www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

SAMUTPRAKAN

SAMUTPRAKAN : General Information

Samut Prakan, also known as Pak Nam, is located 29 kilometres south of Bangkok, around the area where the Chao Phraya River flows into the Gulf of Thailand.


    It is a town of the Ayutthaya period. Samut Prakan is home to countless historical and cultural sites. It occupies an area of 1,004 square kilometres and is administratively divided into 5 districts (Amphoes) and 1 sub-district (Ging Amphoe); Amphoe Muang Samut Prakan, Amphoe Phra Pradaeng, Amphoe Bang Phli, Amphoe Bang Bo, Amphoe Phra Sumut Chedi, and Ging Amphoe Bang Sao Thong.

SAMUTPRAKAN : How to get there

Distances from Amphoe Muang Samut Prakan to other Amphoes and King Amphoe :

  1. Phra Pradaeng 12 Kms.
  2. Bang Phli 17 Kms.
  3. Bang Bo 38 Kms.
  4. Phra Samut Chedi 21 Kms.
  5. King Amphone Bang Sao Thong 32 Kms.

By Car

You can use the old Sukhumvit Road and also Highway Number 303 to get there. The distance is only 29 kilometres to Samut Prakan town.

By Bus

air-conditioned buses

(of the BMTA Bangkok Mass Transit Authority)
Line No. 2 (Sam Rong - Pak Khlong Talat), }
Line No. 6 (Pak Kret - Phra Pradaeng)
Line No. 7 (Sam Rong - Tha Phra)
Line No. 8 (Pak Nam - Tha Ratchaworadit)
Line No. 11 (Pak Nam - Khonsongsaitai)
Line No. 13 (Rangsit - Pu Chao Saming Phrai)
Line No. 23 (Sam Rong Thewet via Expressway)
Line No. 25 (Pak Nam - Tha Chang)
Line No. 102 (Pak Nam - Chong Nonsee)
Line No. 126 (Nonthaburi - Sam Rong)
Line No. 129 (Thang Duan - Kasetsart University - Sam Rong)
Line No. 142 (Wat Lau - Samut Prakan)
Line No. 145 (Suan Chatuchak - Samut Prakan)

non-air conditioned buses

Line No. 2 (Sam Rong - Pak Khlong Talad)
Line No. 6 (Phra Pradaeng - Bang Lamphu)
Line No. 13 (Rangsit - Phu Chao Saming Phrai)
Line No. 20 (Pom Phra Chun- Tha Nam Din Daeng)
Line No. 23 (Sam Rong Thewet via Expressway)
Line No. 25 (Pak Nam - Tha Chang)
Line No. 45 (Sam Rong - Ratchaprasong)
Line No. 82 (Phra Pradaeng - Bang Lamphu)
Line No. 102 (Pak Nam - Chong Nonsi)
Line No. 116 (Samrong - Sathorn)
Line No. 129 (Kasetsart University - Sam Rong via Expressway)
Line No. 138 (Chatuchak - Phra Pradaeng via Expressway)
Line No. 145 (Suan Chatuchak - Pak Nam)

SAMUTPRAKAN : Festival & Event

Phra Pradaeng Songkran Festival
Date : April 17 - 19, 2009
Venue : Phra Pradaeng District, Samut Prakan

The Phra Pradaeng Songkran Festival differs from others in that it is held a little later than in most other locales. The Songkran rituals and celebrations here are held on the Sunday that follows after Songkran Day on April 13. Hence in 2009, the festival falls on April 17 - 19. Ancient traditions are still being observed and is a source of pride passed on to future generations.


THAI-RAMAN FLAG CEREMONY
Each village makes its own centipede flag, which is carried in a ceremonial flag procession along the road to be draped on the swan pillars at various temples. The flag, the symbol of the Thai-Raman people, is of Buddhist significance and incorporates the spirit of unity.

SABA
A demonstration of traditional Raman games such as saba, a pitch and toss game played with beans. Various indigenous games of Thai-Raman origin being staged in designated villages from 08.30 to midnight during the festival period.

In saba, a traditional Raman games, young Raman lads and lasses engage in a lively dialogue, accompanied by song and dance. This is a quaint custom, which is now rarely witnessed.

Activities
Songkran traditions of the Ramen community: The Thai Raman Flag Ceremony and traditional Raman games such as 'saba', a pitch and toss game played with beans
Floral floats parade
Procession of Raman maidens in traditional costumes
Raman dances
Boat races
Bathing ritual of Buddha images at temples
Paying respect to elders and respected individuals
The release of fish and birds in observance of ancient Buddhist merit-making customs
Miss Songkran Beauty Queen (Paklat) Parade and Contest

ORIGINS OF THE PHRA PRADAENG SONGKRAN FESTIVAL
The Phra Pradaeng Songkran Festival, formerly known as the 'Pak Lat Songkran Festival', was similar to Songkran celebrated in the other regions of the country, with the notable addition of a colourful and elaborate Songkran procession staged by the Mon, or Raman, residents of Phra Pradaeng.
The highlight of the festival is a grand procession of floral floats carrying beautiful maidens dressed in a traditional Mon, or Raman, costume. Each holds a fish bowl in one hand and a bird cage in the other. Other maidens, accompanied by men dressed in traditional Raman costume of sarong and round-necked shirt and sash (the costume is called "choot loy chai"), walk in front of the 'Songkran beauty queen'.

Each year the Phra Pradaeng Songkran parade features between 10 to 20 processions. Each procession is made up of a Songkran vehicle decorated with beautiful flowers. The vehicle of the lead procession transports the incumbent Miss Songkran surrounded by her entourage. She is seated and holds a replica of the severed head of the Lord Tao Maha Songkran. The procession also includes a file of graceful girls dressed in traditional Thai-Raman costumes. Some of them hold a fishbowl; others hold a birdcage and the remainder walk ahead of the Songkran vehicle. They in turn are flanked by Raman youths dressed in Choot Loy Chai costumes, consisting of a sarong, round-necked shirt and scarf which is worn with the tails dangling behind. The men's job is to ensure that everything goes smoothly.

The procession of the Tao Maha Songkran "head" is a unique aspect of the Phra Padaeng Songkran celebrations. According to ancient beliefs, there was once a kind and benevolent god who cared greatly for mankind. His name was Tao Maha Songkran. He had seven daughters, each one a goddess representing a day of the week. The annual Miss Songkran winner is seen holding the head of Lord Tao Maha Songkran, (also known as Tao Mahapraphrom) — a gesture believed to bring good fortune to mankind.

Noted for the continued preservation of ancient customs and traditions, the Songkran festival at Phra Pradaeng is no less of an attraction and draws local and overseas tourists alike.

Contact information:
TAT Bangkok Office Tel : +66 (0) 2250 5500
E-mail : tatbangkok@tat.or.th
Website : www.songkran.net


SAMUTPRAKAN : Activities

Bang Namphueng Floating Market

Bang Namphueng Floating Market
The charm of this floating market is the canalside lifestyle of the community whose members are mostly Thai – Mon. Local products and famous food such as

A new floating market near Bangkok located at Tambon Bang Namphueng, Phra Pradaeng District. It originated under the cooperation between the Bang Namphueng Subdistrict Administration Organization and local community in an attempt to release their superabundant crops and, as a consequence, create employment and income to the community. The charm of this floating market is the canalside lifestyle of the community whose members are mostly Thai – Mon. Local products and famous food such as fish-scale flowers, herbal joss sticks, Hoi Thot (fried mussel pancake), Khanom Khrok or mortar-toasted pastry, mango, etc. are also offered on sale. A rowing boat for rent is available at 20 Baht each. A bicycle trek to experience the local lifestyle and visit the fruit orchards is also provided with a bicycle for rent available at 30 Baht each. Bang Namphueng Floating Market is open only on Saturdays and Sundays during 8.00 a.m. – 2.00 p.m. For more information, please contact Chief of the Bang Namphueng Subdistrict Administration Organization at Tel. 0 1171 4930 or Bang Namphueng Subdistrict Administration Organization Office at Tel. 0 2819 6762.

To get there By car – exit from the Express Way (Dao Khanong – Suk Sawat) to Suk Sawat Road, turn beside the BP gas station near Phra Pradaeng – Suk Sawat T-junction toward Phra Pradaeng Market, turn left via Wat Song Tham Worawihan for approximately 5 kilometres, turn right for another 1 kilometre upon noticing the direction sign to the floating market until arriving at Bang Namphueng Health Centre which provides a parking area. By bus – take air-conditioned bus No. 138 (Chatuchak – Phra Pradaeng), No. 140 (Victory Monument – Suk Sawat Express Way), No. 506 (Pak Kret – Phra Pradaeng), or ordinary bus No. 82 (Sanam Luang – Phra Pradaeng).

Wat Bang Phli Yai Klang

The temple contains an immense reclining Buddha image of approximately 53 metres long known as Somdet Phra Sakayamuni Si Sumet Bophit.

Located on the northern bank of Khlong Samrong in Tambon Bang Phli Yai, not too far from Wat Bang Phli Yai Nai. It was constructed around 1824 and originally called Wat Klang before changing to Wat Rat Sattha Tham and eventually Wat Bang Phli Yai Klang. The temple contains an immense reclining Buddha image of approximately 53 metres long known as Somdet Phra Sakayamuni Si Sumet Bophit. There are 4 storeys inside the image itself. The 1st floor houses meditation cells; the 2nd floor has images of the 500 Arahats and murals depicting Hell and Heaven; the 3rd floor has paintings of several other sacred Buddha images; the 4th floor houses the Lord Buddha’s relic taken from Colombo, Sri Lanka, in 1987, and also the Reclining Buddha’s heart.

Wat Bang Phli Yai Nai and Old Market

The image became much revered by the people who have called it Luangpho To. Hence, the temple is otherwise known as Wat Luangpho To.

Located approximately 500 metres from Bueng Tako on the canalside of Khlong Samrong, Tambon Bang Phli Yai. The temple was formerly known as Wat Phlapphla Chai Chana Songkhram built to commemorate King Naresuan the Great’s victory over the Burmese. Later, a large bronze Buddha image of the Sukhothai style in the gesture of subduing Mara, with open eyes, was taken to be enshrined as the principal image of Phra Ubosot. The image became much revered by the people who have called it Luangpho To. Hence, the temple is otherwise known as Wat Luangpho To. During the annual Yon Bua or Rap Bua Festival which takes place one day before the full moon of the 11th lunar month, Luangpho To will be taken in a boat procession along the canal. There is an old canalside market near the temple where visitors can walk around and buy some food and useful items. Open during 8.00 a.m. – 5.00 p.m.

 

Pom Phra Chulachomklao

Naval History Park at Chulachomklao Fortress is situated at the mouth of Chao Phraya River, Tambon Laem Fa Pha. You can get there using the Suksawat Road from the Phra Samut Chedi intersection. The fortress' compound houses a magnificent standing monument of King Rama V, which is located in the front of the fortress.

Pom Phra Chulachomklao is a modern fortress and has played an important role in protecting the sovereignty of Thailand during 1893 against unfriendly forces. It is the fortress forever in the memory of all Thais and a very important part of Thai history. During King Rama Vs reign, there was a period during which England and France were hunting for colonies. All neighbouring countries around Thailand were colonised by England and France. This was indeed a grave situation endangering Thailand so he sought ways to protect the country. Particularly, protection of the water of Thailand, he commanded that the fortresses at the rivers mouth be renovated and re-equipped, and also hired a foreigner who was a naval specialist as a consultant for planning the development of the Thai navy.

Phra Samut Chedi

Phra Samut Chedi is located at Tambon Pak Klong Bang Pla Kot, on the banks of the Chao Phraya River, opposite Samut Prakan City Hall. Formerly, this chedi was located on a small island in the middle of Chao Phraya River's mouth behind Phisuea Samut Fortress. Subsequently, however, the little island became linked to the right bank of the river due to the water turning shallow. Then, King Rama II granted the construction of the Chedi but it was not completed in his time. Later, during the reign of King Rama III, construction was resumed and the 20-metre high pagoda was completed. Finally, King Rama IV commanded that the shape of the chedi be changed and also increased the chedis height to 38 metres. Inside the pagoda, contained Lord Buddha's relics, Phra Chai Wat and Phra Ham Samut Buddha images (Buddha image in the attitude of Pacifying the ocean).

