www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

NAN

NAN: General Information

            A quiet and tranquil province, Nan nestles in a verdant valley in northern Thailand. About 668 kilometres from Bangkok, it covers an area of 11,472 square kilometres and is made up of the following districts: Mueang, Wiang Sa, Na Noi, Pua, Chiang Klang, Tha Wang Pha, Thung Chang, Mae Charim, Ban Luang, Na Mun, Santi Suk, Bo Kluea, Chaloem Phra Kiat, Song Khwae, and Phu Phiang.
ฟอรห


       The people of Nan descend from the Lan Changs (Laotians). Their forebears moved to settle around present-day Pua district which is rich in rock salt deposits, about 700 years ago at the time when Sukhothai was becoming the kingdom of the Thais. They subsequently moved south to the fertile Nan River basin which is much more extensive.

       Nan's history is deeply involved with its neighbours, in particular Sukhothai which played an important role in both political and religious terms before Nan became a part of Lanna, Burma and Thailand in that order. Today Nan is still the home of numerous Thai Lue and other hilltribes who

NAN : How to get there
By Car

         From Bangkok, take Highway No. 32 to Nakhon Sawan and use Highway No. 117 to Phitsanulok, Highway No. 11 to Amphoe Den Chai, then take Highway No. 101 to Nan via Phrae, a total distance of 668 kilometres.

By Bus

       Transport Co. Ltd. operates bus services from Bangkok's Mochit 2 Bus Terminal to Nan every day. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information. Other private companies are such as Phrae Tour Tel: 0 2245 2369, Sombat Tour Tel: 0 2936 2495-6 and Choetchai Tour Tel: 0 5471 0362 (Nan Office).

By Air

        PB Air flies from Bangkok to Nan. Visit www.pbair.com for more information.

          Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

  1. Ban Luang    76 kilometres
  2. Chiang Klang   86 kilometres
  3. Thung Chang   80 kilometres
  4. Na Muen   45 kilometres
  5. Mae Charim   38 kilometres
  6. Song Khwae   75 kilometres
  7. Tha Wang Pha 43 kilometres
  8. Na Noi       60 kilometres
  9. Bo Kluea  133 kilometres
  10. Pua   60 kilometres
  11. Wiang Sa  25 kilometres
  12. Santi Suk    32 kilometres

NAN : Activities

Wat Nong Bua

        Wat Nong Bua in Nong Bua village of Tha Wang Pha district was built by Thai Lue craftsmen who had early migrated from southern China. Apart from the Vihan which is adorned with elaborate carvings, there are also wall murals painted by Thai Lue artists some one hundred years ago. Their artistic value and degree of perfection equal those at Wat Phumin.

Doi Phu Kha National Park

       To the north of Nan along Highway No. 1080 in Nong Bua district and with a further distance of 25 kilometres on the route to Bo Kluea district lies the Doi Phu Kha National Park. The terrain is mainly forested lands on limestone mountain ranges, the source of several streams which merge into the Nan River. The elevation is about 1,900 metres above sea level.

       Here are found several rare and near-extinct floras, particularly the Chomphu Phu Kha, whose pink flowers are in full bloom during February. In the morning, a sea of mist can be seen drifting across the valley. There are also several scenic waterfalls. Permits to camp can be applied for. Alternatively, tourists may choose to utilise the accommodation services in the park.

Wat Phumin

          A uniquely designed and the most interesting temple in Nan is Wat Phumin, which has a 4-portico, single building housing both the Ubosot and Vihan. Four Buddha statues with their backs against one another are installed in the main hall facing the four directions. The doors are delicately carved in splendid designs by Lanna craftsmen.

         Wat Phumin underwent a major restoration in 1867 since it was built some 27 years ago. It is believed that the wall murals were commissioned during this time. The wall paintings, in Thai Lu style are considered highly valuable and depict legends concerning the Lord Buddha as well as local legends and the local way of life, which include native attires, weaving and commerce with foreign countries.

Wat Phra That Chae Haeng

        Wat Phra That Chae Haeng, about 2 kilometres from town on Highway No. 1168, is ancient religious site of the province. Once the centre of the old town, it was moved to its present location in about 1368. It features a 55 metre-high golden Chedi containing a Holy Relic from Sukhothai. Over the Vihan's door frames and on parts of the roofs are plaster designs in the shape of Naga, the great serpent, which represent the artistic best in local architecture. 

       Wat Phrathat Chae Haeng is a sacred place of worship, situated on a mound on the eastern side of the Nan River, at the former centre of the Nan town after moving from Pua town. Wat Phra Borommathat Chae Haeng was constructed during the rule of Chao Phraya Kanmueang (the Feudal Lord of Nan during 1326 – 1359) as an enshrining venue of 7 Buddha relics, silver and golden votive tablets presented by King Maha Thammaracha Lithai on the occasion that Chao Phraya Kanmueang assisted in the construction of Wat Luang Aphai (Wat Pa Mamuang in Sukhothai Province at present) in 1354.

       It features a chedi in a bell shape. The pattern of Phrathat Chae Haeng is assumed to have been influenced by the chedi of Phrathat Hariphunchai. It is plated with Thong Changko or Thong Dok Buap – a combination of brass and copper. The staircase up to the Phrathat is in a Naga shape, while the gable above the entrance gate to the wihan is the stucco relief depicting intertwined Nagas, the unique characteristic of Nan fine art.

       Phra Borommathat Chae Haeng represents the Year of the Rabbit. Lanna people believe that travelling to pay respect to the Phrathat of their Year of Birth or “Chu That” would reap them great results. Tourists can visit the temple everyday from 6.00 a.m. – 6.00 p.m.

        To get there: Wat Phrathat Chae Haeng is located in Muang Tuet sub-district, King Amphoe Phu Phiang. From the centre of Mueang district, cross the Nan River Bridge and go along the Nan – Mae Charim route or on Highway No. 1168 for 3 kilometres. Contact the temple at Tel. 0 5475 1846.

Nan National Museum

       The building of the Nan National Museum was actually constructed in 1903 and once the residence of a ruler of Nan. It displays exhibitions concerning the town's history and major structures, evolution of arts in different ages, and numerous ancient objects, the most eminent of which is the Black Ivory. It also provides anthropological information on the northern indigenous people including the several minorities residing in Nan. The museum is open Wednesday-Sunday from nine in the morning until four o'clock in the afternoon.

Nam Wa Rafting

       This exciting activity waits for tourists who like to shoot many rapids. Rafting can be accompanied by elephant riding. The suitable time for rafting is from September to February. Visitors can contact travel agencies in the town.
The routes of rafting are as follows:
White-water Rafting along the Middle Part of the Wa River The rapids are of level 3 to 5 difficulty with a length of 100 kilometres. It takes 3 days and 2 nights passing the Doi Phu Kha National Park and the Mae Charim National Park.

       White-water Rafting along the Lower Part of the Wa River It was originally a transporting route for teakwood, which was illegally cut from the forest in Mae Charim and Wiang Sa districts. The Wa River runs through the valleys. On both sides are high undulating mountains, and more than 22 rapids. The level of difficulty is at level 3 - 5 (level 3 is medium, level 4 is difficult, and level 5 is very difficult). The biggest and the most difficult one is Kaeng Luang. Some parts of the stream are sandy beach where a raft can be stopped, and it is suitable for swimming. Some parts are the location of elephant camps where visitors can take an elephant to Ban Hat Rai. The period when the tide is the highest is during August, while the lowest one is in April. The most suitable time for white-water rafting is from November to January.

       There are 2 routes for rafting along the Wa River as follows:
               - Sailing route by inflatable rubber dinghy: It starts from Ban Nam Pu, Nam Phang sub-district, Mae Charim district, and ends at Ban Hat Rai, San Na Nong sub-district, Wiang Sa district, being a total distance of 19.2 kilometres or takes 4 hours. However, if visitors start in front of the Office of the National Park , the total distance will be only 15 kilometres.

              - Bamboo rafting route: It starts from Ban Nam Wa up to Ban Nam Pu for a distance of 4 kilometres or takes approximately 4 hours.

        Contact the Nan Pang Chang Company, Tel. 0 5478 1316, the River Raft Company, Tel. 0 5471 0940, 08 9835 1506, and the Inter Tour, Tel. 0 5471 0195 for information of the Wa River Tour and elephant riding.

Wat Phaya Wat

       This temple is located just before reaching the town on Highway No. 101. An ancient religious site, it has rectangular Chedi bases on which Buddha states are placed around the Chedi structure. Combined artistic influences of Lanna, Lan Chang and native Nan can be detected.

Thai Lue Village Ban Nong Bua

        This village is about 40 kilometres to the north of the town on Highway No. 1080, with an additional 3 kilometres after the left turn into the village in Tha Wang Pha district. The Thai Lue people living at Ban Nong Bua are noted or producing the traditional tribal fabric, an art handed down from generation to generation. It has also been improved in the designs but still retaining the original patterns. The native woven materials have now become a highly popular buy among tourist.


น่าน : ข้อมูลทั่วไป

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์
แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

        น่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7 ล้านไร่เศษ อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย

       ความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวม จากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขา อีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝน หรือ เหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยว ยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วย ป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือเทือกเขาผีปันน้ำและ หลวงพระบาง

         พื้นที่ป่าของเมืองน่านมีประมาณ 5 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งจังหวัดประมาณ 7 ล้านไร่ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจึงไม่สามารถฝืนกฎของ ธรรมชาติได้ พวกเขาจะไม่ตัดไม้ หรือถางป่าทำไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ พวกเขาดูแลรักษาภูเขาและป่าไม้ด้วยความเคารพ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น ขมุ ลัวะ และเมี่ยน เชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่รักษาป่า

        พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำของจังหวัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่เฝ้าดูแลรักษาป่า

        แม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา

        ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกันทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชน ที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะยู่กับความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงตระหนักถึงความเป็น ตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน

       หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติ ศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบ ลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัย มากขึ้น

       ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่ น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับ อยุธยาในปี พ.ศ. 1981

        เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน

       ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความ สัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310

        ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง

       ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการ ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครอง นครในการบริหารกิจการบ้านเมือง

       หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระ บางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง

        นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

รู้จักคน รู้จักชุมชน

       น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่

        ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้าน ช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

      ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนะธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ "เอ็ดนาเมืองลุ่ม" หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า "เกา" หรือ "ล้วง"

        ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า "ถิ่น" เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆหมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธี "โสลด" (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี "กิ๋นดอกแดง" เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง

         ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ "ข่าลาว" อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก "ข่าแคว้น"ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม

         ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต

        เย้า (เมี่ยน) ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง

         มลาบรี (ผีตองเหลือง) สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบันมลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ท่าอากาศยานจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0270
  2. บริษัทการบินไทย จำกัด ถ.มหาพรหม โทร. 0 5471 0377
  3. โรงพยาบาลจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0138
  4. สถานีตำรวจภูธร ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5475 1681
  5. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ.น่าน-ทุ่งช้าง อ.ทุ่งช้าง โทร. 0 5479 5009
  6. สำนักงานจังหวัดน่าน ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0341
  7. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ถ.สุริยพงษ์ โทร. 0 5477 3047
  8. หอการค้าจังหวัดน่าน โทร. 0 5477 4499

น่าน : ข้อมูลการเดินทาง
       ข้อมูลการเดินทางของ จ. น่าน

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข 11 โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่) จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเ&#