www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

MAEHONGSON

MAEHONGSON : General Information

MAE HONG SON is nestled in a deep valley hemmed in by high mountain ranges, Mae Hong Son has long been isolated from the outside world.  Virtually covered with mist throughout the year, the name refers to the fact that is terrain is highly suitable for the training of elephants.
avis


         Former governors of Chiang Mai used to organise the rounding up of wild elephants which were then trained before being sent to the capital for work.  Today, Mae Hong Son is one of the dream destinations for visitors.  Daily flights into its small airport bring growing numbers of tourists, attracted by the spectacular scenery, numerous hilltribe communities and soft adventure opportunities.

THAI YAI CULTURE

The Thai Yai can be seen along the northern border with Myanmar.  They may at one time have been the most numerous of the ethnic Thai tribes that stretch across Southeast Asia.  A large group settled in Mae Hong Son.  

The Thai Yai culture has had a strong influence on the province, as can be seen in its architecture. Although a part of the Lanna region, the indigenous Thai Yai people living in Mae Hong Son are faced with very cold weather during winter and extremely hot weather in the summer, with mist or fog practically throughout the whole year.  Not surprisingly they have had to adapt to the environment. 

As a result, their architectural style has developed into something different from other Lanna communities.  Their living quarters are usually built with tall floors and low roofs, the sizes differing according to ones social status and position.  Homes of the ordinary folks are usually with one single level of roof, while those of the local aristocrats have two or more levels forming a castle-like shape.   The space thus provided is believed to help air circulation.  An interesting feature of the Thai Yai style is the perforated designs along the eaves which are an architectural identity of the area.

MAEHONGSON : How to get there

Travel from Bangkok  

By Car

Mae Hong Son is located 924 kilometres from Bangkok.  Drive from Bangkok to Chiang Mai and then choose the following routes to Mae Hong Son:

Chiang Mai Hot Mae Sariang Khun Yuam Mae Hong Son (Route 108) with 1864 curves, a distance of 349 kilometres.

Chiang Mai Mae Malai Pai Mae Hong Son (Route 1095), a distance of 245 kilometres.
 
By Bus

Muang Nuea Yan Yon Tour (Tel: (0 2936 3587-8) operates an air-conditioned bus which runs directly from Bangkok to Mae Hong Son every day.  The bus departs from Chatuchak (Mochit 2) Bus Terminal at 6 p.m.  The trip takes about 17 hours.  
   
By Rail

One can travel from Bangkok to Chiang Mai by rail and then continue to Mae Hong Son by bus.  For more information, call 1699, 0 2223 7010, 0 2223 7020 or visit www.railway.co.th 
   
By Air

Thai Airways flies Bangkok-Chiang Mai-Mae Hong Son daily.  Reservation should be made in advance at Tel: 0 2280 0060, 0 2628 2000 or call 1566 or visit www.thaiairways.com for current schedule.

SGA Airlines  offers flights from Chiang Mai -Mae Hong Son and Chiang Mai - Pai  For current schedule, please call  0 2664 6099  or  visit  www.sga.co.th
 
Travel from Chiang Mai
  

By Car

Mae Hong Son can be reached from Chiang Mai either by Highway No. 108 via Hot, Mae Sariang, or Highway No. 1095 via Pai.  
 
By Bus

Chiang Mai-Mae Hong Son buses operated by Prem Pracha Transport (Tel: 0 5324 4737, 0 5324 2767) departing from Chiang Mai Arcade Bus Terminal every day.  The buses which run along Highway No.108 leave Chiang Mai frequently from 6.30 a.m. 9 p.m.   The journey takes 8 hours.  The buses which run along Highway No. 1095 leave Chiang Mai from 7 a.m.-12.30 p.m. The journey takes 6 hours.
 
  By Air

Thai Airways fly Bangkok-Chiang Mai-Mae Hong Son daily.  Reservation should be made in advance at Tel: 0 2280 0060, 0 2628 2000 or call 1566 or visit www.thaiairways.com   for current schedule.