Wat Protketchettharam

Located at Tambon Song Kha Nong, this is the only Thai-Buddhism temple in Phra Pradaeng. Other temples are of the Mon-Buddhism sect. Phraya Phetphichai built it during the reign of King Rama II. A distinct and unique architectural characteristic of the temple is that its roof is covered with ancient Mon ceramic shingles, without any decorations on the temple roof. The front of the main building, Ubosot, above the entrance, is done with stucco adorned with vine lines and decorated with ancient porcelain and ceramic pieces. Inside, there is a cast-metal Buddha image in the attitude of Subduing Mara.

The second main building, Wiharn, has the same architecture as the first building. Inside the second main building, there is a reclining Buddha of which the face is very beautiful. Above the windows, there are the pictures of Dhamma Riddles of western arts style, which is extremely rare. Another building, Mondop, has a roof that is covered with ceramic shingles and decorated with small Chinese pavilions all around the edge of the roof. It enshrines Buddha images in many the attitudes and has chedis at all 4 corners. Inside the Mondop, there are Buddha images and the replication of Lord Buddha's Footprint, decorated with pearl inset.

Pom Phlaeng Faifa

This old fortress is located at Tambon Talat. Only a few parts of the fortress are still in good condition. It was one of the fortresses of Muang Nakhon Khuaenkhan, serving as a military base at the mouth of the Chao Phraya River. There are many fortresses because King Rama I commanded that the fortresses be built for protecting the kingdom. At present, Muang Phra Pa Daeng Municipality has developed the area of the fortress into a recreational area for the townspeople. The upper part of the fortress displays several old cannons. Trees have been planted all around.

City Pillar Shrine

The City Pillar Shrine is located at Tambon Talat. It was constructed in 1813. It has been with Amphoe Phra Pradaeng a long time - since the time when this Amphoe was once a city. It is a highly revered holy place of the people.

Wat Klang Worawihan

This second level royal monastery is located at Tambon Pak Nam. The temple, of which the former name is Wat Takothong, was built in the late Ayutthaya period. The main building was renovated in the reign of King Rama III. The upper part of the front of the temple, above the entrance, is decorated with Chinese porcelain and ceramics. Inside the temple, there is a mural painting, depicting the first book of the Buddhist scripture dealing with the life of Lord Buddha. Later, another building was built to enshrine the 4 traces of Lord Buddha's Footprints. The hall for sermons is Thai style structure made totally from teak and upper part of the front of the building, above the entrance, is lavishly decorated with exquisite and beautifully carved wood well worth preserving.

Wat Asokaram

This temple is 6 kilometres from town. It is located in Soi Sukhaphiban 58, Tambon Thai Ban, on Sukhumvit road, its entrance is opposite Sawangkhaniwat Recuperation Centre. The new temple was built by Phra Acharn Lee Thammawaro) of the Dharmayuthi sect on May 8, 1962. It is one of the important temples for practicing mediation. Worth visiting and seeing in this temple is Phra Thutangkha Chedi, a group of 13 chedi as a representative of the 13 duties of the monks on their religious trips. There is also Vihara Wisutthithamrangsi in which Acharn Lee's remains are enshrined.

The Erawan Museum

This three-headed elephant, Airavata was born of Khun Lek Viriyapant's ideas and imagination. It was inspired by his wish to preserve his collection of antiques as a contribution to Thai cultural heritage. Many of these were priceless objects of art they were also held as sacred objects for people of ancient cultures. According to ancient traditions they were believed to bring blessing and prosperity to the land and its people, and therefore must not be lost to outsiders. It had been Mr.Viriyapant's concern to find a way that would keep these objects safe and that would also be suitable to their traditional functions.

One day he had a visit from a Westerner who, during the course of the conversation, suggested the idea of constructing the most important building in the town in the form of an apple which according to Western traditions of belief, played a crucial part in the shaping of human destiny. This suggestion was warmly welcomed by Mr.Viriyapant. He nevertheless thought it more appropriate to adhere to Eastern traditions and thus decided on the heavenly elephant Airavata of Hindu mythology. In addition, he wanted this three-headed elephant to be more than just the vehicle of the god Indra.

The elephant would be a symbol of the centre of the universe and, as such, the building would function symbolically as the spiritual heart of the land where sacred objects of the land were housed and revered. He then designed the building and gave the design to Khun Pagpean Viriyapant, his eldest son, to begin construction. Already during the construction, the building attracted people who came to worship. Thus it fulfilled Khun Lek Viriyapant's wish to preserve sacred objects for the country. Although both Khun Lek and Khun Pagpean passed away before the construction was completed, their heirs continued their wish to create a place where ceremonies and festivals of Thai traditions might be held, and that would also serve as museum to keep the memory of Khun Lek Viriyapant's life and work alive for future generations.

Getting to The Erawan Museum : Bus No: 25,142,365 / Air-conditioned bus No: 102,507,511,536
Admissions : Adult Baht 150 / Children Baht 50
Office : The Ancient City 99/9 M.1 Muang Samut Prakan, Samut Prakan Province 10270
Tel: 0 2371 3135-6 Fax: 0 2371 3136
Open Everyday 8.00 a.m.-6.00 p.m.
Website: www.erawan-museum.com

 

The Ancient City

Muang Boran or the Ancient City is the world's biggest open-air museum. It occupies an area of 500 rais (200 acres). Construction began in the latter part of 1963. It is located at Tambon Bang Pu Mai, at Km. 33.5 of the old Sukhumvit Road, 8 kilometres from Samut Prakan town. This unique attraction is the center of scaled-down and actual-size replicas of important historical sites of various provinces such as Prasat Hin Phanom Rung, Wat Mahathat Sukhothai, Phraphuttabat Saraburi, Phrathat Mueang Nakhon, Phrathat Chaiya, etc. Furthermore, there are rare traditional folk arts and cultures, some of which are hard to come by nowadays. For those who wish to learn about Thailand, they will not be disappointed here.

Getting there: by car, take the Samrong - Samut Prakan Road to Samut Prakan T-junction and turn left going along the old Sukhumvit road (road to Bang Pu), then at approximately Km. 33 turn into an entry road to Muang Boran and drive on for 8 kilometres, Muang Boran will be on the left. To get there by bus, take the air-conditioned bus Line No. 11 (Pin Klao - Pak Nam) to the end of the Line and take the local mini-bus Line No. 36 to Mueang Boran.

The museum is open daily from 8.00 a.m.-5.00 p.m. Admission : Adult 300 baht, Child 200 baht. Fees for taking a car or van in is 50 Baht. For more information call 0-2323-9253 or 0-2224-1058-7, 0-2226-1936-7 or click www.ancientcity.com

Samut Prakan Crocodile Farm and Zoo

It was built in 1950 as Thailand's first crocodile farm. It is now the world's largest crocodile farm. It is situated at Tambon Tai Ban, 3 kilometres from Samut Prakan town. The farm has over 60,000 crocodiles of different kinds in various pits. Daily shows feature catching crocodiles bare-handed. Shows take place every hour from 09.00-17.00., except at noon; additional shows at 12.00 and 17.00 on holidays. Feeding time is between 16.30 - 17.30. Another star attraction for visitors is the elephant show of which performances are held daily every hour from 09.30 -16.30. Furthermore, you can see tigers, chimpanzees, and other animals such as gibbons, turtles, boa constrictors, pythons, birds, camels, hippopotamuses, and of various species of fishes.

There is even a Dinosaur Museum which has on display life-size models and skeletons of more than 13 kinds of dinosaurs and also features a multi-vision slide presentation on man and prehistoric animals. The farm is open daily from 07.00 - 18.00. Admission is 300 baht. For group tours and academic institutions that require a tour guide, please contact Samut Prakan Crocodile Farm and Zoo in advance at 555 Thai Ban Road, Amphoe Muang, Samut Prakan 10280 or tel. 0 2703 4891-5, 0 2703 5144-8. Click www.crocodilefarm.com for more information.

Getting there is also possible by taking the air-conditioned buses Line Nos. 7, 8, and 11, to the end of the Line or by non air-conditioned buses Line Nos. 25 and 102, to Samut Prakan and taking another ride on a local truck (Song Thaeo) Line No. S. 1 and S. 80.

Open : Daily from 7 a.m. - 6 p.m.

Admission : Adult 300 baht, Child 200 baht

 

Naval Musem

The Naval Museum is located at Bang Nang Keng, Pak Nam, Samut Prakan, opposite the Naval Academy on Sukhumvit Road, 10 kilometres from Bang Na intersection. The museum chronicles the history of the Royal Thai Navy and the important Naval battles, exhibits miniature ships such as the Royal Barges which were used in the Royal Barge Processions of King Rama V period, the warship H.M.S. Phra Ruang, Rau Barge, H.M.S. Matchanu - the first submarine of the Royal Thai Navy. It is open everyday except public holidays from 9.00 a.m.-15.30 p.m. For more information, call 0 2394 1997 or 0 2475 38080 or visit http://www.navy.mi.th/navalmuseum/index_eng.htm

How to get there: Public Bus No.508, No.511, No.525 and No.536

Bang Pu Seaside

This is located at Tambon Bang Pu Mai, about Kilometres 37 from Bangkok on Sukhumvit Road, opposite the Bang Pu Industrial Estate. It has long been famous for its seaside resort and also the recuperation centre, and generally associated with relaxation. It is operated by the Quartermaster Generals Department. Inside the compound, there are many gardens and a lot of trees and plants. Restaurants and bungalows are also available. During November to late July, a lot of migrating seagulls will come here, feeding along the seashore. Call 0-2323-9138, 0-2323-9983 for more information.

 

Pom Puen Suea Mop (Machine Gun)

Pom Puen Suea Mop (Machine Gun), used in the battle against unfriendly forces, is situated at the lower base of the fortress. Exhibition Hall displays the picture of damage from the wars and pictures related to the development of the Royal Thai Navy. H.M.S.Mae Klong Battleship Museum is a battleship that served in the Royal Thai Navy for over 60 years, the longest period of service for any vessel. The Ministry of Defense, seeing the battleship was no longer fit for active duty, de-commissioned the battleship and converted it into a museum. There are also walking paths for visitors who are interested in nature and ecological preservation. Visitors can see the mangrove forest, which is home to egrets, sea gulls, mudskippers, and many kinds of crabs. There is also a garden filled entirely with plants and trees from the mangrove forest. Getting there: by car: 7 kilometres on Highway No. 303; by bus: take the bus line number 20 which will pass the fortress, or you can take a Song Thaeo from Phra Samut Chedi to fortress, or alternatively, you can take a micro bus (Bang Pakok route) which will stop inside the fortress.

The fortress is open daily from 8.00 a.m.-6.00 p.m. without any admission fee. To get in, visitors must seek permission by exchanging their identification cards from the on-duty officers unit at the gate. For groups of visitors that should wish to have a guide should send a request letter to H.M.S.Mae Klong Battleship Museum. Call 0-2475-6109, 0-2475-6259, and 0-2475-6357 for more information.

Wat Songtham Worawihan

Wat Songtham Worawihan is an old temple of Mon-Buddhism sect. It was constructed at the same time when Muang Nakhon Khuaenkhan was being built, during the reign of King Rama III. At present, it is a second class royal monastery. The huge Phra Raman Chedi was built in Mon style. Buildings in this temple are built of brick and cement. A decoration on the roof of the temple is made of teak. The replication of Lord Buddha's Footprint was enshrined inside the temple.

Nong Ngu Hao Farm

This farm is located at Tambon Bang Chalong on Bangna-Trat Road. Between the 14 and 15 kilometres markers, take a left turn into a side road (entrance to Krirk University) and go in about 1.5 kilometres. It started in 1986, has an area of about 10 Rais (4 acres). The main purpose being the rearing of various kinds of cobras. There are also shows of snake venom extraction and snake catching. There are various snake-skin products on sale at low prices, such as shoes, belts, bags, etc. It is open from 9.00 a.m.-5.30 p.m. Normally, it is open to only contracted Tour Operators. For the the general public, please contact the Farm in advance at: Nong Ngu How Farm, 23/2 Mu. 6, kilometre 15 (Bangna-Trat), Tambon Bang Chalong, Amphoe Bang Phli, Samut Prakan 10540, or call at 0-2312-5990.

 

Bueng Tako

This is a place for water sports lovers. Water skiing and windsurfing can be enjoyed here. Rental fee is 200 Baht per hour. It is open daily.

Getting there: visitors can take the Bang Na-Trat highway going out of Bangkok, and at Kilometres13 marker, you can see the entrance on the right hand side, on the same side as the entrance to Wat Luang Pho To, right next to Mitsubishi Co., Ltd. Call at 0-2316-7809-10 for more information


สมุทรปราการ : ข้อมูลทั่วไป

ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ
สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

สมุทรปราการ หรือ เมืองปากน้ำ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองพระประแดง ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านเหนือของอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางเสาธง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 2389 5542-7, 0 2389 5538
  2. สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 2702 5021-4
  3. โรงพยาบาลสมุทรปราการ โทร. 0 2701 8132-39, 0 2389 0289-96
  4. โรงพยาบาลเมืองสมุทร โทร. 0 2387 0027-30
  5. โรงพยาบาลพระประแดง โทร. 0 2464 3002-3, 0 2463 3840
  6. ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 2384 5118, 0 2380 5180
  7. ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  8. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

Link ที่น่าสนใจ

ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ
http://www.samutprakan.go.th

สมุทรปราการ : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. สมุทรปราการ แนะนำการใช้งาน

รถยนต์
สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปราการ สอบถามเพิ่มเติมที่ 1543

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ (ขสมก.)
ปอ.สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด) ปอ.25 (ท่าช้าง- แพรกษา) ปอ.506 (ปากเกร็ด-พระประแดง) ปอ.507 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้) ปอ.508 (ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์) ปอ.511 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้) ปอ.513 (รังสิต-ปู่เจ้าสมิงพราย) ปอ.23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศน์) ปอ.25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง) ปอ.102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี) ปอ.545 (นนทบุรี-สำโรง) ปอ.129 (สำโรง-บางเขน) ปอ.142 (ฟาร์มจระเข้-การเคหะชุมชนธนบุรี) ปอ.145 (ปากน้ำ-หมอชิต 2) ปอ.536 (ฟาร์มจระเข้-หมอชิต 2) ปอ.521 (พระประแดง-ท่าน้ำนนท์) ปอ.20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 184

รถโดยสารประจำทางธรรมดา
สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด) สาย 6 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สาย 23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศร์) สาย 25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง) สาย 45 (สำโรง-ราชประสงค์) สาย 82 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี) สาย 116 (สำโรง-สาทร) สาย 129 (บางเขน-สำโรง) สาย 138 (ทางด่วน จตุจักร-พระประแดง) สาย 145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 184

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สมุทรปราการ

  1. อำเภอพระประแดง 12 กิโลเมตร
  2. อำเภอบางพลี 17 กิโลเมตร
  3. อำเภอพระสมุทรเจดีย์ 21 กิโลเมตร
  4. อำเภอบางเสาธง 32 กิโลเมตร
  5. อำเภอบางบ่อ 38 กิโลเมตร

สมุทรปราการ : วัฒนธรรมประเพณี

งานตรุษสงกรานต์ ช้างเอราวัณ-สมุทรปราการ
วันที่ 11– 15 เมษายน 2552
ณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จัดงาน “ตรุษสงกรานต์ ช้างเอราวัณ” เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ามิให้เลือนหาย เพิ่มทางเลือกให้จังหวัดสมุทรปราการเป็นแหล่งท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกแห่งหนึ่ง เริ่ม 11-15 เมษายน ศกนี้

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน นอกจากเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอันงดงามแล้ว ยังมุ่งหวังให้ทุกคนได้สัมผัสถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและประเพณีดีงามที่ กำลังจะเลือนหายไป ส่งเสริมให้เยาวชนไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงทัศนคติของชาวตะวันออกต่อการ ให้ความสำคัญต่อสถาบันครอบครัว การเคารพนับถือผู้สูงอายุและผู้มีพระคุณ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ อันโดดเด่นอีกแห่งหนึ่ง

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย ขบวนแห่ประเพณี 4 ภาค การจัดแสดงพันธุ์บัวไทยที่งดงามและหายาก กว่า 40 สายพันธุ์ น้อมเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ไทย อีกทั้งยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การสรงน้ำเทวรูปพระพิฆเนศวร์ สรงน้ำพระประจำวันเกิด สรงน้ำเทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นเทพประจำวันเกิด เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ก่อให้เกิดกำลังใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ การก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งพิธีบายศรีสู่ขวัญ และการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และสนุกสนานกับลานเล่นน้ำสงกรานต์อย่างปลอดภัย

ติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
โทร.0-2371-3135-6 ต่อ 11 , 089-103-5823
E-mail: pr_erawan@hotmail.com
www.erawan-museum.com

ชุ่มฉ่ำ เบิกบาน มหาสงกรานต์ ๔ ภาค
วันที่ 11 - 15 เมษายน 2552
ณ จังหวัดสมุทรปราการ

เมืองโบราณ สมุทรปราการ ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “ชุ่มฉ่ำ เบิกบาน มหาสงกรานต์ ๔ ภาค” ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2552 เวลา 8.00 – 17.00 น. ร่วมสืบสานประเพณีที่ดีงามของไทย เรียนรู้งานเทศกาลมหาสงกรานต์ทั้ง 4 ภาค สนุกสนานกับการเล่นสาดน้ำแบบไทยๆ ร่วมทำบุญสรงน้ำพระเพื่อความเป็นสิริ มงคล เชิญลิ้มรสอาหารพื้นเมืองอันหลากหลาย พร้อมชมการแสดงพื้นเมืองทั้ง 4 ภาคอันงดงาม เช่น รำโนราห์ ฟ้อนนกกิงกะหล่า รำไตรรัตน์ และลาวกระทบไม้ เป็นต้น และขอเชิญร่วมสนุกกับการละเล่นพื้นบ้านในวิถีแบบไทยพร้อมร่วมอนุรักษ์ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสามัคคีของผู้คนในสังคม เช่น ปิดตาตีหม้อ วิ่งกระสอบ การละเล่นอื่นๆอีกมากมาย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2709 1644-8
หรือ www.ancientcity.com

งานชุ่มฉ่ำ เบิกบาน มหาสงกรานต์ 4 ภาค
วันที่ 11-15 เมษายน 2552 เวลา 8.00 – 17.00 น.
ณ เมืองโบราณ บางปู จังหวัดสมุทรปราการ

เมืองโบราณ สมุทรปราการ ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “ชุ่มฉ่ำ เบิกบาน มหาสงกรานต์ ๔ ภาค” ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2552 เวลา 8.00 – 17.00 น. ร่วมสืบสานประเพณีที่ดีงามของไทย เรียนรู้งานเทศกาลมหาสงกรานต์ทั้ง 4 ภาค สนุกสนานกับการเล่นสาดน้ำแบบไทยๆ ร่วมทำบุญสรงน้ำพระเพื่อความเป็นสิริมงคล เชิญลิ้มรสอาหารพื้นเมืองอันหลากหลาย พร้อมชมการแสดงพื้นเมืองทั้ง 4 ภาคอันงดงาม เช่น รำโนราห์ ฟ้อนนกกิงกะหล่า รำไตรรัตน์ และลาวกระทบไม้ เป็นต้น และขอเชิญร่วมสนุกกับการละเล่นพื้นบ้านในวิถีแบบไทยพร้อมร่วมอนุรักษ์ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสามัคคีของผู้คนในสังคม เช่น ปิดตาตีหม้อ วิ่งกระสอบ การละเล่นอื่นๆอีกมากมาย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2709 1644 - 8 หรือ www.ancientcity.com

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

กำหนดจัดงาน วันที่ 17 - 19 เมษายน 2552

พื้นที่จัดงาน บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

กิจกรรมในงาน
ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ ขบวนสาวงามแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน การเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ ปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การประกวดนางสงกรานต์ ประกวดหนุ่มลอยชาย และการเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ

กิจกรรม Hi-Light
วันที่ 19 เมษายน 2552 เวลา 13.00 น. ขบวนแห่นางสงกรานต์พระประแดง และเวลา 15.30 น. ขบวนแห่นกแห่ปลา และร่วมพิธีปล่อยนกปล่อยปลา ณ วัดโปรดเกศเชษฐาราม
วันที่ 17 - 19 เมษายน 2552 เวลา 19.00 น. การละเล่นพื้นบ้าน (สะบ้ารามัญ และสะบ้าทอย) ณ อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และหมู่บ้านรามัญ (บ่อนสะบ้า)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ว่าการอำเภอพระประแดง โทร. 0 2463 4891 ต่อ 129 - 130
ททท. สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 0 2250 5500 ต่อ 2991-7

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง
ประวัติ / ความเป็นมา
อำเภอพระประแดง เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นเมืองหน้าด่านของปากแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เพื่อป้องกับการรุกรานของข้าศึกที่ยกมาทางทะเล ชาวพื้นเมืองเดิมของเมืองนครเขื่อนขันธ์หรือพระประแดง เป็นชาวรามัญหรือมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทยเป็นเวลา กว่าร้อยปีมาแล้ว
สันนิฐานว่า ชาวรามัญเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยหลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศ อิสรภาพ เมื่อ พ.ศ. 2127 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2318 ปรากฏว่ามีชาวมอญอพยพเข้ามาราวหมื่นคนทางด้านจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมือง นนทบุรี ตั้งแต่ปากเกร็ดถึงปุทมธานี ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีพวกมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อพระองค์ได้ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ แล้ว จึงโปรดให้อพยพครอบครัวมอญจากเมืองปทุมธานี โดยมีพระยาเจ่งเป็นหัวหน้าไปอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ต่อมาโปรดให้สมิงทอบุตรชายพระยาเจ่ง เป็นเจ้าเมืองเขื่อนขันธ์ หรือเมืองพระประแดง
กล่าวได้ว่า ประเพณีและวัฒนธรรมมอญ จึงฝังรากแน่นแฟ้นในเมืองพระประแดงถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นคนไทย แต่ยังรักษาประเพณีเดิมไว้เป็นอย่างดี
ทางจังหวัดสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดง จึงได้ร่วมกันจัดงานสงกรานต์พระประแดงขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ของไทย และเพื่ออนุรักษ์ประเพณีของชาวรามัญเอาไว้ เช่น ประเพณีการปล่อยนกปล่อยปลา การเล่นสะบ้า โดยจัดร่วมกับงานสงกรานต์ทุกปี

กำหนดงาน
หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประมาณ 1 อาทิตย์ ณ อำเภอพระประแดง

กิจกรรม / พิธี
เริ่มขึ้นก่อนวันสงกรานต์จะมาถึง โดยชาวบ้านจะเตรียมบ้านเรือนให้สะอาด นำเงินที่เก็บหอมรอมริบไว้มาใช้จ่ายเพื่อการรื่นเริงในวันสงกรานต์ มีการกวนกาละแม ข้าวเหนียวแดง เพื่อทำบุญตักบาตรหรือแจกจ่ายญาติพี่น้อง ผู้ที่คุ้นเคยและเคารพนับถือ การกวนกาละแมเป็นเรื่องความสนุกสนานของหนุ่มๆ สาวๆ โดยบ้านใดกวนกาละแมก็จะไปบอกเพื่อบ้านใกล้เคียงให้มาช่วยกัน เพราะกาละแมกระทะหนึ่งต้องใช้เวลากวนถึง 6 ชั่วโมง จึงได้ที่โดยใน 1 วัน จะกวนได้ 2 กระทะเท่านั้น หนุ่มๆ ทำหน้าที่กวน และการกวนกาละแมจะหยุดไม่ได้ เพราะจะทำให้ไหม้ จึงต้องกวนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงสุราอาหารและคุยกันระหว่างหนุ่มๆ สาวๆ

เมื่อถึงวันสงกรานต์ มีการส่งข้าวสงกรานต์ หรือที่เรียกว่า “ข้าวแช่” ข้าวที่หุงเป็นข้าวสงกรานต์นั้นต้องใช้ข้าวเปลือก 7 กำใหญ่ ตำเป็นข้าวสาร ฝัดรำทิ้ง 7 หน เมื่อเวลาจะหุงข้าวต้องซาวน้ำล้าง 7 ครั้งครั้นเป็นข้าวสวยแล้วต้องนำมาล้างอีก 7 หน จึงนำไปแช่น้ำสะอาดอบร่ำด้วยดอกมะลิ ในภาชนะที่ทำด้วยดิน เช่น อ่างดิน หรือหม้อดินเพื่อให้เย็น ถือว่าอยู่เย็นเป็นสุข กับข้าวที่จะรับประทานกับข้าวสงกรานต์ต้องทำจากพืช เช่น ถั่ว งา และผักต่างๆ ไม่นิยมทำจากเนื้อสัตว์ โดยนำข้าวสงกรานต์ไปถวายพระที่ในวัดตอนเช้าตรู่ระหว่างเวลา 6.00 – 8.00 น. ผู้ส่งนิยมใช้สาวๆ แต่ต้องนำข้าวสงกรานต์หรือข้าวแช่และกับข้าวที่เตรียมไว้บูชาท้าวมหา สงกรานต์เสียก่อน ที่สำหรับบูชาท้าวมหาสงกรานต์ปลูกเป็นศาลเพียงตา มีเสาสี่ต้นตกแต่งด้วยทางมะพร้าวและใบมะพร้าว ประดับธงเล็กๆ สีขาว เหลือง แดง เขียว ฯลฯ ศาลเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัศมีพื้นที่สำหรับวางเครื่องบูชา

การส่งข้าวสงกรานต์นั้น มักใช้หญิงสาวเป็นคู่ๆ คือ สาวคนหนึ่งถือภาชนะใส่ข้าวแช่ ส่วนอีกคนหนึ่งถือภาชนะใส่กับข้าว ไปส่งตามวัดต่างๆ เพื่อให้พระฉันก่อนออกบิณฑบาต หรือลงศาลารับการทำบุญจากชาวบ้าน และห้ามรดน้ำสาวในเขตบริเวณวัด เพื่อมิให้น้ำที่รดผ่านผ้านุ่งของสตรีตกต้อง ธรณีสงฆ์แต่หลังจากส่งข้าวสงกรานต์ที่วัดแล้วรดน้ำได้ไม้ผิดประเพณี

นอกจากการส่งข้าวสงกรานต์แล้ว ยังมีการสรงน้ำพระสงฆ์อีกด้วย โดยกำหนดวันที่จะไปสรงน้ำพระสงฆ์ให้เจ้าอาวาสทราบ ต่อจากนั้นจะสร้างซุ้มกั้นเป็นห้องน้ำด้วยทางมะพร้าว ปูพื้นด้วนแผ่นกระดานสำหรับให้พระเข้าไปสรงน้ำ รางน้ำที่ต่อเข้าไปในซุ้มยาวพอสมควร ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำพระกันอย่างทั่งถึง โดยจัดตั้งโอ่งน้ำไว้เป็นระยะ เพื่อให้ชาวบ้านใช้น้ำในโอ่งนี้สรงน้ำพระซึ่งจัดขึ้นในเวลาประมาณบ่าย 2 โมง หลังจากทำบุญเลี้ยงพระเพลหรือมีการจับสลากภัตถวายอาหารแด่พระสงฆ์แล้ว โดยนิมนต์พระสงฆ์ที่มีอาวุโสสูงลงสรงก่อน ชาวบ้านจะใช้ขันของตนตักน้ำในโอ่งเทลงไปในราง น้ำจะไหลตามรางเข้าไปในซุ้มที่พระสรง ในระหว่างนี้จะมีคนคอยตะโกนบอกชาวบ้านให้หยุดเทน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้พระได้ถูเหงื่อไคลและชาวบ้านผู้ชายจะเข้าไปช่วยถูเหงื่อ ไคลพระด้วยก็ได้ เมื่อพระสงฆ์องค์หนึ่งสรงน้ำเสร็จก็นิมนต์พระองค์ต่อๆ ไป ในการสรงน้ำพระชาวบ้านจะเอาน้ำอบหอมเทปนลงไปกับน้ำในรางด้วยก็ได้ การสรงน้ำพระถือเป็นการขอพรและการกุศลทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

หลังจากสรงน้ำพระเสร็จแล้ว เป็นการรดน้ำของหนุ่มๆ สาวๆ โดยมี 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อสาวกลับมาจากส่งข้าวสงกรานต์ตามวัดต่างๆ ระหว่างวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน ตั้งแต้เวลาประมาณ 9.00 น. การรดน้ำในวันสงกรานต์ไม่ผิดประเพณีและไม่ถือโทษกัน แต่ต้องเป็นการรดน้ำโดยสุภาพครั้งที่สองเมื่อสาวๆ กลับจากสรงน้ำพระสงฆ์ตามวัด และการรดน้ำครั้งที่สามถือเป็นการรดน้ำครั้งพิเศษ คือ บ่ายของวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน เพราะบ่ายวันนั้นมีการสรงน้ำพระพุทธรูปในมณฑปวัดโปรดเกตุเชษฐาราม

หลังจากรดน้ำสาวแล้ว ในตอนกลางคืนยังมีการเล่นสะบ้า อันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวรามัญ การเล่นสะบ้ามี 2 ประเภท คือ สะบ้าประเภทเล่นกลางวัน เรียกว่า ทอยสะบ้าหัวช้าง และการเล่นสะบ้าบ่อนในตอนกลางคืน
การเล่นสะบ้าแบบหัวช้าง เป็นเรื่องของชายฉกรรจ์ คนทอยอยู่คนละข้าง มีสะบ้าหัวช้างข้างละ 5 ลูก โดยมากใช้ลูกสะบ้าจริงๆ ตั้งเป็นรูปค่ายทหารโบราณ คือ แนวนอน 3 ลูก ห่างกันพอสมควร ลูกที่ตั้งอยู่ทางซ้ายคือปีกซ้าย ลูกตรงกลางคือกองทัพหลวง ลูกทางขวาคือปีกขวา แนวตั้งสองลูกคือทัพหน้าและทัพหลัง ทั้งสองข้างอยู่ห่างกันประมาณ 14 – 15 วา การทอยเหมือนโยนโบว์ลิ่ง ใครทอยล้มหมดก่อนชนะ มีลูกทอยข้างละ 3 ลูก ลักษณะเหมือนจักรที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาขว้างจักร

สะบ้าบ่อน ในวันสงกรานต์จะเห็นสาวๆ ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ รวมกลุ่มกันตั้งบ่อนสะบ้าส่วนมากอยู่ตามใต้ถุนเรือนชั้นเดียว และมีสาวงามอยู่ประจำทุกบ่อน ก่อนเล่นต้องปรับดินให้เรียบเสียก่อนโดยใช้น้ำรดหมาดๆ แล้วเอาตะลุมพุกสำหรับตำข้าวทุบดินให้แน่น ต่อจากนั้นใช้ขวดกลึงให้เรียบความกว้างยาวของบ่อนขึ้นอยู่กับเนื้อที่ของ ใต้ถุนบ้าน ด้านหัวบ่อนใช้กระดานหนาๆ มาตั้งโดยเอาสันลงด้านหลังกระดานนี้มีม้ายาวตั้งอยู่หลายตัว เป็นที่นั่งของผู้เล่น กระดานนี้มีห้าที่รับลูกสะบ้าที่ผู้เล่นอีกฝ่ายทอยมากระทบไว้มิให้ลูกสะบ้า กระเด็นไป และป้องกันเท้าของผู้นั่งมิให้ถูกสะบ้าที่ทอยมา มีการประดับประดากระดาษสายรุ้งสีต่างๆ และปักธงเสาเรือนรอบๆ บ่อนสะบ้านั้น ทุกบ่อนมีผู้หญิงสูงอายุเป็นหัวหน้าบ่อน และดูแลเป็นพี่เลี้ยงสาวๆ ประจำบ่อน บ่อนสะบ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีผู้เล่นทั้งฝ่ายชายและหญิงประมาณ 8 คน อย่างมากไม่เกิน 15 คน หญิงสาวแต่งตัวแบบสมัยโบราณอย่างสวยงาม

วิธีเล่นสะบ้า ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตั้งลูกสะบ้า เรียกว่า “จู” ให้ฝ่ายชายเริ่มเล่นก่อน ฝ่ายชายนั่งที่ม้านั่งตรงข้ามกับฝ่ายหญิง หัวหน้าฝ่ายชายเริ่มเล่นก่อน โดยเล่นท่าไหน คนต่อๆ ไปเล่นท่าเดียวกันนั้นจนครบทุกคน กติกาการเล่นสะบ้าแตกต่างกันไปบ้างแล้วแต่หมู่บ้าน แต่ละท่าต้องเล่นให้ถูกคู่ของตนหากถูกสะบ้าที่ไม่ใช่คู่ของตนถือว่าเสีย “อุย” ต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตั้งรับกลับมาเล่นบ้าง ช่วงนี้ฝ่ายชายและหญิงจะได้คุยกัน การเล่นสะบ้าอาจจะเล่นไปจนสว่างหรือค่อนรุ่ง แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมบ่อน ฝ่ายแพ้จะถูกปรับหรือรำให้ดู ท่าเล่นประกอบด้วยชื่อต่างๆ คือ ทิ่นเติง เป็นท่าแรก ผู้เล่นนำลูกสะบ้าวางบนหลังเท้าแล้วโยนไปข้างหน้า แล้วดีดลูกสะบ้าไปถูกคู่ของตน ท่าต่อไป ได้แก่ จั้งฮะอยู่, อีเร็ด, ฮะเนิดเบา, ฮะเนิดป๊อย, อีโช, อีเกน, อีมายมับ, ตองเก้ม, มายฮะเกริ้น, มายโล่น, อะลองเดิง เป็นต้น ทั้งหมดมีประมาณ 12- 20 บท

นอกจากที่กล่าวมาสิ่งที่ขาดเสียมิได้ในงานสงกรานต์ของชาวพระประแดง คือ การปล่อยนกปล่อยปลา โดยมีตำนานอยู่ 2 ประการ คือ การช่วยชีวิตปลาที่ตกคลักอยู่ตามหนองบึงที่กำลังแห้งในฤดูแล้งชาวบ้านจะช่วย กับจับปลาไปปล่อยในที่มีน้ำ เพื่อให้พ้นความตายและเป็นการรักษาพันธุ์ปลาในทางอ้อมด้สยอีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับโหราศาสตร์ คือ มีเณรองค์หนึ่งถกนักโหราศาสตร์ทำนายว่า ชะตาขาดต้องเสียชีวิตแต่บังเอิญระหว่างทางที่เดินทางไปเยี่ยมมารดา พบปลาตกคลักอยู่ในหนองแห้ง สามเณรจึงช่วยจับปลาเหล่านั้นไปปล่อยในคูน้ำ สามเณรจึงพ้นจากชะตาขาดด้วยการทำบุญปล่อยปลา จึงถือว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์

การแห่ปลาของชาวพระประแดง ทำกันทุกปีระหว่างเทศกาลสงกรานต์ มีสาวรามัญร่วมขบวนแห่ นำปลาไปปล่อยในที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมเป็นปีๆ ไป ก่อนการแห่นกแห่ปลา เจ้าภาพจะเชิญสาวๆ มาร่วมขบวน โดยมอบหมากพลูให้คำหนึ่งต่อสาวคนหนึ่งถือเป็นประเพณี ถ้าสาวคนใดรับหมากพลูก็แสดงว่ายินดีมาร่วมงานขบวนแห่ ก่อนแห่เจ้าภาพจะเอานกใส่กรง และเอาปลาหมอใส่ขวดโหล โหลละ 2 - 3 ตัว เมื่อถึงกำหนดเวลาก็ให้สาวๆ ที่เชิญมาถือกรงนกหรือโหลใส่ปลาเข้าร่วมขบวนแห่ไปตามถนน จนถึงสถานที่ปล่อยนกปล่อยปลา ในขบวนแห่ก็มีการละเล่นสลับ ได้แก่ แตรวง ทะแยมอญ เถิดเทิง ร่วมขบวนไปเป็นที่สนุกสนานรื่นเริง เวลามักเป็นเวลาประมาณ 15.00 น. นอกจากนั้นยังมีการประกวดนางสงกรานต์ด้วย

แห่หงส์ธงตะขาบ

ประวัติศาสตร์

ของชาวไทย – รามัญอำเภอพระประแดงกล่าวไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชพระบิดา พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะสร้างเมืองสร้างป้อมยุทธนาวีเพื่อป้องกันข้าศึก ที่จะจู่โจมมาทางน้ำต่อจากพระบิดา ซึ่งได้เริ่มต้นไว้ส่วนหนึ่งแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นแม่กองเสด็จลงไปสร้างเมืองขึ้นที่ปากลัด และปักหลักเมืองลงอาถรรพ์ไว้พร้อมสรรพ ทรงพระราชทานนามเมืองนี้ว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์” แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวมอญที่มีชายฉกรรจ์ 300 คน จากเมืองปทุมธานีมาอยู่ที่เมืองนี้และทรงแต่งตั้งให้สมิงทอมาบุตรพญาเจ่ง (ต้นสกุลคชเสนี) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงครามเป็นเจ้าเมือง นอกจากนี้ยังมีชาวมอญอีกพวกหนึ่งที่อพยพเข้ามาในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งโปรดให้ส่วนหนึ่งพำนักอยู่ในเมืองนครเขื่อนขันธ์นี้ด้วย

นับเป็นเวลาร้อยแปดสิบปีเศษแล้วที่ชาวมอญได้มาพักพิงอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ เวลาอันยาวนานนี้เองทำให้วิถีชีวิตของชาวมอญค่อย ๆ แปรเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ภาษา การศึกษา อาชีพ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ ดังนั้น ชาวมอญในปัจจุบันจึงเหมาะที่จะเรียกว่า ชาวไทยเชื้อสายรามัญ หรือ ชาวไทย - รามัญมากกว่า อย่างไรก็ตามก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ คือประเพณี “สงกรานต์พระประแดง” แต่ก่อนเขาเรียกกันว่า “สงกรานต์ปากลัด” สงกรานต์ปากลัด แต่ละปีจะมีความสนุกสนานมาก เพราะมีประเพณีหลาย ๆ อย่างรวมอยู่ในเทศกาลนั้น เช่น การเล่นสะบ้า การส่งข้าวสงกรานต์ แห่หงส์ - ธงตะขาบ ค้ำต้นโพธิ์ และปล่อยนก - ปล่อยปลา เป็นต้น

สงกรานต์ปากลัดจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 - 15 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็น วันเทศกาลขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านจะเริ่มทำความสะอาดบ้านช่อง เรือนชานกันตั้งแต่ เดือนมีนาคม ในวันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน) จะเริ่มต้นด้วยการส่งข้าวสงกรานต์ตามวัด ต่างๆในตอนเช้าตรู่ร่วมทำบุญทำทานรวมทั้งการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนก-ปล่อยปลาช่วงเวลากลางวันลูกๆ หลานๆ จะพากันไปรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตอนบ่ายจะมีพิธีน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหงส์อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ ด้วยการแห่หงส์ – ธงตะขาบ ตอนเย็นจะชักชวนกันนำดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบไปไหว้ และประพรมอัฐิญาติผู้ล่วงลับที่วัด ตอนกลางคืนจะมีการเล่นสะบ้าตามหมู่บ้าน

มอญเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมอันสูงส่งมาแต่สมัยบรรพกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้งนี้เพราะประเทศรามัญนั้นมีอาณาเขตติดต่อ กับประเทศอินเดีย อันเป็นดินแดนแห่งพุทธภูมิ

ที่มาของ “หงส์” ตำนานเก่าของมอญเล่าต่อๆ กันมาว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณในประเทศอินเดียได้ 8 ปี ได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ในแคว้นต่างๆจนกระทั่งวันหนึ่งได้เสด็จมาถึงภูเขาสุ ทัศนมรังสิตซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองสะเทิมทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวัน ออกทอดพระเนตรเห็นเนินดินกลางทะเลเมื่อน้ำงวดสูงได้ประมาณ 23 วา ครั้นน้ำขึ้นเปี่ยมฝั่ง ก็พอมองเห็นเนินดินนั้น ยังมีหงส์เมียผู้ 2 ตัวลงเล่นน้ำอยู่ ตัวเมียเกาะอยู่บนตัวผู้ เนื่องจากมีเนินดินที่จะยืนเพียงนิดเดียวพระองค์จึงทรงนายว่ากาลสืบไปภาย หน้า เนินดินที่หงส์ทองทั้งสองเล่นน้ำนี้จะเป็นมหานครชื่อว่า “เมืองหงสาวดี “ และจะเป็นที่ตั้งพระธาตุสถูปเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์ พระศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธองค์จะรุ่งเรืองขึ้น ณ ที่นี้

ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงไปแล้วได้ 100 ปี เนินดิน กลางทะเลใหญ่นั้นก็ตื้นเขินขึ้น จนกลายเป็นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ มีพระราชบุตรของ พระเจ้าเสนะคงคา ทรงพระนามว่า สมลกุมารและวิมลกุมาร เป็นผู้รวบรวมไพร่พลตั้งเป็นเมืองขึ้น เป็นอันว่าเมืองหงสาวดีได้เกิดขึ้น ณ ดินแดนที่มีหงส์ทองเล่นน้ำอยู่นั้นแล้ว ดังนั้น ชาวมอญใน หงสาวดีจึงใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศสืบแต่นั้นมา

ที่มาของธงตะขาบ เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงรำลึกถึงพระมารดาผู้เคยมีอุปการะมาแต่ก่อน และขณะนั้นได้เสด็จดับขันธ์ไปสู่ดาวดึงส์เทวโลกแล้วพระองค์ทรงปรารถนาที่จะ โปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ซึ่งเป็นธรรม ชั้นสูงจึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นเพื่อแสดงธรรม ดังกล่าว จนพระมารดาทรงได้สำเร็จพระโสดาบัน เบื้องต้นเมื่อการแสดงธรรมครบ 3 เดือน (หนึ่งไตรมาส) พระพุทธมารดาก็เสด็จคล้อยเคลื่อนเข้าสู่ธรรมชั้นพรหมวิหารสุขากาโม ส่วนเทพทั้งหลาย ที่ได้มีโอกาสฟังธรรมในครั้งนั้นต่างก็พากันบรรลุโสดปัตติผลเช่นเดียวกัน เมื่อครบไตรมาสแล้วพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในครั้งนั้นได้มี มวลเทพ พระอินทร์ พระพรหม เนรมิตให้เกิดบันไดเงิน บันไดทองมารองรับ บ้างก็ถือเครื่องสูง อันประกอบด้วย ราชวัตร ฉัตรธง และเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า มาประโคม

ส่วนมวลมนุษย์ในโลกที่เลื่อมใสในพระองค์ต่างพากันดีใจนำอาหารไปใส่บาตรแต่ เนื่องด้วยจำนวนคนที่ไปใส่บาตรนั้นมีมาก ไม่สามารถนำอาหารเข้าไปถึงพระองค์ได้ จึงทำเป็นข้าวต้มมัดเล็ก ๆ แล้วโยนใส่บาตร ดังนั้น จึงเกิดมีประเพณีใส่บาตรข้าวต้มลูกโยน ขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นมา

นอกจากประชาชนจะนำอาหารไปใส่บาตรแล้ว ยังได้ทำการต้อนรับเฉลิมฉลองด้วยการชักธงรูปต่าง ๆ เป็นทิวแถว กล่าวโดยเฉพาะชนชาติมอญ ซึ่งอยู่ใกล้ประเทศอินเดียมากที่สุดนั้นได้ทำธงเป็นรูปตะขาบ เป็นการต้อนรับ ทั้งนี้ เพราะธงตะขาบมีข้อเปรียบเทียบได้กับคติทางโลก และทางธรรม กล่าวคือ

1. ทางโลก
ตะขาบ เป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาวมีเขี้ยวเล็กที่มีพิษ สามารถต่อสู้กับศัตรูที่จะมาระรานได้เปรียบเสมือนคนมอญซึ่งไม่เคยหวาดหวั่น ต่อศัตรูอีกนัยหนึ่ง ตะขาบเป็นสัตว์ที่มีลูกมาก ออกลูกในแต่ละครั้งประมาณ 20-30ตัว แม่ตะขาบจะคอยปกป้องลูกเอาไว้ในอ้อมอกเมื่อใด มันเลื้อยออกมาอยู่กระจัดกระจาย แม่ของมันจะตะแคงลำตัวโอบลูกๆเข้ามาแล้วขดไว้เป็นวงกลม นั่นย่อมหมายความว่า หากประเทศรามัญสามารถ ปกครองดูแลประชาราษฎร์ของตน ได้เหมือนตะขาบแล้วไซร้ รามัญประเทศก็จะเจริญรุ่งเรืองไปอีกนานแสนนานและเต็มไปด้วยความร่มเย็นเป็น สุข

2. ทางธรรม กล่าวว่าทุกส่วนของตัวตะขาบนั้น คนมอญจะตีความออกมา เป็นปริศนาทั้งสิ้น นับแต่ลำตัวจากหัวถึงหาง กล่าวโดยละเอียดได้ดังนี้
2.1 หนวด 2 เส้น ได้แก่ ธรรมที่อุปการะมาก 2 อย่าง ได้แก่
สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว
2.2 หาง 2 หาง ได้แก่
ขันติ คือ ความอดกลั้น โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยมเจียมตัว
2.3 เขี้ยว 2 เขี้ยว ได้แก่
หิริ คือ ความละอายใจเมื่อทำชั่ว โอตัปปะ คือ ความเกรงกลัวเมื่อจะทำบาป
2.4 ตา 2 ข้าง หมายถึง บุคคลที่หาได้ยาก 2 ประเภท ได้แก่
บุพพการี คือ บุคคลผู้ให้อุปการะมาก่อน
กตัญญูกตเวที คือ บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำมาแล้วและทำตอบแก่ท่าน
2.5 ลำตัว 22 ปล้อง ได้แก่
สติปัฏฐาน 4 อินทรีย์ 5 สัมมัปปธาน 4 พล 5 อิทธิบาท 4

สมุทรปราการ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

พิพิธภัณฑ์ ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการ ผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก (6-12 ปี) 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2371 3135-6 โทรสาร. 0 2380 0304 หรือ www.erawan-museum.com

การเดินทาง พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ผ่านแยกบางพลี ก่อนถึงแยกปากน้ำ ตั้งอยู่บริเวณซ้ายมือ รถโดยสารประจำทางธรรมดา สาย 25,142,365 และรถปรับอากาศสาย 102,507,511,536

ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ

ตั้ง อยู่ถนนท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร หรือสามารถเข้าทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) เทศบาลบางปูซอย 46 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันเป็นฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเป็นสถานเพาะเลี้ยงจระเข้ขนาดต่าง ๆ กว่า 60,000 ตัว มีการแสดงโชว์จระเข้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ทุก ๆ 1 ชั่วโมง (พักเที่ยง) วันหยุดเพิ่มรอบ 12.00 น.และ 17.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงของช้างแสนรู้ ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก โดยมีการแสดงทุก 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 -16.30 น. ทุกวัน นอกจากการเลี้ยงจระเข้แล้ว ภายในฟาร์มยังมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น เสือ ลิงชิมแปนซี ชะนี เต่า งู นก อูฐ ฮิปโปโปเตมัส กวาง และปลาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังสามารถเข้าชม พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ได้จัดแสดงกระดูกและหุ่นจำลองไดโนเสาร์ พร้อมการฉายสไลด์มัลติวิชั่น เรื่องของมนุษย์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ด้วย

ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการแห่งนี้เปิดให้เข้าชม ทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 60 บาท เด็ก 30 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 300 บาท เด็ก 200 บาท การเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการวิทยากร ควรมีหนังสือติดต่อล่วงหน้าไปที่ ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ เลขที่ 555 ถนนท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280 หรือ โทร. 0 2703 4891, 0 2703 5144-8 หรือwww.crocodilesworld.com

การเดินทาง
นอกจากรถส่วนตัวแล้ว สามารถใช้บริการรถเมล์ปรับอากาศ ขสมก. สาย 536 ฟาร์มจระเข้-อนุสาวรีย์ชัย หรือสาย 507, 508 และ 511 หรือรถเมล์ธรรมดาสาย 25 และ 102 ไปยังจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อรถสองแถวปากน้ำ – ฟาร์มจระเข้ ที่ป้ายหลักเมือง หรือจะขึ้นรถตุ๊ก ๆ ในราคา 40 บาท

เมืองโบราณ

ตั้ง อยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ ในประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2506 ปูชนียสถานที่สำคัญๆ เช่น เขาพระวิหาร ปราสาทหินพนมรุ้ง วัดมหาธาตุสุโขทัย พระพุทธบาทสระบุรี พระธาตุเมืองนคร พระธาตุไชยา ฯลฯ โดยสร้างให้มีขนาดเล็กลง บางแห่งเท่าแบบจริงการสร้าง ฝีมือประณีต นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่นับวันจะสูญหายไปจาก สังคมยุคใหม่ ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของประเทศไทยจะศึกษาได้จากเมืองโบราณ แห่งนี้

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. อัตราค้าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท อายุต่ำกว่า 5 ปีไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท(รวมค่ารถจักรยาน) ค่านำรถยนต์เข้าชมคันละ 50 บาท รถบัส 200 บาท ค่าเช่ารถจักรยาน 50 บาท

หมายเหตุ - ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป เมืองโบราณปรับค่าเข้าชม Ancient Siam สำหรับชาวไทย ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 75 บาท


สอบ ถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทเมืองโบราณ จำกัด ตำบลบางปู กิโลเมตรที่ 33 โทร. 0 2323 9253, 0 2709 1644 สำนักงานกรุงเทพฯ มุมอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โทร. 0 2224 1057, 0 2226 1936-7 หรือที่เว็บไซต์ www.Ancientcity.com

การเดินทาง
รถยนต์ ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33 เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือ
รถโดยสารประจำทาง สาย 25, 102, 145 รถโดยสารปรับอากาศ สาย 25, 102, 142, 142, 507, 508, 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้ำ), 536 ไปลงตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถวสาย 36 หรือสองแถว ปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมบางปู และ ปากน้ำ-คลองด่าน ผ่านเมืองโบราณ

วัดอโศการาม

ตั้ง อยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ 0 2395 0003

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 31 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลบางปู 60 ประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบวัดอโศการามอยู่ทางซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก. สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145 ไปยังตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถว ปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมฯบางปู และปากน้ำ-คลองด่าน ก็สามารถไปถึงได้

ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือ ป้อมพระจุล

ตั้ง อยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 20 ป้อมพระจุลฯ-ท่าดินแดง ป้อมพระจุลฯ เป็นป้อมที่ทันสมัยและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยมายาวนาน เพราะในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้น บรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดเขตแดนไทย ก็ถูกประเทศทั้งสองเข้าครอบครองไปหมดแล้ว นับเป็นภัยใหญ่หลวงสำหรับประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย พระองค์จึงทรงหาวิธีป้องกันต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ ทรงดำริให้ปรับปรุงป้อมต่างๆ ทางปากน้ำ โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุง กิจการทหารเรือในครั้งนั้นด้วย ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้าในปัจจุบันมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งานนานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการ เพื่ออนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์

อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับอุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดงภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาทในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
- กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436)
- กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
- กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
- กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
- การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

นอกจากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยวสามารถ ชมป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ ป้อมพระจุลฯ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00–18.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ผู้เข้าชมต้องขออนุญาตจากกองรักษาการณ์บริเวณหน้าประตูป้อมฯ และแลกบัตรประจำตัวไว้ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรนำชมสถานที่ต้องทำหนังสือถึง พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2475 6109, 0 2475 6259, 0 2475 8845 และ 0 2475 6357

การเดินทาง
การเดินทางเที่ยวชมป้อมพระจุลจอมเกล้า, พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง และอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ให้เริ่มต้นจากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 303) มุ่งหน้าตรงไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวขวาไปจนสุดถนน ระยะทาง 12 กิโลเมตร จะถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าน้ำท่าดินแดง ก็สามารถไปถึงป้อมพระจุลจอมเกล้าได้เช่นกัน

ศาลพระเสื้อเมือง

อยู่ ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพระประแดง ชาวบ้านนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพบูชากันมาก

บึงตะโก้

เป็นบึงที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นกีฬาทางน้ำ ได้แก่ เคเบิ้ลสกีและวินด์เซิร์ฟ อัตราค่าเช่าชั่วโมงละ 200 บาท 2 ชั่วโมง 300 บาท 3 ชั่วโมง 400 บาท ทั้งวัน 500 บาท เปิดบริการทุกวัน วันธรรดาเปิด 12.00-18.00 น. วันหยุดเปิด 10.00-18.00 น.

การเดินทาง
จากทางด่วนสายบางนา-ตราด ให้ตรงไปประมาณกิโลเมตรที่ 13 ปากทางเข้าบึงตะโก้จะอยู่ทางด้านขวามือติดกับ บริษัท มิตซูบิชิ จำกัด เข้าไป 100 เมตร และเลี้ยวขวาเข้าซอยสุกไสว (ใกล้กับไปรษณีย์บางพลี) 200 เมตร ก็จะถึงบึงตะโก้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2316 7809-10

สถานตากอากาศบางปู

อยู่ ในเขตตำบลบางปูใหม่ ริมถนนสุขุมวิท ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ตรงข้ามกับนิคมอุตสาหกรรมบางปู ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลานานและเป็นสถานพักฟื้น พักผ่อน ของกรมพลาธิการทหารบก ภายในมีร้านอาหารบริการ ในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 17.00 – 21.00 น. จะมีกิจกรรมพิเศษเปิดฟลอร์ลีลาศกับเสียงเพลงสุนทราภรณ์อันไพเราะ โดยคิดค่าดนตรีภายในฟลอร์ลีลาศเพียงคนละ 50 บาท นอกจากนี้ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน บริเวณบางปูจะมีนกนางนวลอพยพมาหากินอยู่ตามชายทะเล เหมาะที่จะมาเที่ยวชมในยามเย็นพร้อมกับชมพระอาทิตย์อัสดง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2323 9138, 0 2323 9983

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ให้กลับรถจะพบสถานตากอากาศบางปูอยู่ริมถนนซ้ายมือ และรถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ. 25, 102, 142, 142, 507, 508 และ 511 รถโดยสารประจำทางธรรดาสาย 25, 102 และ 145 ไปลงตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถเมล์เล็กสาย 36, รถสองแถวปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมบางปู และปากน้ำ-คลองด่าน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนกนางนวล
นกนางนวลที่มีในอ่าวไทยมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ นกนางนวลใหญ่ เมื่อบินเหนื่อยแล้วมักลงลอยตัวบนผิวน้ำทะเล และนกนางนวลแกลบ ซึ่งพบในน่านน้ำไทยถึง 15 ชนิด พวกนี้จะไม่ชอบลงลอยบนผิวน้ำทะเล นกนางนวลที่มาอาศัยอยู่ในสถานตากอากาศบางปูเป็นนกที่ทำรังวางไข่อยู่รอบ ทะเลสาบต่าง ๆ ในทิเบตและมองโกเลียในฤดูร้อน (ตรงกับฤดูฝน ในประเทศไทย) พอลูกโตแข็งแรงสามารถบินได้ในระยะไกลแล้ว จะพากันบินลงมาหากิน ตามชายทะเลในมหาสมุทรอินเดียจนถึงอ่าวไทย จะย้ายถิ่นมาอ่าวไทยราวต้นเดือนพฤศจิกายน นกนางนวลรุ่นหนุ่มสาวจะมีหัวสีขาว มีจุดสีน้ำตาลคล้ำบริเวณขนคลุมหู พอถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์จะเปลี่ยนสีสันสำหรับเลือกคู่ผสมพันธุ์ โดยเริ่มมีขนสีน้ำตาลดำที่หัว เมื่อได้คู่แล้วก็จะทยอยบินกลับไปวางไข่บนที่ราบสูงใกล้ ๆ ทะเลสาบ ในประเทศทิเบตและมองโกเลียใหม่ มักจะเริ่มบินย้ายถิ่นกลับในราวเดือนเมษายน และพวกสุดท้ายจะกลับปลายเดือนพฤษภาคม นกนางนวลชอบโฉบคาบเศษอาหารและเศษปลาที่ชาวเรือทิ้งลอยไปบนผิวน้ำ ทำให้ของเน่าเหม็นบนผิวน้ำทะเลหมดไป นางนวลจึงเป็นนกที่ทำให้ทิวทัศน์ตามชายทะเลดูสวยงามน่าท่องเที่ยวน่าชมยิ่ง ขึ้น

การเดินทางมาชมฝูงนกนางนวล ที่สถานตากอากาศบางปู จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำผู้ที่ได้พบเห็นเบิกบานสำราญใจ ทำให้รู้ว่าฤดูฝนได้ผันผ่านไป ฤดูหนาวกำลังจะมาเยือน ลมทะเลพัดเบา ๆ กับบรรยากาศยามเย็นจอดรถชมทิวทัศน์พระอาทิตย์อัสดง และฝูงนกนางนวลที่บินอวดโฉมกางปีกสวยให้เราได้ชมอย่างใกล้ชิดบนสะพานสุขตา

วัดกลางวรวิหาร

ตั้ง อยู่ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดตะโกทอง พระอุโบสถได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องปฐมสมโพธิกถา ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙ มีการสร้างพระมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาท ๔ รอย หน้าบันมีลายปูนปั้นเครื่องแถวประดับด้วยถ้วยจานเบญจรงค์ ยอดสุดแต่ละมุมมีปูนปั้นหน้าของท้าวจตุโลกบาล ตามเค้าโครงเรื่องไตรพระภูมิพระร่วง เบื้องบนของผนังภายในซุ้มพระพุทธรูปขนาดย่อมโดยรอบ ศาลาการเปรียญลักษณะเป็นเรือนไทยแบบเรือนหมู่ไม้สักทั้งหลัง หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร 0 2387 1871, 0 2395 4529

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการ ให้ตรงไปตามถนนประโคนชัย (เข้าตลาดปากน้ำ) จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนศรีสมุทร จะพบวัดอยุ่ในสุดของถนน สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508 และ 511 หรือรถโดยสารประจำทางธรรมดา สาย 25, 102 และ 145
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

 

อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่สีเขียวที่มีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมูหรือแอกวัว หรือเรียกว่า คุ้งกระเพาะหมู ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลอดสารพิษท่ามกลางความเจริญเติบโตของเมือง มีเนื้อที่รวม 11,819 ไร่ โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และที่สำคัญคุ้งกระเพาะหมูแห่งนี้ได้ “อนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวตั้งแต่ปี 2520 พื้นป่าแห่งนี้จึงเป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชนในเขตจังหวัด สมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร ช่วยกรองฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่มาก มาย” และส่งผลให้พื้นที่บริเวณคุ้งกระเพาะหมูนี้มีพันธุ์พืชนานาชนิดขึ้นอย่างหนา แน่น มีพันธุ์นก รวมทั้งแมลงนานาชนิดมาอาศัยอยู่จำนวนมาก

องค์การ บริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้งและประชาชนบางน้ำผึ้งได้ร่วมใจปลุกวิถีชีวิตดั้ง เดิมขึ้นมาใหม่ พร้อมใจสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ “ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับขายสินค้าของชุมชนบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงฝั่ง เมืองพระประแดง จนถึงปัจจุบันเติบโตจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นตลาดใกล้กรุงที่มีสินค้าหลากหลายทั้งของกินของใช้ของฝากนานาชนิด จัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนงจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์, ปลาสวยงามหลากชนิด, และผลิตผลของชาวบ้าน เช่น มะพร้าวอ่อน มะม่วงน้ำดอกไม้
กล้วยหอม ชมพู่มะเหมี่ยว, ขนมหวานพื้นเมืองฝีมือชาวบ้าน เช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวานชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ อาหารคาว เช่น ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ไส้กรอกโบราณ ห่อหมกหมู หอยทอดในถาดขนมครก ไก่สะเต๊ะ น้ำพริก ต่าง ๆ พร้อมเลือกผักเคียงข้างจาน เช่น ผักกระถิน ผักบุ้ง ผักหนาม ผักดองชนิดต่างๆ ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปพืชผักให้มีรับประทานนอกฤดูกาล

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงในจังหวัด สมุทรปราการ เช่น ดอกไม้เกล็ดปลา บ้านธูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ภาพประดิษฐ์จากรกมะพร้าว ของตกแต่งบ้าน – ดอกหญ้าหลากสี, โมบายล์ ลูกตีนเป็ดรูปร่างแปลกตา เป็นต้นเป็น

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะมีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น.

บริการต่าง ๆ ในตำบลบางน้ำผึ้ง
- เรือพาย ลำละ 20 บาท
- นวดแผนโบราณ
- จักรยานให้เช่า 30 บาท/คัน
- โฮมสเตย์
- เรือชมหิ่งห้อย

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางด่วนมาลงที่ถนนสุขสวัสดิ์ เมื่อลงทางด่วนขับมาเรื่อย ๆ จะเห็นสามแยก พระประแดง – สุขสวัสดิ์ เลี้ยวซ้ายตรงสถานีบริการน้ำมัน พอถึงตลาดพระประแดงให้เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทรงธรรมวรวิหารประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบป้ายบอกทางเข้าตลาดให้เลี้ยวขวาเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงสถานีอนามัยบางน้ำผึ้งซึ่งจะเป็นที่จอดรถ
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางสาย ปอ.138, สาย 82, ปอ.140 สาย 82 , สาย 506 ไปลงตลาดพระประแดงแล้วต่อรถประจำทางสายพระประแดง-บางกอบัว ก็จะผ่านตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0-3731-2282, 0-3731-2284 www.tat8.com
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โทร.0-2819-6762, 08-1171-4930 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นายก อบต. น้ำผึ้ง โทร.08 1171 4930 สำนักงาน อบต. บางน้ำผึ้ง โทร.0 2819 6762

วัดบางพลีใหญ่ใน

วัด บางพลีใหญ่ใน ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากบึงตะโก้ประมาณ 500 เมตร เดิมชื่อวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยลืมเนตร หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ เนื้อเป็นทองสัมฤทธิ์เป็นพระประธานในโบสถ์ เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปนาม หลวงพ่อโต วัดนี้จึงมีอีกชื่อว่า วัดหลวงพ่อโต ชาวบางพลีได้อัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือในพิธีโยนบัวหรือรับบัวทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11
ติดกับวัดยังมีตลาดริมน้ำโบราณที่มีอายุยาวนานกว่า 140 ปี ที่ยังคงสภาพเดิมให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมและเลือกซื้อซึ่งมีทั้งอาหารและ ของใช้ต่างๆ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00–17.00น

การเดินทาง
จากแยกบางนาเข้าทางถนน บางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 12.5 ข้ามสะพานคลองชวดลากข้าวเลี้ยวกลับรถเข้าถนน กิ่งแก้ว-บางพลีใหญ่ใน ประมาณ 3.5 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 1 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขาภิบาล 6 ทางเข้าเทศบาลตำบลบางพลีประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงวัดบางพลีใหญ่ใน
อีกทางหนึ่งเข้าทางถนนเทพารักษ์ กิโลเมตรที่ 13 ก็ถึงวัด ส่วนทางเรือสามารถมาได้ตามคลองสำโรง

ประวัติวัดบางพลีใหญ่ใน
วัดบางพลีใหญ่ในเดิมชื่อ วัดพลับพลาไชยชนะสงครามชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่หรือ วัดหลวงพ่อโตทางประวัติศาสตร์จากโบราณคดีจารึกสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาล ว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา มาถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ 2112 และ พ.ศ 2310 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ สู่ความเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง จนอาณาเขตของประเทศ (สยาม) ขยายออกไปอีกอย่าางกว้างขวาง

ส่วนชื่อของตำบลนั้นได้ชื่อว่า " บางพลี " ก็เพราะเหตุที่สมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนั้นเอง ดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงเรียกว่าบางพลีและวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม วัดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นวัดที่อยู่ด้านใน มีอาณาเขตใหญ่โตซึ่งต่อมาได้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญของวัดจึง เรียกว่า " วัดบางพลีใหญ่ใน" หรือ " วัดหลวงพ่อโต " มาจนถึงตราบทุกวันนี้

ประวัติหลวงพ่อโต
ตามตำนานประวัติของหลวงพ่อโต ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระพุทธรูป 3 องค์ซึ่งชาวกรุงศรีอยุธยาได้อาราธนาลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบลี้หนีภัยสงคราม พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ล่องลอยมาตามลำน้ำและได้แสดงอภินิหารระหว่างทางจนเป็นที่โจษขานกัน ทั่วไป ประชาชนในท้องที่ตำบลต่าง ๆ ได้พยายามอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุด พระพุทธรูปองค์หนึ่งได้ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนองค์ที่สองไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา และอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา และปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนจึงพร้อมกันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น จึงได้ทำพิธีเสี่ยงทาย ต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด” จนแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน ท่านจึงหยุดนิ่ง ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานนำท่านขึ้นจากน้ำได้ในที่สุด และต่อมาได้สร้างพระอุโบสถสำหรับเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตมาจนถึงปัจจุบัน

วัดโปรดเกศเชษฐาราม

อยู่ ที่ถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ฯ เล็กน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง ส่วนวัดอื่นๆ มักเป็นพุทธรามัญ พระยาเพชรพิไชย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่น คือ พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานหล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2462 5484, 0 2463 2549

การเดินทาง
จากวัดไพชยนต์ฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนทรงธรรมประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานคลองลัดหลวงประมาณ 50 เมตร จะพบวัดโปรดเกศเชษฐารามอยู่ริมถนนบริเวณทางโค้งด้านซ้ายมือ

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร

ตั้ง อยู่ที่ตำบลบางพึ่ง จากแยกพระประแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราชวีริยาภรณ์ ประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงวัด วัดไพชยนต์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ทรงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีพระอุโบสถและพระวิหารที่งดงาม ในพระอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย อยู่บนบุษบกยอดปรางค์จตุรมุข ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ 0 2462 6033

การเดินทาง
จากสามแยกพระประแดง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ (ทางหลวงหมายเลข 3104) ให้เลี้ยวซ้าย (สามแยกบางพึ่ง) ไปตามถนนพระราชวีริยาภรณ์บรรจบกับถนนทรงธรรม จะพบวัดไพชยนต์ฯ อยู่ตรงหน้าบริเวณสามแยก เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและธรรมดา ขสมก. สาย 82 และ 138 รถร่วมบริการ สาย 6 ลงตรงสามแยกบางพึ่งแล้วต่อรถรับจ้างก็สามารถไปถึงวัดได้
ป้อมแผลงไฟฟ้า

ตั้ง อยู่ที่ตำบลตลาด ติดกับโรงเรียนเทศบาลพระประแดง ยังมีสภาพสมบูรณ์อยู่บางส่วน เป็นป้อมปราการแห่งหนึ่งของฐานทัพเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นเสมือนหนึ่งฐานทัพด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นเมืองที่มีป้อมปราการหลายแห่ง เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริที่จะใช้ป้องกันพระราชอาณาจักร ปัจจุบันเทศบาลเมืองพระประแดงได้ทำการบูรณะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยบริเวณข้างบนของป้อมได้จัดปืนใหญ่โบราณหลายกระบอกตั้งไว้ให้ชมรอบๆ บริเวณจัดปลูกต้นไม้ร่มรื่น

การเดินทาง
จากสามแยกพระประแดง (ถนนสุขสวัสดิ์) ให้เลี้ยวซ้ายไปตลาดพระประแดง สามารถจอดรถได้ที่บริเวณที่ว่าการอำเภอพระปะแดง หรือเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและธรรมดา ขสมก. สาย 82 และ 138 รถร่วมบริการสาย 6 ลงตลาดพระประแดง และสามารถเท่ยวชมได้ทั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, ศาลพระเสื้อเมือง และป้อมแผลงไฟฟ้า ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันบริเวณตลาดพระประแดง

พระสมุทรเจดีย์

ตั้ง อยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ ตั้งพระเจดีย์ ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทรไว้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2425 8898

การเดินทาง
จากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลางหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง)

ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง เป็นศาลเจ้าที่สวยงาม สถาปัตยกรรมเพียบพร้อมไปด้วย ศิลปะ วัฒนธรรมของชาวจีนโบราณ ฝีมือแกะสลักหินอันปราณ๊ต เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าขุนศึกที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไต้หวัน 5 องค์ คือ เทพเจ้าตระกูลหลี่ เทพเจ้าตระกูลฉือ เทพเจ้าตระกูลอู่ เทพเจ้าตระกูลจู และเทพเจ้าตระกูลฟ่าน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่า "อู๋ฟุ่เซียนส้วย" (โหวงหวังเอี้ย) ภายในบริเวณศาลเจ้าสามารถชมภาพแกะสลักหินเขียว เกี่ยวกับเทพนิยายจีน และตะเกียงไม้ชุบทองคำซึ่งตกแต่งอยุ่บนฝ้าเพดาน นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสักการะ เทพเจ้าตระกูลทั้ง 5 หรือ โหวงหวังเอี้ย เป็นยอดขุนพลที่มีความสุจริตมาก เป็นขุนนางที่จงรักภักดีสมัยราชวงศ์หมิงได้เสด็จเดินทางลงใต้จากมณฑล ฮกเกี้ยนถึงเกาะหนานคุนเซินประเทศไต้หวัน เป็นที่เลื่อมใสในหมู่ประฃาชน

แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวจะต้องชมและเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก คือ สิงโตคู่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แกะสลักจากหินหยกเขียว นำเข้าจากประเทศจีน สิงโตคู่ตามความเชื่อของชาวจีนถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคล มีสง่าราศี มองดูน่าเกรงขามยิ่งใหญ่เกรียงไกร ซึ่งสิงโตคู่ที่อยู่หน้าศาลของมูลนิธิธรรมกตัญญูได้ผ่านการปลุกเสก สวดมนต์คาถาศักดิ์สิทธ์โดยนักพรตผู้ปฏิบัติธรรมในลัทธิเต๋า มีคติความเชื่อว่า “สิงโตคู่อันศักดิ์สิทธิ์สามารถกำจัดสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ สิ่งอาถรรพ์ทั้งปวงได้ และเป็นวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของจีนโบราณที่สืบทอดกันมานับพันปี” นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังจัดงานประจำปีหลายงาน เช่น วันตรุษจีน วันหยวนเชียว งานเทกระจาดประจำปี และวันเกิดเจ้าของแต่ละองค์ เป็นต้น

การเดินทาง
ใช้เส้นทางถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33 อยู่ห่างจากเมืองโบราณประมาณ 1 กม. และจากถนนสุขุมวิทเข้าไปอีกประมาณ 8 กม. เปิดให้เข้าชมและสักการะทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 08.00-17.00 น.สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2323 3120-4

ตลาดริมน้ำโบราณบางพลี

ตลาด ริมน้ำโบราณบางพลี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพลีใหญ่ เป็นตลาดเก่าแก่ริมคลองสำโรง พื้นตลาดเป็นพื้นไม้ สามารถเดินติดต่อกันได้ เดิมชื่อตลาด “ศิริโสภณ” สันนิษฐานว่า ชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนี้ราว พ.ศ.2400 เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้และยังคงสภาพ เดิมเหมือนแรกสร้าง

ตลาดริมน้ำโบราณบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจว พายและแล่นใบ เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมายสมควร อนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและหวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของ บรรพบุรุษสืบต่อไปดังคำกลอนของสุนทรภู่

“ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ
ดูระกะดาษทางไกลไปกลางทุ่ง
เป็นเลนลุ่มลึกเหลวเพียงเอวพุง
ต้องลากจูงจ้างควายอยู่รายเรียง
ดูเรือแพแออัดอยู่ยัดเยียด
เข้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง
แจวตะกูดเกะกะประกะเชียง
บ้างทุ่มเถียงโดนดุนกันวุ่นวาย”

ระยะทางเกือบหนึ่ง กิโลเมตร ตลอดแนวสองฝั่งทางเดินที่ขนานไปกับคลองสำโรงของตลาดน้ำโบราณบางพลี ถูกจับจองจากแม่ค้าพ่อค้าที่อาศัยอยู่มาแต่ดั้งเดิมจำหน่ายสินค้านานาชนิด ทั้งอาหารอร่อย ขนมหวาน ของใช้นานาชนิด ของตกแต่งบ้านเรือน ของฝาก ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายสัตว์เลี้ยง ฯลฯ อิ่มตา ด้วยทิวทัศน์ของคลองสำโรงที่ประดับประดาไปด้วยเรือขายอาหาร ขนม ผลไม้ตามฤดูกาลของชาวบางพลีที่พายไปมา และเรือที่ชาวบ้านยังใช้สัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน เดินเท้ามาถึงกลางตลาด ชาวชุมชนได้จัดเป็นนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” จัดแสดงภาพถ่ายสมัยเก่าเมื่อเริ่มแรกตั้งตลาด และเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพการประมงและการเกษตร อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาจัดในนิทรรศการได้รับบริจาคมาจากคนเก่าคนแก่ที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อ ครั้งอดีตและได้เก็บรักษาเป็นอย่างดี

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัด สมุทรปราการฝั่งบางพลี ต้องไม่พลาดแวะเที่ยวในสามจุดสำคัญนี้ ปิดทองหัวใจพระที่วัดบางพลีใหญ่กลาง, กราบขอพรหลวงพ่อโตที่วัดบางพลีใหญ่ใน, จากนั้นใช้เวลาสัก 1 ชั่วโมงเดินมาท้ายวัดเลือกซื้ออาหารอร่อย ขนมหวาน หรือของฝากที่ตลาดน้ำโบราณบางพลี ชมวิถีชีวิตริมน้ำ ก่อนเดินทางกลับ

การเดินทาง
จากกรุงเทพ ฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ถนนสุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถนนบางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร กลับรถเพื่อตัดเข้าถนนกิ่งแก้ว – บางพลี (ประมาณ 2 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้าย ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เดินเท้าอีกนิดไปที่ท้ายวัดจะถึงตัวตลาดน้ำโบราณบางพลี นักท่องเที่ยวสามารถนำรถไปจอดได้ที่ วัดบางพลีใหญ่ใน และบิ๊กซีบางพลี

ติดต่อสอบถามที่ เทศบาลตำบลบางพลี โทร. 0-2337-3086, 0-2751-2494 ต่อ 15

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี
ตั้งอยู่ในโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชั้นบน จัดแสดงภูมิปัญญา และวัฒนธรรมในอดีต ที่มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนมอญ คนลาว คนจีนและมุสลิม การค้าขายระหว่างชุมชน อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิตชาวบ้าน วิถีชีวิตชาวบ้าน เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องดนตรี เงินตรา เช่น ตลาดน้ำ ประเพณีรับบัว ขบวนเรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับปลา ชั้นล่าง แสดงแบบจำลองวิถีชีวิตชาวบ้าน
เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00–16.00 น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2751 1504-7 (เข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายเรียน ประธานศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์)

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางจากสำโรง นั่งรถประจำทางสายบางพลี-เข้าวัด หรือ จากบางนา นั่งรถสองแถวสีฟ้าเข้าบางพลี

วัดพิชัยสงคราม

ตั้ง อยู่เลขที่ 29 ถนนประโคนชัย ตำบลปากน้ำ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ทรงระฆังที่ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามกระเบื้อง และป้อมปราการในเขตวัด 4 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมกายสิทธิ์ ป้อมนารายณ์ปราบศึก และป้อมปราการสร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนหมดคงเหลือเพียงชื่อป้อมที่นำมาตั้งเป็นชื่อถนนสาย สำคัญในจังหวัด ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2389 2895, 0 2395 1637

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการไปตามถนนประโคนชัย (เข้าตลาดปากน้ำ) ประมาณ 100 เมตร จะพบวัดอยู่ริมถนนทางด้านซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก. สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508 และ 536 และรถโดยสารประจำทางสาย 25, 102 และ 145 จะผ่านวัดพิชัยสงคราม

วัดป่าเกด

ตั้ง อยู่เลขที่ 24 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลทรงคะนอง มีพระอุโบสถเก่าแก่ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในสมัยรัชการที่ 3 หน้าบันพระอุโบสถทำด้วยไม้แกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ล้อมรอบด้วยลายเครือเถาอันอ่อนช้อยงดงาม ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 0 2461 0733, 0 2461 0094

การเดินทาง
จากวัดทรงธรรมวรวิหาร ไปตามถนนเพชรหิงษ์ประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบวัดป่าเกดอยู่ริมถนนด้านขวามือ การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและธรรมดา ขสมก. สาย 82, 138 และรถร่วมบริการ สาย 6 ไปลงตลาดพระประแดงแล้วต่อรถประจำทางสายพระประแดง-บางกอบัว

ัดมงคลโคธาวาส

 

ตั้ง อยู่ใกล้กับตลาดคลองด่าน อำเภอบางบ่อ เป็นวัดที่หลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยจำพรรษาอยู่และพัฒนาวัด จนกลายเป็นวัดสำคัญของอำเภอบางบ่อในปัจจุบัน นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าของวัดซึ่งหันหน้าเข้าสู่คลองด่าน ยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ติดต่อสอบถามที่ โทร 0 2330 1247, 0 2330 1576

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางสถานตากอากาศบางปู) ประมาณ 30 กิโลเมตร เมื่อข้ามสะพานคลองด่านให้เลี้ยวซ้ายบริเวณเชิงสะพานและไปตามถนนทางเข้าวัด มงคลโคธาวาสผ่านตลาดคลองด่านตรงไปประมาณ 500 เมตร จะถึงวัด การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก. สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดา สาย 25, 102 และ 145 ลงตลาดปากน้ำ และต่อรถประจำทางปากน้ำ-คลองด่าน ถึงตลาดคลองด่านสามารถต่อรถรับจ้างเดินทางถึงวัด

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

อยู่ ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพ นับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

วัดบางพลีใหญ่กลาง

วัด บางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านเรียก ว่า วัดกลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็นวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาว 53 เมตร ภายในพระนอนมีห้องปฏิบัติธรรม ภาพเขียนเรื่องราวของเทวดา นรก และมีห้องหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล

การเดินทาง
จากแยกบางนา ใช้เส้นทางถนนบางนา-ตราดมุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีถึงกิโลเมตรที่ 12 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางถนนบางพลี-กิ่งแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายถนนทางเข้าที่ว่าการอำเภอบางพลีไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงวัดบางพลีใหญ่กลาง

สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ ศรีนครเขื่อนขันธ์

ตั้ง อยู่ตำบลบางกะเจ้า เนื้อที่กว่า 200 ไร่ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนออกกำลังกาย และศึกษาระบบนิเวศน์ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้ เคียง ลักษณะของสวนเป็นการผสมผสานของสวนสาธารณะที่มีการจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม ประกอบด้วยพันธุ์ไม้น้ำ พันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำกร่อยกับการรักษาสภาพสวน เกษตรดั้งเดิมซึ่งเป็นสวนผลไม้เก่าไว้ โดยพื้นที่สีเขียวที่รัฐบาลกำหนดให้เป็น "ปอดของกรุงเทพฯ" มีสะพานไม้ทอดยาวให้เดินชมพื้นที่อันสงบร่มรื่น รวมถึงหอชมวิวสูง 7 เมตร ที่สามารถชมทิวทัศน์ได้โดยรอบ มีจักรยานให้เช่าสำหรับขี่ชมรอบสวน เปิดเวลา 06.00-20.00 น. โทรศัพท์ 0 2461 0972

การเดินทาง จากอำเภอพระประแดง (ถนนสุขสวัสดิ์) ให้เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกพระประแดง พอถึงตลาดพระประแดงให้เลี้ยวซ้ายไปผ่านวัดทรงธรรมวรวิหาร ไปตามถนนเพชรหึงส์ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัดราษฎร์รังสรรค์ประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์อยู่ริมด้านขวามือ การเดินทางโดยรถโดยวารปรับอากาศและธรรมดา ขสมก. สาย 82 และ 138 รถร่วมบริการสาย 6 ไปลงตรงตลาดพระประแดงแล้วต่อรถประจำทางสายพระประแดง-บางกอบัว ก็จะผ่านสวนฯ ศรีนครเขื่อนขันธ์

พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ


ตั้ง อยู่ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ ตรงข้ามกับโรงเรียนนายเรือ จากแยกบางนาไปสำโรงประมาณ 10 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์ทหารเรือตั้งอยู่ทางซ้ายมือ ถัดจากพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นสถานที่รวบรวมและอนุรักษ์วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกองทัพเรือไทยและยุทธนาวีครั้ง สำคัญ แบ่งเป็น 2 อาคาร คือ อาคาร 1 จัดแสดงประวัติบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับกองทัพเรือ อาทิ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์พระบิดาของทหารเรือไทย และห้องจัดแสดงเครื่องแบบต่างๆ ของทหารเรือไทย อาคาร 2 ชั้นล่างจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ชั้น 2 จัดแสดงเกี่ยวกับเรือพระราชพิธี ชั้น 3 เป็นการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ หมุนเวียนตามช่วงเวลาและเหตุการณ์สำคัญ เช่น ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สงครามเอเชียมหาบูรพา วีรกรรมที่ดอนน้อย เรือดำน้ำแห่งราชนาวี และการปฏิบัติการของทหารนาวิกโยธิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงวัตถุอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ในบริเวณโดยรอบ อาทิ เรือดำน้ำ รถสะเทินน้ำสะเทินบก รวมทั้งยังสามารถชมประภาคารแห่งแรกของประเทศไทยได้ ณ ที่แห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2394 1997 หรือ 0 2475 3808 เว็บไซต์ http://www.navy.mi.th/navalmuseum

การเดินทางโดยรถสาธารณะ
รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และรถปรับอากาศสาย 25, 102, 142, 507, 508, 511 และ 536

วัดทรงธรรมวรวิหาร
ตั้ง อยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 200 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations