www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

SINGBURI

SINGBURI : General Information

      

Sing Buri is 142 kms. north of Bangkok on the west bank of the Chao Phraya River.

      


     It was established in the year 1895 during the reign of King Rama V through a consolidation of three small riverside towns including Sing Buri, In Buri, and Phrom Buri. The province currently occupies an area of 822 square kilometres and is divided into six districts (Amphoes): Muang Sing Buri, In Buri, Bang Rachan, Khai Bang Rachan, Phrom Buri and Tha Chang.

      

SINGBURI : How to get there

Car

a) From Bangkok, take Highway No. 1 (Phahonyothin Road) and Highway No. 32 to Sing Buri via Ayutthaya and Ang Thong.

b) From Bangkok, travel to Ayutthaya via Highway No. 32, then proceed along Highway No. 309 to Sing Buri via Ang Thong.

Bus

Both air-conditioned and non air-conditioned buses depart from Mochit 2 Bus Terminal to Sing Buri every day. Call 0 2936 2852-66 for more information.

SINGBURI : Activities

Wat Phra Non Chaksi

This temple is 4 kms. south of the town along the Sing Buri-Suphan Buri route. It houses a huge Sukhothai-style reclining Buddha image, which is revered by the local people and renowned for its large size, almost 46 metres long.

Monument of Bang Rachan Heroes

This is situated in Amphoe Khai Bang Rachan, 13 kms. southwest of the town on Route No. 3032. The statues refer to the villagers of Bang Rachan who bravely fought against the Burmese army in 1765 during the reign of King Ekkathat of Ayutthaya. In spite of many more troops than the villagers, the Burmese had to make eight attacks before the villagers were defeated due to their shortage of weapons.

Wat Sawang Arom

This temple is situated in the town. It is a centre for Buddha image sculpture. The technique was handed down from the Ban Chang Lo School in Thon Buri. A collection of 300 Nang Yai or shadow play figures at this temple is considered the most complete in Thailand.

Wat Sawang Arom is located in Ban Bang Mon, Tambon Ton Pho, in the Municipality of Mueang Sing Buri, about 2 km from the old City Hall toward the Chao Phraya River. The temple is a centre of arts concerning education, construction of the Ubosot (ordination hall), Wihan (image hall), Sala (pavilion), and particularly the sculpture of Buddha images, which has been passed down from the Ban Chang Lo School in Thon Buri district. Within the temple compound, the Nang Yai Museum has collected more than 300 perfect and playable ‘Nang Yai’ great shadow puppets. Phrakhru Singhamuni, the past abbot, gathered some of the figures from the late Ayutthaya period. The others were given by Khru Pia, leader of a shadow play troupe who is well-versed in supervising and voicing the great shadow puppet play and has continued to pass down such performing art. For a show, the Nang Yai puppets are divided into 4 sets: The Great Battle (a battle against the Demon King - - Ravana), The Mongkut – But Lop Battle, The Naga Noose, and The Wirun Chambang Battle. Here, there is a demonstration of a Nang Yai play. The museum is open on Monday to Friday from 9.00 a.m. – 4.00 p.m., and on Saturday and Sunday from 8.30 a.m. – 5.00 p.m. For those interested in the show, contact in advance at Tel. 0 3654 3212, 0 3654 3237, 08 1851 6205, 08 1802 6085.

To get there: Take Highway 308 (Sing Buri – Ang Thong, the old route) to Km 94, about 3 km from the town of Sing Buri.

Wat Na Phrathat

This temple, first called Wat Hua Muang by the villagers, is located 1 km. west of Wat Phra Non Chaksi. It houses an ancient brick pagoda which was built during the ancient Khmers glory. The pagoda was later renovated during the early Ayutthaya period. This area is assumed to have been the ancient site of Sing Buri.

 

Old Court and City Hall

These two European style buildings are located on Wilaichit Road by the Chao Phraya River in the town. Both are constructed at the same period, some 90 years ago during the reign of King Rama V. They are still in perfect condition.

