www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

NONTHABURI

NONTHABURI : General Information

           Nonthaburi is over 400 years old, dating back to when Ayutthaya was the capital. The town was originally located at Tambon Ban Talat Khwan, a famous fruit orchard where the Chao Phraya River and various canals pass through.
 


    King Prasat Thong ordered the digging of a canal as a shortcut from the south of Wat Thai Muang to Wat Khema because the old waterway flowed into Om River to Bang Yai then to Bang Kruai Canal next to Wat Chalo before ending in front of Wat Khema.

After the new shortcut was completed, the Chao Phraya River changed its flow into the new route that remains today. In 1665, King Narai the Great noticed that the new route gave enemies too much proximity to the capital. Therefore, he ordered that a fortress be built at the mouth of Om River and relocated Nonthaburi to this area. A city shrine still stands there.

Later during the reign of King Rama IV of the Rattanakosin period, he ordered the town moved to the mouth of Bang Su Canal in Ban Talat Khwan. King Rama V then had the provincial hall built there on the left bank of the Chao Phraya River. In 1928, the hall was moved to Ratchawitthayalai, Ban Bang Khwan, Tambon Bang Tanao Si. It is now the Training Division of the Ministry of Interior on Pracha Rat 1 Road, Amphoe Muang, on the bank of the Chao Phraya River. The building is of European architecture decorated with patterned woodwork. The Fine Arts Department has registered it as an historical site. The provincial hall is now on Rattanathibet Road.

NONTHABURI : How to get there

Boat

Take a Tha Chang-Bangkok Noi-Bang Yai ferry line from Chang Pier. It operates from 06.30 to 23.00 hrs. and leaves from the pier every 30 minutes. The best time for the visitors to ride a
ferry is from 08.30 to 15.30 hrs.

There are also daily express boats or Chao Phraya express boats between Wat Ratcha Singh Khon Pier,Amphoe Yanawa and Wat Toei Pier, Amphoe Pak Kret District from 6 am. to 6 pm., leaving the pier every 20 minutes For more information, please contact Chao Phraya Express Boat Co.Ltd. Tel : 0 2222 5330 or 0 2623 6001-3 or www.chaophrayaboat.co.th

Car

From Phra Nang Klao Bridge turn left to Bang Kruai for 17 kilometres at Bang Bua Thong junction, turn right to Nonthaburi District Office at Wat Chalo, continue driving for 500 metres. Wat Bang O will be found on the right.

NONTHABURI :  Activities

Wat Chalo

Established in the reign of King Barommagot of Ayutthaya period in the form of argosy, the temple is famous for its notably world’s biggest sworn-boat chapel. For more details, please contact 0 2447 5121, 0 2883 9277

Wat Ku

This Mon style temple located on the bank of the Chao Phraya River in Tambon Bang Pud was constructed in the Thonburi period. Inside the old chapel, the walls are finely decorated with paintings in Mon style. The temple is known as the area where the shipwreck of King Rama V’s queen took place. Therefore, a palace has been built to commemorate her death. Her body was temporarily placed in the monastery before Lying-in-State in Bangkok. The ship was salvaged later and kept in the dock near Wiharn’s edifice enshrining a big reclining buddha. There is also a pavilion constructed as another remembrance to her death imitating Phra Thi Nang Aisawanthippaya Asna. in Bang Pa In Palace.

How to get there;
By car-From Pak Kret Pier, turn left into Soi Wat Ku on Sukhaprachasan Road. Pass Wat Bang Pud Nok and Suan Thip around 3 kms., the temple will be on the left.

By boat-Rent a boat at Pak Kret Pier and head towards north around 3 kms. It will take 10 minutes to see Wat Ku Pier on the right.

The Lame animals Aid Foundation

The Lame animals Aid Foundation (fostered by Luangta Maha Bua) Being nowadays a home of 800 dogs and 150 cats, the foundation situated at 15/1 Mu 1, Soi Phramahakarun, Tiwanon Rd. is pleased to accept any kind of donations such as money, newspapers, rice and etc. Besides, there are also several projects, for example; ‘To extend the cats & dogs lives, it takes only one bath per day!’, ‘I want Daddy and Mommy Project’. What’s more, on every last Sunday of April, the annual fair where an auction of the stars’ belongings and the show of dog stars will be held. For more details, please contact 0 2584 4896, 0 2961 5625, 0 2961 3799 Fax. 0 2961 5305.

Sri Nakarin’s Park A park

Sri Nakarin’s Park A park named after his majesty King Rama IX’s mother. With an area of about 41 acres, it is a huge public park where an enormous pond is surrounded by various plants making the place shady and peaceful for relaxation. Opened daily to public.

How to get there; From Pak Kret Pier, take Tiwanon Road, turn right at the first intersection and carry on around 2 kms.

Wat Tamnak Tai

Another ancient temple is situated in Tambon Tha Sai on Sanam Bin Nam Road. According to the history, prior to the construction of this monastery, this area used to serve as King Krung Thonburi’s temporary royal pavilion. It is assumed that the Wiharn and the belfry were constructed in 1824 in the period of King Rama III.

Wat Chompuweg

This monastery is located in Tambon Tha Sai, on Sanam Bin Nam-Nonthaburi Road. The temple’s old name was Chompuwiweg because of its location on a tranquil hill. Built in the late Ayutthaya era by Mon in 1757, Wat Chompuweg still has the beautiful mural paintings in the Wiharn and Ubosot, as well as the Mon style pagodas constructed by Mon monks in 1917.

How to get there;
By bus Take the bus number 69 or take a minibus from Phra Nang Klao Bridge. For more information, call 184.

Wat Chotikaram

Wat Chotikaram Constructed in 1807 in Tambon Bang Phai, Wat Chotikaram’s old name was Wat Sam Chin. The most beautiful spot of this monastery is Viharn Song Rong where not only the walls, but also floor and ceiling are covered with splendid mural paintings.

How to get there; Use the same direction of Wat Sangkhatan. It is easy to go there by following the signs of direction.


Wat Sangkhatan

This monastery in Tambon Bang Phai possibly named Wat Sarikho in the late Ayutthaya period was built in Ceylonese Style by skillful craftsmen. The most notable spots of this temple are the glass Ubosot and the boat-shaped monk cells in a pleasantly shady area that tranquility is absolutely accessible. For more information, please call 0 2447 0799.

How to get there;
By car-Go along Rattanathibet road and cross Rama V Bridge. Then keep left, there will be a sign of direction to Wat Sangkhatan. Turn left at this sign and carry on around 2 kms.

By ferry-Take the ferry boat at Nonthaburi Pier to Bang Sri Mueang Pier, then get on the minibus heading to the temple.

Wat Poramaiyikawat Museum

The museum displays various interesting items such as votive tablets, crystal ware , porcelains including " hem " , a master piece of art made by Colonel Chatwat Ngamniyom.Some say that Hem must be created by Mon who had an inspiration from the coffin but the hem of monks is different with a tiny window where the body can be seen from outside. Opening time is Monday to Friday from 1 pm.- 4 pm. and 9 am.- 5 pm. on weekend.For more information, please call 0 2584 5120

Wat Chonprathan Rangsarit

Wat Chonprathan Rangsarit is a peaceful temple located in the vicinity of Tambon Bang Talat, Amphoe Pak Kret on the Nonthaburi-Ha Yaek Pak Kret Road. Its multi-purpose bamboo shade compound is always popular with Buddhists who come to offer food to the monks and listen to the sermons given by the abbot, Phra Thep Wisutthi Methi (Panya Nandha Bhikku).


Ko Kret

Ko Kret or Kret island in the Chao Phraya River was created from the digging of a canal around a cape of the Chao Phraya River. In 1722, during the reign of King Thaisa of Ayutthaya, the island was called Khlong Lat Kret Noi which means a shortcut to Kret canal. Later, the current diverted, making the canal larger and turning the cape there into an island.

Ko Kret has prospered since the Ayutthaya period as evident from the many temples on the island that are from that period. However, it may have been deserted when the Burmese sacked Ayutthaya. When Ayutthaya was reclaimed, King Taksin the Great relocated the Mon people who found religion here. The Mon people on the island came during the Thon Buri period and during the reign of King Rama II.

Chao Phraya Express Boat Co., Ltd. organises one day trip cruising to Koh Kred from Sathorn Pier every Saturdan and Sunday. Prices: Adult 300 baht, Child 250 baht. For more information call 0 2623 6143 or 0 2623 6001-3, 0 2225 3003, 0 2222 5330 ext. 106 or visit http://www.chaophrayaboat.co.th

A bicycle is the best transportation mode on the island.

Attractions on Ko Kret :

Wat Poramai Yikawat or Wat Pak Ao has many interesting things to see. There is a small castle with a five-tiered roof at the temples landing. It used to house a Mon coffin of a former abbot.

The fascinating convocation hall is decorated with items imported from Italy, a style that was popular during the reign of King Rama V. The king wished to preserve some of the traditional ways and commanded that this temple have prayers in the Mon language. Nowadays this temple is the only one that keeps the Buddhist scripture in this language. The main Buddha image here is in the Man Wichai posture, the work of Prince Praditsathanworakan who also made the Siam Thewathirat Buddha image. King Rama V praised this images beauty because its face seems alive. Another Mon characteristic here is the Mon-style pagoda that is a replica of Phra That Chedi Mutao in Hongsawadi that is highly revered by all Mons and houses the holy relics of Lord Buddha.

The chapel enshrines a reclining Buddha of the late Ayutthaya period that is decorated with striking mural paintings of royal insignias drawn by Prince Prawit Xumsai. Behind the building is a Buddha image of the province called Phra Nonthamunin from the late Ayutthaya period in the meditation posture on a Mon pedestal (Chong Phara) made by local artisans. In front of the building is a marble Buddha image that Sang Sew Sun, a Burmese, presented to King Rama V. The building is open daily during 08.30-16.30 hrs.

The museum exhibits artifacts that include earthen Buddha image, glassware, porcelain, and the Hem in particular. The Hem, a Mon-style coffin, which was made by Colonal Chatwat Ngamniyom, is considered a masterpiece of art. Its superb design and aluminum plate carving have been delicately done. It is believed that the Mons had copied the coffin style of Lord Buddha, which had a straight base, wide top, and narrow sides. The drawing of this coffin is shown in the museum. The Hem usually contains a dry corpse. A monks Hem has a window for onlookers to see the corpse inside.

Wat Prasat

Wat Prasatwas built in the reign of King Narai the Great (of the late Ayutthaya period). The ubosot possesses sophisticated craftsmanship: the upper part features a divine god riding garuda, the finial is decorated in Mon style while a royal lion is depicted beside the finial. The sampan-shaped ubosot base used no drilling during the construction. The reason behind the unusual shape of the building is that the shape would easily allow cool air to replace heat when it rises.

The mural paintings here from the late Ayutthaya period are the works of advanced artists of the province. They are currently the oldest paintings of Nonthaburi. This temple has correctly preserved buildings and art. It is, therefore, a place of study for both Thais and foreigners. On the education building is a pulpit that is as old as the chapel.

Getting there: It is located on the Bang Kruai-Sai Noi Road, Tambon Bang Krang.

If taking a boat, the temple is accessible by walking through fruit orchards for 2 kilometres or if taking a car (more convenient), from Nonthaburi Pier get a ferry then a Song Thaeo of the Bang Yai-Tha Nam line. The stop is near Wat Chaloem Phra Kiat.

 

Wat Chaloem Phra Kiat

This temple is a royal monastery located to the west of the Chao Phraya River. It was constructed under the royal command of King Rama III to dedicate to his mother and grandparents who resided in this area. The construction was completed in the reign of King Rama IV. The combination of Thai and Chinese-style ubosot (chapel) can be seen in an attractively peaceful temple compound. This unique architectural ubosot possesses an earthen mosaics roof of natural colors, which had been laid in a Chinese style and beautiful Chinese mosaics crafted into a striking flower on its upper part.

The chapel consists of a colorful mural painting of falling flowers, door and window panels have lacquered gold leaf designs, gables have raised plaster flower designs, the floor is decorated with mirrors, and the inside part of the door and window panels has drawings of lotuses, birds and aquatic animals.

The main Buddha image enshrined in this chapel is in the Sadung Man posture. It is made entirely of copper. According to legend, King Rama III commanded that copper be mined in Amphoe Chanthuk in Nakhon Ratchasima Province. A sizable quantity of high-grade copper was subsequently obtained. The king wished for the copper to be used in religious affairs and ordered the molding of Buddha images to be housed as main images within 2 new temples that were Wat Ratchanadda and Wat Chaloem Phra Kiat. He also ordered the molding of images in 34 other postures. The image at Wat Chaloem Phra Kiat was completed in 1846. However, misfortune accompanied the transfer of the main image to Wat Ratchanadda when the carriage carrying the image rolled over and killed Chao Phraya Yommarat (Bunnak) and 2 other officials. In the reign of King Rama IV, he named the image Phra Phutthamaha Lokaphinanthapatima to mark the tragedy.

In 1858, King Rama IV placed the main Buddha image in the royal chapel here. It is in the Man Wichai posture flanked by servants. It sits on a pedestal and is the only one of its kind.

Other interesting historical artifacts include a Lanka pagoda and Phra Si Maha Pho Phan Phothikhaya dating from the reign of King Rama IV can be seen in the temple.

 

Kanchanaphisek Park

This public park is located beyond Wat Chaloem Phra Kiat. It covers an area of 40 acres. The park was built by the Treasury Department to mark the 50th anniversary of the accession to the throne of King Bhumibol Adulyadej and as a recreation spot for the public. The park has a fine collection of water plants, garden plants and underwater animals. The park is open daily from 06.00 to 18.00 hrs. Admission is free.

The royal landing is near the reception pavilion. This is a walk-through pavilion with a four-corner tiered roof and surrounded by three traditional carved wooden pavilions.

The attractive three pavilions that are made of teak are primed with genuine gold leaves and decorated with colorful glass. They were used to hold many royal functions. Nearby, a group of teak Thai houses built in noble Thai style can be seen.

At the corner near the river is a former residence of Nonthaburi's governor and is the entry to the delightful ambience fruit farms include during, mangosteen, jackfruit, and sweet coconut. Getting There

By Car Drive along Bang Kruai-Sai Noi route, and turn to Nonthaburi Pier, road signs will be seen all the way. From Bangkok, cross over Phra Nangklao Bridge to Bang Phlu junction, turn left to Suan Kaeo temple, and then follow the road signs to Kanchanaphisek Park.

By Boat Take a regular long tail boat from Nonthaburi Pier along Bang Yai Canal. The boat departs every 20 minutes from Nonthaburi Pier. The trip takes around 5 minutes. The fare is 7 baht.

 

Wat Amphawan

Wat Amphawan from the late Ayutthaya period was formerly called Wat Bang Muang. The most striking feature is a wooden scripture hall in the middle of a pond. This most complete example of Thai architecture has 2 rooms. Some of the features of the hall are wooden bars, a two-tiered roof covered with earthen tiles and woodcarving with exquisite designs.

The entrance door is primed with gold leaves, the mullion is crafted into flowers and gourds, above the doors are birds on each side, and beyond them the radiant sun and moon are depicted. At the rear, a tray on a pedestal and wooden Buddha images are housed.

Getting There:

- The 5-minute ride on a long tail boat from Bang Yai District Office can make the journey.

By Car Driving on Bang Bua Thong-Taling Chan outer ring road, turn left at Tambon Bang Muang.

 

Wat Suan Kaeo

Wat Suan Kaeo is a Buddhism diffusion centre. An innovative monk named Phra Phisal Dhamma Phati or Phra Phayom Kanlayano has initiated several projects for the Suan Kaeo Foundation. The Foundation aims to upgrade living standards of the poor and to develop society. Successful projects include the Rom Pho Kaeo, the shelter for the elderly, the supermarket for the poor, and the Suan Kaeo nursery projects. For donation and tours, contact tel. 0 2595 1444.

Getting there: The temple is reached by driving over Phra Nang Klao Bridge, turn left at the second intersection for 2 kilometres. Taking no.63 bus from Victory Monument is also another way to the peaceful temple.

 

Wat Pho Bang O

Wat Pho Bang O is a charming old temple dating from the Ayutthaya period that is accessible via a 200-metre walk from the temples pier. It is in a dilapidated condition, but is being renovated by the Fine Arts Department. During the reign of King Rama III, Prince Seni Borirak (the founder of the Seniwong family) renovated the temple. The chapel that shares a similar style with the Temple of the Emerald Buddha has pillars which point to the same direction in order to maintain the balance. The upper part of the chapel has woodcarving with Chinese patterns. The sandstone temple boundary markers are located around the chapel and every corner of the chapel is surrounded by pagodas. The door frames are decorated with beautiful sculptures that are made from sugarcane cement.

Getting There :

By Boat Take a Tha Chang-Bangkok Noi-Bang Yai ferry line from Chang Pier. It operates from 06.30 to 23.00 hrs. and leaves from the pier every 30 minutes. The best time for the visitors to ride a ferry is from 08.30 to 15.30 hrs.

By Car From Phra Nang Klao Bridge turn left to Bang Kruai for 17 kilometres at Bang Bua Thong junction, turn right to Nonthaburi District Office at Wat Chalo, continue driving for 500 metres. Wat Bang O will be found on the right.

Kwan Aman

Considered as the Mon Cultural Centre, this pottery museum is notable for its large collection of the distinctive ancient Mon design ceramics. Mon people have always been skillful in pottery since their settlement in the delta of Irawadi River. Later, at the time of Mon’s installation to Thailand during the Thonburi era, pottery has become since then Nonthaburi’s oldest handicraft and symbol with the notably beautiful characteristic Mon design. Opened every day from 9 am. to 5 pm. For more information, please call 0 2584 5086.

 

The Dessert Canal (Khlong khanom wan)

The local people living in the compound of the dessert canal as well as other canals around Ko Kret earn their living by selling several traditional Thai home-made desserts and sweets. Tourists can also enjoy the show on how to make Thai desserts and shopping all the sweetmeats as souvenirs from Khlong Khanom Wan.

How to get there;
Take the ferry at Wat Sanam Nua (not far from Pak Kret Pier)or Wat Klang Kret Pier where the boat will be on service from 5 am. to 9.30 pm.

The Horn Museum

A great collection of horns as well as antiques is displayed in this private museum located at 27/8 Mu 6, Pracharaj Rd., Tambon Talad Khwan. Inside the museum, there is an exhibition of horns and antiques dating back 100 years to 16 million years ago, particularly the horns of the herbivore and cannibal in Thailand. The most distinguished horn is the 2-metre-long mammoth’s ivory found in the northeastern part of Thailand. Opened on weekend from 9 am. to 4 pm. The admission fee for adult is 100 baht and 50 baht. for children. For more details, please call 0 2526 2681, 0 2968 5956 Fax. 0 2526 5741.

Montri Tramote’s house or Ban Som Song Saeng

This house on Tiwanon 3 Road, Soi Phichayanan 2, Tambon Talad Khwan belongs to Kru Montri Tramote, notable Thai musician who lived during the reign of King Rama V until King Rama IX. Acclaimed as a national artist in 1985, he composed more than 200 songs including the most famous one called ‘Som Song Saeng’. The house is opened to the public for a study on a simple way of living of Kru Montri Tramote who had applied the buddhist virtues and non-materialism to his life. This warmly pleasant house is still lived by his descendants. But in the same compound, an area is served as an exhibition of Kru Montri Tramote’s biography, works and the whole original copies of his songs including the one firstly composed at the age of 20 and the last one written when he was 91 years old. Nowadays, the house is also opened as a Thai musical school every weekend. Besides, on second Sunday of February every year there will be a ceremony of showing respect to Thai musical teachers which is free of charge.

How to get there; By bus- number 32,33. For more information, please contact 0 2968 9498 press 0 or 0 2527 5257.

 

Museum and the Thai Traditional Medical Training Centre

This museum is located in the Ministry of Public Health on Tiwanon Road. The building of three storeys is remarkably built in traditional Thai style designed by a national artist. The second floor serves as an exhibition hall divided into 7 rooms of the history and evolution of Thai traditional medical profession, traditional medical philosophy as well as Thai traditional medicines.

Room 1. Phra Phaisachakuruwaitunyaprapha Hall : the link between buddhist believes and Thai traditional medical profession
Room 2. Thai Traditional Medical Training Hall : the traditional
ceremony of showing respect towards traditional medical teachers
Room 3. Evolution of Thai Traditional Medical Profession (from the Sukhothai, Ayutthaya, Thonburi to Rattanakosin period)
Room 4. Thai Intelligence in the 4 Regional Medical Profession
Room 5. Thai Traditional Massage : history and equipments
Room 6. Thai Traditional Cuisine : right food for right seasons
Room 7. Medicines : traditional and herbal medicines

In the basement area, there are meeting rooms, library, and bookstore. The natural products and healthy food can be shopped on the first floor of the museum which is also the location of the Thai Medical Profession Healthy Centre, Thai Traditional Medical Remedy and Herbal Sauna and Thai Massage Service with the possibility of being member. Opened daily from 8.30 am. to 5 pm. Healthy and Treatment Massage for B.200., Feet Massage for B.150. For more details, please contact 0 2590 2606.
What’s more, the museum, which is surrounded by a garden of thousand kinds of herbs, sells herbal food, clean and clear from toxic vegetables and herbal medicines. For those who are interested in taking courses in Thai traditional medical profession, body or feet massage can apply to the Institute of Thai Medical Profession Healthy Centre for a certification of the Ministry of Public Health. For more information, please call 0 2591 0598-9.

How to get there;
By Bus number 97. Please note that the museum is opened daily from 8.30 am.-4.30 pm. The ticket fare for Thai people is 30 Baht for adults and 15 Baht for children. 150 Bath for foreigners. For more information, call 0 2591 1095.

The Prathom-Nonthaburi Palace

The Prathom-Nonthaburi Palace Built in a mixture of Thai and European in 1919, this palace has belonged to Prince Juthathuttharadilok, a son of King Chulalongkorn. At the first place, this palace found its location in Bangkok till 1984 then was moved to Nonthaburi. Within the same compound, there is another palace where a gilded hall places a more than 100-year-old harp of Prince Juthathutharadilok. For more details, please call 0 2589 7173.

 

Wat Saeng Siritham Floating Market

A floating market on Rattanathibet-tha It Marker Road, Tambon Tha It intends to promote the local products from the vicinity of the temple as well as from Ko Kret. This floating market is a wonderful place for relaxation not far from Bangkok. Opened on weekend and national holidays from 6 am. to 5 pm.

 

Wat Sao Thong Thong

Wat Sao Thong Thong was formerly called Wat Suan Mak .The temple was the first elementary school in Pak Kret. Behind the chapel lies the highest pagoda in Pak Kret. It is surrounded by two smaller pagodas. Beside the chapel, there are 2 large pagodas; one is a bell-shaped Lankan-style pagoda; another is a square-based pagoda. The chapel has beautiful gold-colored ceiling murals. The main Buddha image is a plaster image in the Man Wichai posture. The Mon people call this temple Phia A Lat.Wat Chim Phli consists of a small attractive chapel, which is still in good condition. The upper part of the chapel has woodcarving depicting an angel riding a chariot surrounded by floral patterns. The doorway has a pyramid (Mondop) shape). The windows are still lovely and the building base is in the shape of a junks hull. Wat Phai Lom was built in the late Ayutthaya period. A magnificent chapel features wood flower patterns. In front of the building are 2 small pagodas in the shape of a carambola fruit with a square base and plaster designs. Mons call this temple Phia To.

Khlong Khanom Wan

Khlong Khanom Wan and other canals have homes that specialize in making sweets for sale and demonstrations to tourists.

Getting there: Take a ferry from either Wat Sanam Nua or Wat Klang Kret. Boats operate between 05.00-21.30 hrs.

 

Wat Khemaphirataram

Wat Khema Phirataram Ratchaworawihan is located on the east bank of the Chao Phraya River in Tambon Suan Yai, 2 kms. south of the town centre. The temple covers an area of 10.4 acres, its back facing Phibun Songkhram Road. The lovely temple was built during the Ayutthaya period and later in the reign of King Rama II, it was given the name Khema. Under Queen Srisuriyenthramats patronage, the temple was renovated.

In the reign of King Rama IV, it was renamed Wat Khema Phirataram as well as was refurbished.

Behind the ubosot lies the main 30-metre tall pagoda called Phra Maha Chedi containing Lord Buddhas relics and Ayutthaya-style Buddha images that were brought from Chan Kasem Palace. The Monthian Throne Hall and the Daeng Royal Residence can be seen in the temple compound.

Getting there: The temple is accessible by various buses. For more information on buses contact tel. 184. Alternatively, take a Rewadi-Pak Nam local truck (Song Thaeo) line or the Chao Phraya Express Boat, get off at Nonthaburi Pier, and then ride no. 203 bus or take a ferry from Bang Si Muang pier to Nonthaburi Pier, and then connect with another no. 203 bus.

The Institute of Thai Traditional Medicine

The Institute of Thai Traditional Medicine (ITTM) was legally in the Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health located in Tiwanont Road, Amphoe Muang, Nonthaburi. ITTM bringing to develop and promote Thai traditional medicine and herbs more quality, standard, integrating into the national health care service system and alternative health for people taking care their health.

ITTM is open everyday 08.30 a.m. - 04.30 p.m. (please place the ticket before noon). Admission is 30 baht for Thai (adult), 15 baht for children and 150 baht for foreigner. Further more information, please contact 66 2591 1095 or www.ittm.or.th

Anthropology Museum

is the first natural history museum of Thailand and was built in 1961. It is located behind the former City Hall and features exhibits on the evolution of plants, animals, human beings, and the earth. Artifacts include Buddha images as well as antique porcelains. The museum is open from Tuesday to Saturday from 08.30 to 16.30. It is closed on Sunday, Monday, and public holidays. Admission is free.

Getting there: Take non air-conditioned buses no. 63, 97, and 203 and air-conditioned buses no. 9 and 126. Contact tel. 184 for more information on buses. Boat passengers can get off at Nonthaburi Pier.


นนทบุรี : ข้อมูลทั่วไป

พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา
วัดเก่านามละบือ เลื่องลือทุเรียนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ

เมืองนนทบุรี มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 400 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย เป็นเมืองเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อแห่ง หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุง ศรีอยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น (หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา” (จดหมายเหตุลาลูแบร์)

ปี พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อมมาทางบางใหญ่วกเข้าคลอง บางกรวยข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่ นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้วเข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้มีการ สร้างป้อมไม้เอาไว้ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ พ.ศ.2228 ว่า “เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ 2 ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ 10 นัด อีกป้อมหนึ่ง 8 นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลาและอ้างเหตุว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจน สุดแดนที่อยู่ในความปกครองของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป
และในปี พ.ศ. 2230 เมื่อลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้อย่างชัดเจนตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าคงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิ เบศร์

จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาครและปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ 622.303 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น 2 ส่วน

เขตการปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอคือ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดจังหวัดปุทมธานี และพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันตก ติดจังหวัดนครปฐม

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนนทบุรี โทร. 0 2580 0751, 0 2589 7615
  2. เทศบาลปากเกร็ด โทร. 0 2960 9704 - 14
  3. อำเภอปากเกร็ด โทร. 0 2583 8326, 0 2583 9878
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด โทร. 0 2583 9544
  5. ที่ว่าการอำเภอไทรน้อย โทร. 0 2597 1178
  6. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โทร. 0 2527 0246-53
  7. โรงพยาบาลนนทเวช โทร. 0 2589 0102 - 7

Link ที่น่าสนใจ

ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี โทร. 0 2580 0752
http://www.nonthaburi.go.th

 

นนทบุรี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. นนทบุรี

รถยนต์

มีถนนสายสำคัญ 11 สาย คือ
1. ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหก - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
2. ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
3. ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ-ท่าน้ำปทุมธานี
4. ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคลาย-สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ถนนนนทบุรี 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-ถนนติวานนท์
6. ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด-สี่แยกหลักสี่
7. ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก-อำเภอไทรน้อย
8. ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน ระหว่างแยกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน
9. ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง-สุพรรณบุรี
10. ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน-สามแยกวัดลานนาบุญ
11. ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคลาย-สะพานพระราม 5 -ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชัน

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯมีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) มาจังหวัดนนทบุรี ดังนี้
สาย 27 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ประชานิเวศน์ 3) สาย 30 (สายใต้ใหม่-นนทบุรี)
สาย 32 (วัดโพธิ์-ปากเกร็ด) สาย 33 (สนามหลวง-ปทุมธานี)
สาย 51 (ท่าน้ำบางโพ-ปากเกร็ด) สาย 52 (สถานีรถไฟบางซื่อ-ปากเกร็ด)
สาย 63 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-นนทบุรี) สาย 64 (สนามหลวง-ถนนสามเสน-นนทบุรี)
สาย 65 (ท่าเตียน-วัดปากน้ำ) สาย 66 (สายใต้ใหม่-ประชานิเวศน์)
สาย 69 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามบินน้ำ) สาย 70 (สนามหลวง-ประชานิเวศน์)
สาย 90 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-ท่าน้ำบางพูน) สาย 97 (โรงพยาบาลสงฆ์-นนทบุรี)
สาย 104 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปากเกร็ด) สาย 114 (แยกลำลูกกา-นนทบุรี)
สาย 117 (ห้วยขวาง-วัดเขมาฯ ) สาย 127 (เชิงสะพานกรุงธนฯ-อำเภอบางบัวทอง)
สาย 128 (เชิงสะพานกรุงธนฯ-บางใหญ่) สาย 134 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-อำเภอบางบัวทอง)
สาย 203 (สนามหลวง-นนทบุรี)

เรือ
มีเรือด่วน เจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งพระนคร)อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. เรือออกทุก 20 นาที สอบถามที่บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด โทร. 0 2222 5330, 0 2225 3003, 0 2623 6001-3 โทรสาร 0 2623 6001–3 เว็บไซต์ www.chaophrayaboat.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.นนทบุรี แนะนำการใช้งาน
การเดินทางจากอำเภอเมืองนนทบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอปากเกร็ด 10 กิโลเมตร
  2. อำเภอบางกรวย 15 กิโลเมตร
  3. อำเภอบางใหญ่ 20 กิโลเมตร
  4. อำเภอบางบัวทอง 25 กิโลเมตร
  5. อำเภอไทรน้อย 30 กิโลเมตร


นนทบุรี : วัฒนธรรมประเพณี

งานมหกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
วันที่ 7 - 9 เมษายน 2552
ณ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิ สมาคม ด้านการแพทย์แผนไทย ต่างๆ เป็นต้น กำหนดจัดกิจกรรมขยับกาย สบายชีวา ด้วยท่าฤาษีดัดตน ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย” ขึ้น ในโอกาสที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ (UNESCO) ได้ยกย่อง พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในสาขาปราชญ์และกวี (Schorlar and Poet) และเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี รวมทั้งเทิดพระเกียรติและเชิดชูผลงานด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีผลงานตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งด้านตำรายา และการเขียนบรรยายโครงภาพฤาษีดัดตนจารึกไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึง ความสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2552 ณ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
- การรณรงค์สร้างกระแส ด้วยการรวมพลังมวลชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 2,552 คน ร่วมออกกำลังกายแบบไทยท่าฤาษีดัดตน พื้นฐาน 15 ท่า ในวันอังคารที่ 7 เมษายน 2552 เวลา 17.30น. ซึ่งตรงกับวันอนามัยโลก ณ สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถติดต่อกลุ่มสารนิเทศและวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโบายและยุทธศาสตร์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 02 951 0311 และ 02 951 0319 โทรสาร 0 2591 7804 และ 02 951 2500 ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2552
- การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ในรูปแบบงานวิชาการ การสอนสาธิต และบริการด้านการแพทย์แผนไทย - การจัดกิจกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยช่วงสงกรานต์ ด้วยการจัดตลาดย้อนยุคแบบโบราณ บรรยากาศและวิถีชีวิตแบบไทยโบราณ ไทยพื้นบ้าน และไทยแบบราชสำนัก รวมทั้งตลาดน้ำจำหน่ายพืชผัก ผลไม้พื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังมีการละเล่นแบบไทย อีกด้วย ในระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2552 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย (เรือนหมอเพ็ญนภา) ณ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

นอกจากเที่ยวงาน “มหกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย” แล้ว จังหวัดนนทบุรี ยังมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง อาทิ วัดบรมราชากาญจณาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) ตลาดไม้ดอกไม้ประดับ บางรักน้อย (ซอยช้าง) และ ตลาดน้ำไทรน้อย เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 02250 5500 ต่อ 2991 -2997 หรือ Email: tatbangkok@tat.or.th

 

ประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญ

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีสงกรานต์มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จากหลักฐานที่ปรากฏมีเทศนาชื่อ “เทศนามหาสงกรานต์” ได้กล่าวถึงที่มาของสงกรานต์ และกำเนิดของเทพีสงกรานต์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในชนชาติที่นับถือศาสนาพุทธ ชาวไทยรามัญ (มอญ) เองก็เช่นกัน แม้จะอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ครั้งโบราณก็ ยังคงวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์เรื่อยมา ไม่ว่าแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ ทั้งลำน้ำเจ้าพระยา แม่กลอง หรือป่าสัก และที่อื่นๆ
ประเพณีสงกรานต์นี้ สำหรับชาวมอญถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดในประเพณีรอบปีชาวบ้านม่วงทุกคนที่ อาศัยอยู่ที่แห่งใดในประเทศต้องกลับมาบ้านม่วงในช่วงเทศกาลนี้ เพื่อมาร่วมทำบุญและคารวะญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ฯลฯ ปีละครั้ง ชาวบ้านม่วงคนใดไม่กลับมาในเทศกาลนี้ ถือว่าเป็นคนอกตัญญูต่อบรรพบุรุษ เป็นคนนอกศาสนา ไม่รู้คุณค่าของการทำบุญในวันสำคัญ สำหรับชาวพุทธคนประเภทนี้จะเข้าสังคมไม่ได้ เป็นที่น่ารังเกียจของชาวบ้านม่วงอย่างยิ่ง

กำหนดงาน
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
ก่อนถึงวันเทศกาลสงกรานต์ 1 วัน คือวันที่ 12 เมษายน เรียกว่า “วันสุกดิบ” (สมัยโบราณ เรียกว่า วันเตรียมสงกรานต์) เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านม่วงทุกคนทุกบ้านไม่ว่าชาย-หญิง ต่างช่วยกันจับจ่ายจัดหาวัสดุสิ่งของต่างๆ ที่จะนำมาประกอบอาหารคาวหวานตามต้องการ มากน้อยตามฐานะของแต่ละครอบครัวฝ่ายหญิงมีหน้าที่จัดหาอาหารคาวหวาน ฝ่ายชายจัดหาไม้ ผ้า และปลูกศาลเพียงตาหน้าบ้านสูงแค่คอโดยประมาณ ใช้เสาไม้ 4 ต้น ปลูกทางทิศตะวันออกของบ้าน ขนาดกว้าง-ยาวพองามที่ใช้วางเครื่องสังเวยบูชานางสงกรานต์ หรือเทพีสงกรานต์ได้ เสาต้นบนติดแผงไม้ไผ่สานแบบราชวัตร 3 ด้าน มุมหนึ่งติดร่มกันแดดวางไว้เวลาบูชา ต้นใต้พื้นใช้ผ้าขาวพันรอบพองามตามขนาดศาล นอกจากงานตั้งศาลแล้วผู้ชายต้องช่วยฝ่ายหญิงกวนกาละแม เนื่องจากใช้แรงมาก ต้องใช้ผู้ชายช่วย ใช้เวลาเกือบครึ่งค่อนวัน ต่อ 1 กระทะ ระหว่างกวนกาละแมนั้น ชาย-หญิงจะกระเซ้าเย้าแหย่กันแก้เหนื่อย สนุกดีทีเดียว วันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ เรียกว่า "วันสงกรานต์ข้าวแช่" เริ่มงานตั้งแต่รุ่งแจ้ง ต้องนำเข้าแช่ 1 ชุด พร้อมดอกไม้ ธูป เทียน (กับข้าวที่รับประทานกับข้าวแช่ ตามประเพณีต้องมี ยำมะม่วง ยำขนุน และปลาเค็มหวาน กับข้าวนอกจาก 3 อย่างนี้ จะเอาอะไรที่อร่อยๆ ก็ได้) จุดบูชาถวายข้าวแช่แด่เทพีสงกรานต์ โดยตั้งไว้บนศาลเพียงตา เวลาบูชาถวายต้องกล่าวถวายด้วยคำบาลีว่า "อุกาส (3 ครั้ง) โภโต เทวโส ตันนัง กุสสัง มยเคตัง เอหิ ตาน อาคัจฉันติ นิมันติ ปริภุญณโสฯ" เป็นอันเสร็จพิธีต้อนรับเทพีสงกรานต์ประจำปี
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว แบ่งคนนำข้าวแช่ไปถวายพระสงฆ์ สามเณร ตามวัดต่างๆ ตามศรัทธาแต่ต้องพยายามนำข้าวแช่ไปถวายพระสงฆ์ สามเณร ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นโอกาสทำบุญประเพณีปีละครั้งเท่านั้น หลังจากถวายข้าวแช่ตามวัดต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว นำข้าวแช่ไปส่งคารวะญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ แล้วเชิญเพื่อนฝูงรับประทานข้าวแช่ สังสรรค์ตามประเพณีอย่างสนุกสนาน
จากนั้นคนหนุ่มสาวจะชักชวนกันไปชุมนุมในที่สาธารณะ ตรอกซอกซอยในหมู่บ้านเรือนลานกลางบ้าน ซึ่งมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ลูกช่วง ลูกสะบ้า หรือเล่นเขาผี เช่น ผีกระด้ง ผีลิง ฯลฯ แต่ก่อนลงมือเล่นต้องสัญญากันว่า ผู้แพ้ต้องรำให้ดู หรือร้องเพลงให้ฟัง บางครั้งพวกขี้แพ้บางคนแกล้งร้องเพลงไม่ได้รำไม่เป็น ตีหน้าตายเรื่อยๆ หัวร่อกันครืนสนุกสนาน พอตกกลางคืนมีแต่การเล่นสะบ้า และมักเปิกโอกาสให้หนุ่มสาววิสาสะดูใจกัน พ่อแม่จะไม่ห้าม ถ้าไม่ถึงขั้นน่ารังเกียจ บางครั้งพ่อแม่จะนั่งดูการละเล่นอยู่ด้วยบางครั้งมีการเล่นเพลงพวงมาลัย มีการร้องรำเกี้ยวพาราสีกัน คล้ายเพลงฉ่อยหรือเพลงเกี่ยวข้าว
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเนา" เป็นวันคาบวันเก่าขึ้นวันใหม่ มีกิจกรรมเหมือนวันที่ 13 เมษายน แต่วันนี้ผู้สูงอายุจะพากันไปวัดถืออุโบสถศีลตั้งแต่เช้า มากที่สุดเป็นเวลา 1 วันกับ 1 คืน
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ หรือ ปีโหราศาสตร์ มีการส่งข้าวแช่ไปถวายวัดต่างๆ อีกเป็นวันสุดท้าย หรือถ้าในวันนี้มีการสรงน้ำพระ (การสรงน้ำพระอาจจัดขึ้นในวันที่ 15 เมษายนนี้ หรือถ้าต้องการจัดให้ยิ่งใหญ่ อาจจะเลื่อนออกไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 1 สัปดาห์) ชาวบ้านทุกๆ บ้าน จะนิมนต์พระภิกษุชักบังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษที่วัด หรือที่เจดีย์บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษของตน เพื่อกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ จนใกล้เวลา 15.00 น. ทางวัดจะเคราะห์เป็นสัญญาณบอกชาวบ้านให้ออกไปร่วมกันสรงน้ำพระ โดยสรงน้ำพระพุทธรูปและเจดีย์ก่อน จึงมาสรงน้ำพระภิกษุสามเณรทั้งวัด การสรงน้ำนี้จะสรงแบบอาบทั้งตัวเลย เมื่อสรงน้ำพระเสร็จชาวบ้านทั้งหมดไปรวมกันบนศาลาการเปรียญ ร่วมกันชักบังกุศลครั้งใหญ่แก่บรรพบุรุษเป็นครั้งสุดท้ายของประเพณีสงกรานต์ จากนั้นชาวบ้านแยกย้ายกันกลับบ้าน เล่นสาดน้ำสนุกสนานตามประสาหนุ่มสาว เฒ่าแก่ ไม่ถือสาหาความกันจนกลับถึงบ้านจึงสรงน้ำแก่ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่
หากชาวมอญคนใดเกิดในวันขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีจะต้องขนทรายเข้าวัด ขนทรายราดถนนหนทาง เพื่อให้อายุยืนยาวและเป็นสวัสดิมงคลแก่ชีวิต พร้อมทั้งนำไม้ไปค้ำต้นโพธิ์ ก่อนจะค้ำโพธิ์ต้องนั่งลงพนมมืออธิฐานในใจว่า “ขอให้เคราะห์หามยามร้ายต่างๆ กลายเป็นดี มีความสุขร่มเย็นดุจร่มโพธิ์”แล้วจึงค้ำต้นโพธิ์ (หรือนำไปพิงต้นโพธิ์)
งานสรงน้ำพระประจำปี หากในวันขึ้นปีใหม่ไม่มีการจัดงานสรงน้ำพระ จะมีการจัดสรงน้ำพระที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในภายหลังโดย ตอนเช้า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะออกไปทำบุญตักบาตรที่วัด ตอนสาย มีขบวนแห่นก แห่ปลา โดยคนหนุ่มสาวจำนวนเป็นร้อย แต่งตัวแบบไทยรามัญอย่างสวยงามมาร่วมกระบวน เริ่มต้นกระบวนที่วัดแห่ไปรอบตำบลพร้อมกลองยาว หรือบางปีเป็นแตรวงระหว่างทางที่กระบวนแห่ผ่านจะมีผู้ศรัทธาบริจาคเงินซื้อ นก ปลา หย่อนใส่บาตรพระที่เตรียมไว้ เมื่อขบวนแห่กลับถึงวัดจึงจัดตั้งนก ปลา ไว้ให้ผู้ศรัทธาแลกเปลี่ยนไปปล่อย เพื่อสะเดาะเคราะห์ ตอนเย็น มีการสรงน้ำพระตามแบบที่กล่าวข้างต้น


นนทบุรี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค

ตั้งอยู่ที่ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง วัดแห่งนี้เดิมเป็นเพียงโรงเจขนาดเล็ก ต่อมาเจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ กรุงเทพฯ ร่วมกับพุทธบริษัทไทย-จีน ได้พัฒนาเป็นวัดที่สมบูรณ์สวยงามในเนื้อที่รวม 12 ไร่ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างถึง 12 ปี จึงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ประกอบพิธีสมโภชเปิดวัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2551
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในยุคหมิง-ชิง โดยจำลองมาจากพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง มีความสง่างามและมีรายละเอียดการตกแต่งที่ประณีตยิ่ง โดยทางวัดได้เชิญช่างฝีมือชั้นครูจากประเทศจีนมาดำเนินการก่อสร้างโดยตรง วิหารแต่ละหลังประดับด้วยลวดลายภาพเขียนสีพุทธศิลป์แบบจีนใช้สีน้ำเงิน แดงและทองเป็นหลัก ตามผนังและเพดานมีคาถา โอม มา นี ปะ หมี่ ฮง เป็นตัวอักษรสีทอง ที่เชื่อว่าขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ หลังคาวิหารมุงด้วยกระเบื้องเผาแบบจีน สีเหลืองเข้ม ที่ตรงมุมหลังคาทั้ง 4 มุมประดับด้วยรูปสัตว์มงคล ได้แก่ เทวดาขี่หงส์ มังกร สิงโต ม้าน้ำ ม้าเทวดา แพะเทวดาเขาเดียว กระทิงเทวดา ปลาเทวดาและนกเค้าแมว นอกจากนี้ รายรอบพระวิหารยังประดับด้วยหินแกะสลักต่าง ๆ มากมายซึ่งล้วนนำมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะอย่างยิ่งแก่การศึกษาพุทธศิลป์ของจีน

 

ภายในวัดประกอบด้วยอาคารหลัก ได้แก่
วิหารท้าวจตุโลกบาล เป็นที่ประดิษฐานของพระโพธิสัตว์และเทพต่าง ๆ ที่พิทักษ์ปกปักษ์พระพุทธศาสนา ด้านข้างวิหารเป็นหอกลอง และหอระฆัง
พระอุโบสถ เป็นอาคารหลังใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต แต่ละองค์ มีความสูงถึง 4.30 เมตร นับเป็นพระประธานแบบจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพุทธลักษณะที่เด่นเป็นสง่า พระพักตร์มีเมตตากรุณา ด้านข้างของพระประธานทั้งสองด้าน เป็นเสาขนาดใหญ่ มีกลอนอักษรจีน ตามผนังประดับด้วยแผ่นไม้สักแกะสลัก 7 ชิ้นเป็นเรื่องราวพระพุทธเจ้าในอดีต พระอรหันต์ และจตุมหาบรรพตหรือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ 4 แห่ง ส่วนด้านนอกของพระอุโบสถมีเสมาเป็นศิลปะแบบจีนอยู่ทั้งสองด้าน
วิหารอวโลกิเตศวรสหัสกรสหัสเนตรมหาโพธิสัตว์ และวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ เป็นอาคารสองชั้นอยู่ด้านหลังถัดจากพระอุโบสถ ด้านล่างเป็นวิหารอวโลกิเตศวรสหัสกรสหัสเนตรมหาโพธิสัตว์ เมื่อขึ้นบันไดไปด้านบนจะเป็นวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวร และพระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์ ตามผนังวิหารด้านในรายล้อมพระพุทธรูปเล็ก ๆ หนึ่งหมื่นพระองค์ วิหารแห่งนี้เปรียบเสมือนดินแดนสุขาวดี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลกมนุษย์ เชื่อกันว่าผู้ที่บำเพ็ญภาวนา จะได้ไปเกิด ณ ดินแดนสุขาวดีซึ่งมีแต่ความสุข
นอกจากนี้ยังมีอาคารอื่น ๆ อาทิ หอธรรม วิหารบูรพาจารย์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.

การเดินทาง
จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำเภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร หรือหากเดินทางจากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถเลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ ผ่านศูนย์เยาวชนเทศบาลไปยังวัดได้เช่นกัน

สิ่งอำนวยความสะดวก
มีจุดจำหน่ายของเซ่นไหว้ต่าง ๆ ลานจอดรถ ห้องสุขา บริเวณตลาดบางบัวทองซึ่งอยู่ใกล้กับวัดมีบริการร้านอาหารมากมาย

การติดต่อ
วัดพระบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0 2571 1155 หรือ 0 2920 2131 โทรสาร 0 2571 1155 เว็บไซต์ www.watboromracha.org


วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อ "วัดปากอ่าว " มีชื่อในภาษามอญว่า " เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง " หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฎพระเจดีย์มุเตาซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ปัจจุบันอยู่ติดริมแม่น้ำกระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง อันเป้นสัญลักษณ์ของวัดมาแต่โบราณ ต่อมาสมัยธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งบ้าน เรือนที่เกาะมากขึ้น วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนและสถานที่จัดงานประเพณีพิธีกรรมของชาว มอญบนเกาะเกร็ด และที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ภายในวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่

พระอุโบสถ มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากประเทศอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริมการสวดเป็นภาษามอญและปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียว ที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประ ดิษฐวรการ ผู้สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ความยาว 9.50 เมตร มีภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชื่อว่า พระนนทมุนินท์ เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ (จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างเมืองนนท์ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหารเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-16.00 น.

นอกจากนี้ยังมี พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาส จัดแสดงวัตถุต่าง ๆ ที่ล้วนน่าชม เช่น พระพิมพ์ เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชาม รวมทั้ง “เหม” ที่ พ.อ. ชาติวัฒน์ งามนิยม บรรจงสร้างขึ้นจนนับว่าเป็นงานศิลป์ ชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว นับตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง การต่อลาย การตอกไข่ปลาเพื่อต่อลายบนกระดาษอลูมิเนียม ทุกชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเป็นเหมนี้ล้วนแต่ต้องทำอย่างละเอียด ประณีต เชื่อว่าชาวมอญคงดัดแปลงลักษณะของเหมมาจากโลงของพระพุทธเจ้าซึ่งก้นสอบปาก บานข้างแคบเช่นกัน (ในพิพิธภัณฑ์แสดงภาพไว้) โลงเหมใช้กับศพแห้ง เหมพระจะมีลักษณะพิเศษกว่าตรงที่เจาะหน้าต่างมองเห็นศพด้านในได้ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 13.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 09.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑ์ โทร. 0 2584 5120

 

วัดปราสาท

สร้างในสมัย อยุธยาตอนปลาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) เครื่องบนเป็นไม้สักประดับด้วยรวยมอญ (ตัวไม้แกะสลักที่ทอดตัวลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว เป็นศิลปะมอญ) ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวยมอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถเป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม คือเมื่ออากาศร้อน ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก) ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานและพระสาวก มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างชั้นสูง นนทบุรี เรียกว่าทศชาติชาดก นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี ถือว่าวัดนี้เป็นวัดหนึ่ง ที่ดำเนินการอนุรักษ์โบสถ์และศิลปกรรมได้อย่างถูกวิธี จึงทำให้เป็นแหล่งวิทยาการที่น่าสนใจยิ่งของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บนศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอกับโบสถ์ ประดับลวดลายตกแต่งอย่างสวยงาม วัดนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการอนุรักษ์ศิลปกรรมได้อย่างถูก ต้อง เป็นที่เชิดหน้าชูตา

การเดินทาง
รถยนต์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ผ่านวัดสวนแก้ว ตรงไปทางเส้นบางกรวย-ไทรน้อย จะเห็นป้ายบอกทางไปวัด หรือ จากท่าน้ำนนทบุรีนั่งเรือข้ามฟากมา โดยสารรถสองแถวสายบางใหญ่-ท่าน้ำ คิวรถอยู่ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
เรือ ต้องเดินจากท่าเรือผ่านสวนของชาวบ้านเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

ตลาดน้ำไทรน้อย

ตั้งอยู่ริมคลองพระพิมลราชา ที่วัดไทรใหญ่ เป็นแพอาหาร เป็นศูนย์รวมของอาหารคาวหวาน ผักปลอดสารพิษ ผลไม้ หลายชนิดที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายริมฝั่งคลอง มีรสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัยและราคาเป็นกันเอง สามารถเลือกซื้อเลือกหาตามต้องการ นอกจากนี้ชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตของชาวนนทบุรี ที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งคลอง ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติและความเป็นไทยอยู่ มีเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤษก์ ตั้งแต่เวลา 06.00-16.00 น. และมีรถยนต์บริการนำชมสวนเกษตรท่องเที่ยว ชมไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น บอนสี กล้วยไม้ สวนผลไม้ทางการเกษตร เช่น มะม่วง ทุเรียน

การเดินทาง
รถยนต์ สายบางบัวทอง-ตลิ่งชัน แยกซ้ายมือเข้าสู่ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ประมาณ 13 กิโลเมตร เข้าตลาดน้ำไทรน้อย ข้างที่ว่าการอำเภอไทรน้อย
รถตู้ (สาย ต.8) สายพาต้าปิ่นเกล้า-ไทรน้อยและสายเดอะมอลล์งามวงศ์วาน-ไทรน้อย

วัดเสนีวงศ์

ตั้ง อยู่ที่ตำบลหนองเพรางาม เป็นวัดที่ร่มรื่นไปด้วยหมู่แมกไม้ยืนต้นและสัตว์น้ำ แบบการสร้างวัดผสมผสานระหว่างไทย-มอญ-จีน ที่แปลกหาชมได้ยาก ชมอุทยานมหาชาติ(พระเวสสันดร) 15 กัณฑ์ และขอพรจากเจดีย์ ทรงรามัญมีชื่อว่า “เจดีย์สมปรารถนา” ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

ถาวรวัตถุในด้านพระพุทธศาสนา ที่สำคัญ
1.พระเจดีย์สมปราถนา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นรูประฆังคว่ำภายในพระองค์พระเจดียืมีพระพุทธรูปปรางอุ้มบาตร พระสังกัจจายนะรูปแบบไทยและรูปแบบจีน รอยพระบาทจำลอง 2 รอยคู่ เจดีย์สร้างเพื่อเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารริกธาตุ และเพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและขอพรให้สมปราถนาดังสมชื่อองค์พระ เจดีย์
2.อุทยานแห่งชาติมหาชาติ เป็นอุทยานการศึกกษามหาชาติ โดยปลุกต้นไม้นานาชนิด อาทิเช่น ไม้ผล ไม้ทางพุทธศาสนา โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ได้ปรับพื้นที่เป็นแผนที่ประเทศไทย มีพระพุทธปฎิมากร ขนาดหน้าตักกว้างประมาร 5 เมตร ประดิษฐานอยู่ด้านทิศเหนือ
ส่วนที่ 2 เป็นรูปปั้นของมหาเวสสันดรชาดก รวมเป็น 14 กัณฑ์ หรือ 14 ฐาน การปั้นใช้ปูนปั้นมีโครงเหล็กลงสีตามตำนานทุกประการ ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาได้เด่นชัด

วัดราษฎร์ประคองธรรม

ตั้ง อยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดสังกัดมหานิกาย สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2256 เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดค้างคาว บริเวณด้านหน้าวัดติดคลองอ้อมนนท์ มีสวนล้อมรอบ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อพระนอน) และหลวงพ่อโต (ซำปอกง) ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจและเดินทางมาเคารพสักการะ อยู่เสมอ

การเดินทาง ใช้ถนนรัตนาธิเบศร์ เมื่อข้ามสะพานพระนั่งเกล้า และผ่านสี่แยกท่าอิฐ จะถึงสี่แยกบางพลูให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัด นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางเข้าถึงได้จากเส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีบริเวณ เทศบาลบางม่วงได้อีกทางหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2595 1456


วัดชลอ

ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดชลอ วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงเสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้า พระยาผ่านจังหวัดนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง “ลัด” ในปัจจุบันเรียกว่า “คลองบางกรวย” พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมา สักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า” วัดชลอ” วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอดเพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาในรัชกาลที่ 3 หรือ รัชกาลที่ 4 สิ่งที่น่าชมในวัดนี้คือ โบสถ์เรือหงส์ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2526 โดยหลวงพ่อวัดชลอหรือท่านพระครูนนทปัญญาวิมล ได้เล่าถึงนิมิตรเห็นเรือหงส์ลอยมาอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า (โบสถ์ที่มีลักษณะเหมือนเรือสำเภา) จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2447 5121, 0 2883 9277


วัดชลประทานรังสฤษดิ์

ตั้ง อยู่ที่ตำบลบางตลาด ริมถนนสายนนทบุรี-ห้าแยกปากเกร็ด ภายในวัดกว้างขวางร่มรื่น เป็นสถานที่เผยแพร่และศึกษาพระธรรม มีลานไผ่เอนกประสงค์ที่ชาวพุทธโดยทั่วไปจะมารวมกันเป็นจำนวนมากเพื่อประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา และฟังธรรมทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

เกาะเกร็ด

เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อเดิมเรียกว่า เกาะศาลากุน

เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้วเกาะศาลากุน จึงมีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่าตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า เกาะเกร็ด การคมนาคมบนเกาะจะใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์

เกาะเกร็ดเป็นหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบภาคกลาง เป็น แหล่งเรียนรู้ภิมูปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมต้อนรับทุกคนเข้าสู่ศูนย์กลางการ เรียนรู้ในด้านการผลิตสินค้าหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ของ ชาวไทยรามัญที่ได้สืบทอดกันมายาวนานและการทำขนมมงคลอันเป็นสมบัติล้ำค่าที่ ควรอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่ลูกหลานชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวไทยรามัญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานท่องเที่ยวตำบลเกาะเกร็ด โทร. 0 2583 7993

สถานที่น่าสนใจบนเกาะ ได้แก่ วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) ภายในวัดมี พระอุโบสถ พระวิหาร พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาส กวานอาม่าน วัดเสาธงทอง วัดไผ่ล้อม วัดฉิมพลีสุทธาวาส ศูนย์เครื่องปั้นดินเผาหมู่ 1 สวนเกร็ดพุทธ คลองขนมหวาน

การเดินทาง สู่เกาะเกร็ด
รถยนต์ เดินทางโดยรถยนต์มาที่ห้าแยกปากเกร็ดตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะทางไปเทศบาลปาก เกร็ด จากห้าแยกประมาณ 20 เมตร ก่อนถึงโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวู้ด เลี้ยวซ้ายเข้าถนนภูมิเวท ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงวัดสนามเหนือจอดรถทิ้งไว้ที่วัดแล้วนั่งเรือข้ามไปเกาะเกร็ดไปขึ้นเกาะ เกร็ดที่วัดปรมัยยิกาวาส หรือไปที่วัดกลางเกร็ด นั่งเรือข้ามฟากไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดป่าฝ้าย (เรือข้ามฟากบริการเวลา 05.00-21.30 น. ค่าโดยสารคนละ 2 บาท วัดสนามเหนือมีบริการจัดที่จอดรถรถยนต์สำหรับนักท่องเที่ยวค่าจอดรถคันละ 30 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางลงที่ป้ายโรงหนังเมเจอร์ฮอลลี วูด แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างไปที่ท่าเรือวัดสนามเหนือหรือวัดกลางเกร็ด ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท)
เรือ เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยเรือด่วยเจ้าพระยาออกจากท่าวัดสิงขรลงที่ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี ค่าโดยสารคนละ 22 บาท (เรือทัวร์) จากนั้นเช่าเหมาเรือหางยาวที่ท่าน้ำนนทบุรีไปที่เกาะเกร็ด หรือนั่งเรือรถประจำทางจากท่านน้ำนนทบุรีไปที่อำเภอปากเกร็ดแล้วลงเรือที่ วัดสนามเหนือหรือวัดกลาง เรือบริการระหว่างเวลา 08.30-18.30 น. ติดต่อบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา โทร. 0 2222 5330, 0 2225 3002-3 หรือ www.chaophrayaboat.cp.th

ใช้บริการแพ็กเกจเดินทางท่องเที่ยวเกาะเกร็ด 1 วัด เรือออกจากท่าช้างวังหน้า กรุงเทพฯ เที่ยวเกาะเกร็ด มีบริการมัคคุเทศน์นำชม ในวันเสาร์และอาทิตย์ เดินทางระหว่างเวลา 09.00-16.30 น. โดยเรือมิตรเจ้าพระยา โทร. 0 2623 6169 ค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 250 บาท

ตัวอย่างรายการท่องเที่ยวบนเกาะเกร็ด
1. ลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และมาขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส นมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5 ชมพิพิธภัณฑ์ชาวบ้านกวนอาหม่าน เดินเท้าหรือเช่าจักรยานเที่ยวชมวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญและสินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ระหว่างทางเดินไปที่วัดไผ่ล้อมแล้วเดินย้อนมาที่วัดปรมัยยิกาวาสเพื่อลงเรือ ข้ามฟากกลับ
2. ลงเรือข้ามฝากที่วัดกลางเกร็ดแล้วขึ้นเรือที่ท่าน้ำวัดป่าฝ้าย เดินเท้าหรือปั่นจักรยานไปที่วัดฉิมพลี ชมและเลือกซื้อผลิตผลทางการเกษตร ชมกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ชมนิทรรศการและการสาธิตการแกะลายเครื่องปั้นดินเผา เตาเผาภาชนะดินเผาแบบโบราณ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญ และสวนเกร็ดพุทธ เลือกซื้อของฝากและของที่ระลึกแล้วกลับมาขึ้นเรือที่วัดป่าฝ้าย ล่องเรือข้ามฟากไปวัดกลางเกร็ด แล้วเดินทางกลับสวนเกร็ดพุทธ โทร. 0 2503 4886-7, 08 1438 4792
3. ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเสาธงทอง ล่องเรือไปทางท้ายเกาะสู่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตำบลอ้อมเกร็ด ให้อาหารปลาหน้าวัด ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รายได้ถวายวัดฯ มีมะพร้าวน้ำหอมจำหน่าย
4. นั่งเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ด ที่ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาสมีบริการล่องเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ดชมวิถีชีวิต ริมน้ำ แวะสถานที่ท่องเที่ยวและวัดวาอาราม ได้แก่ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ วัดศาลากุน ชมการสาธิตการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เข้าคลองบางบัวทองชมการทำขนมหวานที่ขึ้นชื่อของเกาะเกร็ด มีเรือออกทุก ๆ ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ค่าเรือคนละ 50 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2584 5012, 08 1845 3800, 08 9033 5599, 08 1584 1900 หรือหากต้องการเช่าเรือ มีตั้งแต่ราคา 350-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง
5. กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยวบนเกาะเกร็ด มีบริการจักรยานให้เช่าสำหรับนักท่องเที่ยวที่นใจท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิต และธรรมชาติบนเกาะเกร็ด 2 จุด คือ ที่ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส และท่าเรือวัดป่าฝ้าย มีจักรยานให้เช่าวันละ 40 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด โทร. 0 2583 9544

เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก)
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อที่เรียกนั้น ชื่อเดิมเรียกว่า เกาะศาลากุน
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่าง ๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้วเกาะศาลากุน จึงมีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่าตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า เกาะเกร็ด การคมนาคมบนเกาะจะใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ เดินเท้า และเรือ
เกาะเกร็ดเป็นหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบภาคกลาง เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมต้อนรับทุกคนเข้าสู่ ศูนย์กลางการเรียนรู้ในด้านการผลิตสินค้าหัตกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวไทยรามัญที่ได้สืบทอดกันมายาวนานและการทำขนมมงคลอันเป็น สมบัติลำค่าที่ควรอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่ลูกหลานสืบไป ชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวไทยรามัญ สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานท่องเที่ยวตำบลเกาะเกร็ด โทร. 0 258 7993

สถานที่น่าสนใจบนเกาะ ได้แก่
วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม(โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันนี้ ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ของพม่า
พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดยาว 9.50 เมตร ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยว เป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ(จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหารเปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00-16.00 น.
เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากเจดีย์อยู่ติดแม่น้ำ กระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง ดูแปลกตา นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเกาะเกร็ด
พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาสและหอไทยนิทัศน์เครื่องปั้นดินเผา จัดแสดงวัตถุต่าง ๆ ที่ล้วนน่าชม เช่น พระพิมพ์ เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชาม รวมทั้ง “เหม” ที่ พ.อ. ชาติวัฒน์ งามนิยม บรรจงสร้างขึ้นจนนับว่าเป็นงานศิลป์ ชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว นับตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง การต่อลาย การตอกไข่ปลาเพื่อต่อลายบนกระดาษอลูมิเนียม ทุกชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเป็นเหมนี้ล้วนแต่ต้องทำอย่างละเอียด ประณีต เชื่อว่าชาวมอญคงดัดแปลงลักษณะของเหมมาจากโลงของพระพุทธเจ้าซึ่งก้นสอบปาก บานข้างแคบเช่นกัน (ในพิพิธภัณฑ์แสดงภาพไว้) โลงเหมใช้กับศพแห้ง เหมพระจะมีลักษณะพิเศษกว่าตรงที่เจาะหน้าต่างมองเห็นศพด้านในได้ วันจันทร์-ศุกร์เปิดเวลา 13.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 9.00-16.30 น. สอบถามรายละเอียดที่พิพิธภัณฑ์ โทร. 0 2584 512
วัดเสาธงทอง เป็นวัดเก่าเดิมชื่อ “วัดสวนหมาก” นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐานเจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟือง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมากเขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต”หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟืองฐานสี่ เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น

วัดไผ่ล้อม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้”

วัดฉิมพลีสุทธาวาส มีโบสถ์ขนาดเล็กงดงามมากและยังมีสภาพสมบูรณ์แบบดั้งเดิม หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปเทพทรงราชรถล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูเป็นทรงมณฑป ซุ้มหน้าต่างแบบหน้านาง ยังคงเห็นความงามอยู่ และฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา

กวานอาม่าน พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ การปั้นเครื่องปั้นดินเผานั้นเป็นอาชีพชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานแถบ ลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทางเดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-17น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2584 5086
คลองขนมหวาน บริเวณคลองขนมหวานและคลองอื่นๆ รอบเกาะเกร็ด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งคลองจะทำขนมหวาน จำพวกทองหยิบ ทองหยอด ขายส่งและยังสาธิตให้นักท่องเที่ยวได้ชม พร้อมซื้อกลับไปเป็นของฝาก

การเดินทาง ลงเรือข้ามฟากได้สองท่า คือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น.

ตัวอย่างรายการท่องเที่ยวบนเกาะเกร็ด
1. ลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และมาขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาสนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5 (ค่าเข้าชม คนละ 5 บาท)
2. เดินเท้าจากวัดปรมัยยิกาวาสสู่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ชมและซื้อเครื่องปั้นดินเผาสองข้างทาง ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผากวานอาม่าน
3. ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเสาธงทอง ล่องเรือไปทางท้ายเกาะสู่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตำบลอ้อมเกร็ด ให้อาหารปลาหน้าวัด ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รายได้ถวายวัดฯ มีมะพร้าวน้ำหอมจำหน่าย
4. ล่องเรือไปทางใต้เลี้ยวขวาเข้าคลองบางบัวทอง หรือคลองขนมหวาน ชมหมู่บ้านขนมไทยสองฟากฝั่งคลอง และซื้อหาขนมเป็นของฝาก
5. ย้อนกลับออกมาตรงปากคลอง มีปล่องเตาอิฐที่ผลิตอิฐ บ.บ.ท. อิฐทนไฟแห่งแรกของเมืองไทยล่องเรือผ่านบ้านเกร็ดตระการ วิ่งตรงมาขึ้นท่าน้ำหน้าวัดฉิมพลี เลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร เดินเท้าจากวัดฉิมพลีถึงกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ชมการสาธิตการแกะลายเครื่องปั้นดินเผาและซื้อเป็นของฝากของขวัญ ล่องเรือข้ามฟากไปวัดกลางเกร็ด เดินทางกลับ
การนั่งเรือเที่ยวรอบ เกาะเกร็ด มีเรือออกทุกหนึ่งชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น. คนละ 50 บาท หรือหากต้องการเช่าเรือ ราคามีตั้งแต่ 500-4,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต.เกาะเกร็ด โทร. 0 2960 9063 หรือท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาสโทร. 0 2584 5012
บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด จัดนำเที่ยวเกาะเกร็ดในเวลา 1 วัน โดยเรือด่วนทุกวันเสาร์และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2623 6001-3 เว็บไซต์ www.chaophrayaboat.co.th


อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก

อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ กรมธนารักษ์เป็นผู้จัดสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และเพื่อเป็นที่พักผ่อนของประชาชน และเป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้น้ำ ไม้ชายน้ำ พืชสวน และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 05.30-18.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
อาคารที่เป็นจุดเด่น คือ วิมานสราญนวมินทร์ เป็นพลับพลาโถงเครื่องยอดแหลม ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลดชั้นยอดแหลมทรงมณฑป ประดับฉัตรสามชั้นสัญลักษณ์แสดงเครื่องยศของประเภทอาคารชั้นสูง
ถัดมาไม่ไกลเป็นเรือนไทยหมู่สำหรับพักผ่อนและบริการ เป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ประเภทเครื่องสับลูกประสัก (ลูกประสักคือ ไม้หมุดสำหรับตรึงกงเรือนต่างตะปู) ระดับชั้นคหบดีแต่โบราณบริเวณริมน้ำจากท่าเรือรับเสด็จเป็นส่วนของอาคาร พลับพลาโถงจตุรมุขรับเสด็จ เป็นศาลาโล่งหลังคาลดชั้นสี่ทิศ และศาลาบริวารทั้งสามหลังเป็นงานไม้เครื่องลำยองรูปแบบอย่างโบราณ ลวดลายประยุกต์ออกแบบตามฉันทลักษณ์ ใช้ไม้สักแกะลงรักปิดทองคำเปลวร้อยเปอร์เซ็นต์ ประดับกระจกสีให้เหมาะกับลักษณะใช้สอยที่เป็นอาคารประกอบพิธี
สุดมุมริมน้ำเป็นอาคารบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีแต่เดิม เป็นจุดเริ่มเข้าไปยังบรรยากาศของสวนผลไม้ที่อนุรักษ์ไว้ มีทั้งสวนกระท้อน ทุเรียน มังคุด ขนุน มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น

การเดินทาง
รถยนต์ เข้าไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อยแล้วเลี้ยวเข้าท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี) จะมีป้ายบอกทางตลอด หากมาจากฝั่งกรุงเทพฯข้ามสะพานพระราม 5 แล้วแยกเข้าถนนบางกรวย–ไทรน้อย หรือข้ามจากสะพานพระนั่งเกล้า ถึงแยกบางพลู เลี้ยวซ้ายผ่านวัดสวนแก้ว ขับไปตามทางมีป้ายบอกทางเช่นกัน
เรือ นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปยังท่าน้ำนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวประจำเส้นทางไป คลองบางใหญ่ ออกจากท่าน้ำนนทบุรีทุก 20 นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 นาที
รถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารประจำทาง หรือรถสองแถวจากท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี) สายวัดเฉลิมพระเกียรติ

วัดตำหนักใต้

ตั้งอยู่บนถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างมาแต่สมัยใด
ทราบแต่เพียงว่า แต่เดิมวัดนี้เรียกกันว่า " วัดตำหนัก " จนกระทั่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2464 ทรงเห็นว่าวัดต่างๆ มีชื่อซ้ำกันหลายวัดจึงทำให้เติมชื่อว่าเหนือ และใต้ต่อท้าย จากชื่อวัดตามทิศที่ตั้ง สิ่งสำคัญภายในวัด พระอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยนำเอาหน้าบาน และประตูหน้าต่าง รวมถึงเพดานของพระอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ซึ่งหน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนกอันวิจิตรและมีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีหน้าบัน เป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้างบางส่วนบานประตูและบานหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำอีกทั้งหอระฆัง 2 ชั้นที่หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไปด้านในของวัดเป็นกุฎิสงฆ์ที่ตั้ง เรียงรายสวยงาม นับได้ว่าเป็นวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง และร่มรื่นอีกแห่งหนึ่งของเมืองนนท์
อย่างไรก็ตามจากประวัติได้กล่าวว่า ก่อนที่จะสร้างวัดในพื้นที่นี้เคยสร้างเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของพระ เจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และจากหลักฐานที่คงเหลือยังสันนิษฐานว่า วิหาร และหอระฆังสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติตามบานประตู และหน้าต่าง ลงรักปิดทองเขียนด้วยลายไทยอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวิหาร ศาลาวัดต่าง ๆ ในเมืองไทย นั้นมี มากมายหลายแห่ง เป็นทั้งสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

วัดชมภูเวก

ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง
มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ. 2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 184 หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

วัดสังฆทาน

วัดสังฆทาน ตั้งอยู่ที่ตำบลบางไผ่ สันนิษฐานว่าเดิมชื่อวัดศาริโข สร้างขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยช่างที่มีความชำนาญตามแบบลังกาวงศ์ในสมัยกรุงสุโขทัย วิเคราะห์จากหลักฐานพุทธลักษณะจากองค์หลวงพ่อโตและกระเบื้องเชิงชายหรือ กระเบื้องหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่าและอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานพระ อุโบสถ องค์พระประธานคือหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิปูนปั้น มีพุทธลักษณะและพุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างแต่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงและที่อื่นๆ ยังคงมาสักการะบูชาองค์หลวงพ่อโตมิได้เสื่อมคลาย ชาวบ้านจึงต้องนิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานจนถูกเรียกขาน กันติดปากว่า “วัดสังฆทาน”

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ "อุโบสถแก้ว" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ใช้เวลาสร้าง 1 ปีครึ่ง มีสองชั้น ชั้นบนเป็นที่สำหรับบวชพระภิกษุ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ นั่งสมาธิ ชั้นล่างเป็นห้องรับบริจาคและห้องสมุด
วัดนี้มีลักษณะแบบสำนักป่ามีธรรมชาติรอบข้างร่มรื่นเหมาะแก่ผู้ประสงค์จะ เจริญภาวนา มีกุฏิแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นรูปเรือ มีโครงการบวชเนกขัมมะ (สตรีผู้ถือศีล 8) ทุกวัน สอบถามที่วัดสังฆทาน โทร. 0 2447 0799 และ www.sanghathanphamma.com

การเดินทาง
รถยนต์ จากฝั่งกรุงเทพฯ วิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ข้ามสะพานพระราม 5 ชิดซ้ายจะเห็นป้ายวัดสังฆทาน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร หรือ นั่งเรือข้ามฟากจากท่าน้ำนนทบุรีไปท่าน้ำบางศรีเมืองและต่อรถสองแถวเข้าไป ยังวัดสังฆทาน

วัดโชติการาม

วัดโชติการาม ตั้ง อยู่ที่ตำบลบางไผ่ ไปทางที่ว่าการ องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ เดิมชื่อ วัดสามจีน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2350 ซุ้มประตูหน้าต่างที่พระอุโบสถเป็นลวดลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ บานประตูวิหารเป็นไม้จำหลักรูปเซี่ยวกางสวยงามมาก โบราณสถานในวัดได้แก่ วิหารทรงโรง ก่ออิฐถือปูน 3 ห้อง ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี มีจิตรกรรมฝาผนังภายใน ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่าง ๆ เช่น ตอนมารผจญ ตอนสัตตมหาสถาน ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดาเสด็จจากดาวดึงส์

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปวัดสังฆทานจะมีป้ายชี้บอกตลอดทาง

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

อยู่ ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีความกลมกลืนกับสถาปัตย์เดิม วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก

ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ

พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก 34 ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”

ภายในพระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญมาเมื่อพ.ศ. 2401เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวาเป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ เพียงองค์เดียว
พระเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง มักเรียกกันว่า ทรงลังกา เนื่องจากได้รับแบบอย่างมาจากลังกา พร้อมกับการเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นสูง 45 เมตร ภายในบรรจุพระบรมธาตุ
ยังมีถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญ เช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน ลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน 20 หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีป้อมปราการทั้งสี่มุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ 4


การเดินทาง
รถยนต์ เข้าไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อยแล้วเลี้ยวเข้าท่าน้ำนนทบุรี(ฝั่งธนบุรี) จะมีป้ายบอกทางตลอด หากมาจากฝั่งกรุงเทพฯข้ามสะพานพระราม 5 แล้วแยกเข้าถนนบางกรวย–ไทรน้อย หรือข้ามจากสะพานพระนั่งเกล้า ถึงแยกบางพลู เลี้ยวซ้ายผ่านวัดสวนแก้ว ขับไปตามทางมีป้ายบอกทางเช่นกัน
เรือ นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปยังท่าน้ำนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวประจำเส้นทางไป คลองบางใหญ่ ออกจากท่าน้ำนนทบุรีทุก 20 นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 นาที
รถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารประจำทางหรือรถสองแถวจากท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี) สายวัดเฉลิมพระเกียรติ

วัดอัมพวัน


สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดบางม่วง" สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ตัวหอมีขนาด 2 ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้ กลึงเสา กรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูช้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ
หน้าบานประตูทางเข้าหอไตรเป็นบานไม้ลงรัก ปิดทอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตาน ลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในห้องสะกัดท้ายหอไตรเป็นที่เก็บพาน ตะลุ่มและฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักจำนวนมาก

การเดินทาง
เรือ โดยสารเรือหางยาวจากท่าเรือหน้าที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
รถยนต์ ใช้เส้นทางถนนวงแหวนรอบนอกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน เลี้ยวแยกซ้ายมือที่ตำบลบางม่วง


ตลาดน้ำบางคูเวียง ตั้งอยู่ปากคลองบางคูเวียง ตำบลบางคูเวียง ตลาดจะมีช่วงเช้าระหว่างเวลา 06.00 - 08.00 น. ชาวบ้านจะนำผลไม้ตามฤดูกาลบรรทุกเรือมาค้าขายกันที่นี่ นอกจากนี้ยังมีอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ทุกเช้าพระภิกษุจากวัดบริเวณใกล้เคียงจะออกบิณฑบาตโดยใช้เรือลำเล็ก ๆ เป็นพาหนะ นับเป็นภาพชีวิตแบบไทยที่นับวันจะหาดูได้ยาก

การเดินทาง

- โดยสารเรือจากท่าน้ำวัดชะลอ อำเภอบางกรวย ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ค่าโดยสารคนละ 5 บาท ออกทุกๆ 15 นาที ระหว่าง 05.00-20.00 น.

- โดยสารเรือจากท่าน้ำนนทบุรี (ท่าพิบูลสงคราม 2) ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ค่าโดยสารคนละ 5 บาท กรณีเช่าเรือเหมาลำใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง ค่าเช่าประมาณ 300 บาท

- เช่าเรือจากท่าช้าง กรุงเทพฯ ใช้เส้นทางคลองบางกอกน้อย-คลองอ้อมตลาดน้ำ บางคูเวียใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าเช่าเรือประมาณ 300 บาท

สวนเกร็ดพุทธ

สวนเกร็ดพุทธ อยู่บนเกาะเกร็ด ตั้งอยู่ที่ 59/4 หมู่ 2 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ จัดอบรมประชุมสัมมนา สถานที่ศึกษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สถานที่ปฏิบัติธรรมสงบจิตใจ แหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมหลากหลายวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปกรรม จิตรกรรม และหัตถกรรม อาหารพื้นบ้านและเครื่องดื่มสมุนไพร ชมไม้ดอกนานาพันธุ์ มีเนื้อที่ 8 ไร่ และสวนผลไม้ การเข้าชมบริจาคบำรุงสถานที่ตามศรัทธา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุมาลี โทร. 0 2583 1076, 0 2503 4886-7, 08 1438 4792, 08 1455 5534

การเดินทาง เริ่มจากห้าแยกปากเกร็ดแล้วเลี้ยวเข้าถนนภูมิเวศไปจนสุดถนน (เป็นถนนที่สวยที่สุดของเทศบาลปากเกร็ด) แล้วข้ามเรือที่วัดกลางเกร็ด ค่าเรือคนละ 2 บาท ไปขึ้นที่ท่าเรือป่าฝ้าย หรือนั่งเรือข้ามฝั่งไปที่วัดปรมัยยิกาวาสแล้วเดินไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรจนถึงสวนเกร็ดพุทธ

วัดเสาธงทอง

วัดเสาธงทอง เป็นวัดเก่าเดิมชื่อ “วัดสวนหมาก” นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐานเจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟือง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมากเขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต”หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟืองฐานสี่ เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น


วัดกลางเกร็ด

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลัดเกร็ดไม่ไกลจากวัดสนามเหนือ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ อุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ พระประธานปางมารวิชัย หน้าตัก 3 ศอกคืบ และพระพุทธไสยาสน์ยาว 99 วา สร้างมานานกว่า 100 ปี นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางข้ามไปเกาะเกร็ดสามารถมาจอดรถและนั่งเรือข้ามฝั่ง ที่วัดนี้ได้

ศูนย์ท่องเที่ยวและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ (ซอยช้าง)

ตั้ง อยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ หมู่ 3 ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง ศูนย์จำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้จัดสวน บนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ด้วยร้านค้ากว่า 60 ร้าน พร้อมจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร บริการตกแต่งสวนนอกสถานที่ เปิดทุกวันเวลา 8.00-18.00 น.

 

วัดบางไผ่

เป็น วัดพระอารามหลวง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดยังประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวรวัตถุ พระพุทธรูปทองคำที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ 38 ไร่ ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2309 สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยแม่ทัพนายกองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เดิมทีบริเวณนี้เต็มไปด้วยดงกอไผ่ สมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เสด็จเป็นประธานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 เวลา 15.19 น. และพระองค์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ติดที่หน้าพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2534

ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 10.70 เมตร ยาว 28.90 เมตร พื้นปูด้วยหินอ่อน บานหน้าต่างและประตูเป็นลวดลายไทยปิดทอง ประดับกระจกบริเวณข้างพระอุโบสถมีศาลารายล้อมรอบทั้งสี่มุม ภายในศาลารายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกศาลา

ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีนพรัตนมุนี ซึ่งเป็นองค์พระประธาน พระพุทธรังสีมงคล พระพุทธรัตนมงคล สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานผ้าทิพย์ประดับพระนามาภิไธย
ย่อ ม.ว.ก. หน้าพระประธาน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธชิรญานมงคลพระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูร้อน จำลองพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ผนังภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติของสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของประตูและหน้าต่างประดับด้วยลวดลายแกะสลักอย่างงดงาม

ลักษณะเด่นของวัดที่เห็นได้ชัดเจนในระยะไกลนั่นก็คือ " กำแพงวัด" ที่มีลักษณะสร้างเลียนแบบป้อมปราการของทหาร มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ป้อม
หลวงพ่อทองคำ พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าพระพุทธรูปโบราณอายุหลายร้อยปี เชื่อกันว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นผู้จัดสร้างขึ้นแล้วนำล่องเรือมาเพื่อหลบหนี จากภัยสงครามพม่า มาประดิษฐานไว้ที่วัดบางไผ่แห่งนี้ ซึ่งไม่มีใครทราบมาก่อนว่าภายในองค์พระเป็นเนื้อทองคำขนาดหน้าตัก 24 นิ้ว
พระพุทธรูปในวิหาร พระประธานอยู่ในวิหารเป็นพระพุทธรูปเก่าศิลปะสมัยอู่ทอง หน้าตักกว้าง 36 นิ้ว ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในชุมชนบางไผ่และชุมชนใกล้เคียง
หลวงพ่อวิหาร พระประธานปางมารวิชัยที่ประดิษฐานในพระวิหารหลังเก่า ความเป็นมาสร้างพร้อมกับวัด เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงกระเบื้อง ภายในประดิษฐานพระแก้วมรกตทรงเครื่องหน้าฝน พระประจำวันเกิด
ถาวรวัตถุอื่นๆ หอพิพิธภัณฑ์ ศาลาราย เจดีย์ หอระฆัง หอกลอง มณฑป เป็นต้น ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าเปิดให้ประชาชนมากราบไหว้

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations