www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

PRACHINBURI

PRACHINBURI : General Information

            Prachin Buri used to be a very prosperous town with beautiful waterfalls and canals which are very popular among nature adventurers.


    In the old days, Prachin Buri had a long history of civilization of about 800 years ago, since the Dvaravati period. The ruined town of Muang Si Mahosot at Tambon Khokpip, Amphoe Mahosot was discovered. At Ban Khok Kwang, Amphoe Si Mahosot, east to Mueang Si Mahosot, there was an ancient community at the same period as Muang Si Mahosot.

Through the traces of the ancient towns, there were discoveries of historical venues that were used for religious purposes and historic materials such as Buddha images, earthenwares, and pottery. It was also recorded that the center of civilization has been moved to the present coast of the Bang Pakong River. There were many administration alterations, from town to Monthon, and Changwat (Province) at present.

Geographical Location

In general, Prachin Buri has plain areas and highlands. There are hills and mountains in the north adjacent to Dong Phaya Yen Mountain ranges. In the south and east, there are plains and forests. Low-lying plains suitable for agriculture are in the west of the province

Climate

Prachin Buri has an alternative climate of both dry and damp. Tropical rain in the southeast monsoon season causes damp and rain throughout the season. Northwestern wind in cool season causes dryness. There are 3 different seasons: rainy, during June October ; cool, during November - February; and dry, during March - May. The average temperature of the year is approximately 27 - 30 degree Celsius or 83 - 88 degrees Fahrenheit.


PRACHINBURI : How to get there

Boundary
North Nakhon Ratchasima
South Chachoengsao
East Sa Kaeo
West Nakhon Nayok

By Car

By car: There are many routes from Bangkok.

Using Phahonyothin Highway, to Rangsit, and keep left to use overpass to Highway No.305, parallel to Khlong Rangsit, pass Ongkarak of Nakhon Nayok. Then use Highway No.33 (Nakhon Nayok Prachin Buri), turn right at Samyaek Nong Cha-om at Km.155 to Highway No.319 to Prachin Buri. Total distance is 136 kilometres.
Using Phahonyothin Highway (No.1) to Wang Noi of Ayutthaya, turn right at Km. 90 to Highway No.33 pass Wihan Daeng of Saraburi, and Nakhon Nayok, turn right at Samyaek Nong Cha-om at Km.155 to Highway No.319 to Prachin Buri. Total distance is 164 kilometres.
Using Highway No.304 pass Chacherngsao, Phanom Sarakham, turn to Highway No.319 pass Si Mahosot, to Prachin Buri. The total distance is 158 kilometres.

By Bus

By bus: Regular and air-conditioned buses leave from Mo Chit 2 Bus Terminal everyday. For more details, call 0-2936-2852 - 66. There are 2 routes:

Bangkok - Hin Kong - Nakhon Nayok Prachin Buri by 1st class air-conditioned bus No.58, 59, from 05:00 to 21:00 hrs., leaves every 25 minutes. The fare is 85 Baht.
Bangkok - Ongkarak - Nakhon Nayok Prachin Buri by 1st class air-conditioned No.920, 3 times a day, at 05:00, 10:00, and 17:00 hrs. The fare is 75 Baht.

By Train

By rail: There is railway service from Hua Lam Pong Railway Station in Bangkok to Prachin Buri everyday, 7 times at 06:00, 08:05, 09:40, 11:25, 13:10, 15:10, and 17:25 hrs. For more details, contact Travel Service Unit of Sate Railway of Thailand at 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020.

 

PRACHINBURI : Activities

Ton Pho ( Pho Tree ) at Wat Si Maha Pho

This oldest and largest Pho tree of the country is located in Wat Ton Pho Si Maha Pho. It has been recorded that, 2000 years ago, the seedling stock of this Pho tree was brought over from Buddhakaya. The tree is about 20 metres in circumference, about 30 metres in height, and about 25 metres in diametre.

From the legend, Phra Chao Tawa Nam Payadit, the ruler of Muang Mahosot had sent his representatives to Nakhon Patulibut of India for a branch of the Pho tree, under which the Lord Buddha had sat during his enlightenment. Thereafter, the branch had been planted at this Wat Ton Pho Si Maha Phot. This Pho tree has been the symbol of Prachin Buri. On Visak Puja Day, there will be a fair to commemorate this Pho tree. From Prachin Buri town, use Highway No.319 to Phanom Sarakam for 32 kilometres, turn left for 1 kilometre.

Sa Morakot Ancient Site

Situated in Wat Morakot, Tambon Kok Thai, these are the the gigantic Buddhist sites. The most fascinating attraction is the largest and oldest Lord Buddhas Footprints which were carved on the natural laterite floor. Also, there are the Wheel of Dhamma in the middle of both soles. These Footprints were dated between 13th to 15th centuries B.E.

Moreover, there is Sa Morakot which is a rectangular pool, 115 metres long, 214 metres wide, and 3.50 metres deep, with the total area of about 25 Rai. It is assumed that this pool was dug as a reservoir. In this area, there are also Sa Bua La, and Exhibition center for Mueang Si Mahosot ancient venue. Traveling: Using highway No.319 (Prachin Buri Phanom Sarakam route) for about 23 kilometres, then turn left for 500 metres.

Namtok Sompoi

Situated in Ban Khao Noi, Tambon Bu Fai, this waterfall has the stream of about 400 metres long which runs pass rocks, with suitable areas for swimming. Using the same route to Takhro Waterfall, turn left at 14th kilometre, for about 1.5 kilometres.


Namtok Takhro and Namtok Salatdai

Both waterfalls are located in Ban Takhro, Tambon Bu Fai . Takhro Waterfall is wide with suspension bridge, with the hills on the left, while on the right is the forest which is suitable for relaxation. From Takhro Waterfall, there is a walkway along the stream for another 2 kilometres to Salad Dai Waterfall. On the way, there are many areas for swimming. To go to Salat Dai Waterfall, tourists should contact the escort officer at 10th Ranger Unit of Khao Yai National Park at Takhro Waterfall. From Prachin Buri town, use Highway No.3452 (to Prachantakham) for 16 kilometres, turn right to Highway No.33 to Prachantakham Intersection, and turn left into an access road. Or from Noen Hom Intersection, turn right to Highway No.33 to See Yaek Prachantakham, and turn left to the access road ford for 16 kilometres, and walk for about 500 metres more to Takhro Waterfall.

Namtok Than Thip

This waterfall is in Ban Noen Hin Tang, Tambon Nong Kaeo. The stream runs pass different levels of rocks whereby some areas are suitable for swimming. The surrounding forests are naturally fascinating. Travel to the waterfall by using the same route to Takhro Waterfall, and turning left at 9th kilometre, for about 9 kilometres.

 

Thap Lan National Park

Covering Tambon Bu Phram of Na Di, Prachin Buri; Pak Thong Chai, Wang Nam Khiao, Khon Buri, Soeng Sang of Nakhon Ratchasima; and Pakham of Buri Ram, this park has the area of about 2,240 square kilometres or 1,400,000 Rai. It has been established on the 23rd of December 1981. The attractions in the park are:

Lan Forest and Rest Area Being the last natural palm forest, near the Parks Office, the rare palm trees in this area have yellow flowers during April and June. In the Park, there are also dry dipterous carp forests and rainforests which are the habitats of wild animals, and a variety of species of birds. The Rest Area of 20 rai has many palm trees, and other plants.

Heo Nok Kok Waterfall About 8 kilometres from Ban Thap Lan, this waterfall is beautiful in the rainy season.

Thap Lan Reservoir This reservoir is one kilometre from Ban Thap Lan. Surrounded by mountains, and cool climate, this site is suitable for relaxation.

Huai Yai Waterfall Located in the west of the Park, this large and beautiful waterfall is 50 metre high and 30 metre wide. Traveling: Using highway No.304, at 79th kilometre, go for another 6 kilometres. The waterfall is in in Wang Nam Kheo, Nakhon Ratchasima. In dry season, the waterfall can be reached by car.

Admission Fee: Adult 100 Baht Child 50 Baht

At present, no accommodation is available in the Park. Tourists need to bring their own tents. For more details, contact at P.O.Box 37, Kabin Buri Post Office, Prachin Buri 25116 or at National Park Division, Forestry Department, Bangkhen, Bangkok, Tel: 0 2561 4292 ext. 724 5, 0 2579 5734, 0 2579 7223. or www.dnp.go.th

Traveling From Kabin Buri, use highway No.304 (Kabin Buri Nakhon Ratchasima route) for 32 kilometres. The Park is 90 kilometres from Prachin Buri and 107 kilometres from Nakhon Ratchasima.

Kaeng Hin Phoeng

These rapids are in the Sai Yai River, which originates in Khao Yai National Park in Amphoe Na Di. There is a strong whirlpool that requires quite an effort by skilful oarsmen to clear the hazard. The trip takes one hour through the rapids before running into smooth water about 2 hours towards the end of the journey. Raft riding is possible here during the rainy season from June to October. Kaeng Hin Phoeng rafting trips are organised by resorts in Na Di district.

 

Wat Sansi's Bird Park

Located in Tambon Wat, the park is the place for various kinds of thousands birds. The best season to watch the birds is during July to April. The accessibility to the park is by using the same road to Wat Bot but taking the right turn at the intersection. The park is 18 kilometres from town.

Wat Bot

This temple is located on the west of town, on Bang Pakong River coast. Starting from Thetsaban Damri Road to Suwinthawong Road (Highway No.319), go straight to Highway No.3071 for 4 kilometres. There are 3 Buddha images along the coast named Phra Siri Mongkhon Nimit, the walking Buddha; Phra Sapphasit Nawa, the sitting Buddha; and Phra Maha Chin Saiyat, the reclining Buddha. The atmosphere in the temple is quiet and very shady.

 

Prachin Buri National Museum

Located about 200 metres at the back of Prachin Buri City Hall, this archeological museum is set to be the center of artefacts in 7 provinces: Prachin Buri, Nakhon Nayok, Chacherngsao, Chonburi, Chantaburi, Trad, and Rayong. The Museum displays important artifacts discovered from ancient cities in Davaravati Period. Thai arts in various periods were also displayed for comparative study, including artefacts found under sea water from Koh Kram, Chonburi. Moreover, the temporary exhibition at special occasions has been on display.

The Museum service hours are during 09:00 - 16:00 hrs., everyday except special holidays.

The admission fee is 150 baht.

More details are available at Tel: 0-3721-1586.