Wat Pho Kao Ton

This temple is near the Monument of Bang Rachan Heroes. It was the base where the Bang Rachan villagers resisted the Burmese attacks. A replica of the ancient fortress, identical to the original, was constructed. In a chapel, there is the statue of Phra Achan Thammachot, who was both a monk and a leader of the Bang Rachan's heroes.

Wat Phikun Thong

This temple in Tambon Wihan Khao, Amphoe Tha Chang, is 9 kms. from Wat Phra Non Chaksi. Visitors come here to pay homage to the statue of Luang Pho Phae, a famous former abbot of the temple. The temple also houses Thailands largest sitting Buddha image, 23 metres wide and 42 metres high, made of concrete and decorated with golden mosaic.

Wat Bot

This is an old temple constructed in an unusual style having iron rails as the core of the lower part. The window and door panels of the chapel were carved exquisitely by the best artisan of Sing Buri, a man by the name of Chuen Hathakosol, who devoted 10 years of his life doing this piece of work.

In Buri National Museum

This museum is situated inside a temple called Wat Bot. It exhibits several old objects such as King Rama Vs palanquin, large shadow play figures, various styles of Phat Yot (monk ranking ecclesiastical fans), a Green Stone Buddha Image, and an ancient sugar cane crushing machine.

Admission fee is 50 baht.

Wat Phra Prang and Ancient Kilns

This ancient site is located in Tambon Choeng Klat, Amphoe Bang Rachan, 17 km. west of the the town. The temple contains an old pagoda of the Lop Buri style assumed to have been constructed during the reign of King Narai the Great. The pagoda measures 15 metres high and has some Buddha images at its base. Not far from the pagoda, 3-4 ruined ancient kilns have been discovered. They were used for firing earthenware during the Ayutthaya period. The kilns were relatively large and once produced jars, bowls, mortars, pots, gable tops, and floor tiles.

สิงห์บุรี : ข้อมูลทั่วไป


ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง

สิงห์บุรี เมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยด้วยเรื่องราววีรกรรมการสู้รบ ของชาวบ้านบางระจัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 841 ตารางกิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสามสายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ไว้ว่า “เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่ามาก มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุและของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ใหญ่กว่าพระนอนองค์อื่นๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา เมืองสิงห์บุรีเรียกชื่อต่างกันดังนี้คือ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองลี้ลับ” เมืองสิงห์บุรีตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง

เสน่ห์ของเมืองสิงห์บุรี คือ การตั้งชื่อถนนในเมืองเป็นชื่อวีรชนบ้านบางระจัน เช่น ถนนนายแท่น ถนนนายดอก ถนนนายอิน ถนนนายเมือง ถนนขุนสรรค์ เป็นต้น และนอกจากนี้จังหวัดสิงห์บุรียังเป็นเมืองที่มีวัดมากมายทั้งเก่าและใหม่ ต่างยุคกัน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3650 7135
  2. สำนักงานจังหวัด โทร. 0 3641 1500
  3. สถานีเดินรถประจำทาง โทร. 0 3651 1549
  4. โรงพยาบาลสิงห์บุรี โทร.0 3651 1060, 0 3652 1445-8 โทรสาร 0 3652 2515
  5. โรงพยาบาลท่าช้าง โทร. 0 3659 5117, 0 3659 5498
  6. โรงพยาบาลพรหมบุรี โทร. 0 3659 9481, 0 3653 7984
  7. โรงพยาบาลอินทร์บุรี โทร. 0 3658 1993–7 โทรสาร 0 3658 1992
  8. สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 3651 1213
  9. ตำรวจทางหลวง โทร. 1193,0 3651 1416
  10. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
Link ที่น่าสนใจ

ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com
สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี
http://www.singburi.go.th

สิงห์บุรี : ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน พอถึงกิโลเมตรที่ 52 ให้แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 309 ผ่านจังหวัดอ่างทองไปจนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางประมาณ 135 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านไปอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดลพบุรี และจากจังหวัดลพบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 311 อำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางประมาณ 179 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852–66 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th และยังมีรถโดยสารประจำทางของบริษัทเอกชน เปิดบริการทุกวัน ได้แก่ บริษ้ท ส.วิริยะ ทัวร์ โทร. 0 2512 2565 สำนักงานที่สิงห์บุรี โทร. 0 3651 1259

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สิงห์บุรี แนะนำการใช้งาน
การเดินทางจากอำเภอเมืองสิงห์บุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอบางระจัน 10 กิโลเมตร
  2. อำเภอค่ายบางระจัน 16 กิโลเมตร
  3. อำเภอพรหมบุรี 16 กิโลเมตร
  4. อำเภออินทร์บุรี 17 กิโลเมตร
  5. อำเภอท่าช้าง 18 กิโลเมตร

สิงห์บุรี : วัฒนธรรมประเพณี

งานประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง ประจำปี 2552
วันที่ 13 – 15 เมษายน 2552
ณ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

กิจกรรม
“พิธีปารุปะนัง” ห่มผ้าองค์พระนอนจักรสีห์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย นมัสการปิดทอง พระแก้ว พระกาฬ ที่ศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว พร้อมรับพรจากพระภิกษุสงฆ์ และผู้สูงอายุ อายุรวม 9 พันปี ชมอุทยานต้นสาละออกดอกบานสะพรั่ง เล่นน้ำสงกรานต์ บรรยากาศแบบไทย

สอบถามรายละเอียด
วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร โทร. 0 3652 1478, 0 3652 0251
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสิงห์บุรี โทร. 0 3650 7135

สิงห์บุรี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจัน

อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3032 มีพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่าย บางระจันทั้ง 11 คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519 ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทยที่ เกิดขึ้น เมื่อเดือน 3 ปีระกา พ.ศ. 2308 ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่าซึ่งมีจำนวนมาก มายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง 8 ครั้ง ใช้เวลา 5 เดือน จึงเอาชนะได้เมื่อวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมี อาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3659 7126
การเดินทาง โดยรถประจำทาง สามารถขึ้นรถที่ บขส. ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี สายสุพรรณบุรี-สิงห์บุรี มาลงที่อนุสาวรีย์วีรชนฯ

การล่องเรือไปตามลำน้ำน้อย

ในเขตอำเภอบางระจัน เส้นทางล่องเรือเริ่มจากจุดล่องเรือท่าเรือสิงห์แม่น้ำน้อย ก่อนถึงวัดน้อยนางหงษ์ ในเขตอำเภอบางระจัน ล่องไปจนถึงวัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง ใช้เวลาไป-กลับประมาณ 3 ชั่วโมง ผ่านไปตามชุมชนหมู่บ้านที่สงบร่มรื่น สามารถเห็นวิถีชีวิตและธรรมชาติที่สวยงามสองฟากฝั่งคลอง อัตราค่าเช่าเหมาเรือ ราคา 3,000 บาท นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องเรือควรติดต่อก่อนล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวรรณพร เสมสมาน โทร. 0 3659 1360, 0 1946 8368, 0 9125 0847

สวนชมพู่ ทองสามสี

ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ 5 ตำบลถอนสมอ เป็นสวนผลไม้ที่ปลูกชมพู่ กระท้อน ลิ้นจี่ที่เปิดให้ประชาชนเข้าชม ชิมผลไม้จากต้น จะซื้อเป็นของฝากหรือซื้อต้นพันธุ์กลับบ้าน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณณัฐวุฒิ จันทร์พงษ์แก้ว โทร. 0 3653 6161 และ คุณวิเชียร ผลทับทิม 182/1 หมู่ 4 ตำบลพิกุลทอง โทร. 0 7904 0989 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอท่าช้าง โทร. 0 3659 5119 การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 3454 ทางไปวัดเสมา กิโลเมตรที่ 25 จากปากทางให้เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 800 เมตร

วัดจำปาทอง

ตั้งอยู่ที่ตำบลโพประจักษ์ เป็นสถานที่เก็บรักษาเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จประพาสในการล่องแม่น้ำน้อย เป็นเรือมาดเก๋ง ประเภทเรือแจว ชื่อว่าเรือจำปาทองสิงห์บุรี นอกจากนั้นภายในวัดมีพระนอนองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมาย 3454 ระหว่างกิโลเมตรที่ 22-23 ให้เลี้ยวซ้ายเข้ามาประมาณ 800 เมตร

วัดสุทธาวาส หรือ วัดใหม

ตั้งอยู่ที่ตำบลทับยา ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 311 (สิงห์บุรี-อินทร์บุรี) กิโลเมตรที่ 11-12 เลยจากวัดกระดังงาบุปผารามไปประมาณ 5 กิโลเมตร หรือห่างจากที่ว่าการอำเภออินทร์บุรีไปทางทิศใต้ประมาณ 3.5 กิโลเมตร มีวิหารหลังเก่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระจุฬามณี วาดด้วย ช่างฝีมือชั้นครู เป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงออกบรรพชา ภาพตอนผจญมาร ภาพตอนพระพุทธองค์ฉันอาหารที่นายจุนทะถวาย ทรงประชวรแล้วเสด็จไปประทับ ณ ต้นรังคู่ เสด็จสู่ปรินิพพาน และภาพเรื่องราวของการถวายพระเพลิง การแจกจ่ายพระอัฐิธาตุแก่เหล่ากษัตริย์และเทวดา บนหน้าบันเป็นภาพบรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าลอยในน้ำ ปัจจุบันได้ลบเลือนไปแล้ว นับเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามและมีคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง

วัดพระปรางค์มุนี

ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงหมู่ ตรงข้ามวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ประมาณกิโลเมตรที่ 134-135 (ทางไปอำเภอพรหมบุรี) จะเห็นองค์พระปรางค์สี่เหลี่ยมสูงเด่น ใกล้กับองค์พระปรางค์เป็น วิหารหลวงพ่อเย็น พระพุทธรูปปูนปั้นศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ด้านข้างวิหารมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นกรุพระเก่าแก่ที่ทางวัดได้ขุดดินบริเวณนั้นมากลบวิหาร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือชาวบ้านเขียนโดย นายเพ็ง คนลาว เมื่อราวปี พ.ศ. 2462 แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนรก สวรรค์ แต่ยังคงความงดงามไม่แพ้ที่อื่น
วัดอัมพวัน

ตั้ง อยู่ที่ตำบลพรหมบุรี ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 36 กิโลเมตรที่ 130 เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐาน มีพระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม) เป็นเจ้าอาวาส การเดินทาง รถประจำทาง จากกรุงเทพฯ นั่งรถสายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี หรือกรุงเทพฯ-อำเภอวัดสิงห์ มาลงที่ปากทางเข้าหน้าวัดอัมพวันแล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามายังวัด หรือหากมาจากอำเภอเมืองสิงห์บุรี สามารถขึ้นรถสองแถวสายสิงห์บุรี-วัดตราชู ที่ บขส. ในตัวเมือง มาลงที่หน้าวัด

วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลบางระจัน ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข 3032 เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่น ในการต่อต้านพม่า ที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2308 ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” เพราะภายในบริเวณ มีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย ในบริเวณวัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ ๆ กันมีสระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์จึงไม่จับไปรับประทาน และยังมีศาลรวมวิญญาณวีรชนค่ายบางระจันตั้งอยู่ใกล้ริมรั้ว ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498

วัดประโชติการาม

ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระบือ อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ 5 กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี–ชัยนาท (สายเก่า) ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงาม ศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์ สูง 6 วา 7 นิ้ว และหลวงพ่อสิน สูง 3 วา 3 ศอก 5 นิ้ว ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

วัดพิกุลทอง

 

อยู่ในเขตตำบลวิหารขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหารไปประมาณ 9 กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์) ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบ ๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ และบริเวณวัดยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3032 กิโลเมตรที่ 7-8 จะเห็นป้ายบอกทางไปวัดพิกุลทอง ไปตามถนนสาย 3008 ประมาณ 8 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี

 

ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโบสถ์ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์มาก่อน ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีและอุทัยธานี ได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 มีโบราณวัตถุที่สำคัญและเป็นที่รวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เช่น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้จากแหล่งโบราณบ้านคูเมือง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย จัดแสดงเครื่องประดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ พัดยศ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ เครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เครื่องดนตรีไทย ส่วนชั้นล่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน เครื่องมือดักปลา เครื่องทอผ้า ตะเกียงโบราณ

เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรีนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท

ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะพร้อมวิทยากรบรรยาย ควรติดต่อก่อนล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3658 1986

การเดินทาง สามารถไปได้โดย รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี (สายเก่า) ระหว่างกิโลเมตรที่ 14-15 และ รถประจำทาง ไปได้ 2 สาย สายแรก รถสาย สิงห์บุรี-ชัยนาท (สายเก่า) รถจอดที่ท่ารถ บขส. สายที่สอง รถสายกรุงเทพฯ-อำเภอวัดสิงห์ (ป.1 และ ป.2) รถออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร
วัดโบสถ์

 

ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 14-15 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวง เดิมเป็นวัดร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระอุโบสถเป็นเพียงแห่งเดียวที่สร้างโดยใช้รางรถไฟเป็นแกนกลาง ข้างล่าง และที่น่าสนใจคือการแกะสลักบานประตูหน้าต่างโบสถ์ทั้งหลัง โดยช่างที่มีฝีมือแกะสลักของเมืองสิงห์บุรี คือ ช่างชื่น หัตถโกศล ภายในโบสถ์มีพระประธานที่เก่าแก่ พุทธลักษณะที่งดงามมาก ปัจจุบันโบสถ์แห่งนี้ได้รับการบูรณะใหม่

วัดม่วง

ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทร์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หากมาจากถนนสายเอเชีย ห่างจากตัวตลาดอินทร์บุรีมีทางเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 2.5 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. 2365 เดิมนั้นมีต้นมะม่วงอยู่มากจึงเรียกว่า “วัดม่วง” ภายในวัดมีวิหารเก่าแก่เป็นอาคารปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นออกมา ที่หน้าบันประดับด้วยภาชนะเครื่องถ้วยต่าง ๆ ในวิหารมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธานที่พุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีรูปฐานสิงห์ มีฐานบัวขนาดใหญ่รองรับ เพดานประดับด้วยลายเขียนรูปดาว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้านสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และมีเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนแสดงภาพชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของสังคมโบราณในระดับต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

เมืองโบราณบ้านคูเมือง

อยู่ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง) ตั้งอยู่ที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 23 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน กว้าง 650 เมตร ยาว 750 เมตร สูงจากพื้น 1 เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีการขุดค้นพบภาชนะดินเผามากมาย เช่น เครื่องถ้วยชาม หม้อ ไห กาน้ำ ลูกปัดหินสีต่าง ๆ ตะคันดินเผา ธรรมจักรหินเขียว ตุ้มหู ลูกปัด หินสี และเหรียญเงินมีคำจารึกว่า “ศรีทวารวดีศวรปุญยะ” แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยฟูนันจน ถึงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันวัตถุโบราณที่ค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี และภายในบริเวณเมืองโบราณบ้านคูเมืองปัจจุบันได้จัดให้เป็นสวนรุกขชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ มีคูน้ำโบราณล้อมรอบ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่นสวยงาม การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-อินทร์บุรี (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 17 หรือห่างจากตัวอำเภออินทร์บุรีประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้น 3285 เส้นอินทร์บุรี-หนองสุ่ม

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations