนำการใช้งาน

รถยนต์
จังหวัดอุตรดิตถ์ห่างจากกรุงเทพฯ 491 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง คือ

1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ จากนั้นใช้เส้นทาง 117 เข้าพิษณุโลก และทางหมายเลข 11 จนถึงอุตรดิตถ์

2. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ – สิงห์บุรี แล้วขับเลยไปถึงอำเภออินทร์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 311) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (สายอินทร์บุรี-ตากฟ้า) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) เลี้ยวซ้ายไปอีก 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 11 จนถึงอุตรดิตถ์

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟไปอุตรดิตถ์ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสาร ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถยนต์โดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ จากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2936 2852 – 66 www.transport.co.th หรือบริษัทขนส่งเอกชน เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0199 และวินทัวร์ โทร. 0 2936 3753 - 4

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.อุตรดิตถ์ แนะนำการใช้งาน
การเดินทางจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอเมือง - กิโลเมตร
  2. อำเภอลับแล 8 กิโลเมตร
  3. อำเภอฅรอน 24 กิโลเมตร
  4. อำเภอท่าปลา 40 กิโลเมตร
  5. อำเภอทองแสนขัน 42 กิโลเมตร
  6. อำเภอพิชัย 45 กิโลเมตร
  7. อำเภอน้ำปาด 72 กิโลเมตร
  8. อำเภอฟากท่า 113 กิโลเมตร
  9. อำเภอบ้านโคก 165 กิโลเมตร

อุตรดิตถ์ : วัฒนธรรมประเพณี

ประเพณีสงกรานต์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์
เมษายน 2552
ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระนอนพุทธบาทไสยาสน์
ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

กิจกรรม
ประกวดเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

สอบถามรายละเอียด
ที่ว่าการอำเภอลับแล โทร. 0 5543 1089, 0 5541 3245

อุตรดิตถ์ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

      อุทยานแห่งชาติคลองตรอน มีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 324,240.80 ไร่ หรือ 518.80 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 โดยอุทยานแห่งชาติคลองตรอน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าน้ำปาด ป่าปากห้วยฉลอง ป่าห้วยสีเสียด ป่าคลองตรอนฝั่งขวา และป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแสนตอ ตำบลน้ำไคร้ ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา และตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสงขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ และสวยงาม คือ น้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว ถ้ำจัน ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง เขาภูเมี่ยง และหน้าผาที่สวยงามเป็นที่รู้จักทั่วไป และยังมีคลองที่ชื่อว่า “คลองตรอน” เป็นคลองซึ่งลำห้วยต่างๆ ไหลมารวมกันที่คลองนี้และไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออุทยานฯ

อุทยานฯ มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงต่ำมีแนวเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาภูเมี่ยง เขาคว่ำเรือ เขาหงายเรือ เขาสามเหลี่ยม เขาหยวก เขาถนน เขาแดด เขาไม้ผา เขาตักบอน เขาน้ำย้อย เขาผักขวง เขาจันทร์ ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้านทิศตะวันออกคือ เขาภูเมี่ยง สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แหล่งกำเนิดห้วยที่สำคัญไหลจากแนวตะวันออกไปสู่แนวตะวันตกและไหลสู่แม่น้ำ น่าน ได้แก่ ห้วยคลองม้ามืด เป็นต้น สภาพป่าไม้ทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขา สนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานมีดังต่อไปนี้
เขาเจดีย์ เป็นภูเขาหิน มีรูปร่างคล้ายเจดีย์อ ยู่ห่างจากบริเวณถ้ำจันประมาณ 500 เมตร มีจุดเด่นเฉพาะตัวมองดูสวยงาม

ถ้ำจัน เป็นถ้ำขนาดกลาง อยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติคลองตรองฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลผักขวา ตำบลทองแสงขัน มีความลึกจากปากถ้ำประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ภายในถ้ำสวยงามด้วยโขดหินรูปทรงแปลกตา การเดินทางรถยนต์สามารถเข้าถึงได้

ถ้ำวัวแดงและถ้ำเสือดาว เป็นถ้ำขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบภายในโพลงเข้าไปในถ้ำแล้วเป็นทางแยก หลายทาง ห่างจากถ้ำจันทร์ประมาณ 200 เมตร

น้ำตกคลองตรอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "น้ำตกห้วยโป่ง" เป็นน้ำตกขนาดกลางซึ่งเกิดจากห้วยคลองตรอนที่ไหลตกลงมาเป็นน้ำตกหลายชั้น มีน้ำตก 2 แห่ง คือ แห่งแรก มี 4 ชั้น มีความสูงประมาณ 20 เมตร แห่งที่ 2 ห่างจากแห่งแรก ประมาณ 1,500 เมตร มีความสูงประมาณ 30 เมตร การเดินทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1045 สายอุตรดิตถ์-น้ำปาด เมื่อถึงอำเภอน้ำปาดเลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 สายน้ำปาด-ห้วยมุ่น ไปอีก 18 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1212 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงบ้านต้นขนุน จะมีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คต.1 (บ้านต้นขนุน) น้ำตกชั้นที่ 1 ของน้ำตกคลองตรอนจะอยู่ห่างไปประมาณ 300 เมตร และมีทางเดินเลาะลำห้วยขึ้นเขาไปสู่น้ำตกชั้นอื่นๆ แต่ระยะทางค่อนข้างไกล

ยอดดอยภูเมี่ยง ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คต.1 (บ้านต้นขนุน) มีลักษณะเป็นเทือกเขาแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์-จังหวัด พิษณุโลก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,656 เมตร สามารถชมทัศนียภาพของทั้ง 2 จังหวัด และสามารถมองเห็นเขื่อนสิริกิติ์ได้ นอกจากนี้ยังพบพรรณไม้ กุหลาบพันปี ข้าหลวง ดงตาว เอนอ้า และขันหมากป่า รวมทั้งพรรณไม้นานาชนิดตามเส้นทางสู่ยอดภูเมี่ยง และตามเส้นทางจะมีน้ำตกทั้งหมด 8 ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะความสวยงามแตกต่างกันออกไป ซึ่งยอดดอยภูเมี่ยงเหมาะสำหรับผู้รักความท้าทายและความสวยงามตามธรรมชาติของ ทุ่งหญ้า ป่าเขา ลำเนาไพร

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท
การเดินทาง จาก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 107-108 (สามแยกบ้านป่าขนุน)ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1047 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 36-37 สามารถแวะเที่ยวชมถ้ำจัน และเมื่อเดินทางต่อไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 อีกประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองตรอน และเดินทางต่อไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

สถานที่พักแรม อุทยานฯ มีบริการบ้านพัก และสถานที่กางเต็นท์ สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th

หมายเหตุ อุทยานปิดการบริการท่องเที่ยวและพักแรม ระหว่างวันที่ 1 กันยายน - 31 ตุลาคม ของทุกปี

อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารอยู่หมู่ 7 บ้านท้องทับแล ตำบลฝายหลวง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร จากอำเภอลับแล ใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 เป็นอนุสาวรีย์ของปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแล

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยาน แห่งชาติลำน้ำน่าน อยู่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยป่านานาชนิดที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 624,468 ไร่ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง หมูป่า หมี และสัตว์ปีกจำนวนไม้น้อยกว่า 200 ชนิด ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ คือ ยอดเขาภูพญาพ่อ สูงถึง 1,350 เมตร ซึ่งจะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 203 กิโลเมตร ภายในมีเกาะแก่งมากมาย เหมาะสำหรับการล่องแพชมวิวทิวทัศน์

จุดชมวิว เส้นทางสายป่าแดง น้ำกราย นางพญา ซึ่งลัดเลาะตามริมเขา มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก เนื่องจากเส้นทางสายนี้ตัดผ่านป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาทำให้อากาศเย็นสบาย นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็นพรรณไม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ป่า พญาเสือโคร่ง และเฟิร์นพันธุ์ต่าง ๆ

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จะมี 2 เส้นทาง คือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 4 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีจุดชมวิวตลอดระยะทาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

แก่งนางพญา จะเป็นแก่งหินน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป อยู่กลางลำน้ำนางพญา มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณแก่งดูสวยงามมาก
นอกจากนี้ในอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ยังมีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเชิงทอง น้ำตกห้วยมุ่น และน้ำตกดอยผาหมอก ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลตลอดปี และเป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เชิงทอง สามารถเดินทางจากจังหวัดแพร่สะดวกกว่า คือ จากตัวอำเภอแพร่ เข้ามาทางวัดพระธาตุช่อแฮ พอถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 9 กิโลเมตร

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท

สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th

การเดินทางห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ 36 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ผ่านสามแยกร่วมจิต และสามแยกห้วยเจริญจะพบทางแยกซ้ายมือ ประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

มี พื้นที่ 149,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อปี 2537 ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย - ลาว มียอดภูสอยดาวสูงที่สุด 2,102 เมตร จากระดับทะเล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่น ป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่างๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่างๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน ภูสอยดาวสามารถจะมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ถ้าหากอยากดูดอกไม้สีสวยๆ ที่มักจะขึ้นเพื่อรับความชุ่มชื้นในช่วงหน้าฝน ควรจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกภูสอยดาว อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี แต่จะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน
ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยากเพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่ มีทางแยกไปไหน ระยะทางเดินเท้าขึ้นลานสนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5-6 ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดขื่นสดใสให้กับลาน สน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย บนลานสนไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 08.00–13.00 น.
น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตกอยู่บนลานสน มี 7 ชั้น ทางไปน้ำตกเป็นหุบเขา ค่อนข้างลาดชัน
อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และสามารถกางเต็นท์ได้บนยอดลานสน สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579–5734, 579–7223 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110
การเดินทาง
จาก จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ สู่อำเภอน้ำปาด ระยะทาง 68 กิโลเมตร ต่อจากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 1239 ไปทางบ้านห้วยมุ่นอีกประมาณ 47 กิโลเมตร และจากบ้านห้วยมุ่นใช้เส้นทางหมายเลข 1268 อีก 18 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกภูสอยดาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้าขึ้นสู่ยอดลานสน สำหรับรถโดยสารประจำทาง จากอุตรดิตถ์จะมีรถโดยสารปรับอากาศออกจากตลาดอำเภอเมือง (ตลาดต้นโพธิ์) ไปอำเภอน้ำปาดทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00–17.00 น. (แต่รถเที่ยวแรกจะเข้ามาที่สถานีขนส่ง เวลา 05.00 น.) ใช้เวลาประมาณ 2.30 ชั่วโมง จากนั้นลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด จะมีท่ารถสองแถว ต้องเหมารถไปภูสอยดาวประมาณ 300 บาท ใช้เวลาเดินทางอีก 3 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับทางอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้องเหมารถไป ราคาประมาณ 500 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารไม่ปรับอากาศที่อำเภอชาติตระการ สายชาติตระการ-นครไทย-พิษณุโลก มีรถบริการระหว่างเวลา 05.00–17.30 น. ช่วงนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 43 บาท รถโดยสารจากพิษณุโลก กลับกรุงเทพฯ ควรจะไปซื้อตั๋วที่บริษัทในตลาดโดยตรงมากกว่าที่จะมาที่สถานีขนส่ง เนื่องจากมีโควต้าขายตั๋วน้อย

น้ำตกแม่พูล

น้ำตก แม่พูล อยู่ที่หมู่ 4 บ้านต้นเกลือ ตำบลแม่พูล เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ โดยการเทปูนให้น้ำไหลลดหลั่นจากบนเขาสูงลงมา ดูคล้ายน้ำตกธรรมชาติ สูงหลายชั้น สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณใกล้ๆ น้ำตกเป็นสวนลางสาด บริเวณน้ำตกมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารและที่จอดรถไว้บริการ

การเดินทางจากอำเภอ เมืองถึงอำเภอลับแล ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 ประมาณ 12 กิโลเมตร หรือขึ้นรถสองแถวที่ถนนตุลาสถิตย์ ในตัวเมืองรถจะออกทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00–17.30 น. หรือจะเหมาแท๊กซี่ไปก็ได้

อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ

อนุสาวรีย์ พระศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์อยู่ตรงสี่แยกตลาดลับแล เดิมชื่อ ทองอิน เป็นนายอากรสุรา เชื้อสายจีนแต่ด้วยความรักในท้องถิ่นจึงพัฒนาเมืองลับแลมาโดยตลอด เป็นผู้นำชุมชนที่ชาวลับแลให้ความนับถือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิศาลจีนะกิจ และเลื่อนเป็นพระศรีพนมมาศ ในปี พ.ศ. 2451

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียงแสน ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ที่ประดิษฐานบนฐานดอกบัวสูงประมาณ 1.5 เมตร ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้ ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า หลวงพ่อพุทธรังสี เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์ ต่อมาได้กระเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อยู่เลยวัดพระยืนไปเล็กน้อย วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธ บารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ที่เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน นอกจากนั้นภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ เรือพายโบราณ ชั้นบน แสดงเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตชาววัง - ชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็ก - ก่อสร้าง เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่แกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.

ภายในวัดประดิษฐานพระธรรมจักร ที่มีชื่อเสียงทางด้านการป้องกันไฟไหม้ เหมาะสำหรับมีไว้บูชาภายในบ้าน เพื่อป้องกันฟืนไฟ นอกจากนั้นภายในวัดยังมีพระพุทธรูปเสี่ยงทาย 5 องค์ ซึ่งผู้ที่ขอพรสามารถจะเสี่ยงทายว่าจะสำเร็จตามประสงค์หรือไม่

บท สวดบูชา ตั้งนะโม 3 จบ / สาธุ โกสัมพิยัง อะวิทูเร เวภาระ ปัพพะเต กกุกสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อะริยะเมตโต อาสนะนะเจติยัง ชินะธาตุ จะ ฐะเตวา อะหัง วาทามิ ทูระโต

วัดเจดีย์คีรีวิหาร

วัดเจดีย์คีรีวิหาร อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ อยู่ที่หมู่ 1 บ้านวัดป่า ตำบลฝายหลวง ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1040-1043 เป็นบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงาม บานประตู และหน้าบันเป็นไม้แกะสลัก

กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา

กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา อยู่ที่บ้านท่า หมู่ 5 ตำบลหาดกรวด ห่างจากตัวเมือง 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางวังกะพี้ (ทางหลวงหมายเลข 1040) ขับตรงไปข้ามสะพานจนเจอสามแยกให้เลี้ยวขวาไปทางอำเภอตรอน ประมาณ 1 กิโลเมตร จะเจอป้ายหมู่บ้านอุตสาหกรรมอยู่ทางขวามือเลี้ยวเข้าไปประมาณ 300 เมตร กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ร่วมกันทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา โดยได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาจากกลุ่มแม่บ้านบ้านท่ามีฝีมือการผลิตที่ปราณีตและรูป แบบที่ทันสมัย และที่สำคัญมีราคาย่อมเยามาก เหมาะที่จะซื้อมาเป็นของตกแต่งบ้านหรือของฝาก เช่น โคมไฟ แจกัน กระเป๋า ตะกร้า รองเท้า ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณอุ่นเรือน โหมดพันธ์ ประธานกลุ่ม โทร. 0 5544 5354

หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์

หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ถนนอินใจมี เป็นศูนย์รวมโบราณวัตถุที่สำคัญของชาวอุตรดิตถ์ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าและเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือ ยานมาศหรือ คานหามไม้แกะสลักโปร่ง 3 ชั้น กว้าง 73 เซนติเมตร ยาว 3.50 เมตร สูง 1.45 เมตร เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ยานมาศนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเมื่อคราวเดินทางมาตรวจราชการ หัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2444 ว่าทรงพบยานมาศแบบนี้ 4 คัน คันแรกทรงพบที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท อีก 2 คัน พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ครั้นมาถึงอุตรดิตถ์ก็พบอีกคันที่วัดท่าเสา ซึ่งก็ได้นำมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนชมที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ หอวัฒนธรรมฯ จะเปิดให้ชมฟรีเฉพาะวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์เท่านั้น และช่วงเช้าตั้งแต่เวลาตีห้า จะมีชาวบ้านจากอำเภอต่างๆ นำของพื้นบ้านมาขาย สามารถชมวิถีชีวิตชาวบ้านได้ สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมหอวัฒนธรรมฯ เป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้ามาก่อน ถึงสถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์ ถนนอินใจมี จังหวัดอุตรดิตถ์

วัดพระฝาง

วัดพระฝาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 ถึงทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางพิษณุโลก 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้าไป 14 กิโลเมตร วัดนี้มีชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ เจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช วัดพระฝางประกอบด้วยโบสถ์ วิหารและพระธาตุเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับบานประตูแกะสลักของพระวิหารเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย
วัดกลาง

วัดกลาง อยู่ที่ตำบลบ้านแกะ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎชื่อผู้สร้าง มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม

บ่อเหล็กน้ำพี้

บ่อ เหล็กน้ำพี้ อยู่ที่หมู่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 เป็นโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้า ที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมมีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ มีบ่อหนึ่งเรียกว่า บ่อพระแสง ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ บ่อพระขรรค์ เป็นบ่อที่ในสมัยโบราณมีช่างทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์ ได้นำแร่เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระขรรค์ไปถลุงทำพระขรรค์ ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ รวบรวมหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็นดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2542 เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.

เหล็กน้ำพี้ในสมัยโบราณ นิยมนำไปตีเป็นพระแสงราชศัสตราของพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีความเขื่อว่าเป็นเหล็กศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถแก้อาถรรพณ์ อยู่ยงคงกรพะนและป้องกันภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับผุ้ที่ต้องเดินทาไปในถิ่นแปลกที่อยุ่เป็นประจำ และผู้ที่ต้องพักค้งอ้างแรมในสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ

บ้านท่าเรือ

บ้าน ท่าเรือ เป็นหมู่บ้านริมทะเลสาบ ตั้งอยู่หมู่ 9 บ้านท่าเรือ เป็นท่าเรือสำหรับขนถ่ายปลา และมีแพสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะล่องแพเที่ยวชมอ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ทั้งแบบค้างคืนหรือเช้าไปเย็นกลับก็ได้ มีอาหารพร้อม สามารถติดต่อได้ที่ เกษณี แพทัวร์ โทร. 0 1605 6211 และแพสมบูรณ์พร้อม โทร. 0 1971 2527, 0 1280 9188

การเดินทางจากอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทาง 1145 ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงสามแยกร่วมจิต แยกซ้ายอีก 10 กิโลเมตร (ไปทางอำเภอท่าปลาและเขื่อนดิน) ถึง อำเภอท่าปลา มีทางแยกซ้ายไปบ้านท่าเรืออีก 7 กิโลเมตร (ทาง รพช. บ้านสามร้อยเมตร-บ้านท่าเรือ ต่อด้วยทาง รพช. สายบ้านเลิศชัย-บ้านห้วยรกช้าง)

เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อน สิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านผาซ่อม ตำบลท่าปลา เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม สันเขื่อนยาว 800 เมตร กว้าง 12 เมตร สูง 113.6 เมตร บริเวณเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบใหญ่ที่มีชื่อว่า ทะเลสาบสุริยันจันทรา มีทิวทัศน์สวยงาม เมื่อไปถึงบริเวณเขื่อน นักท่องเที่ยวควรไปติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งให้บริการและอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อน การจองที่พัก การเช่าจักรยาน การให้เช่าเรือท่องทะเลสาบเหนือเขื่อน อัตราค่าเช่าเรือล่องในเขื่อนสิริกิติ์คือ เรือขนาด 150 คน ค่าเช่าชั่วโมงละ 1,700 บาท และเรือขนาด 30 คน ค่าเช่าชั่วโมง 1,400 บาท นอกจากนั้นยังมีสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม และบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว สอบถามสำรองที่พักได้ที่ โทร. 0 5541 2639 ต่อ 2501, 2503-5 www.sirikitdam.egat.com

การเดินทาง
จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (เขื่อนสิริกิติ์-ท่าปลา) ถึงเขื่อนสิริกิติ์ ระยะทาง 58 กิโลเมตร หรือนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปลงที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และต่อรถโดยสารสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก รถจะจอดที่หอนาฬิกา ถนนสำราญรื่น หรือจะเหมารถแท๊กซี่บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็ได้

วนอุทยานต้นสักใหญ่

วนอุทยาน ต้นสักใหญ่อยู่ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร วัดเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 แม้ส่วนยอดถูกพายุพัดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมโดยได้รับการดูแลรักษาให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ และในวนอุทยานต้นสักใหญ่ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร การจะเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงฝ่ายอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. 0 5525 8028 ต่อ 502

การเดินทาง
จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ประมาณ 60 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1146 ประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านห้วยปูดเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 ประมาณ 10 กิโลเมตร

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัด พระบรมธาตุทุ่งยั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก 2 วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ 4 มุม ฐานชั้นที่ 3 มีซุ้มคูหา 4 ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

อนุสาวรีย์ พระยาพิชัยดาบหักประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยข้างขวาได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่า ด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหักอนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลอง สนามรบ และวิถีชีวิตในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน

หลวง พ่อเพชรวัดท่าถนนวัดท่าถนนเดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน มีคนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร จึงเรียกกันว่า หลวงพ่อเพชร

วัดธรรมาธิปไตย

วัด ธรรมาธิปไตยตั้งอยู่ในตัวเมืองใกล้สี่แยกจุดตัดของถนนอินใจมีกับถนนสำราญ รื่น เดิมชื่อวัดต้นมะขาม ภายในวัดเป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 2.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัด สุทัศน์ที่กรุงเทพฯ

วัดใหญ่ท่าเสา

วัด ใหญ่ท่าเสาตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าเสา อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟท่าเสา วัดนี้มีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก 2 บาน ตลอดจนลายไม้ที่วิหารด้านหน้า และมีหอไตรโบราณที่มีรูปแบบสีสันสวยงาม ซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations