www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

PHATTHALUNG

PHATTHALUNG : General Information

   Phatthalung is an ancient city in southern Thailand. It is a land of mountains. In town is Khao Ok Thalu, which is clearly visible from afar.
avis


    Phatthalung is regarded as the birthplace of the shadow play and the Nora dance. From ancient times to the present, Phatthalung has been closely linked to Songkhla Province, particularly in terms of geography, history and migratory settlements through many ages. During the Srivijaya period (13th-14th Buddhist century), the Phatthalung community received Indian cultural influence in the way of Mahayana Buddhism. In the reign of King Ramathibodi I (U Thong) of Ayutthaya, Phatthalung became one of twelve royal cities. Later during the reign of King Rama I in the Rattanakosin period, the king had the Ministry of Defense oversee Phatthalung, upgraded it to secondary city status and moved it to the mouth of Pam River.

When there was an administration reform in the reign of King Rama V, Phatthalung prefecture came under Nakhon Si Thammarat prefecture until 1924, when King Rama VI relocated the city to Tambon Khuha Sawan where it has been ever since. Upon the abolition of the prefecture system in 1933, Phatthalung became a province outright.

Phatthalung city is situated on the west bank of Songkhla Lake, about 846 kilometres from Bangkok. It has an area of 3,424.473 square kilometres and is divided into 10 districts and 1 sub-district, as follows: Mueang Phatthalung, Khuan Khanun, Pak Phayun, Kong Ra, Tamot, Khao Chaison, Pa Bon, Bang Kaeo, Si Banphot, Pa Phayom, and the sub-district of Srinagarindra.

Boundary

North - Borders Chauat in Nakhon Si Thammarat and Ranot in Songkhla.
South - Borders Rattaphum and Khuan Niang in Songkhla and Khuan Kalong in Satun.
East - Borders Songkhla Lake, Ranot, Krasae Sin, Sathing Phra, and Singhanakhon in Songkhla.
West - Borders Nakhon Si Thammarat (Banthat) mountain range, Huai Yot, Mueang Trang, Na Yong, Yan Ta Khao, and Palian in Trang.

 

 

PHATTHALUNG : How to get there

Car

From Bangkok, there are 3 ways. The first is via the Phetchakasem National Highway No. 4 to Chumphon (Phathom Phon junction) into Ranong, Phang-nga, Krabi, Trang, and Phatthalung. The total distance is 1,140 kilometres. The second route is to Chumphon and then onto Highway No. 41 (Asia) to Phatthalung, a total distance of around 846 kilometres. The third route is to Nakhon Si Thammarat via Chumphon and Surat Thani, then onto Highway No. 403 and Highway No. 41 to Phatthalung.

Bus

Transport Co. has daily Bangkok-Phatthalung services. For more information, please call 0 2435 1199, 0 2435 1200 or Phatthalung Bus Terminal, tel:0 7461 2070 or visit www.transport.co.th


Rail

The southern line runs through Phatthalung town, Khuan Khanun, Khao Chaison, Pak Phayun, Pa Bon, and Bang Kaeo. Trains leave the Bangkok Railway Station (Hualamphong) daily at 12.25 p.m., 2.20 p.m., 2.45 p.m., 3.50 p.m. and 10.50 p.m. For more information, please call 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020, Phatthalung Railway Station tel: 0 7461 3106 or visit www.railway.co.th

Air

Phatthalung does not have an airport but can be accessed via those in nearby provinces. Please call Thai Airways at 1566 (information) or tel: 0 2280 0060 (reservation), in Trang at tel: 0 7521 8066 or 0 7521 9923, in Nakhon Si Thammarat at tel: 0 7531 1158, 0 7534 2491 or 0 7534 3874, and in Hat Yai at tel: 0 7424 5851-2, 0 7424 3711, or 0 7423 3433.

Distance from Amphoe Mueang to Neighbouring Districts :

Khuan Khanun
Khao Chaison
Pak Phayun
Kong Ra
Tamot
Pa Bon
Si Banphot
Bang Kaeo
Pa Phayom
Srinagarindra
17
28
66
40
39
50
35
40
38
16
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

 

PHATTHALUNG : Activities

Wat Wang
This old temple is in Tambon Lam Pam, 6 kilometres from the city on Highway No. 4047 (on the same route as Khao Ok Thalu). This is an important historical site of the province. It was built by Phraya Phatthalung (Thongkhao) in the reign of King Rama III and was once the place where government officials performed allegiance pledges in the early Rattanakosin period. Inside the convocation hall are murals of dusted paint in the time of King Rama IV about the biography of Lord Buddha and about angels. The main plaster Buddha image is from the same period. A total of 108 images line the balcony around the building.

Wat Tham Khuha Sawan

This temple is at the foot of Khao Khuha Sawan near Phatthalung market. A left-hand road at Khao Hua Taek takes visitors to the temple. The temple was built in the Ayutthaya period and was later upgraded to be the first royal temple in the province. Inside the cave is a large reclining Buddha image and another in a sitting posture. The cave walls and entrance are full of initials of many kings and royal family members.

 

Phatthalung Governors Residence

This interesting place is at Tambon Lam Pam, near Wat Wang. Originally a government place and the home of the city lord, the part called Wang Kao (old palace), three adjoining Thai houses, built in the time of Phraya Phatthalung (Noi Chantharotchanawong) when he was the provincial governor. The palace later became the property of Mrs. Praphai Mutamara, the daughter of Luang Si Worachat. The new palace, or Wang Mai, was built in 1889 by Phraya Aphaiborirakchakrawichitphiphitphakdi (Net Chantharotchanawong), the son of Phraya Phatthalung, then the provincial governor. The Chantharotchanawong family has given this palace to the country. The Fine Arts Department declared it a national historical site in 1983.

Admission is 50 baht each.

Khao Ok Thalu

Situated on Highway No. 4047, Khao Ok Thalu rises majestically east of the train station. This mountain is a symbol of the province. It is about 250 metres high. Stairs lead up to the summit where visitors can get a panoramic view of the province. The name of the mountain derives from a hole near the top that allows people to see through it.

Hat Saen Suk Lam Pam
Situated 2 kilometres past Wat Wang on Highway No. 4047, this shady pine-fringed beach on the bank of Songkhla Lake, the largest freshwater lake in Thailand. In the middle of the rotary is a sculpture of a school of Lam Pam fish native to the area. A water pavilion named Sala Lam Pam Thi Rak is ideal for viewing the scenery. A bridge spans the beach and an islet created by sediment from the river. In Lam Pam Lake are dolphins, which can be seen frequently.

Namtok Phraiwan

This waterfall is in the Khao Banthat Wildlife Reserve, Tambon Khlong Chaloem. To get there, go from Khlong Muai by the Tambon Lam Sin-Ban Kong Ra road (Highway No. 4122) for about 20 kilometres. The waterfall entrance is to the west about 3 kilometres away. This is a large waterfall with serene natural surroundings that are rich in tropical flora. A parking area and a restaurant are available.

 

Thale Noi Waterfowl Reserve

Thale Noi is the largest waterfowl reserve in Thailand. It can be reached via Highway No. 4048 from Amphoe Muang to Amphoe Khuan Khanun and to Thale Noi, for a total distance of 32 kilometres. The road is paved asphalt all the way. The reserve is the responsibility of the Royal Forestry Department and covers 450 square kilometres, divided into 422 square kilometres of land (94%) and 28 square kilometres of water (6%), or Thale Noi. The sea is 5 kilometres wide and 6 kilometres long with an average depth of 1.2 metres. The sea is covered with assorted flora such as lotus, bulrush, reed, and grass used for thatching. More than 187 species of waterfowls, migratory and indigenous birds make their home at Thale Noi. Some live here throughout the year and some migrate only in winter from October to March when the population density is at its highest. The low season is June-September which is the nesting period. Species that are prevalent here are those of the heron and stork family such as yellow bittern, great egret, painted stork, red stork; ducks such as lesser whistling duck, cotton pygmy goose, and garganey; grebe; rails such as white-browed crake, white-breasted waterhen, watercock, common moorhen, and Eurasian coot; jacanas such as pheasant-tailed jacana and bronze-winged jacana; cormorants such as great cormorant and little cormorant; black-winged stilt; Brahminy kite; red-wattled lapwing; whiskered tern; common kingfisher; and barn swallow. The best time to study flora and fauna is during October-March when there is an abundance of birds and pink lotus in full bloom cover the reserve. Moreover, tourists can visit villages and see cottage industries like reed mat making.

