www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

PHETCHABUN

PHETCHABUN : General Information

     346 kilometres from Bangkok, Phetchabun borders on three regions, the North, the Central and the Northeast. The central part of the province is on the Pa Sak river basin with mountain ranges running along both the western and eastern sectors. Because of the fertility of the land, Phetchabun has always been an agriculturally productive area. The very name of the province actually means the land of crops and foods.
avis


       Today, Phetchabun is a province with rich tourism potential. Its climate is pleasant due to the mountainous and forested areas and it has a history of richness and prosperity for more than 1,400 years. As and Sukhothai styles have been discovered.

Phetchabun is administratively divided into the following districts: Muang, Lom Sak, Lom Kao, Chon Daen, Nong Phai, Wichian Buri, Si Thep, Bueng Sam Phan, Wang Pong, Nam Nao and Khao Kho.

PHETCHABUN : How to get there


Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

Lom Sak
Khao Kho
Chon Daen
Lom Kao
Nong Phai
Wang Pong
Bueng Sam Phan
Wichian Buri
Si Thep
Nam Nao
44
47
52
55
56
70
83
106
123
140
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

By Car

         From Bangkok, drive along Highway No. 1 passing Saraburi to Phu Khae (Km. 125), turn right into Highway No. 21 and proceed to Phetchabun via Chai Badan, Si Thep and Wichian Buri, a total distance of 346 kilometres.

By Bus

         Transport Co. Ltd. operates both air-conditioned and non air-conditioned bus services along the Bangkok-Phetchabun-Lom Sak route. Buses depart from Bangkok's Mochit 2 Bus Terminal daily. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information. Private bus companies are such as Phet Tour, Tel: 0 2936 3230 and Thin Siam Tour, Tel: 0 2936 0500.

By Air

         Thai Airways flies from Bangkok to Phetchabun on Wednesday, Friday and Sunday. Call 1566 for more information.

PHETCHABUN : Activities

Phu Hin Rong Kla

         Lom Sak District is the starting point to go to Phu Hin Rong Kla to the west. As the route is quite steep, extreme care should be exercised in driving. Phu Hin Rong Kla is a popular destination located along the Phitsanulok and Phetchabun borders and offers exotic scenery. It was once the base of communists’ resurgents fighting against the government some twenty years ago.

          Click to obtain the information on Phu Hin Rong Kla in Phitsanulok
http://www.tourismthailand.org/attraction/phitsanulok-65-444

Khao Kho

         Khao Kho is made up of mountain ranges to northwest of town about 1,174 metres above mean sea level covered in the main by deciduous plants. Very cold during November-February, it once was the base room which communist insurgents conducted their struggles against the authorities during 1968-1982. Today it is accessible via two routes; off Highway No. 12 (Phitsanulok - Lom Sak) at Ban Camp Son with a further distance of 30 kilometres of off highway No. 21 at Ban Na Ngua, about 13 kilometres from town with a further distance of 30 kilometres. Both routes wind through considerably steep terrain. Interesting places include various viewing points, remains of communist bases and buildings, war memorial, arms museum, a Chedi containing Holy Relic and the Si Dit waterfall.

         Accommodation at Khao Kho: There is a large number of accommodation to be chosen. Most of them will be in Thung Samo Sub-district and Camp Son, approximately 30 kilometres from the attractions on Khao Kho. The nearest one is the Cavalry Guesthouse at Km. 28 on Highway 2196, 28th Cavalry Division and bungalows for accompanying persons near the Khao Kho Palace and Khao Ya. Moreover, there are many resorts by the route ascending to Khao Kho.

Ban Thap Boek

         Ban Thap Boek lies at the 1,768 meters above sea level claimed as the highest point of Phetchabun Province. The climate here is cool all year round. The mountian is a landscape of cabbage plantation grown by Hmong hilltribe people risiding here. The best season to travel is when the mountain top is filled with Cherry blossoms from December till January. Visitor can stay on a campground that is set nearby the viewpoint and can enjoy the night time view of Lomsak town as it twinkles from the electric lights like stars on the earth.

Thap Boek

        Thap Boek is located at Mu 14, Wang Ban Sub-district. It is a Hmong village. Geographically, it lies at the 1,768 meters above sea level claimed as the highest point of Phetchabun Province. It is mountainous from the starting point up to the village with chilly climate throughout the year. It is also a reservation venue for the rain used in the ceremony of casting a spell onto the holy water for the Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 72nd Birthday Anniversary 5th December 1999. At Ban Thap Boek, vegetables, especially cabbage, will be planted with no watering due to 2 seasons; namely, the rainy season and winter. Moreover, when the mountain top is filled with Cherry blossoms from December till January, it is also the best season to travel.

        During the rainy season, it is misty during both daytime and nighttime. Therefore, it is sometimes called “the Misty Town”, where the event “Climb up to Thap Boek, Experience the Coolness and Watch the Stars on the Ground” is organised because the night time scenery of Lomsak and Lomkao town as it twinkles from the electric lights like stars on the earth.

        Accommodation The Phetchabun Tourism Association has provided bungalows and rental tents for tourists. In the case visitors bring their own tents, a camping site fee will be charged. For further information, contact the Phetchabun Tourism Association, Tel. 0 5670 9026, 08 1680 0223.

        To get there From Phetchabun, take Highway No. 21 to Lom Sak District for 40 kilometres. At Lom Sak District, take Highway No. 203 for 13 kilometres and turn left into Lom Kao District and proceed further for 5 kilometres, passing Ban Wang Ban. Go straight on until the end of the road, turn left into Highway 1143 for 1 kilometre, and turn right into Highway 2331, passing Huai Nam Rin Village until Km. 18-19, prior to the checkpoint to the park. There will be a direction sign into Thap Boek Village, turn right and go further for 4 kilometres. (Note: The route is very steep and curving. Visitors should travel by a vehicle with high engine power and with special caution.)

Kaeng Bang Rachan

         Located at Ban Nong Mae Na. Kaeng Bang Rachan, the destination for eco-tourists, provides a set for paddling amongst the tranquility nature of Khek River Source. "Rua E-pong" , a traditional paddle boat is used as means of transportation. Trip to Kaeng Bang Rachan is organised anually every dry season (March-May) by the local community. The hilight of the trip is to experience "Freshwater Jellyfish" (Crasapedacusta Sowerby), which is presently found in only few countries of USA, Russia, UK, Japan and Thailand. It would be seen only in sunlight, so as a reason, the appropriate time to visit is between 10.00 - 16.00 hrs. Moreover, there are some species of rare butterfly can be seen here such as Kaiser, Troides helena, Euploea, etc.

Thung Salaeng Luang National Park (Nong Mae Na)

         Thung Salaeng Luang National Park, Office 1 (Nong Mae Na) is at Nong Mae Na Sub-district, Khao Kho District, Phetchabun. It is an affiliate office under the headquarters at Km. 80. The park covers the area of Mueang District, Khao Kho District, Lom Sak District, Chon Daen District, Phetchabun, and Wang Thong District, as well as, Nakhon Thai District in Phitsanulok, being an overall area of 789,000 rai. It was acclaimed a national park on 27 May, 1975. Geographically, it is similar to a turtle’s back with an undulating surface. It is a limestone mountain range stretching as a long line. The highest point is at Khao Khae which is the source of many rivers such as Huai Khek Yai and Khlong Wang Thong. The rainy season is from July to October, while winter is from November to February. During winter, it will be very cold and suitable for traveling. Important plants include Pinus merkusii, Mangifera spp., Burma Padauk and a grass field covering a large plain of pine trees and flowers.

          Interesting attractions within the national park are as follows:
Hanging Bridge (สะพานแขวน) is 3 kilometres from the Office of the National Park. On both sides and along the path is forest. It is very shady and suitable for relaxation.

           Kaeng Wang Nam Yen (แก่งวังน้ำเย็น) is 7 kilometres from the National Park Office at Nong Mae Na, the similar route to Thung Non Son. Along its way, the forest is continuously changing from a grass field into deciduous dipterocarp forest, mixed with pine forest and mixed deciduous forest. Within the moist evergreen forest by the brook flowing from a waterfall, there is a variety of big trees with many strange kinds of undergrowth such as various types of ferns and caladiums.

        Tung Salaeng Luang (ทุ่งแสลงหลวง) is 25 kilometres from the National Park Office at Nong Mae Na. It is a large open savanna grass field, covering an area of 16 square kilometres. Along the route cutting through a mixed deciduous forest, visitors will discover wildlife searching for food and various kinds of flowers. Moreover, there are savanna grass fields mixed with the forests of the Pinus merkusii; namely, Thungya Mueang Len and Thung Non Son.

Tung Nang Phaya (ทุ่งนางพญา) is 15 kilometres to the south of the Office of the National Park at Nong Mae Na. It is a savanna grass field, surrounded by mountain pine forest and hill evergreen forest. On the branches of the pine trees appear wild plants difficult to be seen such as Dendobrium senile and Dendrobium Trigonopus – kinds of orchids.

           Thung Non Son (ทุ่งโนนสน) is a savanna grass field mixed with mountain pine forest, located in the middle of the National Park at the summit of Khao Khok Son. It is similar to Thung Salaeng Luang and Thung Nang Phaya. From the end of the rainy season to the beginning of winter are various kinds of flowers that bloom such as Utricularia delphinioides, Doritis pulcherrima, Eriocaulon henryanum, Arudina graminifolia, and Nepenthes. This field is appropriate for trekking and is 31 kilometres from the Office of the National Park at Nong Mae Na. It is open to the public during October – November of every year. Tents can be rented, costing 400-500 Baht for a tent of 3-5 persons. In the case visitors bring their own tents, a fee of 30 Baht a night is required for the camping area.
Moreover, the national park has organised the Pho Ko Kho Rice Field Nature Study Route, 4 kilometres from the Nong Mae Na Office. At the starting point, 30-40 rai of rice fields will be seen. This rice field is a duplicate one of the Pho Ko Kho - communist insurgents – by the national park. A small brook from the high mountain plateau created by the Pho Ko Kho in the past is utilised in supplying the rice field. Throughout the field bloom Krachieo – curcuma - flowers in various colours. A nature study trip can be done within the 4 kilometres around the area.

        Admission : adult 400 baht, child 200 baht

          Accommodation The park provides accommodation for tourists at the Office at Km. 80, comprising 8 bungalows, costing 1,000 – 3,000 Baht. Moreover, tents for rent are also provided, costing 150-300 Baht for 3-5 persons. In the case visitors bring their own tents, a camping site is also provided for 30 Baht/ person / night. Furthermore, within the area of Nong Mae Na Office, on the way to the Khao Kho Palace, Khao Kho District, there are 8 bungalows, costing 2,000 – 5,000 Baht and rental tents for 3-5 persons, costing 150-300 Baht. In the case visitors bring their own tents, a camping site is provided for 30 Baht/ person / night. For further information, contact the Thung Salaeng Luang National Park, P.O. Box 64, Mueang District, Phitsanulok 65120, Tel. 0 5526 8019, or Department of the National Park, Wildlife and Flora, Bangkok, Tel. 0 2562 0760 or www.dnp.go.th.

          To get there: There are 2 routes overall that can be taken. First Route: From Phetchabun, take Highway No. 21 to Lom Sak District for 13 kilometres to Ban Na Ngua and turn left. Go further along Highway No. 2258 to Khao Kho, pass the Ban Sado Phong Intersection and Khao Kho Palace, and go straight on until reaching Ban Thang Tawan, turn right for 4 kilometres until reaching Office 1 of the National Park, Thung Salaeng Luang. Second Route: From Phitsanulok, take Highway No. 12, Phitsanulok – Lom Sak Route, for approximately 100 kilometres and turn right into Khao Kho, passing the Office of Khao Kho District until reaching Ban Sado Phong and turn right into Highway No. 2258, passing Khao Kho Palace. Go straight on to Ban Thang Tawan and turn right for 4 kilometres to reach the Office 1 of the National Park, Thung Salaeng Luang (Nong Mae Na).

Noen Mahatsachan

        Noen Mahatsachan is located at Km. 17.5, Na Ngua – Sado Phong Road on Highway 2258. After driving to this spot, stop the engine, the car will move back up the hill by itself. This happening is from an illusion because when measuring the height of both spots, the hill’s height is lower than that of the path to the hill.

Namtok Si Dit

        Namtok Si Dit is a large single-tiered waterfall with water running throughout the year. It was once a stronghold of the Communist Party of Thailand. An interesting thing at this place is a rice mortar whose power came from the waterfall constructed by the communist groups. To get there: Take Highway 2196 to Km. 17 and turn right into Highway 2325 for 10 kilometres then turn right into the waterfall.

Phra Tamnak Khao Kho

         Phra Tamnak Khao Kho is located on Khao Ya Mountain. The palace was constructed for the King on the occasion of his royal visit to observe the projects from his royal initiatives, as well as, to visit the people in Khao Kho district and the ones nearby. It is a concrete building in a semi-circle shape with 15 rooms overall making it different from other places. Visitors can ask officials for permission to visit the surroundings of the palace.

         To get there: Take Highway 2196 until reaching Km. 29, continue for 4 kilometres and turn left to the palace. The route is quite steep, vehicles should be in good condition and possess high engine power. From Phetchabun to Khao Kho, take Highway No. 21, Phetchabun – Lom Sak to the Na Ngua T-junction, a distance of 13 kilometres. Turn left along Highway 2258 for another 30 kilometres. Otherwise, take Highway No. 12, Phitsanulok – Lom Sak to Km. 100. At Ban Camp Son, turn left into Khao Kho along Highway 2196 for 33 kilometres. The transport to Khao Kho should not be a coach because there are many curves along the route. The roads are quite narrow and steep. A pick-up or a van in good condition is more appropriate.

        Tourists who travel by bus can rent a Song Thaeo at the entrance to Khao Kho in the Camp Son area. At Km. 100, there is a minibus provided from 8.00 a.m. – 5.00 p.m. Otherwise, a Song Thaeo can be rented at the Municipal Market in Mueang Phetchabun.

Wat Wichian Bamrung

         Wat Wichian Bamrung is located at Tha Rong Sub-district, near the Wichian Buri District Office by taking Highway No. 21 (Lom Sak – Saraburi Route). Within the compound of the temple is enshrined the biggest Wichian Buri Rattana Mingmongkhon Reclining Buddha Image of the province, with a length of 50 metres and height of 5 metres. The image lies outdoors facing towards the east. It was cast of cement and painted in gold. The image contains the relics of the Lord Buddha’s collarbone. Moreover, this temple is a location of the statues of King Naresuan the Great, Phra Suphan Kanlaya – his sister, and King Ekathotsarot – his brother. Besides, there is a Ruea Mat – a dredger with top cover, which was an engraving piece of a large timber tree dating to the Ayutthaya Kingdom with special characteristics. It was discovered in the Pa Sak River.

Wat Chang Phueak

        Wat Chang Phueak is a location where Phrakhru Phatcharachan or Luangpho Thop’s body in a glass coffin is housed. The body does not decay and is highly respected among the people of Phetchabun. In March, there is an annual commemorative event of his death. To get there: From Mueang Phetchabun, take Highway No. 21 to Wang Chomphu T-junction and turn left toward Nong Phai District. At Km. 118 before Ban Na Yom T-junction, there will be a direction sign to the temple which is located 700 metres further.

The Nakhonban Phetchabun Cultural Hall

        The Nakhonban Phetchabun Cultural Hall is a large auditorium hall for the study concerning the history of Phetchabun. It can be divided into 2 parts. The first part is an exhibition of some ancient pictures and antiques from the Fine Arts Department in the various periods of the Phetchabun history. The second part is a stage for performances and presentations on history, traditions, and cultures of Phetchabun.

Tat Mok National Park

        The Tat Mok National Park has a huge waterfall fed by streams flowing down cracks and crevices of the mountains creating a beautiful 12-level fall. On both sides of the trails leading up to it are large, shady trees providing a pleasant surrounding. To reach the park, take off from town past the town hall to the east for some 15 kilometres to Ban Chaliang Lap. Then take a right turn onto Highway No. 2275. After just 300 metres is a left fork leading to an access on to steep slope for a distance of 20 kilometres. From here another 1.8 kilometres on foot to arrive at the waterfall.

          Admisiom: Adult 100 baht Child 50 baht


Wat Trai Phum

       Wat Trai Phum on Phetcharat Road features a Buddha statue called Phra Buddha Mahadhamaracha cast in the ornamental Lop Buri style. The ritual bathing of the Buddha image or the traditional Um Phra Dam Nam ceremony is held during September each year.

Wat Mahathat

        Wat Mahathat is located on Nikon Bamrung Road in town. The temple houses a number of ancient chedis of Sukhothai style.


เพชรบูรณ์ : ข้อมูลทั่วไป

เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างแวดล้อมไปด้วยพื้นที่ป่าเขาเขียวขจี ภูมิประเทศมีทัศนียภาพสวยงามไม่ว่าจะเป็นเขาค้อหรืออุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพซึ่งได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม รวมไปถึงอาหารขึ้นชื่ออย่างไก่ย่างวิเชียรบุรี ขนมจีนหล่มเก่าและผลไม้ยอดนิยมของจังหวัด คือ มะขามหวานเมืองเพชรและลูกเสาวรส เมืองเพชรบูรณ์นี้สันนิษฐานว่า สร้างมา 2 ยุค ยุคแรกสมัยสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงสังเกตตามแนวกำแพงเมือง ซึ่งเอาลำน้ำไว้กลางเมือง และยุคสองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปนศิลา สัณฐานคล้ายเมืองนครราชสีมาแต่เล็กและเตี้ยกว่า เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนกัน เมืองเพชรบูรณ์ที่สร้างทั้งสองยุคนี้สำหรับป้องกันข้าศึกซึ่งจะยกทัพมาจาก ฝ่ายเหนือ เพชรบูรณ์เดิมมีชื่อว่า "เพชรบุร" หรือ "พืชปุระ" อันหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 346 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 114 เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะ พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะลาดชันจากทิศเหนือไปใต้ ตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นที่ราบ ขนาบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำป่าสัก

การปกครอง

       จังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5672 1733
  2. สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 2065
  3. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โทร. 0 5671 2235-9
  4. โรงพยาบาลเพชรรัตน์ โทร. 0 5672 0680-4
  5. โรงพยาบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทร. 0 5674 8030-40
  6. สถานีเดินรถ บ.ข.ส.(อ.เมือง) โทร. 0 5672 1581

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1709
http://www.phetchabun.go.th

พชรบูรณ์ : ข้อมูลการเดินทาง
         ข้อมูลการเดินทางของ จ. เพชรบูรณ์
รถยนต์

         เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีเลยไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์พุแค ตรงกิโลเมตรที่ 125 แยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอำเภอชัยบาดาล อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี ต่อไปอีกประมาณ 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทางประมาณ 346 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง

         เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอวังน้อยแล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 117 ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหมายเลข 12เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านเขาค้อ-หล่มสัก เข้าจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 547 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
         บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 1 ในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ เพชรทัวร์ โทร. 0 2936 3230 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 2818 และถิ่นสยามทัวร์ โทร. 0 2936 0500, 0 2513 9077 (จากกรุงเทพฯ มีรถประมาณ 8 เที่ยวตั้งแต่เวลา 09.30 น.- 23.30 น.) สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1913 สาขาหล่มสัก โทร. 0 5670 1613 (จากหล่มสักมีรถประมาณ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 24.00 น.)

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.เพชรบูรณ์

  1. อำเภอหล่มสัก   44 กิโลเมตร
  2. อำเภอเขาค้อ   47 กิโลเมตร
  3. อำเภอชนแดน 52 กิโลเมตร
  4. อำเภอหล่มเก่า 55 กิโลเมตร
  5. อำเภอหนองไผ 56 กิโลเมตร
  6. ่ อำเภอวังโป่ง   70 กิโลเมตร
  7. อำเภอบึงสามพัน 83 กิโลเมตร
  8. อำเภอวิเชียรบุร 106 กิโลเมตรี
  9. อำเภอศรีเทพ   123 กิโลเมตร
  10. อำเภอน้ำหนาว 140 กิโลเมตร

เพชรบูรณ์ : วัฒนธรรมประเพณี

ประเพณีการผูกเสี่ยว

ประวัติ / ความเป็นมา
         ประเพณีการผูกเสี่ยวนั้น นอกจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการยึดถือปฏิบัติจนเป็นที่ทราบกันโดย ทั่วไปแล้ว แต่สำหรับการผูกเสี่ยวในภาคอื่นๆ ก็ยังมียึดถือปฏิบัติกันอยู่ บางแห่งมีการปฏิบัติเป็นงานประเพณี บางแห่งก็ไม่มีการจัดงานเป็นกิจจะลักษณะแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การผูกเสี่ยวหรือการเป็นเสี่ยวกัน คงแทรกซึมอยู่ในอุปนิสัยของคนไทยทุกคน ดังเช่นที่หมู่บ้านหนองใหญ่ ตำบลนาซำ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
คำว่าเสี่ยวนั้น ตามพจนานุกรมแปลว่า "เพื่อนหรือเกลอ" คำว่าผูกเสี่ยวเป็นคำที่มีความหมายว่า การผูกมิตร หรือการเป็นเพื่อนกัน สำหรับประเพณีเก่าแก่ของชาวหนองใหญ่นี้มีความเป็นมาอย่างไรผู้เฒ่าผู้แก่ก็ จะตอบว่า "มีมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย"

กำหนดงาน
         ไม่เจาะจงว่าจะเป็นวันใด ในวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ แต่มีข้อยกเว้นวันเดียว คือวันสมรส สำหรับเวลาก็ไม่จำเป็น เพียงแต่รอเวลาว่างของทั้งสองฝ่ายหลังจากเสร็จภารกิจการงาน แต่จะนิยมในช่วงใกล้เที่ยงวัน เพราะเป็นเวลาว่างในช่วงพักกลับจากการทำงาน
สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
           การผูกเสี่ยวนั้น เป็นพิธีการนำเอาเด็กๆ อายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปจนรุ่นหนุ่มมาผูกข้อมือเพื่อเป็นเสี่ยวกัน ในการหาเสี่ยวหรือหาเพื่อนี้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่เป็นผู้เลือกหา โดยมีหลักใหญ่ๆ ว่า เด็กอีกฝ่ายหนึ่งจะมีอัธยาศัยใจคอเหมือนๆ กัน สิ่งสำคัญต้องเป็นเพื่อนพึ่งพาอาศัยกันได้
มีบางรายเหมือนกันที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องการเป็นเสี่ยวกันมาก่อน ด้วยเหตุผลที่ยังเป็นเด็กเล็กอยู่ หรือยังจำความไม่ได้ ผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ประสานความเป็นเพื่อน โดยการพาเด็กไปรู้จักกันไปเยี่ยมเยือนกันบ้างตามเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย เนื่องจากเสี่ยวจะเป็นคนต่างถิ่นหรือต่างหมู่บ้าน นอกจากการเยี่ยมเยือนธรรมดาต้องมีของฝากติดมือไปบ้าง อาจจะเป็นขนมหรือเสื้อผ้า สุดแต่ฐานะของผู้ปกครอง
ขั้นตอนของการผูกเสี่ยว สิ่งที่ต้องเตรียม คือ ด้ายสำหรับผูกข้อมือเด็ก ที่นิยมคือ ด้ายดิบนำมาทำเป็นเส้นขนาดยาว 1 ฟุต ดอกไม้ตามคตินิยมใช้ดอกรัก อย่างน้อย 1 คู่ ควรเลือกสีขาว ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงสีที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา หากไม่มีดอกรักให้ใช้ไม้อื่นแทนก็ได้ และต้องเตรียมธูปเทียน ผลไม้ของคาวเล็กๆ น้อยๆ หมอนรองรับการพนมมือของเด็กเช่นเดียวกับหมอนรองรับคู่บ่าวสาว
สำหรับญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงของพ่อแม่เด็ก สิ่งที่เตรียมคือ "เงิน" อย่างน้อยที่สุด ประมาณ 1 บาท แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณ 10-20 บาท แต่ถ้าใครจะให้เท่าใดตามแต่สะดวก เงินส่วนนี้ถือว่าให้กับคู่เสี่ยว เมื่อเสร็จพิธีจะแบ่งเงินให้เท่าๆ กัน ส่วนความจำเป็นของผู้ใหญ่ทั้งสองจะต้องเตรียมเหล้ากับกับแกล้มเอาไว้เลี้ยง เมื่อเสร็จพิธี
วิธีการผูกเสี่ยวเมื่อทุกฝ่ายพร้อมเพรียงกัน จะเรียกเด็กทั้งคู่มากลางเรือน เด็กทั้งสองคนจะอาบน้ำทาแป้ง แต่งตัวในชุดใหม่ เด็กทั้งสองนั่งหมอบพนมมือวางไว้บนหมอนคนละใบ จานใส่ดอกไม้และด้ายวางอยู่ตรงหน้าของเด็กทั้งสองบุคคลแรกที่จะผูกเสี่ยว เป็นผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้าน หรือผู้ปกครองที่เด็กนับถือจะนำด้ายที่เตรียมไว้มาผูกข้อมือเด็กข้างขวาของ เด็กที่นั่งอยู่ทางซ้ายมือ เนื่องจากปลายด้ายอีกข้างหนึ่งผูกข้อมือซ้ายของเด็กในลักษณะเดียวกันกับการ สวมมงคลของคู่บ่าวสาว
พร้อมกันนั้นผู้ใหญ่จะให้ศีลให้พรให้รักกันยิ่งยืนดุจขุนเขาและแผ่นน้ำ จากนั้นจะต้องมอบเงินใส่ฝ่ามือ ซึ่งเด็กจะรับทั้งสองคนพร้อมกัน คนต่อไปจะเตรียมตัวผูกเสี่ยวต่อไปจนหมด เป็นอันเสร็จพิธี

เพชรบูรณ์ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

เขาค้อ

          เป็น ชื่อเรียกรวมทิวเขาน้อยใหญ่ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอเขาค้อ เหตุที่เรียกกันว่า “เขาค้อ” เพราะป่าบริเวณนี้เดิมมีต้นค้อซึ่งเป็นไม้ตระกูลปาล์มขึ้นอยู่มาก ภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นสบายตลอดปีแม้ในฤดูร้อน และค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาว รวมทั้งมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์
เขาค้อประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ยอดเขาค้อมีความสูงประมาณ 1,174 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เขาย่าสูง 1,290 เมตรและเขาใหญ่ สูง 865 เมตร นอกจากนั้นยังมีเขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทรายและเขาอุ้มแพ ลักษณะป่าไม้ในแถบนี้เป็นป่าเต็งรังหรือป่าไม้สลัดใบ ป่าสน และป่าดิบ ที่น่าสนใจก็คือ พันธุ์ไม้ตระกูลปาล์ม ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทะลายคล้ายหมาก แม้ปัจจุบันป่าจะถูกถางไปมากก็ตาม แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบริเวณเขาค้อมีหลายแห่งโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์การสู้รบกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ อนุสาวรีย์จีนฮ่อ พิพิธภัณฑ์อาวุธ อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ นอกจากนี้ยังมีพระบรมธาตุเจดีย์ ตำหนักเขาค้อ น้ำตก และรีสอร์ทที่สวยงามน่าพักมากมาย
ที่พักบนเขาค้อ มีให้เลือกหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตำบลทุ่งสมอและแคมป์สน ห่างจากสถานที่ท่องเที่ยวบนเขาค้อประมาณ 30 กิโลเมตร ที่พักที่อยู่ใกล้ที่สุดได้แก่ บ้านพักทหารม้า กิโลเมตรที่ 28 ทางหลวงสาย 2196 กองพลทหารม้าที่ 28 และเรือนพักผู้ติดตามอยู่ใกล้กับพระตำหนักเขาค้อและเขาย่า นอกจากนี้ยังมีรีสอร์ทต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางขึ้นเขาค้ออีกหลายแห่ง
การเดินทาง ที่สะดวกมี 2 เส้นทาง คือ
          เส้นทางที่ 1. จากเพชรบูรณ์ไปเขาค้อใช้ทางหลวงหมายเลข 21 เส้นเพชรบูรณ์-หล่มสัก ถึงสามแยกนางั่ว ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2258 อีก 30 กิโลเมตร
         เส้นทางที่ 2 จากทางหลวงหมายเลข 12 เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 100 บ้านแคมป์สน เลี้ยวเข้าเขาค้อตามทางหลวงหมายเลข 2196 อีกประมาณ 33 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะผ่านที่พักรีสอร์ทหลายแห่ง
หมายเหตุ : พาหนะที่จะขึ้นเขาค้อ ไม่ควรใช้รถบัสขนาดใหญ่ เพราะมีทางโค้งมาก ถนนค่อนข้างแคบและลาดชัน ควรใช้รถปิคอัพหรือรถตู้สภาพดี และควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง นักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถติดต่อรถสองแถวขึ้นเขาค้อได้ ที่ บริษัท เขาค้อเดินรถ จำกัด โทร. 0 5672 8270, 08 1886 1811 ราคาเช่าเหมาประมาณ 900 – 1,000 บาท โดยมีคิวรถอยู่ที่บริเวณแค้มป์สน กม.100 และที่บ้านนางั่ว

พระตำหนักเขาค้อ

         ตั้ง อยู่บนเขาย่า สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการในพระราชดำริและทรงตรวจ เยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและอำเภอใกล้เคียง เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งวงกลมมีทั้งหมด 15 ห้อง รูปทรงแปลกตาไปจากพระตำหนักอื่น สามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่เข้าชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักได้ บริเวณใกล้กันมีบ้านพักทหารม้าซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวพักค้างแรมได้ มีร้านค้าสวัสดิการตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินขึ้นยอดเขาย่าซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์เขาค้อโดย รอบได้สวยงาม การเดินทาง จากสี่แยกสะเดาพงษ์ ใช้เส้นทางหมายเลข 2258 ทางไปหนองแม่นา ตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางชันมาก ควรขับรถอย่างระมัดระวัง

วัดมหาธาตุ

         ตั้ง อยู่บนถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูงประมาณ 3 วา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่องาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร

วัดวิเชียรบำรุง

         วัด วิเชียรบำรุง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าโรง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 และมีทางแยกเข้าตัวอำเภออีก 7 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายข้างที่ว่าการอำเภอไปอีก 200 เมตร ภายในบริเวณวัดมองเห็นพระนอนสีทององค์ใหญ่อยู่กลางแจ้ง นามว่า พระพุทธไสยาสน์วิเชียรบุรีศรีรัตนมิ่งมงคล มีความยาวประมาณ 50เมตร สูง 5 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก องค์พระหล่อด้วยปูนทาสีทอง ภายในองค์พระเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ด้านหลังองค์พระมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ยังมีเรือมาด (เรือขุดที่มีประทุน) ที่ขุดแต่งจากไม้ตะเคียนทั้งต้น อายุในราวสมัยอยุธยา ที่พบในแม่น้ำป่าสัก อำเภอวิเชียรบุรีตั้งแสดงอยู่ที่วัดนี้

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

         ศาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าโรง ห่างจากแยกทางหลวงหมายเลข 21 ตามเส้นทางเข้าตัวอำเภอวิเชียรบุรีเป็นระยะทางประมาณ 8กิโลเมตร เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งชาวอำเภอวิเชียร บุรีร่วมใจกันก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่เสด็จยกกองทัพไปตีทัพ เขมรที่เมืองวิเชียรบุรีแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2518 ทางอำเภอจัดงานเฉลิมฉลองศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นในวันกองทัพไทย ราวเดือนมกราคมของทุกปี

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)

         อุทยาน แห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา) ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ด้านจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 6 กิโลเมตร จุดท่องเที่ยวหลักของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมีทิวทัศน์และพรรณไม้ดอกที่งดงามโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว เหมาะแก่กิจกรรมเดินป่า กางเต็นท์พักแรม และปั่นจักรยานเสือภูเขา

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่

         ทุ่งแสลงหลวง เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา และทุ่งหญ้าสลับกับป่าสนสองใบ ด้านหน้าที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มองเห็นเป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ เนื้อที่ประมาณ ตารางกิโลเมตร ตามเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณจะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทาง และมีพันธุ์ไม้ดอกมากมาย
ทุ่งนางพญา อยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ หนองแม่นา ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าที่แวดล้อมด้วยป่าสนสองใบสลับกับป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง ตามกิ่งสนจะพบกล้วยไม้ป่าที่สวยงาม เช่น เอื้องชะนีและเอื้องคำปากไก่ ซึ่งออกดอกในฤดูร้อน บริเวณป่าสนมีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีสายหมอกลอยอ้อยอิ่งปกคลุมไปทั่วบริเวณ
แก่งวังน้ำเย็น ห่างจากที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับทุ่งโนนสน และแยกเข้าไปอีก 500 เมตร ระหว่างเส้นทาง เดินสภาพป่าจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากทุ่งหญ้าสู่ป่าเต็งรังสลับด้วยป่าสนและป่าเบญจพรรณ แก่งวังน้ำเย็นเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ยาวหลายร้อยเมตร ในระหว่างแก่งแต่ละแก่งเป็นวังน้ำลึกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืด และมีผีเสื้อให้ชม เช่น ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ผีเสื้อหนอนคืบสไบแดง นอกจากนี้บริเวณป่าริมลำธารมีโอกาสพบนกมากมายหลายชนิด
ทุ่งโนนสน เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนาสลับกับป่าสนเขา ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานฯ บนยอดเขาโคกสน ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้หลายชนิดผลัดใบ เช่น ดอกดุสิตา เอื้องม้าวิ่ง กระดุมเงิน ยี่โถปีนัง หม้อข้าวหม้อแกงลิง ทุ่งโนนสนห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 32 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถท้องถิ่นจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร เหมาะแก่การเดินป่ากางเต็นท์พักแรม ใช้เวลาท่องเที่ยวรวม 3 วัน 2 คืน

         อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท

         สถานที่พัก บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยาน สล.8 (หนองแม่นา) มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 7 หลัง ราคา 2,000 – 5,000 บาท เต็นท์ให้เช่า ราคา 200-600 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ตู้ ปณ. 64 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65200 โทร. 0 5526 8019 หรือสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th

         การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ไปทางอำเภอหล่มสัก ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงบ้านนางั่วแล้วเลี้ยวซ้าย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2258 ขึ้นเขาค้อผ่านสี่แยกบ้านสะเดาพงษ์ผ่านพระตำหนักเขาค้อ ตรงไปจนถึงบ้านทานตะวันเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตรจะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยาน สล.8 (หนองแม่นา)
เส้นที่สอง จากจังหวัดพิษณุโลกใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เขาค้อผ่านหน้าอำเภอเขาค้อ ถึงสี่แยกบ้านสะเดาพงษ์แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2258 ผ่านพระตำหนักเขาค้อตรงไปบ้านทานตะวัน เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยาน สล. 8 (หนองแม่นา)
การเดินทาง โดยรถประจำทาง สามารถโดยสารรถประจำทางมาลงที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และต่อรถสองแถวรับจ้างมายังหน่วยพิทักษ์อุทยาน สล. 8 (หนองแม่นา) ค่าเหมารถประมาณ 700 บาท ในช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวทุ่งแสลงหลวง สามารถแจ้งให้ทางอุทยานฯติดต่อรถท้องถิ่นและลูกหาบได้

แก่งบางระจัน

         แก่ง บางระจัน ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านหนองแม่นา เป็นแหล่งท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ ซึ่งมีกิจกรรมพายเรือท่องป่า ตามหาแมงกะพรุนน้ำจืด ในช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ทุกปี โดยมีกลุ่มชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยวในบริเวณนี้
กิจกรรมการท่องเที่ยว มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบค้างแรมในป่า 2 วัน 1 คืน หรือแบบเช้าไปเย็นกลับ นอกจากนี้ ยังสามารถทำกิจกรรมระยะสั้น โดยนั่งเรือเรือแจวจากแก่งบางระจันไปยังแก่งสอง ไปกลับใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความสวยงามเงียบสงบของป่าต้นน้ำเข็ก ซึ่งอยู่ระหว่างพื้นที่รอยต่อจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ โดยการนั่งเรือแจวหรือเรืออีโปงของชาวบ้านที่ใช้สัญจรหรือทำมาหากินในอดีต ถึงปัจจุบัน เริ่มจากแก่งบางระจันเป็นจุดแรกล่องเรือไปตามลำน้ำเข็กที่ไหลเย็นแต่ไม่ เชี่ยวกราก ซึ่งถือเป็นแม่น้ำบนภูเขาที่ไหลนิ่งและมีน้ำอยู่ในระดับสม่ำเสมอตลอดปี โดยจะมีน้ำมากและไหลแรงในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ระหว่างทางมีจุดสำคัญที่พลาดไม่ได้คือ การชมแมงกะพรุนน้ำจืด (Freshwater Jellyfish) ที่พบในประเทศไทยเป็นประเทศที่ 5 ของโลก หลังจากที่พบที่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ และญี่ปุ่น สายพันธุ์ที่พบคือ Crasapedacusta Sowerbyi แมงกะพรุนจะปรากฏตัวให้เห็นในช่วงกลางวันแดดจัดตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. นอกจากนี้บริเวณแก่งสองยังมีผีเสื้อพันธุ์หายากหลายพันธุ์ อาทิ ไกเซอร์ดำ ผีเสือจันทรา เหลืองหนานแฟ้นฉาน ถุงทองป่าสูง จรกา หนอนกะหล่ำ เหลืองหนามใหญ่โคนปีกดำ สะพายฟ้า หางติ่งปารีส หางดาบ หางพลิ้ว แผนที่ หนอนจำปี ฯลฯ ซึ่งผีเสื้อมักจะออกมาให้เห็นในช่วงที่มีแดดจัด เวลา 09.00-14.00 น.
การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 (หล่มสัก-สระบุรี) ไปทาง อ.หล่มสัก เมื่อถึงสี่แยกบ้านนางั่ว (ประมาณ กม.ที่ 238) จะพบทางแยกอยู่ด้านซ้ายมือเป็นทางขึ้นสู่อำเภอเขาค้อ เป็นทางหลวงหมายเลข 2258 ผ่านทางแยกบ้านสะเดาะพงษ์ไปหนองแม่นา ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร จะพบที่ทำการกลุ่มฯ อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงหน่วยหนองแม่นา ซึ่งบริเวณหน่วยพิทักษ์มีที่กางเต๊นท์พักแรม บ้านพัก และร้านอาหารมีบริการที่บริเวณหมู่บ้านทานตะวัน
นักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มชุมชนคนรักป่าหนองแม่นา-ทานตะวัน คุณสมพงษ์ ตุ้มคำ โทร. 08 1046 2166 คุณอดิศักดิ์ ฟ้อนประเสริฐ โทร. 08 4813 7638 คุณมานะ มีสุข โทร. 08 7198 6488

ภูแก้ว แอดเวนเจอร์ ปาร์ค

           ภูแก้ว แอดเวนเจอร์ ปาร์คเป็น สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนภายในภูแก้วรีสอร์ท บนเส้นทางหมายเลข 12 ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ นำเสนอกิจกรรมกลางแจ้งแนวผจญภัยท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยขุนเขา ได้แก่ ปีนหน้าผาจำลอง (Rock Climbing) โล้ชิงช้าด้วยการดิ่งตัวจากความสูง 20 ฟุต (Giant Swing) เหิรเวหา (High Flying) รถเลื่อนภูเขาความเร็วสูง (Mountain Speed Lude) ฐานเชือกผจญภัย (Rope Challenge) รถดุ๊กดิ๊กสำหรับเด็ก (Baby Racing) และพายแคนู (Canoe Paddle) เป็นต้น เปิดบริการทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2381 0691-3, 0 5675 0053 หรือ www.phukaew.com

ไร่กำนันจุล ( ฟาร์มสเตย์ )

         ไร่กำนันจุล ( ฟาร์มสเตย์ ) ตั้ง อยู่กิโลเมตรที่ 202 ทางหลวงหมายเลข 21 เส้นสระบุรี-หล่มสัก ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบูรณ์ 21 กิโลเมตร ใกล้สามแยกวังชมภู เป็นผู้บุกเบิกการทำไร่ส้มเขียวหวานส่งออกขายทั่วประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รายแรก ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนเนื้อที่กว่า 10,000 ไร่ มีลักษณะเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน มีพื้นที่บ่อปลา 3,000 ไร่ มีสมาชิกเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 2,600 ราย ใน 26 จังหวัดของประเทศ มีสวนผลไม้ อาทิ สวนส้ม 1,200 ไร่ 200,000 ต้น มีส้มโชกุน(ส้มเขียวกำนันจุล) 90% ส้มโอ(ขาวกำนันจุล) และ ส้มเช้ง 10%
สวนสละพันธุ์หม้อ ที่ปลูกรายใหญ่ที่สุดของประเทศ บนพื้นที่ 200 ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

กิจกรรมท่องเที่ยว
1. ชมประวัติกำนันจุล และการสืบทอดเจตนารมณ์ของคนรุ่นหลัง
2. ชมขั้นตอนการผลิตเส้นไหม ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดในโลก
3. ชมการเลี้ยงไส้เดือนแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสารเคมีในสวน
4. ชมสวนสละ และสาธิตวิธีการผสมเกสรสละ
5. ชมการเลี้ยงไหมของเกษตรกร
6. ชมการทำประมงน้ำจืดขนาดใหญ่บนพื้นที่ 3,000 ไร่
7. ชมสวนส้มโชกุน, ส้มโอ, ส้มเช้ง
8. กิจกรรมการตกปลา

กิจกรรม 1 - 4 สามารถชมแบบเช้าไป เย็นกลับได้
กิจกรรม 1 - 8 แบบค้างคืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณณฤมณ โทร 0 5677 1101 - 4, 08 9960 3481 หรือ www.chulthai.com

วัดช้างเผือก

         วัด ช้างเผือกตั้งอยู่ที่ตำบลวังชมภู ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 24 กิโลเมตร บริเวณปากทางเข้าวัดจะเห็นรูปปั้นช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ ภายในวัดเก็บรักษาสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระครูพัชราจารย์ หรือหลวงพ่อทบ บรรจุศพอยู่ในโลงแก้ว เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ตามประวัติเล่าว่า หลวงพ่อทบได้ศึกษาวิชาอาคมมาจากเขมร จนเป็นที่เลื่องลือทางด้านเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อเสียงในด้านแคล้วคลาดจากภยันตราย อยู่ยงคงกะพัน ในเดือนมีนาคมจะมีการจัดงานประจำปีครบรอบวันมรณภาพของหลวงพ่อทบเป็นประจำทุก ปี นอกจากนี้บริเวณลานกลางแจ้งยังมีรูปปั้นหลวงพ่อทบให้สักการะบูชา และซากโบสถ์เก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 300 ปี

         การเดินทาง จากตัวเมืองเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ลงมาทางทิศใต้ ถึงสามแยกวังชมพูเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางอำเภอหนองไผ่ อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 118 ก่อนถึงสามแยกบ้านนายม ซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดไปอีกประมาณ 700 เมตร

หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์

         ตั้ง อยู่ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ หอวัฒนธรรมแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นอนุสรณ์ "นครบาลเพชรบูรณ์" เนื่องจากในระหว่าง พ.ศ. 2486-2488 จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ออกพระราชกำหนดเพื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เพชรบูรณ์ โดยใช้ ชื่อว่า " นครบาลเพชรบูรณ์ " ด้านนอกอาคารจะมีรูปปั้นฝักมะขามยักษ์สีทองโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ ภายในตัวอาคารเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ และมีการจัดแสดงภาพถ่ายและโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก

         ตั้ง อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ไปทางตะวันออก 37 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 290 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์บนเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำป่าสักและลำน้ำชีและเป็นพื้นที่ป่ากันชนให้ กับผืนป่าสามแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2541 จัดเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ 87 ของประเทศ
ภายในบริเวณมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

          จุดชมวิว บริเวณ กม. 3 มองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองเพชรบูรณ์เบื้องล่าง และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก

           น้ำตกตาดหมอก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 7 กิโลเมตรตามทางรถยนต์และเดินเท้าอีก 1,800 เมตรตามทางเดินเลียบธารลำธาร ช่วงสุดท้ายของทางเดินเป็นทางขึ้นเขาชัน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียวไหลลงมาจากหน้าผาสูงเด่น มีความสูง 750 เมตร สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่นานาชนิด สายน้ำที่ไหลจากตาด (หน้าผา) สูง กระทบสู่พื้นล่างกลายเป็นละอองน้ำ เป็นที่มาของ ชื่อ " น้ำตกตาดหมอก " ระหว่างทางเดินพบพรรณไม้ที่น่าสนใจ อาทิ ต้นพระเจ้าห้าพระองค์ ลำพูป่า แสมดำ กล้วยป่า จันทร์เขียว และเฟิร์นชนิดต่าง ๆ
          น้ำตกสองนาง อยู่ห่างจากลานจอดรถตามเส้นทางเดินเท้าทางเดียวกับน้ำตกตาดหมอก เป็นระยะทาง 2,000 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง มีความสูงทั้งหมด 12 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมน้ำตกได้ทุกชั้นภายในหนึ่งวัน แต่ละชั้นมีความสูงระหว่าง 5–100 เมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาทสถานที่พัก และบริการอื่น ๆ อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักหลังละได้ 5 คน ราคาหลังละ 1,000 บาท และมีเต็นท์ให้เช่าพักแรม พักได้ 2-6 คน ราคา 200–600 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตู้ ป.ณ.4 อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000 โทร. 08 9703 8855 หรือที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯโทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง จากศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2271 ถึงบ้านเฉลียงลับระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวขวาไปทางบ้านน้ำร้อน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 ประมาณ 200 เมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามเส้นทาง รพช. (บ้านเฉลียงลับ- ตาดหมอก) ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เดินทางต่ออีก 7 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถ ทางลาดยางตลอดสาย บางช่วงขึ้นเขาสูงชัน จากนั้นเดินเท้าตามทางเลียบลำห้วยอีก 2 กิโลเมตร เพื่อชมความงามน้ำตกตาดหมอก และน้ำตกสองนาง

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

         อุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นโบราณสถานสำคัญที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้มากที่สุด แห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม อุทยานฯมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "เมืองอภัยสาลี" สร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เมืองโบราณศรีเทพมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน มีพื้นที่ 1,300 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป พบซากโบราณสถานกว่า 70 แห่ง บางแห่งได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้ว และ เมืองส่วนนอก มีพื้นที่ 1,589 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน ขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และพบโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกัน

          โบราณสถานและสถานที่สำคัญในอุทยานฯ
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวและการศึกษาภายในเขตอุทยานฯ ได้เรียงลำดับให้ง่ายต่อการเดินชมดังนี้

ศูนย์บริการข้อมูล เป็นอาคารจัดแสดงโบราณสถาน และนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ ภายในประกอบด้วยห้องประชุม หรือบรรยายสรุปก่อนการเข้าชมนิทรรศการ
อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เป็นอาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. 2531
ปรางค์สองพี่น้อง ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีประตูทางเข้าทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตีประทับนั่งอยู่เหนือโค อศุภราช ลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ โดยอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และมีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับบนกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟักแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยสันนิษฐานจากการค้นพบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย ระหว่างปรางค์สองพี่น้องและปรางค์ศรีเทพมีกำแพงล้อมรอบและมีอาคารปะรำพิธี ขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบใน ภาคอีสานของประเทศไทย
โบราณสถานเขาคลังใน ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังเมืองและศิลปะการก่อสร้างมีลักษณะคล้ายเมืองทวารวดีอื่น ๆ ได้แก่ นครปฐม และเมืองโบราณคูบัว มีการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดี เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติจึงเรียกว่า "เขาคลัง"
ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ อยู่บริเวณด้านในประตูแสนงอน (ประตูด้านทิศตะวันตก) ศาลเจ้าพ่อศรีเทพเป็นศาลที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ วันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3
นอกจากโบราณสถานดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทิศใต้ของเขาคลังในพบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง มีการพบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา แสดงให้เห็นว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดี และมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ยังไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ นอกจากนี้ยังพบสระน้ำโบราณ เรียกว่า สระแก้ว อยู่นอกเมืองไปทางทิศเหนือ และยังมี สระขวัญ อยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก ทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และมีการนำไปประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00–16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท รถยนต์นำเข้าอุทยาน คันละ 50 บาท สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการติดต่อวิทยากรบรรยาย ติดต่อโดยตรงได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67170 โทร. 0 5682 0122, 0 5682 0123

        การเดินทาง เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 เส้นสระบุรี-หล่มสัก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งหมอชิต กรุงเทพฯ มาลงที่ตลาดอำเภอศรีเทพ (บ้านกลาง) แล้วต่อรถรับจ้างเข้าสู่อุทยานฯ

ภูทับเบิก

ตั้ง อยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางจากหล่มเก่าไปภูหินร่องกล้า หรือห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ภูทับเบิกมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา มีอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยช่วงเช้าจะมองเห็นกลุ่มเมฆ และทะเลหมอกตัดกับยอดเทือกเขาเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ภูทับเบิกยังเป็นสถานที่ที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือเป็นจุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว (เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542) เพื่อนำไปรวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้าถวายเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
ปัจจุบันภูทับเบิกเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านทับเบิก หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 16 โดยอยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยอาชีพทำการเกษตรแบบขั้นบันไดตามเชิงเขา ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบเห็นไร่กะหล่ำปลีอยู่สองข้างถนนสู่ทับเบิกสวยงาม ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีดอกซากุระหรือนางพญาเสือโครงสีชมพูบานสะพรั่งไปทั้งภูเขา นอกจากนี้ในยามค่ำคืนยังมองเห็นแสงไฟระยิบระยับจากบ้านเรือนในอำเภอหล่มสัก ที่อยู่เบื้องล่าง เปรียบได้กับ “ดาวบนดิน” จากสภาพดังกล่าว ทำให้ภูทับเบิกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็น วิถีชีวิตชาวเขา และแหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ภายใต้คำกล่าวที่ว่า “นอนทับเบิก สัมผัสความหนาว ดูดาวบนดิน” สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณหมู่บ้านทับเบิกและจุดชมวิว มีบ้านพัก เต็นท์ และร้านอาหารเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว
การเดินทาง สู่ภูทับเบิก จากเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสี่แยกหล่มสัก ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 203 อีก 13 กิโลเมตร พบป้ายบอกทางไปอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตามทางหลวง 2011 และทางหลวงหมายเลข 2331 อีก 40 กิโลเมตร ถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียมของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จากตรงนี้มีทางแยกขวาเข้าหมู่บ้านทับเบิกไปอีก 6 กิโลเมตร เส้นทางจากหล่มเก่ามาภูทับเบิกจะสูงชันและคดเคี้ยวมาก รถบัสไม่สามารถขึ้นได้ ผู้ที่ใช้รถยนต์หรือรถตู้ ควรขับรถด้วยความระมัดระวังอีกเส้นทางหนึ่งใช้เส้นทางด้านอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เลยที่ทำการอุทยานฯมาประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงภูทับเบิก หากขับรถต่อไปจะมาบรรจบกับเส้นทางที่จะลงไปยังอำเภอหล่มเก่า

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

          อุทยาน แห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ  191,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติแปลกตาและสวยงาม ทั้งยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ เป็นยุทธภูมิสำคัญในอดีตของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
ภูหินร่องกล้ามีลักษณะภูมิอากาศคล้ายกับภูเขาสูงของจังหวัดเลย เช่น ภูกระดึงและภูเรือ เนื่องจากมีความสูงในระดับไล่เลี่ยกัน อากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว อุณหภูมิจะต่ำประมาณ 4 องศาเซลเซียส แม้ในฤดูร้อนอากาศก็ยังเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ มีทั้งด้านประวัติศาสตร์และด้านธรรมชาติ ดังนี้
ด้านประวัติศาสตร์

         พิพิธภัณฑ์การสู้รบ เป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ใกล้กับที่ทำการอุทยานฯ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการสู้รบในอดีต มีสภาพแผนภูมิข้อมูล อุปกรณ์การแพทย์ อาวุธ เอกสารเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ รวมทั้งนิทรรศการด้านธรรมชาติวิทยาภูหินร่องกล้า นอกจากนี้ ยังมีห้องประชุมสำหรับบรรยายสรุปหรือประชุมสัมมนา
โรงเรียนการเมืองการทหาร ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 4 เป็นหมู่อาคารไม้ภายใต้ร่มเงาของป่ารกครึ้ม เป็นที่ตั้งของคณะกรรมการเขต 3 จังหวัด คือ จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิษณุโลกเมื่อปี พ.ศ.2513 และต่อมาในปี พ.ศ.2520 ได้ก่อตั้งเป็นโรงเรียนซึ่งให้การศึกษาตามแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์
กังหันน้ำ อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร เป็นกังหันน้ำขนาดใหญ่ ถูกสร้างขึ้นจากการผสมผสานความคิดก้าวหน้าทางวิชาการกับการนำประโยชน์จาก ธรรมชาติมาใช้งาน โดยนักศึกษาวิศวะที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการด้านปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิ มีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้า และโรงซ่อมเครื่องจักรกลหลงเหลืออยู่
โรงพยาบาลรัฐ อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐไปทางทิศเหนือ ประมาณ 2 กิโลเมตร เคยเป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลครบครัน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 สามารถทำการรักษาพยาบาลและผ่าตัดอวัยวะได้ทุกส่วน ยกเว้นหัวใจ มีหมอและพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเร่งรัดจากประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2522 ได้เพิ่มแผนกทำฟัน และวิจัยยา เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่ได้จากในเมือง มีการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มและใช้สมุนไพรด้วย
ลานอเนกประสงค์ เป็นบริเวณลานหินกว้างใหญ่ อยู่ก่อนถึงสำนักอำนาจรัฐ ใช้เป็นที่พักผ่อนและสังสรรค์ในหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
สุสาน ทปท. เป็นสถานที่ฝังศพของนักรบทหารปลดแอกแห่งประเทศไทย (ทปท.) ที่เสียชีวิตจากการสู้รบกับทหารฝ่ายรัฐบาล ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้บริเวณลานอเนกประสงค์
ที่หลบภัยทางอากาศ เป็นสถานที่หลบซ่อนตัวจากการทิ้งระเบิดทางอากาศของทหารฝ่ายรัฐบาล ลักษณะพื้นที่เป็นหลืบหินหรือโพรงถ้ำใต้แนวต้นไม้ใหญ่ ทำให้ยากต่อการตรวจการณ์ทางอากาศ สถานที่หลบภัยมีอยู่หลายแห่งแต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ 2 แห่ง คือ บริเวณห่างจากโรงเรียนการเมืองการทหารราว 200 เมตร ลักษณะเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ มีซอกหลืบสลับซับซ้อน จุคนได้ถึง 500 คน และอีกแห่งหนึ่งบริเวณทางเข้าสำนักอำนาจรัฐ เป็นหลืบขนาดใหญ่สามารถจุคนได้ประมาณ 200 คน
หมู่บ้านมวลชน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ มีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมถนนที่ตัดมาจากอำเภอหล่มเก่า ลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็ก ๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยไม้กระดานแผ่นบาง ๆ กันน้ำฝนได้อย่างดี และมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย

ด้านธรรมชาติ

         ลานหินแตก อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นลานหินที่มีอาณาบริเวณประมาณ 40 ไร่ ลานหินมีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอคนก้าวข้ามได้ แต่บางรอยก็กว้างจนไม่สามารถจะกระโดดข้ามไปถึง สำหรับความลึกของร่องหินแตกนั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัว หรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกออกเป็นแนว นอกจากนี้บริเวณลานหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคน ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผา ลักษณะเป็นลานหินซึ่งมีหินผุดขึ้นมาเป็นปุ่ม เป็นปม ขนาดไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหิน ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นคนไข้ของโรงพยาบาล เนื่องจากอยู่บนหน้าผา มีลมพัดเย็นสบาย
ผาชูธง อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 500 เมตร เป็นหน้าผาสูงชัน สามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล จะสวยงามมากในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ซึ่ง ผกค. ขึ้นไปชูธงแดงรูปค้อนเคียวทุกครั้งที่รบชนะฝ่ายรัฐบาล
น้ำตกร่มเกล้า-น้ำตกภราดร ห่างจากโรงเรียนการเมืองการทหารและกังหันน้ำประมาณ 600 เมตร มีทางแยกเดินลงน้ำตกร่มเกล้า ประมาณ 400 เมตร หากเดินลงไปอีก 200 เมตร จะเป็นน้ำตกภราดรซึ่งมีลักษณะคล้ายกันและอยู่บนลำธารเดียวกัน น้ำตกภราดรมีความสูงน้อยกว่าแต่กระแสน้ำแรงกว่า
น้ำตกศรีพัชรินทร์ ตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารค่ายศรีพัชรินทร์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นทหารหน่วยแรกที่ขึ้นมาบนภูหินร่องกล้า น้ำตกศรีพัชรินทร์มีความสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณน้ำตกมีแอ่งขนาดใหญ่ สามารถลงเล่นน้ำได้
น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกที่มีความสูง 32 ชั้นในห้วยน้ำหมันซึ่งมีน้ำตลอดปี ต้นน้ำเกิดจากยอดเขาภูหมัน น้ำตกแต่ละชั้นตั้งชื่อคล้องจองกันตามสภาพลักษณะที่สวยงามแปลกตา ห้อมล้อมด้วยป่าดงดิบอันสมบูรณ์ การเดินทาง จากที่ทำการอุทยานฯ ใช้เส้นทางสายภูหินร่องกล้า-หล่มเก่า ถึงหลักกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกซ้ายเป็นทางเดินเท้าเข้าสู่น้ำตก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เส้นทางผ่านป่าร่มครึ้มมีกล้วยไม้ป่า ต้นเมเปิ้ล และทุ่งหญ้า
น้ำตกผาลาด ตั้งอยู่ด้านล่างของหน่วยพิทักษ์ห้วยน้ำไซ ทางเข้าจะผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง บ้านห้วยน้ำไซ เข้าสู่เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จากทางแยกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทางแยกซ้ายมือ เดินลงไปอีกประมาณ 50 เมตร ก็จะถึงตัวน้ำตก เป็นน้ำตกซึ่งไม่สูงนักแต่มีน้ำตลอดปี
น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกที่สูงมาก ทางเข้ายังไม่สะดวกนักต้องเดินทางไปตามถนนลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นจึงไปตามทางเดินในป่าอีกประมาณ 300 เมตร ถึงด้านบนของน้ำตก และต้องไต่ลงไปตามทางเดินเล็กๆ จึงจะมองเห็นความสวยงามของน้ำตกตาดฟ้าหรือเรียกชื่อพื้นเมืองว่า “น้ำตกด่าน-กอซาง” ซึ่งหมายถึงด่านตรวจของ ผกค. ที่มีกอไม้ไผ่ซาง
ธารพายุ เป็นจุดชมวิวบริเวณกิโลเมตรที่ 32 เส้นทางภูหินร่องกล้า-หล่มเก่า สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขาและทะเลหมอกได้อย่างสวยงาม มีสวนรัชมังคลาภิเษกสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก ราคา 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ราคา 400 บาท เด็ก ราคา 200 บาท
สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ประมาณ 23 หลัง ราคา 800-2,400 บาท, ค่ายพักแรม พักได้ 15 คน ราคา 1,500 บาท และมีเต็นท์ให้เช่า ราคา 200-600 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า โทร. 0 5523 3527 หรือสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้ามีสองเส้นทาง คือ
         1. จากพิษณุโลกใช้ทางหลวงหมายเลข 12 สายพิษณุโลก-หล่มสัก ถึงสามแยกบ้านแยง แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2013 มีป้ายบอกทางแยกขวาไปอำเภอนครไทย ก่อนถึงตัวอำเภอนครไทย มีทางแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2331 ผ่านบ้านห้วยตีนตั่ง-บ้านห้วยน้ำไซ-ฐานพัชรินทร์ สู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สภาพเส้นทางสูงชัน คดเคี้ยวเป็นบางช่วง รวมระยะทางจากพิษณุโลก 120 กิโลเมตร
         2. จากเพชรบูรณ์ตามทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า บ้านวังบาล บ้านเหมืองแบ่ง บ้านแม้วทับเบิก ถึงอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า รวมระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง ค่อนข้างสูงชันกว่าเส้นทางแรกและคดเคี้ยวมาก ควรใช้รถสภาพดีมีกำลังสูงและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก
ที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีรถสองแถวบริการขึ้นภูหินร่องกล้า รถจะจอดอยู่บริเวณตลาดสมใจ มีรถขึ้นภูหินร่องกล้าเวลา 08.00 น., 10.00 น. และ 14.00 น. ค่าเช่าเหมาไป-กลับ (ค้างคืน) 1,300 บาท ค่าเช่าเหมาไป-กลับ (ไม่ค้างคืน ) 800-900 บาท

ไร่ บี เอ็น

         ไร่ บี เอ็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเป็นจุดแวะของนักท่องเที่ยวที่นิมซื้อพืชผัก ผลไม้เมืองหนาวสด ๆ นานาชนิดตามฤดูกาล เช่น บรอคคอรี่ ฟักแม้ว ผักกาดแก้ว มะเขือม่วง มะระหวาน สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ น้อยหน่าออสเตรเลีย แมคคาเดเมียนัท อโวคาโด ลูกพลับ ผลไม้แปรรูปทั้งอบแห้ง กวน แช่อิ่ม และแยม รวมทั้งไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด เช่น เบิร์ด ออฟ พาราไดซ์ ดาหลา ตระกูลเฮลิโกเนีย นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมแปลงผัก สวนพันธุ์ไม้ในบริเวณได้ การเดินทาง จากทางหลวงหมายเลข 12 เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก หลักกิโลเมตรที่ 100 บริเวณบ้านแค้มป์สน แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2196 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะเห็นป้ายแสดงทางเข้าไร่และแยกขวาไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 0 5675 0419

เนินมหัศจรรย์

เนิน มหัศจรรย์อยู่ที่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 ถนนสายนางั่ว-สะเดาพงษ์ ทางหมายเลข 2258 เมื่อขับรถมาถึงตรงนี้ และดับเครื่องรถจะถอยหลังขึ้นเนินได้เอง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดจากภาพลวงตา เพราะในความเป็นจริงเมื่อวัดระดับความสูงของพื้นที่สองจุดแล้ว ความสูงของเนินจะมีระดับต่ำกว่าช่วงที่เป็นทางขึ้นเนิน

น้ำตกศรีดิษฐ์

เป็น น้ำตกหินชั้นขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เคยเป็นที่อยู่ของ ผกค. มาก่อน สิ่งที่น่าสนใจคือ ครกตำข้าวพลังงานน้ำตกที่ ผกค.สร้างไว้ การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2196 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 17 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2325 อีกประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าน้ำตก

วัดไตรภูมิ

ตั้ง อยู่บนถนนเพชรรัตน์ ในตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ประดิษฐาน "พระพุทธมหาธรรมราชา" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปสมัยลพบุรี ชาวบ้านพบบริเวณหน้าวัดในแม่น้ำป่าสัก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปและมีผู้พบอยู่ในแม่น้ำบริเวณที่พบครั้งแรก จึงถือกันเป็นประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการแห่ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องนำไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศ การสารทไทย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร สมดังชื่อจังหวัดที่ว่า "เพชรบูรณ์" ซึ่งมาจากคำว่า "พืชปุระ" หรือเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยพระพุทธมหาธรรมราชา จะมีชื่อแสียงทางด้านการขอพรเพื่อรักษาโรคภัย และความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร

บทสวดบูชา พุทธมะหาธัมมะราชา วะชิระปูระณะมะหิทธิกา สัพเพ เต อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์

อยู่ ที่ถนนหลักเมือง ใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ เสาหลักเมืองเป็นเสาหินที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาจากเมืองศรี เทพ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณแบบทวารวดีและขอม คาดว่ามีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11–12 ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17–18 จึงนับว่าเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

ภูเขาหินปะการัง

ภูเขาหินปะการัง หรือชาวบ้านเรียกกันว่า เขาหน่อ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 8 บ้านเขาเพิ่มพัฒนา ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน อยู่ในเทือกเขาชนแดน เป็นภูเขาหินสูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,200 เมตร มี ความลาดชันราว 45 องศาฯ ลักษณะแปลกตา แตกต่างจากภูเขาที่อยู่ข้างเคียง เต็มไปด้วยหินแหลมคมสีเทาโผล่ขึ้นมาทั่วบริเวณ มองดูคล้ายปะการัง หินบางลูกเมื่อใช้วัตถุเป็นไม้ หรือเหล็กเคาะจะมีเสียงดังก้องกังวานคล้ายเสียงระฆังพบอยู่โดยรอบครอบคลุมภูเขาทั้งลูก มีต้นไม้ขึ้นสลับหลายชนิด โดยเฉพาะต้นจันทน์ผาที่เป็นไม้มงคลหายาก ขึ้นอยู่ท่ามกลางป่าเบญจพรรณ บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์ได้
ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลซับพุทรา โทร. 0 5681 1003

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ไปจนถึงแยกนาเฉลียง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตำบลซับพุทธา ประมาณ 16 กิโลเมตร จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวขวาไปทางอำเภอชนแดน ประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปเขาหินปะการัง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

อุทยาน แห่งชาติน้ำหนาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางที่ชอบสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็น และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ครอบคลุมพื้นที่ป่ารอยต่อสองจังหวัด คือ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์และอำเภอคอนสาน จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่รวม 603,750 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิประมาณ 2-5 องศาเซลเซียส เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย มีสัตว์ป่าชุกชุมรวมทั้งนกชนิดต่าง ๆ ตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติบนเขาสูงผ่านจุดชมวิวริมหน้าผาสวยงาม อาทิ ผากลางโหล่น ผาล้อม ผากอง นอกจากนั้นยังมีถ้ำและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ

น้ำตกตาดพรานบา ทางเข้าอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอน้ำหนาว กิโลเมตรที่ 20 ไปตามทางหลวงหมายเลข 2211 สายบ้านห้วยสนามทราย - อำเภอหล่มเก่า และแยกขวาเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปีน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร น้ำพุ่งเป็นลำสู่เบื้องล่าง แบ่งเป็นสองชั้น สาเหตุที่มีชื่อว่าตาดพรานบานั้นมาจากพรานบาเป็นผู้เข้าไปพบน้ำตกแห่งนี้ เป็นคนแรก
จุดชมวิวถ้ำผาหงษ์ ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 39 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไป 500 เมตรถึงลานจอดรถ จะพบบันไดทางขึ้นไปยังจุดชมวิวจำนวน 259 ขั้น บนยอดเขามีหินตะปุ่มตะป่ำอยู่ทั่วไป มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล เหมาะในการชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น จากลานจอดรถมีทางเดินเท้าผ่านป่าไผ่ประมาณ 300 เมตร ถึงปากถ้ำผาหงส์ บนปากถ้ำมีพระพุทธรูปให้สักการะ
จุดชมวิวภูค้อ อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 46 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น โดยสามารถมองเห็นภูกระดึงและภูผาจิตที่อยู่ข้างหน้าได้ นอกจากนี้ ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติบริเวณจุดชมวิวภูค้อ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินขึ้นเขา 2 ชั่วโมง
สวนสนบ้านแปก (ดงแปก) ทางเข้าอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 49 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่เพียงชนิดเดียวตามธรรมชาติ ต้นไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าและหญ้าเพ็กเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่บริเวณสวนสนบ้านแปกทางอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าสนสองใบ โดยเริ่มจากปากทางเข้าตัวอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถขับรถยนต์เข้าไปได้ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถแล้วจะต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 500 เมตร
สวนสนภูกุ่มข้าว ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 53 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ มีทางแยกจากกิโลเมตรที่ 53 ถึงสนภูกุ่มข้าวไปอีกเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสามใบ ลำต้นขนาดสูงใหญ่ ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น พื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร เมื่อยืนอยู่บนเนินเขาภูกุ่มข้าวจะเห็นยอดสนอยู่ในระดับสายตาเป็นแนวติดต่อ กันทั้งสี่ด้านส่วนทางทิศใต้จะมองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์
น้ำตกซำผักคาว เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ตอนบนของลำห้วยสนามทราย มีทางเดินเท้าเข้าไปตรงกิโลเมตร 64 ถนนสายหล่มสัก-ชุมแพ น้ำตกมีความสูงประมาณ 3 เมตร
ถ้ำใหญ่น้ำหนาว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าภูน้ำริน ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 60 ทางหลวงหมายเลข 2216 (สายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า) มีทางแยกเข้าถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตรซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำชมภายในถ้ำ ถ้ำใหญ่น้ำหนาวเป็นถ้ำภายในเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความงามวิจิตรพิศดารโดยธรรมชาติ มีหินงอกหินย้อยเป็นรูปร่างต่าง ๆ และที่แปลกที่สุดคือ มีน้ำไหลหรือน้ำรินออกจากปากถ้ำ ภายในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก มีปล่องธรรมชาติที่แสงแดดสามารถส่องเข้าไปภายในถ้ำเป็นช่วง ๆ ทำให้อากาศไหลเวียนเย็นสบาย บริเวณที่นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมเดินชมมีระยะทาง 400 เมตร ใช้เวลาในการเดินชมประมาณ 1 ชั่วโมง มีไฟฟ้าให้แสงสว่างและมีทางเดินเท้าไปตามคูหาต่างๆ สุดทางเดินมีม่านหินงดงาม ถัดจากจุดนี้ไปเป็นโพรงถ้ำลึกที่มีทางยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่สะดวกต่อการเข้าชม
น้ำตกเหวทราย ทางเข้าอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 67 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ ระยะทางเดินเท้า 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดที่เกิดขึ้นจากห้วยสนามทรายซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตแดนตาม ธรรมชาติระหว่างอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ มีความสูง 20 เมตร บริเวณลำห้วยใต้น้ำตกมีแอ่งน้ำ สามารถเล่นน้ำได้ ใต้น้ำตกมีชะง่อนหินเป็นเพิง สามารถหลบฝนหรือพักแรมได้ บรรยากาศตามบริเวณลำห้วยน่าเดินเล่น เพราะมีต้นไม้ปกคลุมตลอด น้ำตกนี้มีน้ำในช่วงฤดูฝนถึงเดือนพฤศจิกายน
น้ำตกทรายทอง อยู่ห่างจากน้ำตกเหวทรายประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความกว้างที่สุดคือ ประมาณ 30 เมตร สูง 4 เมตร มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะสำหรับนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ
น้ำผุด จากน้ำตกทรายทองไปไม่ไกล จะพบกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่สวยงาม คือมีน้ำไหลผุดมาตามก้อนหินมองดูคล้ายกับบ่อน้ำพุร้อน
ป่าเปลี่ยนสี อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 63-70 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปีผืนป่าบริเวณนี้จะผลัดใบเปลี่ยนสีซึ่ง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม
ภูผาจิต (ภูด่านอีป้อง) ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 69 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ ระยะทางเดินประมาณ 10 กิโลเมตร เส้นทางเดินค่อนข้างลำบาก ใช้เวลาเดินประมาณ 6-7 ชั่วโมง เป็นป่าที่สวยงาม ลักษณะเด่นเป็นภูเขาที่มีที่ราบบนยอดเขาคล้ายกับภูกระดึงแต่เล็กกว่า
นอกจากนี้ทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า ได้แก่ เส้นทางแรก เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกใกล้ที่ทำการอุทยานฯ ระหว่างทางจะได้พบเห็นนกชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบรอยช้างจำนวนมาก เส้นทางที่สอง เริ่มจากทางเดินตรงข้ามที่ทำการอุทยานฯ ลัดเลาะผ่านป่าเต็งรัง บ่อดินโป่งซึ่งมีช้าง กวาง และสัตว์อื่น ๆ ทางสายนี้ไปสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานซำบอน ระยะทาง 8 กิโลเมตร และถ้าเดินกลับที่พักต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร หากนักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์ต้องการเดินชมธรรมชาติต่อสามารถใช้เส้นทาง เดินเท้าราบที่ทางอุทยานฯ ได้จัดไว้โดยเริ่มจากหน่วยพิทักษ์อุทยานซำบอนผ่านใจกลางอุทยานฯ สุดทางจะเป็นจุดเด่นอยู่ท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนอยู่บนเนินภูกุ่มข้าวจะเห็นยอดสนในบริเวณสวนสนอยู่ในระดับสาย ตา ระหว่างทางเดินจะพบสัตว์ป่า เช่น ช้าง กวาง เก้ง ระยะทางหน่วยพิทักษ์ซำบอนถึงสวนสน ประมาณ 12 กิโลเมตร เส้นทางที่สาม จุดเริ่มต้นอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปประมาณ 800 เมตร เป็นทางเข้าชมป่าสน หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ป่าแปก ทางสายนี้นักท่องเที่ยวจะได้ชมไม้สนขึ้นเรียงรายอยู่เป็นระยะๆ และอาจจะได้พบช้างป่า กวางป่า เก้ง รวมทั้งรอยเท้าเสือด้วย นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางพิชิตยอดภูผาจิต ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางเที่ยวถ้ำห้วยประหลาด ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร และ เส้นทางเที่ยวป่าผาล้อม-ผากลอง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 20 บาท เด็ก ราคา 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ราคา 400 บาท เด็ก ราคา 200 บาท
สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 6 หลัง พักได้ 4-30 คน ราคา 800 - 3,200 บาท มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ 2-3 คน ราคา 50-250 บาท ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว โทร. 0 5672 9002 หรือสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตั้งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 50 ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นหล่มสัก-ชุมแพ การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 เส้นเพชรบูรณ์-หล่มสัก ถึงสี่แยกหล่มสักประมาณ 39 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ หากเดินทางโดยรถประจำทาง สามารถขึ้นรถโดยสารสายชุมแพ-หล่มสัก จากอำเภอชุมแพ หรืออำเภอหล่มสักซึ่งมีรถออกทุกชั่วโมง รถจะผ่านหน้าทางเข้าที่ทำการอุทยานฯ ค่าโดยสารจากอำเภอหล่มสักมาถึงปากทางเข้าอุทยานฯ ประมาณ 40 บาท ในช่วงฤดูท่องเที่ยวระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม จะมีรถท้องถิ่นให้บริการจากที่ทำการอุทยานฯไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอุทยานฯ คิดราคาเช่าเหมาประมาณวันละ 1,800 บาท

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations