www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถ รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี อุดรธานี    

LAMPANG

LAMPANG : General Information

Famous for its horse-drawn carriages and with a rooster as its provincial emblem, Lampang boasts a long history of human settlements on the Wang River basin, some of which dating back to more than 1,000 years. It is rich in archaeological evidence reflecting ancient civilisations of Hariphunchai, Lanna and Burma.
avis


         Lampang is administratively divided into the following districts: Muang, Thoen, Mae Phrik, Ngao, Ko Kha, Wang Nuea, Mae Tha, Chae Hom, Sop Prap, Seom Ngam, Hang Chat, Mae Mo and Mueang Pan

LAMPANG : How to get there

By Car

            From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 32 to Nakhon Sawan via Sing Buri, Chai Nat, then turn into Highway No. 1 again to go to Lampang via Kamphaeng Phet and Tak, a total distance of 599 kilometres.

By Bus

Transport Co. Ltd. operates both air-conditioned and non air-conditioned bus to Lampang. Buses leave Bangkok's Mochit s Bus Terminal daily. Other private bus companies are such as Wiriya Tour, Tel: 0 2936 2827 and New Wiriya Tour Tel: 0 2936 2205-6.

By Train

Regular trains depart from Bangkok's Hua Lamphong Railway Station to Lampang daily. Call 1690 or visit www.railway.co.th for more information.

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

Wang Nuea

107 kms.

Chae Hom

52 kms.

Ngao

83 kms.

Ko Kha

15 kms.

Mae Tha

27 kms.

Hang Chat

46 kms.

Soem Ngam 

39 kms.

Mae Mo 

40 kms.

Thoen

96 kms.

Sop Phrap

54 kms.

Mae Phrik

125 kms.

LAMPANG :Activities

      Horse-drawn Carriages 
             Lampang is the only province in Thailand still retaining horse-drawn carriages as a means of transport within city limit. Visitors can hire such vehicles to tour places such as markets, traditional houses along the river bank and the numerous temples in town.

      Chae Son National Park
             A major place for relaxation in Lampang is the Chae Son National Park, which is located in Mueang Pan district area. It can be reached by taking Highway No.1035 taking a left turn at Km. 59. A further 17 kilometre is a lush forested and mountainous region with a 73-Celsius hot spring over rocky terrain, providing a misty and picturesque scene particularly in the morning. There are bathing facilities for health purpose.
 One kilometre away is a clear, cool brook where tourists can take a dip in water fed by the 6-level Chae Son waterfall originating from winding brooks and streams flowing through high mountains. There are accommodations and camping areas for visitors.

            Admission Fee : Adult 200 Baht Child 100 Baht 

            For more details, visit website www.dnp.go.th

      Wat Phra That Chom Ping
            Using the same route as Wat Phra That Lampang Luang but taking a left turn at the district office and continue on for 14 kilometres is Wat Phra That Chom Ping. Another age-old temple of Lampang, its unique feature is the reflections in natural colors of Chedi which appear on the floor within the dark interior of the Ubosot.

      Wat Phra That Lampang Luang
             Some 20 kilometres to the southwest of town in Ko Kha district is Wat Phra That Lampang Luang, a paradigm of temple building of Lanna. The temple itself is prominently sited on a hillock surrounded by wall. The entrance arches, called Pratu Khong, is adorned with fine plaster designs. The wall-less main Vihan houses a bronze Buddha statue called the Phra Chao Lan Thong. To the back is a golden Chedi in Lanna architectural style containing a Holy Relic. Also in the back is another Vihan with beautiful murals on wooden walls, said to be the oldest in the North. The temple also has a large collection of ancient wooden utensils.

     Tham Pha Thai National Park
           The Tham Pha Thai National Park is located between Mueang and Ngao districts just off the main highway at Kms.665-666, some 60 kilometres from the provincial town. Cars can access right to the mouth of a cave within which are picturesque stalactite and stalagmites. There are also several smaller caverns, each with their own attractions.

       Wat Phra Kaeo Don Tao
            This centuries-old temple on Phra Kaeo Road used to be the place where the Emerald Buddha was once enshrined (the same statue now installed in Bangkok). Interesting structures include the large Chedi containing the hair of the Lord Buddha, a Burmese-style Mondop, an ancient Vihan housing a reclining Buddha and a museum exhibiting ancient relics of the Lanna era.

ลำปาง : ข้อมูลทั่วไป
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น
เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก


       
ลำปาง เป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดใดๆ ชาวลำปางมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม มีอุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการที่ดี และควบคู่กันไปกับเมืองที่เคยเป็นแหล่งทำไม้ในอดีต ช้างที่เคยทำหน้าที่ลากซุงจึงเป็นสัตว์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ เมือง เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินขาวขึ้นชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้นครลำปางกลายเป็นจุดหมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม

      ประวัติความเป็นมา
 
             แต่อดีตมาเมืองลำปาง มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร เขลางค์นคร และกุกกุฏนคร (นครไก่) คำว่า ลำปาง นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ ก่อนจะปักไม้เอาทางปลายลงเกิดเป็นต้นขะจาวที่เห็นอยู่ข้างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นขะจาวนี้มีลักษณะผิดแผกจากไม้อื่นด้วยกิ่งก้านจะชี้ลงดิน เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปางที่มีอายุกว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
            ส่วนคำว่า เขลางค์นคร เป็นภาษาบาลี ปรากฏอยู่ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 13 คำว่าลครซึ่งกลายมาจากนคร จึงเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเมืองเขลางค์ ทั้งยังปรากฏใช้ในศิลาจารึกและพงศาวดารในรุ่นต่อมา ส่วนภาษาพูดจะออกเสียงว่าละกอน มีความหมายเดียวกับคำว่าเมืองลคร หรือ เวียงละกอน
            นอกจากนี้บางตำนานยังเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกโปรดสัตว์มาจน ถึงเมืองนี้ พระอินทร์ได้ทราบก็เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธองค์ จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันออกมาทำบุญตักบาตร ด้วยเหตุนี้เมืองลำปางจึงได้ชื่อว่า กุกกุฏนคร อันหมายถึงเมืองไก่ขาว ไก่ขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่เราจะพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือตามตึกต่างๆแม้แต่ในชามตราไก่ที่ขึ้นชื่อ
            จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ของนครลำปางมากว่า 3,000 ปีล่วงมาแล้ว มีการค้นพบภาพเขียนสีและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ตลอดจนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในสมัยหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง
             เวียงเมืองหรือเมืองเขลางค์นครเก่าตั้งอยู่ในบริเวณตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองปัจจุบัน ฝั่งเหนือของแม่น้ำวัง มีการพัฒนามาแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญไชยยังดำรงอยู่ เวียง คือ เมืองที่มีการกำหนดเขตรั้วรอบขอบชิด โดยการขุดคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ เมืองเขลางค์นครนี้มีฐานะเป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย มีพระเจ้าอนันตยศหนึ่งในพระราชโอรสแฝดของพระนางจามเทวีผู้ครองอาณาจักรหริ ภุญไชยเคยเสด็จมาปกครองนครแห่งนี้ มีพื้นที่เมืองประมาณ 600 ไร่ และยังพบเวียงบริวารในอำเภอต่างๆ สำหรับเวียงบริวารที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือเวียงพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นเวียงทางพระพุทธศาสนา อยู่ที่อำเภอเกาะคาห่างจากตัวจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร สัณฐานของเวียงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก มีร่องรอยของกำแพงดิน 3 ชั้น ระหว่างกำแพงดินเป็นคูน้ำคู่ขนานโอบล้อมเวียงไว้ แต่ปัจจุบันคูน้ำคันดินได้ถูกไถแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมไปตามกาลเวลา จนแทบจะมองไม่ออกว่าเป็นลักษณะเวียง
            เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยนี้ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่ น้ำกกทางตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พระยามังรายขยายอิทธิพลยกทัพล้ำเขตเข้ามาโจมตีอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อันมีเขลางค์นครเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กัน ในที่สุดได้ยึดเมืองทั้งสองไว้ได้และ มีการแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้น เป็นการเปลี่ยนวงศ์ผู้ครองเมืองมาเป็นสายของพระยามังราย ระหว่างนั้นได้สร้างเมืองเขลางค์นครขึ้นใหม่ในฐานะของเมืองหน้าด่าน ของอาณาจักรล้านนาสืบมา
             อาณาจักรล้านาเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็อ่อนแอลงและถูกพม่ายึด อำนาจได้เมื่อปี พ.ศ. 2101 และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ารวมระยะเวลานานถึง 200 ปี แต่ในบางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งอยู่ทางตอนใต้ ร่องรอยอดีตที่แสดงถึงการขยายแผ่อิทธิพลด้านศิลปกรรม คือ รูปแบบของศิลปที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
             ในสมัยที่พม่าครอบครองเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือตอนบนพม่าได้ส่งเจ้านายมาปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2275 ท้าวมหายศผู้ครอบครองเมืองหริภุญไชย ได้ยกทัพมาปราบผู้ที่คิดกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้เป็นอิสระจากพม่า ได้ตั้งทัพอยู่บริเวณเวียงธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองได้ติดต่อกับหนานทิพย์ช้างพรานป่าผู้กล้าให้ช่วยกู้เอกราชให้แก่ ลำปาง ในครั้งนั้นหนานทิพย์ช้างได้ยิงท้าวมหายศตายด้วยปืนใหญ่ ณ บริเวณวิหารหลวง ปัจจุบันหลังพระวิหารหลวงที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระเจดีย์ยังมีรอยรูกระสุน ปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
             ความเจริญของนครลำปางก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนกระทั่งในช่วงยุคทองช่วงหนึ่งใน ปี พ.ศ. 2425-2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 9 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นครลำปางมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะของศูนย์กลางการค้าไม้สักภาคเหนือ โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ซึ่งมีอาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านพักอาศัยของคหบดี ในสมัยนั้นโดยมากแล้วเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ และได้ตั้งชุมชนที่ท่ามะโอ ณ ตำบลเวียงเหนือ ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างวัดแบบศิลปะพม่าไว้หลายแห่ง 

     ศิลปะ อาจเนื่องมาจากการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปะที่พบในจังหวัดลำปางจึงล้วนแต่เป็นศิลปะสมัยล้านนาไม่พบศิลปะสมัยหริ ภุญชัย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่มักพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ ในลำปาง มี 3 แบบ คือ แบบพม่า แบบพม่าผสมเชียงใหม่ และแบบล้านนา
            สถาปัตยกรรมแบบพม่า นั้นได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ซึ่งชาวพม่าได้เข้ามาผูกขาดการทำไม้ในภาคเหนือ และส่งไม้ไปขายยังภาคกลางและต่างประเทศ
            ชาวพม่ามีคติอยู่ว่าเมื่อรวยแล้วต้องสร้างวัดหรือบูรณะวัดเก่าเพื่ออุทิศให้ รุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ในไม้ใหญ่อันถูกโค่นเพื่อเป็นการล้างบาป วัดแบบพม่าที่พบในลำปาง ได้แก่ วัดศรีชุม วัดป่าฝาง วัดม่อนจำศีล วัดม่อนปู่ยักษ์ และวัดศรีรองเมือง ซึ่งสร้างวิหารเป็นรูปยอดปราสาทแบบเดียวที่เมืองมัณฑะเลย์ในพม่า ดังเช่นวิหารใหญ่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น เป็นวิหารจำหลักไม้ทำยอดหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ มีลวดลายจำหลักไม้ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเรือนไทยติดลูกไม้ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า แบบขนมปังขิง (Ginger Bread) คือไม้ฉลุที่ชายคาเป็นลายย้อย ลูกไม้ช่องลมก็ฉลุปรุเป็นลายเช่นกันและยังมีลายฉลุตามส่วนต่างๆของอาคารอีก มากมาย เช่น ทางขึ้นวิหารวัดศรีชุม ฉลุลายใต้หน้าจั่วได้อย่างวิจิตร เป็นการอวดฝีมือของช่างฉลุในยุคนั้นว่าทำงานอย่างประณีต ซึ่งเป็นศิลปะพม่าผสมฝรั่งที่นิยมทำกันมากในภาคเหนือ
            สถาปัตยกรรมแบบเชียงใหม่ ที่ลำปางจะเก่าแก่ยิ่งกว่าที่พบในเชียงใหม่ เพราะสถาปัตยกรรมไม้ในเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นจากรูปแบบ เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่ลำปางล้วนเป็นของเก่าทั้งสิ้น ดังเช่น วิหารน้ำแต้มที่วัดพระธาตุลำปางหลวง มีภาพเขียนรุ่นเก่าร่วมสมัยกับอยุธยา ประตูใหญ่ด้านหน้าวัดมีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นศิลปะเชียงใหม่รุ่นเก่า ซุ้มประตูวัดไหล่หิน และ ประตูวัดบ้านเวียง กลางเมืองเถินในลำปาง ก็เป็นศิลปะแบบเชียงใหม่เช่นกัน และยังมีประตูวัดล้อมแรด ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของล้านนาที่สมควรจะถนอมรักษาไว้อย่างดีที่สุด
            สถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระวิหารหลวงวัดไหล่หิน และวัดปงยางคก เป็นพระวิหารรุ่นเก่าขนาดย่อม ลักษณะโปร่งด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านหลังทึบ ประดิษฐานมณฑปหรือพระพุทธรูป เป็นวิหารเก่าแก่ของล้านนาที่กะทัดรัดแต่งดงามน่าดูยิ่ง
            สำหรับผู้ที่สนใจทางศิลปะ ควรจะแวะวัดลำปางหลวงและวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งได้รวบรวมศิลปะวัตถุจากที่ต่างๆ และจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวงจะมีศิลปะวัตถุแบบล้านนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องเขิน ตะลุ่มแบบโบราณรูปทรงแปลกๆ สังเค็ด ธรรมา