Thale Noi has been named the first world ramsar site (wetland site) in Thailand. This aims to preserve the sustainable ecology of the area, one that is being developed into one of the countrys most important nature study centres. As such, there is careful control of eco-tourism in Thale Noi in order to minimize impact on the environment.

Tourists can take boats from Thale Noi pier and go on two routes; the first one for tourists with services by the Thale Noi community and the second for academics and nature study by requesting permission and guide from a reserve official. The reserve has comfortable accommodation. For more information, please contact the Royal Forestry Department in Bangkok, tel: 0 2579 7223, 0 2579 5734, and Thale Noi Non-hunting Area, tel: 0 7468 5230.

Travel to Thale Noi is easy by boat and car. Access can be made from seaside districts like Ranot, Sathing Phra and Mueang of Songkhla, and Pak Phayun, Khuan Khanun and Mueang of Phatthalung. Visitors by train can alight at Pak Khlong station and continue by car to Thale Noi for 8 kilometres.

 

Wat Khian Bang Kaeo

This temple is on Highway No. 4081, 7 kilometres past Khao Chaison district office, in the area of Ban Bang Kaeo at Km. 14. A left-hand road leads to the temple. Wat Khian is situated on the bank of Songkhla Lake. This old monastery has the sacred Phra That Bang Kaeo, built in the same style as Phra Maha That Chedi in Nakhon Si Thammarat but smaller. This is one of the oldest historical sites of Phatthalung, dating back to the early Ayutthaya period. It is believed that the temple area was once the site of Phatthalung town because many laterite ruins and Buddha images have been found here.

Namtok Tamot

Also called Namtok Mom Chui, this waterfall is 12 kilometres from the district office. Take Highway No. 4121 and Highway No. 4137 (south of Phatthalung city) from Highway No. 4 all the way to Wat Tamot. The waterfall is located in Tamot Wildlife Protection Unit, about 4-5 kilometres past the temple. The waterfall is in the middle of a lush forest. The waterfall falls down several levels that have different names to a pool below. A wide rock plateau is suitable for relaxation.

Ko Si and Ko Ha

Both islands, in Songkhla Lake, can be reached by leaving from Tambon Lam Pam pier (25 kilometres) or Pak Phayun pier (10 kilometres). The travelling time is about 1 hour. The islands are home of flocks of sea swallows, so many that they are called Ko Rang Nok (birds nest island). Concessions are given out for the collection of the nests for sale. The natural beauty of the islands is one of the finest in Phatthalung. King Rama V once visited here and left his initials on a cliff. Nearby is a monument of him. As Ko Si and Ko Ha are concession areas of the private sector, permission must first be obtained in Pak Phayun district.

Phraya Thukrat monument

This monument is at Tha Miram intersection in Phatthalung municipality. Records show that Phraya Thukrat was a monk named Phra Maha Chuai who resided at Wat Pa Lilai during the reign of King Rama I. When the Nine Armies War took place, Phra Maha Chuai rallied villagers to help Phraya Phatthalung defeat Burmese forces. When he left the monkhood, he was appointed by the king to be Phraya Thukrat to help the city lord. His title of Phraya was of the same level as the city lord.

Phra Phutthanirokhantarai Chaiwat Chaturathit


This Buddha image is also known as Phra Si Mum Mueang which is a sacred relic of Phatthalung. It is housed in a square pavilion in an area between the provincial hall and the provincial court. This bronze image in the meditation posture was given to the province by His Majesty King Bhumibol Adulyadej in 1968.

Handicrafts village

Ban Khok Wua, Tambon Chai Buri, is about 6 kilometres from the city on the road from Sai Yuan intersection. The village is famous for making products from coconut shells, now called the Million Baht Coconut Shell Village. The community leader, Mr. Plum Chukhong, pioneered the idea of getting villagers to make products from coconut shells that can be found locally. Products include kitchenware, household items and decorations. Eventually over 100 households began such an industry and later received support from the Industrial Promotion Department. Popular items are spoons, coffee cups, mugs, ladles, plates, bowls, lamps, and other decorations sold domestically and to 16 countries worldwide. Visitors interested in seeing demonstrations and buying products can contact Mr. Plum Chukhong, No. 42, Mu 1, Ban Khok Wua, Tambon Chai Buri, tel: 0 1465 5751.

Shadow Play Handicrafts Village

This is at Mu 1, Ban Bang Kaeo, Tambon Tha Madua. It is about 9 kilometres from the Phetchakasem-railway intersection and 200 metres from the railway to the centre. The total distance from Phatthalung city to the village is about 36 kilometres. The village has 25 members, all of whom make shadow play figures from hides in various styles made to order. The work is delicate and beautiful. The products are sold nationwide and exported to about 16 countries. For persons interested in seeing and buying shadow play products, please contact Mr. Im Chanchum, the centres president, or the Amphoe Bang Kaeo Community Development Office at tel: 0 7469 7380.

Talung (shadow play) is a regional performance of southern Thailand that is as popular as Nora. Like Nora, Phatthalung is also regarded as the birthplace of Talung. Each shadow play figure is made from raw cowhide that has been dried and then cut into shapes. Each figure is ornately printed with designs, with black usually covering the entire figure. Thinner hides will have colouring. The figures are held up by bamboo sticks, with the mouth and hands movable in tune with the narration. The Talung hall has a thatched roof and three walls. It has a white cloth screen. Behind it is where the figures are kept. The entire troupe of musicians and puppeteers number not more than 8 persons. Musical instruments include pipe, drum and gong. The figure performance is the duty of the head of the troupe who both operate the figures and narrate. The stories are from literature or newly written tales.


พัทลุง : ข้อมูลทั่วไป

เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก
แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

พัทลุง อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ห่างจากกรุงเทพฯ 860 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 3,424.473 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองแห่งขุนเขาที่เก่าแก่โบราณเมืองหนึ่งของภาคใต้ ตัวเมืองมีเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์สูงเด่นมองเห็นแต่ไกล เป็นเมืองต้นกำเนิดหนังตะลุงและโนรา มีประวัติสันนิษฐานว่าพัทลุงเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่เขาหัวแดง ฝั่งตรงข้ามกับเมืองสงขลาในปัจจุบัน แต่เนื่องจากมีภัยต่างๆ มารบกวนทำให้ต้องย้ายเมืองไปตั้งอยู่ตามตำบลต่างๆ หลายครั้งแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุงที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่นักดูนกทุกคนใฝ่ฝันจะมาเที่ยวชม นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติแล้ว โบราณสถาน วัดต่าง ๆ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบถึงความเป็นมาของเมืองพัทลุง

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา เขตอำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคา จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือเขาบรรทัด เขตอำเภอห้วยยอด เมืองตรัง นาโยง ย่านตาขาว และปะเหลียน จังหวัดตรัง

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดพัทลุง
http://www.phatthalung.go.th


พัทลุง : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. พัทลุง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ถึงชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง จนถึงพัทลุง ระยะทางประมาณ 1,140 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ถึงชุมพร ให้เข้าทางหลวงหมายเลข 41 จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทาง 840 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 3 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 403 จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ที่ชุมทางเขาชุมทอง จนถึงพัทลุง

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟผ่านอำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง รายละเอียดสอบถาม โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟพัทลุง โทร. 0 7461 3106 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ – พัทลุง ทุกวัน มีรถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444 หรือ www.transport.co.th

เครื่องบิน
จังหวัดพัทลุงไม่มีสนามบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ตรังหรือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาและ ต่อรถโดยสารไปพัทลุง

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.พัทลุง
การเดินทางจากอำเภอเมืองพัทลุงไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอศรีนครินทร์ 16 กิโลเมตร
  2. อำเภอควนขนุน 17 กิโลเมตร
  3. อำเภอเขาชัยสน 28 กิโลเมตร
  4. อำเภอศรีบรรพต 35 กิโลเมตร
  5. อำเภอป่าพะยอม 38 กิโลเมตร
  6. อำเภอตะโหมด 39 กิโลเมตร
  7. อำเภอบางแก้ว 40 กิโลเมตร
  8. อำเภอกงหรา 40 กิโลเมตร
  9. อำเภอป่าบอน 50 กิโลเมตร
  10. อำเภอปากพะยูน 66 กิโลเมตร

 

พัทลุง : วัฒนธรรมประเพณี
งานประเพณีสงกรานต์ รดน้ำผู้สูงอายุ จังหวัดพัทลุง

งานประเพณีสงกรานต์ รดน้ำผู้สูงอายุ จังหวัดพัทลุง
วันที่ 13 - 14 เมษายน 2552
ณ ริมทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

กิจกรรม
รดน้ำผู้สูงอายุ การจัดกีฬาพื้นบ้าน การจัดแข่งเรือพาย การจัดงานแสดงสินค้า

สอบถามรายละเอียด
สำนักปลัดเทศบาลตำบลพนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โทร. 0 7468 5240

งานประเพณีแข่งโพนลากพระ

ประวัติ / ความเป็นมา
“โพน” เป็นภาษาท้องถิ่นของจังหวัดพัทลุง เป็นชื่อกลองซึ่งมีลักษณะเหมอน “กลองทัด” มีสามขา ตีด้วยไม้แข็ง 2 มือ หน้ากลองมีขนาดตั้งแต่ 35-100 เซนติเมตร ทำจากการเจอะไม้ต้นตาล หรือไม้ขนุน หน้าโพนนิยมหุ้มด้วยหนังควายหรือหนังวัวทั้งสองหน้า

การแข่งขันโพน เป็นประเพณีหนึ่งของภาคใต้ เชื่อว่าเริ่มมีขึ้นพร้อมๆ กับประเพณีชักพระเนื่องจากนิยมปฏิบัติต่อเนื่องกันมา ก่อนที่จะมีการชักพระในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือ ในช่วงออกพรรษาประมาร ปลายเดือน 10 วัดต่างๆ จะเตรียมจัดประเพณีชักพระ โดยเริ่มตั้งแต่การทำบุษบก หุ้มโพนะและคุมโพน (ตีโพน) ก่อน เพื่อให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ได้ทราบว่าทางวัดจะจัดให้มีการชักพระตามประเพณีที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกปี แต่ส่วนมากวัดจะอยู่ในละแวกเดียวกัน ทำให้ชาวบ้านไม่ทราบว่าเสียงโพนที่ตีเป็นของวัดใด ทำให้แต่ละวัดแข่งเสียงโพนกันว่าโพนะวัดใดจะเสียงดังกว่ากัน ในระยะแรกๆ นั้นจะตีแข่งกันเองภายในวัด ต่อมาจึงค่อยๆ นำโพนมาประชันกันตามกลางทุ่นนา หรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

ส่วนการหุ้มโพนก็ถือเป็นประเพณีที่สำคัญเช่นกัน เพราะการแข่งขันโพนนอกจากจะใช้ฝีมือผู้ตีแล้วก็อยู่ที่การหุ้มโพนด้วยเช่น กัน โพนจะดังหรือไม่ดังขึ้นอยู่กับการหุ้มโพน โดยที่แต่ละวัดถือเป็นความลับเริ่มด้วยการหาไม้มาตัดเป็นท่อน ตามความต้องการ แล้วนำไม้นั้นมาเจาะรูให้กลวงเท่ากันตลอด แต่โพนะที่ใช้เข่งวันนั้นจะเจาะรูภายในทั้งสองด้านเป็นรูปอกไก่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เสียงก้อง และเจาะรูลูกสักที่ขอบบนขอบล่างในระยะเท่าๆ กัน ใช้หนังควายตัดเป็นรูปกลมขนาดโตเท่าปากของไม้ที่เจาะรูไว้ นำไปแช่หัวข่าหยวกกล้วย เมื่อตากจนแห้งสนิทแล้วนำมาหุ้มสอดไม้ลูกสักตรงที่เจาะรูไว้ แล้วขึงให้ตึงทั้งข้างบนและข้างล่าง

กล่าวได้ว่า จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ที่ยังรักษาประเพณีแข่งโพนไว้ ดังนั้นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง จึงจัดงานประเพณีแข่งโพนลากพระขึ้น เพื่ออนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ทั้งยังก่อให้เกิดความสนุกสนานการประลองความสามารถและความมีไหวพริบของผู้ แข่งขัน รวมทั้งเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ก่อให้เกิดความรักในหมู่คณะและในท้องถิ่น โดยเริ่มจัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี 2531 ปีต่อมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนใจจึงสนับสนุนให้เป็นที่รู้จักกันทั่ว ไป

กำหนดงาน
งานประเพณีแข่งโพนลากพระจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง และลากพระที่หาดแสนสุข สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
การแข่งขันโพนแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ การแข่งขันมือ (ตีทน) ใช้เวลาแข่งนานจนกว่าผู้ตีจะหมดแรง ส่วนการแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง คือ การแข่งขันเสียง ในเวลาการแข่งขันสั้น และเป็นที่นิยมมากกว่าการแข่งขันตีทน

ประเภทของการแข่งขันและประกวดโพนเสียงดัง มี 4 ขนาด คือ ขนาดเล็ก เส้นรอบวงไม่เกิน 120 เซนติเมตร ขนาดกลาง เส้นรอบวงไม่เกิน 147 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ เส้นรอบวงไม่เกิน 190 เซนติเมตร และขนาดพิเศษ เส้นรอบวงเกิน 190 เซนติเมตร รวมทั้งยังมีการประกวดโพนสวยงามและประกวดลีลาท่าทางการตีโพนอีกด้วย

งานเทศกาลล่องเรือแลนกทะเลน้อย
วันที่ 15 มีนาคม -15 พฤษภาคม 2552
ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

กิจกรรม
กิจกรรมล่องเรือทะเลน้อย ช่วงเวลาชมนกน้ำและดอกบัวที่ดีที่สุดคือช่วง 06.00 -10.00 น. (ถ้าไปหลังจากนี้ดอกบัวจะหุบหมดค่ะและแดดจะร้อนมาก) สนนราคาค่าเรือลำละ 300 บาท นั่งได้ 5 - 7 คน
ชมนิทรรศการ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ Ramsar site พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับโลกแห่งแรกของไทย
การแสดงแสงสีเสียง ศิลปวัฒนธรรมเอกลักษณ์ท้องถิ่น
ถนนสายอาหารอร่อย สะอาด ราคาถูก โดยเฉพาะช่วงเทศกาล
ชมการสาธิตการผลิต สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพ 3-5 ดาว อาทิ หัตถกรรมกระจูด กะลามะพร้าว , ปลาดุกร้า ไข่ปลาทรงเครื่องทอด

สอบถามรายละเอียด
สำนักปลัดเทศบาลตำบล พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โทร. 0 7468 5240
ททท. สำนักงานหาดใหญ่ โทร. 0 7423 1055

พัทลุง : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ถ้ำสุมโน

อยู่ ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษม (สายพัทลุง-ตรัง) ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำห่างจากถนนประมาณ 500 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยและมีห้องโถงกว้างขวางใหญ่โตและร่มเย็นวิจิตร ตระการตาตามธรรมชาติซึ่งมีทั้งหมด 18 ถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์ บริเวณถ้ำยังเป็นสถานที่วิปัสสนาและปฏิบัติธรรมอีกด้วย

น้ำตกไพรวัลย์

ตั้ง อยู่ในหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลคลองเฉลิม เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เงียบสงบร่มเย็นด้วยพรรณไม้นานาชนิด บริเวณน้ำตกมีร้านอาหารบริการ การเดินทาง จากตัวเมืองพัทลุง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงสามแยกกงหราเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4122 ประมาณ 29 กิโลเมตร และจะมีป้ายบอกทางไปน้ำตกอีก 3 กิโลเมตร หรือถ้านักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวเองสามารถขึ้นรถสองแถวสายน้ำตกไพรวัลย์ -พัทลุง ซึ่งคิวรถจะจอดอยู่เยื้องสถานีรถไฟพัทลุงเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น.และจากน้ำตกไพรวัลย์มาพัทลุงคันสุดท้ายหมดเวลา 15.00 น. รถออกทุก 15 นาที ทุกวัน

วัดเขียนบางแก้ว

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างพ.ศ. 2533 เป็นวัดเก่าแก่ที่มีพระธาตุบางแก้ว สร้างแบบเดียวกับพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชแต่ขนาดเล็กกว่า เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ของชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมพระพุทธรูป เครื่องใช้ถ้วยชาม การเข้าชมต้องขอกุญแจจากเจ้าอาวาส การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4081 เลยอำเภอเขาชัยสนไปประมาณ 7 กิโลเมตร ในเขตบ้านบางแก้วใต้บริเวณกิโลเมตรที่ 14 จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือประมาณ 2.5 กิโลเมตร

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2518 แต่ประชาชนมักเรียกกันว่า “อุทยานนกน้ำทะเลน้อย” ซึ่งนับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอบๆทะเลน้อย บริเวณพรุควนขี้เสียน เป็นแรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทย เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ (ทะเลน้อย) ประมาณ 17,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลน้อยเป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบ ประกอบด้วย นาข้าว ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ตัวทะเลน้อยกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร มีพืชน้ำปกคลุม เช่น ผักตบชวา กง กระจูดหนู บัวต่างๆ และพืชลอยน้ำ ความลึกเฉลี่ย 1.25 เมตร
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่แบ่งออกเป็น นกน้ำ 287 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 6 ชนิด นกน้ำมีทั้งนกที่ประจำถิ่นและนกอพยพ เช่นนกกาบบัว นกกุลา นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจในการเที่ยวชมอุทยานนกน้ำทะเลน้อยคือ พระตำหนักทะเลน้อย ทะเลบัวยามเช้า ฝูงนกน้ำนานาชนิด แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณอ่าวหม้อ หน่วยพิทักษ์ป่าควนขี้เสียน แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณควนทะเลมอง และจุดชมธรรมชาติบริเวณศาลานางเรียม
การเดินทาง จากตัวเมืองพัทลุงใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4048 (พัทลุง-ควนขนุน) ประมาณ 32 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสายมีป้ายบอกตลอดทาง หรือทางรถไฟ ลงที่สถานีปากคลอง จากนั้นต่อรถโดยสารไปทะเลน้อย ประมาณ 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านค้าสวัสดิการ บ้านพักรับรอง 5 หลัง และเรือนำเที่ยว 60 ลำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 7468 5230

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหรือที่เรียกกันว่า “พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และปูชนียวัตถุคู่เมืองของพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัด กับศาลจังหวัดพัทลุง เป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางสมาธิ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2511

อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย)

ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ตามประวัติกล่าวว่าพระยาทุกขราษฎร์ เดิมเป็นพระ ชื่อพระมหาช่วย จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ช่วยพระยาพัทลุงนำชาวบ้านเข้าต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงลาสิกขาบทแล้วได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทำราชการเมืองพัทลุง มีตำแหน่ง “พระยา” เทียบเท่าเจ้าเมือง

ศูนย์รวมหัตถกรรมกะลามะพร้าวเมืองพัทลุง

อยู่ที่หมู่ 1 ตำบลชัยบุรี ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางที่แยกไสยวน ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมผลิตภัณฑ์กะลาที่มีชื่อเสียง จนได้ชื่อว่า “หมู่บ้านกะลาเงินล้าน” จากแนวความคิดของนายปลื้ม ชูคง ผู้นำชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม โดยมีการนำกะลามะพร้าวมาออกแบบเป็นภาชนะสำหรับใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ เช่น ช้อน ถ้วยกาแฟ ถ้วยน้ำ กระบวยตักน้ำ ทัพพี โคมไฟและเครื่องประดับ ซึ่งจะส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนใจชมวิถีชีวิตชาวบ้านและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ติดต่อนายปลื้ม ชูคง โทร. 0 7461 4512, 0 1465 5751

วัดคูหาสวรรค์

ตั้งอยู่เชิงเขาคูหาสวรรค์ ใกล้ๆ ตัวตลาดพัทลุง เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ พระเจดีย์ พระพุทธรูปและยังพบพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย บริเวณหน้าถ้ำมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีถ้ำนางคลอด ซึ่งภายในถ้ำตกแต่งด้วยภาพปูนปั้นเกี่ยวกับเรื่องราวพื้นบ้านอีกด้วย

วัดวัง

อยู่ตำบลลำปำ ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวง
หมายเลข 4047 ประมาณ 6 กิโลเมตร (ใช้เส้นทางเดียวกับเขาอกทะลุ) เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาได้สร้างขึ้นใหม่โดยพระยาพัทลุง (ทองขาว) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และเคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อย้ายเมืองพัทลุงไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ วัดวังก็ชำรุดทรุดโทรมลง และได้มีการบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2512 สิ่งสำคัญของวัดวังคือ พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีมุขเด็จยื่นออกมาภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวกันว่าเป็นฝีมือช่างคณะเดียวกับที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและเทพชุมนุม บริเวณระเบียงคดโดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้น 108 องค์ นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ วิหารและธรรมาสน์ลายทองสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับพระอุโบสถ เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย

วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่)

ตั้ง อยู่ใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมาวังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุงซึ่งเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันทายาทตระกูล “จันทโรจวงศ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติและกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และวังใหม่ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท

เขาอกทะลุ

จากวัดคูหาสวรรค์ไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 จะพบเขาอกทะลุ ตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านตะวันออกของสถานีรถไฟ เขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง มีความสูงประมาณ 250 เมตร มีบันไดสำหรับขึ้นยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ ลักษณะพิเศษของภูเขาลูกนี้คือ มีโพรงทะลุมองเห็นอีกด้านหนึ่ง อยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขา

อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า

เป็นอุทยานฯลำดับที่ 42 ของประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 ครอบคลุมจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 433,750 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเทือกเขาบรรทัด มีภูเขาสลับซับซ้อนมากมายมี “เขาหินแท่น” เป็นยอดเขาสูงสุด พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นต้นน้ำของแม่น้ำตรังและแม่น้ำปากพนัง โดยในฝั่งจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดคลองลาไม คลองไม้เสียบ คลองน้ำใส ซึ่งจะไหลรวมเป็นคลองชะอวดและแม่น้ำปากพนัง และสภาพพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น มีพรรณไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเช่น ไม้ยาง ตะเคียน หลุมพอ กระบาก จำปาป่า พิกุล เป็นต้น
ส่วนสัตว์ป่ามีจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประมาณ 60 ชนิด เช่น เลียงผา เก้ง กวาง ค้างคาวมงกุฎเล็ก ค้างคาวปีกถุงเคราดำ เป็นต้น สัตว์จำพวกนก พบประมาณ 286 ชนิด เช่น นกแซวสวรรค์ นกกางเขนดง นกกินปลีสีเรียบ นกจับแมลงสีส้ม นกขุนแผนอกส้ม นกกระบั้งรอก นกเงือกหัวหงอก นกเขาเขียว นกกระเต็นแดง เป็นต้น จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน พบประมาณ 67 ชนิด อาทิเช่น งูดิน เห่าช้าง งูจงอาง กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า ตุ๊กแกป่าใต้ ตะพาบน้ำ เป็นต้น จำพวกปลา พบประมาณ 15 ชนิด เช่นปลาตูหนา ปลามัด ปลาดุกรำพัน ปลาหวด ปลาซิวใบไผ่ เป็นต้น จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อาทิเช่น กบหงอนมลายู กบเขาหลังตอง กบอ่อง จงโคร่ง กบตะนาวศรี คางคกแคระ เขียดบัว เป็นต้น จำพวกแมลง พบประมาณ 70 ชนิด เช่น ผึ้งหลวง จักจั่น งวงมวนแดง ด้วงกว่างห้าเขา ผีเสื้อหางติ่งอิศวร ผีเสื้อพระเสาร์ใหญ่ ผีเสื้อเจ้าป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ

ถ้ำมัจฉาปลาวน เป็นถ้ำขนาดกลาง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีห้องโถงใหญ่ 3 ห้อง มีหินงอกหินย้อย ม่านหินปูน และค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจงโคร่ง กิ้งกือ ปลายถ้ำจะมีแอ่งน้ำกว้างประมาณ 10 ตารางเมตร มีกุ้ง หอย และปลามัด อาศัยอยู่
ผาผึ้ง อยู่ห่างจากบริเวณที่ทำการอุทยานฯประมาณ 300 เมตร เป็นหน้าผาหินปูนที่มีผึ้งหลวงมาทำรังนับร้อยรังในทุกๆปี ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน หากเดินไปตามทางไหล่เขาด้านบนสุดเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นธรรมชาติ