Wat Kaeo Phichit

The temple is located on the right coast of Bang Pakong River in Prachin Buri Municipal Area, 2 kilometres east to town. Being an old and major temple, the place was built in 1879 by a Prachin Buri millionaire. In 1918, Chao Phraya Abhaibhubate (Chum Aphaiwong) constructed a new chapel (ubosoth) which had an architectural design of mixed arts styles of Thai, Chinese, European, and Cambodian. The significant attractions are the Ramayana mural paintings on the exterior of the chapel, while the interior are ornated by the paintings of the legend in Buddhism by the royal artists of King Rama VI. In front of the chapel is a concrete building with the style of Greek or Roman dome. Moreover, within the compound, the temple also features a holy scriptures library, and 3- facet meeting hall (sala) at the pier with shaded atmosphere.

 

Namtok Than Rattana

Located in Tambon Noen Hom with the distance about 100 metres from Noen Hom - Khao Yai Highway, and about 25 kilometres from Muang District Office, this waterfall has plenty of water during the rainy season.

King Naresuan the Great Shrine

Located at Noen Hom Intersection, 8 kilometres north to Prachin Buri by Highway No.320, this shrine houses the image of King Naresuan the Great in a standing position to commemorate his camping at Prachin Buri on the way from Ayutthaya to Cambodia. People in Prachin Buri and nearby provinces normally pay respect to this shrine.

Chao Phraya Abhaibhubate Building

The building is located in Chao Phraya Abhai bhubate Hospital on Prachin Anuson Road. It was constructed by the budget of Chao Phraya Abphaibhubate in 1909 as a residence for King Rama V on his royal visit to Prachin Buri. Its architecture is a 2-storey Renaissance building with the front porch featuring a central dome. Floral design ornated the outside walls, doors and windows. The inside is decorated in a western style.

 

Bamboo Garden

Supervised by the Department of Corrections, the garden is located in Tambon Noen Hom with the area of about 300 Rai. This place has the collection of various kinds of bamboo to study. From Highway No.33, turn left at Noen Hom Intersection to Highway No.3077 (Noen Hom - Khao Yai) for 11 kilometres or 20 kilometres from town. Huai Kasian Waterfall It is located about 15 kilometres from Prachin Buri town. At 166th kilometre, in Ban Khon Khwang, Tambon Dong Khilek. Turn left for about 4 kilometres to the waterfall.

Si Mahosot Ancient Town

Si Mahosot Ancient Towns Located at Ban Khok Wat, Tambon Khok Peep, these sites were constructed in the Davaravati Period, with oval shape, and the area of about 700 Rai. There are moats, earth walls, and more than 100 interesting ancient venues. Most of the archeological materials are related to Hinduism.

The most important site is in the center of town. Made from laterites, many materials found were in Lop Buri, Ayutthaya, and Rattanakosin Periods such as Buddha images and pottery. Also, there is Phu Khao Thong a round-shape stupa in the Davaravati Period. Another venue is the Ancient Site No. 25 made from laterite, with rectangular in shape. Sa Kaeo Ancient Site is a square pond, located in the south-west of Mueang Si Mahosot. On the walls of the pond, there are lintels showing 41 animals in the legend. It was believed that the water from this pond is sacred, use in Buddhist ceremony. Traveling: From Prachin Buri town, use highway No.319 for about 20 kilometres, then turn left to highway no. 3070 for one more kilometre, the ancient town is on the right.

Yusuksuwan Museum

The museum exhibits a collections lamps and other old items of various uses such as wares, toys, books and household appliances. The museum is surrounded by the well-arranged garden. The address : 135 Prachintakam Road, Dongkilek, Amphoe Mueang, Prachinburi. Open daily during 09.00 - 17.00 h. Entrance Fee : Adult 150 Baht , Child 100 Baht. For more information call : 0 3746 5300, 0 3746 5333 Fax : 0 3721 1345

 

Namtok Khao Ito

This waterfall in Tambon Dong Khilek is a popular tourist attraction which run through rocks at different levels. Only during the rainy season that there is water. Surroundings are full of forests. The waterfall is on the same route to Chakkraphong Reservoir but is 700 metres further.


ปราจีนบุรี : ข้อมูลทั่วไป

ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี

ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดชายแดนอยู่ทางทิศด้านตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 135 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปี ก่อนปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิยังพบชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองศรีมโหสถ บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและ พบโบราณวัตถุต่างๆ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสำริด กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงดังเช่น ปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี

การปกครอง

จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมโหสถ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครนายก

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ททท.สำนักงานตรนายก (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) อ.เมือง นครนายก โทร. 0 3731 2282, 0 3731 2284
  2. สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี โทร. 0 3745 4005-6
  3. ที่ว่าการอำเภอนาดี โทร. 0 3728 9124, 0 3728 9074
  4. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร. 0 3721 1088, 0 3721 6145-64
  5. โรงพบาบาลศรีมโหสถ โทร. 0 3727 6297
  6. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3721 1058
  7. สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีมหาโหสถ โทร. 0 3727 6123
  8. กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี โทร. 0 3721 1135
  9. สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 3721 1292
  10. สถานีรถไฟ โทร. 0 3721 1120

Link ที่น่าสนใจ

ททท.สำนักงานนครนายก (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว)
http://www.tourismthailand.org/nakhonnayok
ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com
สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
http://www.phrachinburi.go.th
คู่มือไหว้พระศักดิ์สิทธิ์แดนธรรมะ 66 วัด
www.tat8.com/thai/news/greet.htm

ปราจีนบุรี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. ปราจีนบุรี

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1. จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางสายถนนพหลโยธิน พอถึงรังสิตให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 เส้นนครนายก-ปราจีนบุรี พอถึงแยกขวาที่สามแยกหนองชะอมประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 90 ให้เลี้ยวขวาโดยใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาที่สามแยกบ้านหนองชะอม เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร
4. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3481 ที่เขตหนองจอก ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านสร้าง ระยะทาง 70 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1543

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถไฟโดยสาร (รถธรรมดา) สายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี วันละ 4 ขบวน เที่ยวแรกเวลา 05.55 น., 08.00 น., 09.40 น. และ 15.25 น. โดยออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2621 8701, 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 2936 2852-66,0 2936 2816 (จองตั๋ว), สถานีขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี โทร.0 3721 1292 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th เส้นทางเดินรถมี 2 เส้นทาง คือ

1. กรุงเทพฯ-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 58, 59 เที่ยวแรกเวลา 04.50 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น. รถออกทุก 30 นาที ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 1 คนละ 110 บาท ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 2 คนละ 85 บาท

2. เส้นทางกรุงเทพฯ-องครักษ์-นครนายก-ปราจันบุรี เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 920 เที่ยวแรกเวลา 05.25 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.25 น. ค่าโดยสารปรับอากาศชั้น 1 คนละ 92 บาท รถปรับอากาศ ชั้น2 คนละ 71 บาท

 

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ปราจีนบุรี
การเดินทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอบ้านสร้าง 20 กิโลเมตร
  2. อำเภอศรีมโหสถ 20 กิโลเมตร
  3. อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กิโลเมตร
  4. อำเภอประจันตคาม 30 กิโลเมตร
  5. อำเภอกบินทร์บุรี 60 กิโลเมตร
  6. อำเภอนาดี 78 กิโลเมตร

 

ปราจีนบุรี : วัฒนธรรมประเพณี

ประเพณีสงกรานต์ วันไหล รวมใจ ประจันตคาม
วันที่ 13 เมษายน 2552
ณ บริเวณถนนและสนามหน้าที่ว่าการอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

กิจกรรม
ปิดถนนบริการอาหาร-เครื่องดื่ม ให้ผู้ร่วมงานตลอดสองข้างทาง สักการะอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) วีระบุรุษของชาวปราจีนบุรี ชมขบวนแห่และการประกวดเทพีสงกรานต์ ร่วมพิธีสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ชมการละเล่น มหกรรมดนตรีอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน เลือกซื้อสินค้า OTOP

สอบถามรายละเอียด
ที่ว่าการอำเภอประจันตคาม โทร. 0 3729 1402
เทศบาลตำบลประจันตคาม โทร. 0 3729 1401



ปราจีนบุรี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

แก่งหินเพิง

ตั้ง อยู่ที่ตำบลสะพานหิน อำเภอนาดี เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ที่สวยงามอยู่ในลำน้ำใสใหญ่ อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 (ใสใหญ่) หรือ ขญ. 9 อำเภอนาดี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่เหมาะแก่การล่องเรือยางที่ท้าทาย และสนุกสนาน ในช่วงฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำหลาก ล้นแก่ง และไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เหมาะสำหรับการล่องแก่งหินเพิง หากพ้นช่วงฤดูฝนไปแล้วแก่งหินเพิงนี้จะกลายเป็นลานโขดหินกว้างใหญ่ การล่องแก่งหินเพิงจะผ่านแก่งต่าง ๆ ได้แก่ แก่งหินเพิง แก่งวังหนามล้อม แก่งวังบอน แก่งลูกเสือ แก่งวังไทร แก่งงูเห่า การล่องใช้แพยางนั่งประมาณ 8-10 คน ผู้ประกอบการจะพานักท่องเที่ยวเดินป่าไปยังต้นน้ำ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที จากนั้นจะเริ่มล่องแก่งมายังจุดสุดท้ายบริเวณ ขญ. 9 ระยะเวลาในการล่องแก่งประมาณ 20 นาที นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรมล่องแก่งหินเพิง และสามารถพักค้างแรมแบบแค้มปิ้ง หรือพักรีสอร์ทในเขตอำเภอนาดีก็ได้
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายกบินทร์บุรี - นครราชสีมา หลวงหมายเลข 304 จากปากทาง กม.ที่ 11 เข้าไปประมาณ 25 กิโลเมตร แล้วจอดรถไว้ที่ ขญ.9 และเดินเท้าอีก 45 นาทีก็ถึงแก่งหินเพิง

 

ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ

อยู่ ในเขตวัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ตำบลโคกปีบ ภายในวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเป็นหน่อจากต้นพระศรีมหาโพธิ สถานที่ตรัสรู้จากพุทธคยา ประเทศอินเดีย มีอายุกว่า 2,000 ปี ซึ่งนำเข้ามาปลูกเป็นต้นแรก ลำต้นวัดโดยรอบประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 30 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 เมตร ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าทวานัมปะยะดิษฐ์ เจ้าครองเมืองศรีมโหสถในสมัยขอมเรืองอำนาจทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงได้ส่งคณะทูตเดินทางไปขอกิ่งต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับเมื่อคราว ตรัสรู้ จากเจ้าผู้ครองนครปาตุลีบุตร ประเทศอินเดีย แล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี ในวันวิสาขบูชาจะมีงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ

การเดินทาง จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามถนนสุวินทวงศ์ ใช้เส้นทางสายปราจีนบุรี-อำเภอพนมสารคาม ทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรก็จะถึงวัดแห่งนี้

กลุ่มโบราณสถานสระมรกต

ตั้ง อยู่ที่วัดสระมรกต ตำบลโคกไทย เป็นกลุ่มโบราณสถานทางพุทธศาสนาขนาดใหญ่ ที่สร้างซ้อนทับกันหลายสมัย เริ่มตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างศิลาแลงและอิฐ ส่วนใหญ่คงเหลือเฉพาะรากฐานอาคารเท่านั้น ระหว่างการขุดแต่งได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทคู่สลักอยู่บนศิลาแลง ที่ฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้าง และยังมีการสลักรูปกากบาท โดยที่ตรงกลางมีหลุมสำหรับใช้ปักเสา สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปักฉัตรหรือร่ม รอยพระพุทธบาทคู่นี้คาดว่าสร้างขึ้นครั้งแรกสมัยทวารวดีถึงสมัยลพบุรี นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ใกล้กันมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบพระพุทธรูปและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมี สระมรกต เป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ 115 เมตร ยาว 214 เมตร ลึก 3.50 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ สันนิษฐานว่าขุดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำ และได้นำศิลาแลงไปใช้เป็นสถาปัตยกรรม นอกจากสระมรกตแล้วยังมี สระบัวหล้า และ ศูนย์นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีได้ใช้สถานที่แห่งนี้จัดงาน "มาฆปูรมีศรีปราจีน" เป็นประจำทุกปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3727 6084

การเดินทาง จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามถนนสุวินทวงศ์ ใช้เส้นทางหมายเลข 319 สายปราจีนบุรี-อำเภอพนมสารคาม ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตั้ง อยู่เลขที่ 32/7 หมู่ 12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2.5 กิโลเมตร ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นตึกที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศรสร้างขึ้นโดยทรัพย์สินส่วนตัว ในปี พ.ศ.2452 เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราว เสด็จประพาสมณฑลปราจีน มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นตึกสองชั้นแบบยุโรป สมัยเรอเนสซองส์ มีมุขด้านหน้า ตรงกลางเป็นโดม ผนังด้านนอกเป็นปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง ภายในตกแต่งแบบตะวันตก ชั้นล่าง มีการจัดแสดงเครื่องมือทางการแพทย์ในสมัยก่อน รวมทั้งสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคต่างๆ ชั้นบน มีการจัดแสดงหนังสือและตำรายาโบราณ และหินบดยาในสมัยทวารวดี โดยกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว ภายในตึกจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โดยจะเป็นศูนย์การรวบรวมอนุรักษ์ตำราไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี อีกทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร และการแพทย์ของท้องถิ่น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทย ใช้สมุนไพรบำบัดยารักษาโรค มีการนวด อบ ประคบ ฝังเข็ม และมีการแปรรูปสมุนไพรไทยเป็นเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง จำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศร" เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-20.30 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3721 1088 เว็บไซต์ www.abhaiherb.com , e-mail : webmaster@abhaiherb.com
วัดแก้วพิจิตร

ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านขวาของแม่น้ำบางปะกง ถนนแก้วพิจิตร ตำบลหน้าเมือง ในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดนิกายธรรมยุติวัดแรกของจังหวัดปราจีนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2422 โดยเศรษฐีนีใจบุญชาวปราจีนบุรีชื่อนางประมูล โภคา (แก้ว ประสังสิต) ภรรยาของขุนประมูลภักดี ต่อมาในปีพ.ศ. 2461 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุกผุพัง จึงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับอาคารผสมผสานระหว่างศิลปะไทย จีน ยุโรปและเขมร
พระประธานสร้างเมื่อปีพ.ศ.2462 โดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หลวงพ่ออภัยวงศ์ หรือ หลวงพ่ออภัย เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรผู้สร้าง และเป็นพระพุทธรูปปางอภัยทาน ภายในพระอุโบสถมีภาพวาดบนแผ่นผ้าเกี่ยวกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ทศชาติชาดก มารผจญ วาดโดยช่างหลวงในรัชกาลที่ 6 ฝาผนังด้านนอกพระอุโบสถมีภาพปูนปั้นเรื่องรามเกียรติ์ ด้วยพระอัฉริยภาพของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ท่านได้สร้างปริศนาธรรมแทรกไว้ตามที่ต่างๆ เช่น นาฬิกาที่ไม่ยอมเที่ยงอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนแก้ว สร้างปริศนาด้านการปกครอง เช่น รูปสิงห์โตตัวผู้เพียงตัวเดียวไว้ที่บานหน้าต่าง ด้านหน้าพระอุโบสถมี อาคารเรียนหนังสือไทย นักธรรมบาลีเป็นอาคารคอนกรีต รูปสถูปโดม ศิลปะกรีกหรือโรมันอยู่หลังหนึ่ง
นอกจากนั้นภายในวัดแก้วพิจิตรยังมีหอพระไตรปิฎกและศาลาตรีมุขที่ท่าน้ำ บรรยากาศภายในวัดร่มรื่น เปิดเวลา 08.30–17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 08 1481 1740, 08 6831 2412, 0 3721 2795,

น้ำตกธารทิพย์

ตั้ง อยู่ที่บ้านเนินหินตั้ง ตำบลหนองแก้ว เป็นธารน้ำที่ไหลผ่านชั้นหินต่างระดับ บางช่วงไหลผ่านลานหินบริเวณกว้าง บางช่วงเป็นแอ่งน้ำลึก สามารถลงเล่นน้ำได้ มีลานหินสำหรับนั่งพักผ่อน ฝั่งซ้ายของลำธารลักษณะค่อนข้างสูงชัน สภาพโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่น เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างดี

การเดินทาง จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามถนนสายปราจีนบุรี - ประจันตคาม เส้นทางหลวงหมายเลข 3452 ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นไปตามทางหลวงหมายเลข
33 จนถึงสี่แยกประจันตคาม หรือ จะใช้เส้นทางสี่แยกเนินหอมแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงสี่แยกประจันตคาม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน รพช. ตรงไปจนถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 9 จะเห็นป้ายน้ำตกธารทิพย์ เข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์

ตั้ง อยู่เลขที่ 135 ถนนปราจีนตคาม ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองปราจีนบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร ทางไปอำเภอประจันตคาม ด้านซ้ายมือ เป็นพิพิธภัณฑ์ของเก่าของเอกชน เก็บสะสมตะเกียงไว้มากที่สุดในประเทศไทย พื้นที่โดยรอบปลูกพรรณไม้สวยงามนานาชนิด อีกทั้งยังมีสัตว์ต่าง ๆ เลี้ยงไว้มากมาย เมื่อก้าวเข้าสู่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะได้พบกับตะเกียงจำนวนมหาศาล ซึ่งแขวนอยู่ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นตามที่จอดรถ ร้านค้า บนเพดาน ตามอาคารต่างๆ แม้กระทั่งห้องน้ำ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีอาคารทั้งหมด 5 อาคาร ประกอบด้วย
อาคารที่ 1 อาคารราชาวดี เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงสิ่งของโบราณหลากหลายชนิด เช่น เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เตารีดโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ตู้เย็นใช้น้ำมันก๊าซ เป็นต้น ในส่วนของชั้นสองเป็นชั้นที่รวบรวมตะเกียงเจ้าพายุหลากหลายยี่ห้อ ทั้งยังมีตะเกียงที่มีการใช้งานที่แตกต่างกันไปเช่น ตะเกียงเรือ ตะเกียงฉายสไลด์ นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของส่วนประกอบตะเกียงให้ศึกษาอีกด้วย

อาคารที่ 2 อาคารลีลาวดี อาคารนี้เป็นอาคารแฝดที่เชื่อมต่อกันทั้งหมดซึ่งมีสองชั้นรวมหกห้อง โดยแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นล่างประกอบไปด้วย
- ห้องราชพฤกษ์ ได้จัดแสดงเกี่ยวกับถ้วยชามโบราณ ถาดกระเบื้อง โถพู ขวดน้ำมะเน็ด ซึ่งเป็นขวดน้ำอัดลมในสมัยก่อน อีกห้องหนึ่งคือ
- ห้องชัยพฤกษ์ ส่วนใหญ่ของที่จัดแสดงจะเป็นเครื่องทองเหลือง อาทิ เชี่ยนหมากทองเหลือง ขันลงหิน เตาน้ำมันก๊าซ ตะเกียงลาน
- ห้องกัลปพฤกษ์ รวบรวมรถจักรยานหลากหลายยี่ห้อรวมไปถึงรถจักรยานยนต์ที่มีหลักการทำงานเป็น สองส่วน คือ จะให้เป็นจักรยาน(ถีบ) หรือเป็นรถจักรยานยนต์ก็ได้
ในส่วนของชั้นที่สองประกอบด้วย
- ห้องทองกวาว ห้องนี้เห็นได้ว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เพราะภายในห้องนี้เป็นของสะสมที่เป็นของเล่นสังกะสี โดยส่วนใหญ่ และยังมีสามล้อถีบของเด็กในสมัยก่อน ซึ่งเป็นห้องที่เด็กๆจะได้เห็นวิวัฒนาการของของเล่นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
- ห้องทองหลาง ภายในห้องนี้ได้จัดแสดงในเรื่องของพระ เช่น พระผง พระเหรียญรวมไปถึงรูปพระเก่าๆอีกมากมายหลายแบบ รวมทั้งพระเครื่องที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี
- ห้องทองพันชั่ง เป็นการรวบรวมเกี่ยวกับเครื่องคำนวณ ตราชั่งและเครื่องตวงวัดในรูปแบบต่างๆ เช่นตราชั่งคัน ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ในการจัดแสดงของอาคารหลังนี้ ได้จัดแสดงสิ่งของ ออกเป็นหมวดหมู่โดยในแต่ละห้องจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป

อาคารที่ 3 อาคารชวนชม อาคารหลังนี้เป็นอาคารชั้นเดียว การจัดแสดงภายในของอาคารหลังนี้เป็นการจัดแสดงในเรื่องของรูปเก่าของเมือง ปราจีนบุรีในสมัยก่อน และภาพถ่ายครั้งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๙) เสด็จมาเยือนจังหวัดปราจีนบุรี ณ.วัดแก้วพิจิตร และมีหนังสือเก่านานาชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 หนังสือการ์ตูนและสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องของแสตมป์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงแสตมป์ที่สำคัญๆไว้
หลายชุดด้วยกัน รวมถึงยังมีล็อตเตอรี่รุ่นที่ 1 ของรัฐบาลสยามอีกด้วย


อาคารที่ 4 อาคารเจ้าพายุ อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบของตะเกียงเจ้าพายุ โดยมีส่วนสูงประมาณ 13 เมตร ซึ่งภายในของอาคารนี้ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเพื่อชมวิวโดยรอบได้เมื่อทุกท่านได้ชมกับของสะสม นานาชนิดที่ทำให้ท่านได้ย้อนกลับสู่อดีตแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีสถานที่ที่ให้ทุกท่านได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับธรรมชาติ นั่นคือ บ่อปลาและกรงนกขนาดใหญ่ที่มีนกสวยงาม นานาชนิดให้ท่านได้ชื่นชม เช่น นกยูงไทยที่ในปัจจุบันหาดูได้ยากแล้ว และยังมีบ่อเต่า รวมไปถึงบ่อจระเข้อีกด้วย
อาคารที่ 5 อาคารฟ้าประดิษฐ์ ที่นี่ท่านจะได้พบกับเรือหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเรือขุดที่ใช้ต้นไม้ทั้ง ต้นมาทำเป็นเรือขุดเพียงลำเดียวและภายในโรงเรือยังมีเรือนผูก ซึ่งเป็น
บ้านที่สร้างจากไม่ไผ่โดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือลวดในการก่อสร้างเลย และภายในเรือนผูกได้จัดข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตในสมัยก่อน ให้เยาวชนได้ศึกษาอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 9.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 30 บาท ต่างชาติผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 100 บาท โทรศัพท์ 0 3746 5300 , 0 3746 5333 โทรสาร 0 3721 1345

ตลาดบ้านโง้ง บ้านต้น

ตลาด บ้านโง้ง บ้านต้น ตลาดบ้านโง้ง บ้านต้น เป็นตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์จากไม้เก่าหรือไม้ไผ่ของชุมชนชาว โพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร (ทางหลวงหมายเลข 33) กม. 172

ตลาดแนวถนนสุวรรณศร ทั้งสองฝั่งจะถูกจับจองจากชาวบ้านที่นำสินค้าพื้นบ้านที่สรรค์สร้างจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น บวกกับความคิดริเริ่มของชุมชนมาประดิษฐ์และผลิตสินค้าพื้นเมืองจำหน่ายให้ นักท่องเที่ยวที่ใช้ ถ.สุวรรณศร สัญจรไปมา บ้างก็ซื้อเป็นของฝาก แต่บางรายมีหัวทางการค้าก็จะรับสินค้าของบ้านโง้ง บ้านต้นไปจำหน่ายต่อเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านที่ตำบลโพธิ์งามมีรายได้เสริมและในปัจจุบันบางครัวเรือนยึด เป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ประจำของครอบครัว

ด้วยจุดเด่นที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีไผ่ขึ้นอยู่จำนวนมาก หลากหลายสายพันธุ์ แต่เดิมชาวบ้านจะใช้หน่อไม้อ่อนสำหรับเป็นอาหารและไผ่แก่สำหรับจักสาน สร้างบ้านเรือนหรือทำอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เสริมเพิ่มรายได้หลักให้กับครอบครัว ชุมชนจึงได้รวมตัวกันผลิตสินค้าที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบหลักนำมาจำหน่ายให้ ผู้ที่เดินทางไปมาทั้งเครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งบ้านเรือนเช่น ชุดรับแขก เตียงนอน ซุ้มเรือนไทยมุงหญ้าคา ซุ้มเรือนไม้เก่า, เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ตะแกรง ฝาชีลวดลายต่าง ๆ, อุปกรณ์สำหรับจัดสวน เช่น รั้วไม้ กระถางปลูกกล้วยไม้ เป็นต้น

จึงขอแนะนำตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่หรือไม้เก่า ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีความสวยงามทนทานไม่แพ้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักราคาแพง หรือเลือกของใช้ต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ บ้านโง้ง บ้านต้น ตำบลโพธิ์งาม มาชมมนต์เสน่ห์ของพันธุ์ไผ่ พันธุ์ไม้ล้มลุกที่มองผ่านแล้วอาจจะมีค่าไม่มากนัก แต่เนื้อไม้สีทองของไผ่สามารถนำมาดัดแปลงเป็นของใช้นานาชนิด ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานที่นับว่ามีเพียงชิ้นเดียวในโลกนำมาใช้ ประโยชน์ได้นานัปการ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0 3731 2282, 0 3731 2284 www.tat8.com
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์งาม โทร.0 3729 1274
\

สวนนงนุช

ตั้ง อยู่ที่บ้านทุ่งโพธิ์ เป็นรีสอร์ทที่รวบรวมความหลากหลายในเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ มีพื้นที่ติดกับเขาใหญ่ มีพรรณไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด และหลากหลายกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว เปิดบริการเวลา 08.00- 18.00น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3740 1371
การเดินทาง จาก กรุงเทพ ฯ โดยใช้เส้นทางสายรังสิต - องครักษ์ ผ่านตัวเมืองนครนายก เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 33 สู่สี่แยก กบินทร์บุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 304 ตรงมาประมาณ 22 กิโลเมตร จะเห็นป้ายสวนนงนุช ปราจีนบุรี ใช้เวลาในการเดินทางเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง

อุทยานแห่งชาติทับลาน

ครอบ คลุมพื้นที่ของตำบลบุพราหมณ์ ในเขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี, อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,240 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,400,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2524
ภายในอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่

ป่าลานและสวนพักผ่อนหย่อนใจ อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ เป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์มที่หายาก จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงฤดูออกดอกในราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ดอกมีสีเหลืองสดสวยงามมาก หลังออกดอกแล้วต้นลานนั้นจะตายไป สวนพักผ่อนหย่อนใจ ติดกับที่ทำการอุทยานฯ พื้นที่ประมาณ 20ไร่ ประกอบด้วยต้นลานและพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในร่มรื่น มีซุ้มสำหรับนั่งพักผ่อน กลางสวนมีสระน้ำขนาดใหญ่นอกจากดงลานแล้ว ภายในพื้นที่อุทยานฯ ยังปกคลุมด้วยป่าเต็งรังและป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และนกชนิดต่างๆ

น้ำตกทับลานหรือน้ำตกเหวนกกก อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ7 กิโลเมตร เดินเท้าอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น

อ่างเก็บน้ำทับลาน อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่สวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขา อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน

น้ำตกห้วยใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีความสูง ประมาณ 50เมตร กว้าง 30 เมตร ไหลแผ่กว้างเป็นม่านน้ำตก มีน้ำไหลตลอดปี แต่ไม่มีแอ่งน้ำให้เล่น

เขื่อนลำมูลบน เขื่อนดินสูง 30 เมตร เป็นต้นน้ำของแม่น้ำมูลที่เกิดจากผืนป่าทับลานบนสันเขื่อนมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของอ่างเก็บน้ำ

หาดชมตะวัน เป็นชายหาดริมอ่างเก็บน้ำของเขื่อนลำปลายมาศ หาดยาวประมาณ 300 เมตร มีเรือให้เช่าชมทิวทัศน์รอบอ่างเก็บน้ำ

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท

อุทยานฯ ยังไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวต้องการเข้าพักแรมจะต้องนำเต็นท์ไปเอง โดยเสียค่าพื้นที่คนละ 30 บาท/คืน
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน 520 หมู่ 1 ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี 25220 โทร. 0 3721 9408 หรือ ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือ http://www.dnp.go.th

การเดินทาง จากอำเภอกบินทร์บุรีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 สายอำเภอกบินทร์บุรี-นครราชสีมาระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ริมทางหลวง (ห่างจากจังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 90 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 107 กิโลเมตร)

น้ำตกตะคร้อ และน้ำตกสลัดได

ตั้ง อยู่ที่บ้านตะคร้อ ตำบลบุฝ้าย น้ำตกตะคร้อ อยู่ห่างจากด่านตะคร้อ ประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นแก่งน้ำกว้าง มีสะพานแขวนทอดข้ามน้ำตกตะคร้อ ฝั่งซ้ายของลำธารเป็นเนินเขา ส่วนทางด้านฝั่งขวาเป็นป่าโปร่ง เหมาะแก่การพักผ่อน จากน้ำตกตะคร้อมีทางเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึง น้ำตกสลัดได เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม หากจะเดินทางเข้าไปชมน้ำตกสลัดไดควรติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจาก หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 10 ที่ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกตะคร้อ โทร. 0 1755 4852, 0 9913 5058 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
การเดินทาง จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามทางถนนปราจีน-ตะคาม (เส้นทางหลวงหมายเลข 3452) ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงสี่แยกประจันตคาม แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช. หรือจะใช้เส้นทางสี่แยกเนินหอมแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงสี่แยกประจันตคาม ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช. ประมาณ 16 กิโลเมตร และเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร จนถึงตัวน้ำตกตะคร้อ
น้ำตกส้มป่อย

ตั้ง อยู่ที่บ้านเขาน้อย ตำบลบุฝ้าย เป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนัก ไหลลดหลั่นผ่านแก่งหิน เป็นระยะทางยาวประมาณ 400 เมตร มีแอ่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้ตลอดลำธาร
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกันกับน้ำตกธารทิพย์ ก่อนถึงน้ำตกตะคร้อจะมีแยกซ้ายมือบริเวณกิโลเมตรที่ 14 เข้าไปจนถึงตัวน้ำตกอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

ตลาดหนองชะอม

ตลาด หนองชะอม ตลาดหนองชะอม เป็นตลาดกลางขายสินค้าพื้นเมือง ของฝากจังหวัดปราจีนบุรีและจากจังหวัดอื่น ๆ จึงเป็นจุดพักรถของนักท่องเที่ยวที่ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 33 กม.151 ที่มีจุดหมายปลายทางในสถานที่ต่าง ๆ

ของขายในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าภายในจังหวัดปราจีนบุรี โดดเด่นด้วยผลไม้ตามฤดูกาล - ทุเรียนเนื้อหนา กระท้อนเนื้อนุ่ม มังคุดหวานหอม ส้มโอ มะไฟ และหน่อไม้ไผ่ตงซึ่งปัจจุบันมีขายตลอดทั้งปี เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหน่อไม้ไผ่ตงและปลูกจำนวน มากอีกทั้งมีคุณภาพ หน่ออ้วน ๆ ร$