SGA Airlines  offers flights from Chiang Mai -Mae Hong Son and Chiang Mai - Pai  For current schedule, please call  0 2664 6099  or  visit  www.sga.co.th

MAEHONGSON : Activities

Tham Mae Lana Cave
Another cave in Pang Mapha where stalactites and stalagmites can be found is the Mae Lana Cave.  The stream inside the cave is habitat to eyeless and colorless fish that live in dark environment. This cave is suitable only for adventurous tourists.  Travel along Route 1095, then branch off into Route 1226 to Ban Mae Lana where a local guide is available.  Mae Lana Cave is 4 kilometers beyond the village.

Tham Mae Lana Cave
Another cave in Pang Mapha where stalactites and stalagmites can be found is the Mae Lana Cave.  The stream inside the cave is habitat to eyeless and colorless fish that live in dark environment. This cave is suitable only for adventurous tourists.  Travel along Route 1095, then branch off into Route 1226 to Ban Mae Lana where a local guide is available.  Mae Lana Cave is 4 kilometers beyond the village.

Tha Pai Hot Spring
 
This is another attraction in the area of Huai Nam Dang National Park.  The hot spring is two kilometres off Route 1095 at Km. 87. It has an average temperature of 80 celcius.  Steam from the spring permeates the site in the morning creating fascinating sights.  The area is also rich in teakwoods and suitable for overnight camping.

Hilltribe Trekking 
Mae Hong Son has several tour operators that specialise in trekking.  Treks are designed to expose visitors to splendor nature and a variety of hilltribes.  The adventure may combine jungle walks with elephant riding and river rafting. The cool winter months of November to February are the best time to travel. Avoid the height of the rainy season in August and September.  In the dry months between March and May, the temperature can soar uncomfortably high for strenuous mountain hikes.

Wat Phra That Doi Kong Mu
Erected by the first governor of Mae Hong Son, this temple reflects the strong influence of the Burmese.  The highlights of this attraction are the two lavishly decorated pagodas. Also, this hilltop temple affords an exceptional aerial view of the city and surrounding mountains and valleys.


แม่ฮ่องสอน : ข้อมูลทั่วไป

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า
ป่าเขียวขจี ผู้คนดีประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

     แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า

     แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จนมีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย

     ประวัติและความเป็นมาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่  ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"

     ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก

     จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

     จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง 
 
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
 

  1. ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน (แม่ฮ่องสอน) โทร. 0 5361 2982-3 โทรสาร 0 5361 2984
  2. บมจ.การบินไทย สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1299
  3. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5361 1198 โทรสาร 0 5361 1808
  4. ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1952, 0 5361 1812 โทรสาร 0 5361 1813
  5. สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. 0 5361 1239
  6. ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2057
  7. โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ โทร. 0 5361 1378, 0 5361 1398
  8. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2079 โทรสาร 0 5361 1349
  9. ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2156
  10. ที่ว่าการอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1357
  11. ที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง โทร. 0 5368 1220, 0 5368 1231
  12. ที่ว่าการอำเภอขุนยวม โทร. 0 5369 1108 ที่ว่าการอำเภอปาย โทร. 0 5369 9195

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://www.maehongson.go.th
ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน (แม่ฮ่องสอน)
http://www.tourismthailand.org/maehongson

แม่ฮ่องสอน : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. แม่ฮ่องสอน

รถยนต์

     แม่ฮ่องสอนในอดีตเป็นเมืองที่เร้นลับและทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและคดเคี้ยวนับได้มากถึง 1,864 โค้ง ปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง 

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ
-มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3587-8

จากเชียงใหม่
-มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน
(ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา
06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอ
แม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง
สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน
(ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา
07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง
ประมาณ 6 ชั่วโมง  

รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0 5361 1318

นอกจากนี้ยังมีรถวิ่งระหว่างแม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง ตี 1 รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5368 1347

เครื่องบิน
บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111
สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044-7
สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1297, 0 5361 1194
www.thaiairways.com

สายการบินนกแอร์ ทำการบินระหว่าง แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 5361 2057 ต่อ 106 หรือ call center โทร. 1318 หรือ www.nokair.com


สายการบินเอสจีเอ มีบริการเที่ยวบินระหว่าง เขียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน และ เชียงใหม่-ปาย ทุกวัน โทร. 0 2664 6099 หรือ www.sga.co.th 

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.แม่ฮ่องสอน 
ระยะทางจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง
กิโลเมตร 
  • อำเภอปางมะผ้า 
64 กิโลเมตร 
  • อำเภอขุนยวม 
67 กิโลเมตร 
  • อำเภอปาย 
111 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่ลาน้อย
134 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่สะเรียง
164 กิโลเมตร 
  • อำเภอสบเมย
192 กิโลเมตร 

ระยะทางอื่นๆ

ระยะทาง
กิโลเมตร 
เชียงใหม่-อำเภอปาย
135 กิโลเมตร
อำเภอปาย-อำเภอปางมะผ้า
44 กิโลเมตร
อำเภอขุนยวม-อำเภอแม่ลาน้อย
67 กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาน้อย-อำเภอแม่สะเรียง
30 กิโลเมตร
อำเภอแม่สะเรียง-อำเภอสบเมย
25 กิโลเมตร
อำเภอแม่สะเรียง-เชียงใหม่
191 กิโลเมตร

แม่ฮ่องสอน : วัฒนธรรมประเพณี

งานประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2552
ณ วัดจองคำพระอารามหลวงและวัดจองกลาง ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

กิจกรรม
ชมและร่วมสืบสานประเพณีการบวชลูกแก้วหรือส่างลองที่สวยงามและยังคงรักษาวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน

สำหรับกำหนดการเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดดังนี้
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 15 มีนาคม 2552 รับสมัครผู้มีความประสงค์จะบวช
วันที่ 31 มีนาคม วันรับส่างลอง
วันที่ 1 เมษายน วันข่ามแขก(วันรับแขก)
วันที่ 2 เมษายน วันแห่โคหลู่หรือวันแห่เครื่องไทยทานหรือวันฮ้องขวัญนาค ภาษาไทยกลางเรียกว่าวันเรียกขวัญนาค และ
วันที่ 3 เมษายน วันข่ามส่างหรือวันหลู่(วันบรรพชาสามเณร)

ผู้ที่ประสงค์จะส่งบุตรชายหรือหลายชายเข้าบวชตามประเพณีดังกล่าว สมัครได้ที่วัดจองคำพระอารามหลวง พร้อมเอกสารหลักฐาน สำเนาใบสูติบัตร
เด็กชายอายุ 9 ปีขึ้น สำเนาทะเบียน รูปถ่าย และเงินสมทบทุนกองกลาง จำนวน 7 พันบาทต่อการบวชสามเณร 1 รูป เครื่องบวชจำนวน 1 ชุดต่อ 1 รูป จัดหาตะแปส่างลอง 2 คนต่อ 1 รูป และจัดหาผุ้ช่วยเตรียมงาน 2 คนต่อ 1 องค์

โดยผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจะต้องได้รับการฝึกปฏิบัติตามระเบียบที่ คณะกรรมการกำหนด คือ ผู้ที่จะทำการบวชต้องผ่านการฝึกภาคปฏิบัติขั้นเตรียมตัวก่อนบวช เป็นเวลา 10 วัน

ผู้ที่จะบวชจะต้องได้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน อย่างน้อย 15 วัน ก่อนทำการลาสิขาจากสณเพศหรือสามเณรภาคฤดูร้อน ประชาชน ผู้ประกอบกิจการร้านค้า บริษัท ที่จะร่วมจิตศรัทธาจัดส่งบุตรชาย – หลายชาย เข้าบวชส่างลอง หรือเป็นเจ้าภาพในการบวชของผู้ความประสงค์จะบวชแต่ขาดทุนทรัพย์ในครั้งนี้

สอบถามรายละเอียด
วัดจองคำพระอารามหลวง โทร. 0 5361 1237
เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2016

ประเพณีปอยส่างลอง

ประวัติ / ความเป็นมา         
          ประเพณีปอยส่างลองเป็นประเพณีที่เดี่ยวกับการบวชของชาวไทยใหญ่ที่สืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถือว่าเป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ ได้อานิสงส์มาก  
          คำว่า "ส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ เกิดจากคำผสมระหว่าง "ส่าง" แปลว่า สามเณร และคำว่า "ลอง" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่เหนือมนุษย์หรือเทพบุตร หรือผู้เป็นหน่อเนื้อของผู้วิเศษ คำเต็มคือ "อลอง" เมื่อผสมกับคำว่า "ส่าง" เสียงอะที่อยู่หน้ากร่อนหายไป สันนิษฐานว่าเป็นภาษาพม่าที่นำมาใช้ภาษาไทยใหญ่           
          อีกนัยหนึ่งคำว่า "ส่างลอง" เทียบได้กับคำว่า "ลูกแก้ว" ในภาษาถิ่นล้านนา ประเพณีทำบุญส่างลอง เรียกว่า ปอยส่างลอง คำว่า "ปอย" คือ งานอันเป็นมงคลยิ่งใหญ่ในการบรรพชา หรือ บวชลูกแก้วของชาวล้านนา        
          ส่วนประวัติความเป็นมามีกล่าวไว้หลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือ ในสมัยอดีตกาล ณ เมืองหนึ่งมีพระมหากษัตริย์ มีโอรสทรงพระนามว่า "จิตตะมังชา" ครั้นโอรสมีอายุได้ 10 ชันษา พระบิดาก็มุ่งหวังจะให้โอรสได้ผนวชเป็นสามเณร แต่พระองค์ไม่ทรงบังคับแต่อย่างใด ความนี้ล่วงรู้ไปถึง "จิตตมังชาโอรส" จึงได้ตัดสินใจขอผนวชเอง ทำให้พระราชบิดาทรงปลาบปลื้มมาก รับสั่งให้มีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตลอด 7 วัน 7 คืน ได้แห่ส่างลองจิตตะมังไปรอบเมือง และไปหาพระพุทธเจ้า         
          สามเณรจิตตมังชาผนวชอยู่กับพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแตกฉานและได้สำแดงบุญบารมีเป็นที่ประจักษ์ไปทั่ว เช่นครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสร็จไปเยี่ยมพระประยูรญาติ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ พระนางปชาบดีโคตมีได้ทอผ้าจีวรด้วยเส้นทองคำ 2 ผืน ถวายแด่ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับผืนเดียวที่เหลือไม่มีสาวกองค์อื่นกล้ารับ แต่สามเณรจิตตมังชากล้ารับทำให้เกิดเสียงวิจารณ์เป็นอันมากว่า สามเณรจิตตะมังชายังเยาว์วัยเกินไปไม่สมควรรับ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงจัดให้สาวกมาประชุมกัน แล้วพระองค์ทรงโยนบาตรขึ้นไปในอากาศ พร้อมกับตรัสว่า สาวกองค์ใดจะมีความสามารถรับบาตรนี้ได้ ปรากฏว่าผู้ที่สามารถรับบาตรนี้ได้คือ สามเณรจิตตะมังชาได้เหาะไปรับบาตรมาถวายพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่า เหมาะที่จะรับจีวรด้ายทองคำ และเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป         
          อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า สมัยพุทธกาลที่เมืองแห่งหนึ่งมีงานปอยส่างลอง โดยคหบดีเศรษฐีผู้มีเงินทองหลายคนร่วมกันจัดงาน แต่มีครอบครัวหนึ่งกำพร้าพ่อเหลือแม่กับลูกชายที่มีรูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียดไม่มีใครอยากคบด้วย ลูกชายอยากเป็นส่างลองมาก แต่แม่ยากจนไม่สามารถหาเงินมาจัดงาน "ปอยส่างลอง" ได้ พร้อมทั้งถูกพูดจาถากถางตลอดว่า "ยากจนแล้วอย่างเป็นส่างลอง" ยิ่งใกล้ถึงวันรับส่างลอง เสียฆ้องกลองบ้านเจ้าภาพทำให้ทั้งแม่และลูกเป็นทุกข์มาก ครั้นหมดปัญญาจะหาเงินมาร่วมจัดงานด้วยเรื่องนี้ร้อนไปถึง "บุนสาง" หรือพระพรหม ผู้มีหูตาทิพย์ เมื่อทราบจึงมีความคิดที่จะช่วยทั้งสอง จึงแปลงร่างเป็นชายแก่มอบเงินทองให้ แต่ก็ติดขัดที่ลูกชายรูปร่างอัปลักษณ์ พระพรหมก็บอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงจะช่วยเอง
          จนถึงวันรับส่างลอง เมื่อแต่งช