www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  


BURIRAM

BURIRAM : General Information

    Buriram is a land of ancient Khmer prosperity. The southern part of the province has a number of Khmer sanctuaries, the most magnificent being Phanom Rung, regarded as one of the most beautiful examples of Khmer architecture in Thailand.
avis


       Buriram is 410 kilometres from Bangkok. It has an area of 10,321 square kilometres. The province is divided into the following districts: Mueang Buriram, Nang Rong, Lam Plai Mat, Prakhon Chai, Phutthaisong, Satuek, Krasang, Ban Kruat, Khu Mueang, Lahan Sai, Nong Ki, Pakham, Na Pho, Nong Hong, Phlapphla Chai, Huai Rat, Non Suwan, Chalerm Phra Kiat, Chamni, Non Din Daeng, Chaloem Phra Kiat, Ban Mai Chaiyaphot, Ban Dan, and Khaen Dong

BURIRAM : How to get there

By Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Nakhon Ratchasima, then use Highway No.226 to Buriram, a total distance of 384 kilometres.

By Bus

Buses depart from Bangkoks Mochit 2 Bus Terminal to Buriram every day. Contact Transport Co.Ltd at Tel: 0 2936 2852-66 for more information

By Rail

Regular trains depart from Bangkoks Hua Lamphong Railway Station to Buriram every day. Call 1690, 0 2223 7010-20 for more information.

By Air

PB Air flies from Bangkok to Buriram every day. The Buriram airport is at Amphoe Satuek, 40 kilometres north of the town. For more information. Call 0 2261 0220-5 or visit website : www.pbair.com

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

Huai Rat
Krasang
Lam Plai Mat
Khu Mueang
Satuek
Phlapphla Chai
Nang Rong
Nong Hong
Prakhon Chai
Phutthaisong
Non Suwan
Ban Kruat
Chaloem Phra Kiat
Na Pho
Pakham
Nong Ki
Lahan Sai
Non Din Daeng
Chamni
Ban Mai Chaiyaphot
Ban Dan
Khaen Dong
12
32
32
33
40
40
54
60
44
64
40
66
68
78
78
83
100
92
70
85
15
56
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

Buses to Other Provinces


From Buriram Bus Terminal, there are buses running to Nakhon Ratchasima, Roi Et, Khon Kaen, Surin, Chiang Mai, Pattaya, Rayong, Chanthaburi, Sa Kaeo, Ubon Ratchathani and Bangkok. Call Buriram Bus Terminal at 0 4461 2534 for more information

BURIRAM : Festival & Event

Magic moments in Khmer heritage

A splash of sunlight penetrating an ancient temple cloister signals a distinctive celebration at Prasat Phanom Rung.

Knowing the exact moment to witness a spectacular sunrise through the doorway of an ancient Hindu temple requires a detailed calculation.

The most auspicious day is 3 April; the time, 0602.32 at sunrise, as the amber sun is perfectly aligned in the centre of the main doorway to a temple standing on a former volcanic mountain in northeast Thailand.

Actually, the sun rays pass straight through 15 perfectly aligned doorways of Prasat Phanom Rung, a revered and ancient Hindu monastery, just four times a year -– two sets of sunrises, in April and September, and two sets of sunsets, in March and October.
These spectacular solar-related events, that also bear religious significance in the Hindu faithful, span just three days –- 2, 3 and 4 April. The second day is considered the most auspicious as the sun is visible dead centre of the outer doorway of this Khmer Hindu temple. Sun rays cast light through 15 aligned doorways that span 75 metres of the temple’s inner courtyard illuminating a revered lingam deep in the main sanctuary. On the other two days, the sun passes one of the corners of these doorways.

Located about 120 km east of Nakhon Ratchasima, the gateway to the northeast region, Prasat Phanom Rung presents a picturesque setting high above the surrounding countryside. A series of steps lead to this ancient monument that stands on the peak of an extinct volcano offering panoramic views of rice fields and hazy mountains on the border with Cambodia.

While photographers will not want to miss the opportunity to capture the 3 April sunrise perfectly aligned within the lintels of the doorways, most visitors will settle for the evening festivals and a colourful light and sound show organised by the Tourism Authority of Thailand performing nightly from 2 to 4 April.

Officially known as the “Ascent of the Mountain Annual Festival” or the “Festival Of The Thousand Year Miracle of the Phanom Rung Grand Shrine” the celebrations start with the religious significance of the sunrises, but continue with community festivities on each of the three days, well into the night.

The 80-minute light and sound show, that start at 20:00, highlights the history of Prasat Phanom Rung and explains the significance of the sunrise and its alignment with the temple’s courtyard doors.
The show is described as an “extravagant outdoor Son et Lumiere performances led by a large cast of actors, dancers and acrobats.”

This evening spectacular, held within the temple complex, compliments the daytime activities that start with the sunrise ceremonies and are followed by colourful festivities throughout the day. In the afternoon there is almost a carnival spirit as visitors enjoy the local food specialities sold at stalls, the folk music and dances as well as handicraft displays. Many visitors are tempted to stay on to admire the floodlight sanctuary, or slumber through night under the stars to ensure they have a prime spot to participate in the sunrise ceremonies on the following morning.


BURIRAM : Activities

Phanom Rung Historical Park

This is a grand and majestic Khmer site over a thousand years old. Built on an extinct volcano, it is originally a Hindu religious site and later became a Buddhist one. During the 15th-18th Buddhist century, several additions were made.

The first thing visitors see when they arrive at the site is the grand stairway from the foot of the hill up to the top. Most of the buildings of the sanctuary are made of laterite and sandstone, all with elaborate designs. The buildings are lined all the way to the main pagoda. This layout is according to Hindu belief of the layout of the heaven of the god Shiva.

The main pagoda is a large one with a square base and facing east. The designs on the pagoda, columns, doorway, and lintels are exquisite, most telling a story of gods in Hinduism. From these designs and the architecture, it is surmised that the pagoda, the stairway and the Naga bridge were built during the 17th Buddhist century. Each building has descriptive designs telling people the purpose for its construction, its usefulness and the beliefs of ancient people.

Phanom Rung is open daily from 06.00-18.00 hrs.

Admission fee is 100 Baht. Alternatively, a 30-day package for visiting Phanom Rung Historical Park and Mueang Tam Stone Sanctury (Prasat Mueang Tam) at 150 baht

Getting to Phanom Rung by car is easy. The sanctuary is 64 kilometres to the south of Buriram town. There are 2 ways to get there. Visitors can proceed from Nang Rong to Prakhon Chai (Highway No. 24) and upon reaching Ban Tako, there is a 12-kilometer road to Phanom Rung. Alternatively, if visitors proceed from Prakhon Chai, there is a road from there to the sanctuary with a distance of 21 kilometres. This route passes a branch road into Muang Tam sanctuary. Visitors can rent air-conditioned vans in town.

Visitors traveling by bus from Nakhon Ratchasima can take the Nakhon Ratchasima-Surin bus and get off at Ban Tako (124 kilometres from Nakhon Ratchasima). From Ban Tako, a motorcycle service is available to take visitors to the site (fare according to agreement). There is an accommodation near the site.

For more information, please contact Tel : 044- 782 715

Mueang Tam Stone Sanctuary (Prasat Mueang Tam)

This stone sanctuary can be reached by taking the road to Prakhon Chai for 8 kilometres and another 5 kilometres on a road on the right-hand side. This Khmer site has a square layout. Its main structures are 5 brick pagodas built on the same foundation and enclosed by two walls. The 4 doorways are perpendicular to each other and built of sandstone with beautiful designs. The inner wall is made of sandstone and is one long, narrow continuous corridor, called Rabiang Khot. The outer wall is made of laterite. Lintels adorn doorways and the main pagoda, recounting Hindu tales. Another highlight of the site is the 4 large pools between the walls. The edges of the pools have serpent designs with the head at the pool corner. The beauty of this Khmer site is second only to that of Phanom Rung.

 

Admission fee is 100 baht. Altennatively, a 30-day package for viciting Phanom Rung Histrorical Park is available at 150 baht

More information please call Tel. 0 4478 2715

Ban Khok Ngio Sanctuary (Prasat Ban Khok Ngio)

This stone sanctuary is 3 kilometres before Pakham, or 75 kilometres from Buriram on No. 218 and 348. This ancient Khmer site is in Wat Khok Ngio and it acted as a sort of local health office in ancient times. King Jayavoraman VII ordered its construction in the 18th Buddhist century.

Nong Hong Sanctuary (Prasat Nong Hong)

Prasat Nong Hong is another Khmer sanctuary about 100 kilometres south of Buriram town near Laem Nang Rong dam. The sanctuary comprises 3 brick pagodas built on the same laterite base and surrounded by a laterite wall and a moat. It dated from the 16th Buddhist century.

Bird Park (Suan Nok)

This is a wildlife reserve at Huai Talat reservoir. To get there, take the Buriram-Prakhon Chai road for 12 kilometres and take a left-handed road for 2 kilometres. The park is the home of many waterfowls that include both local species and those that migrate from colder countries. They are prevalent during November to April which is Thailand's dry season.

Ku Suan Taeng

This khmer sanctuary at Ban Don Wai can be reached by using the Buriram-Phayakkhaphum Phisai road (Highway No. 219) for 70 kilometres, then left onto Highway No. 202 to Prathai for about 40 kilometres where there is a left-hand road to Ku Suan Taeng. This is another Khmer site with 3 brick pagodas on a single laterite base. The famous Narai Banthom Sin lintel was discovered here and is now kept in the National Museum in Bangkok. The lintel proves this site dates from the 17th Buddhist century.

Quarry

This is 6 kilometres from Ban Kruat into the way to Lahan Sai. The hill is littered with rocks large and small, some with traces of rock cutting. It is believed stones taken from here were used to construct a large number of sanctuaries in the lower Northeast.

Lower Northeastern Cultural Centre

This cultural centre is in Buriram Rajabhat Institute. It has collections and displays of artifacts and is a local archaeological, historical and arts study centre. Exhibitions of the centre include:

- Geography, history and ancient community.
- Elephants and the culture of the Suai people, including tools used in capturing elephants, items in elephant rituals and photos of elephant corralling in the old days.
- Local woven clothes.
- Wall mural about the Twelve Month Ceremony of people in Northeast.
- Pottery and Chinese ceramics found in Buriram.

The centre is open from Monday to Friday from 09.00-16.00. It is closed on weekends and holidays. For more information, please contact tel. 0 4461 1221 ext. 159.

Khao Kradong Forest Park

This forest park is 6 kilometres from the city on the Buriram-Prakhon Chai road (Highway No. 219). Khao Kradong is an extinct volcano that is 265 meters high. The summit of the mountain has a pool which is believed to be the mouth of the volcano. Around the area are several plant species worth studying and Phra Suphattharabophit, an important Buddha image of the province.

Buri Ram Cultural Centre

The Centre is located in the Rajabhat Buri Ram University, Amphoe Mueang. Collections of antiques, local textiles, mural paintings and various exhibitions are on display. Open daily (except national holidays), Monday to Friday from 8.30 a.m.-7.00 p.m. Weekends from 8.30 a.m.-4.00p.m. Tel. 0 4461 1221} 0 4460 1616 ext.159

Khao Angkhan Temple (Wat Khao Angkhan)

Wat Khao Angkhan is on an extinct volcano 20 kilometres from Phanom Rung. If travelling from Ban Ta Pek (between Ban Tako and Phanom Rung), use the road to Lahan Sai for 5 kilometres and onto a branch road to the temple for 10 kilometres. Wat Khao Angkhan represents an interesting mixture of architecture from various periods. Inside the main building are wall murals and stories of Buddhism told in English. Furthermore, many Dvaravati sandstone temple boundary markers have been discovered here.

Ancient Kilns

These ancient kilns constitute one of the most important pottery-making centers of the ancient Khmer Empire. The kilns date from the 14th-19th Buddhist century. The pottery made here was supplied to cities in the empire. The Fine Arts Department has renovated 2 kilns called Tao Sawai and Tao Nai Chian, 5 and 10 kilometres from Ban Kruat, respectively. The kilns are ideal for those interested in archaeology.

Ban Kruat is 66 kilometres south of Buriram. Historical sites in this district are as follows:


บุรีรัมย์ : ข้อมูลทั่วไป

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

       บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 23 อำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอแคนดง และอำเภอบ้านด่าน

ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18

หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสระแก้วและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ททท.สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ) อ.เมือง สุรินทร์ โทร. 0 4451 8152
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0 4461 1957
  3. ท่าอากาศยานจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0 4461 4123
  4. บมจ.การบินไทย โทร. 0 4462 5066-7
  5. ไปรษณีย์บุรีรัมย์ โทร.0 4461 1142
  6. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1262
  7. ตำรวจทางหลวง โทร.0 4461 1992, 1193
  8. สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1449
  9. สถานีตำรวจจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1234
  10. สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 253

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์
http://www.buriram.go.th
ททท. สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์,บุรีรัมย์,ศรีสะเกษ)
http://www.tourismthailand.org/surin

บุรีรัมย์ : ข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลการเดินทางของ จ. บุรีรัมย์

การเดินทางจากบุรีรัมย์ไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร

รถไฟ

มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร.0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 0667,0 2936 2852 สถานีขนส่งบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 2534 www.transport.co.th

เครื่องบิน

บริษัท พีบี แอร์ จำกัด มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0 2261 0220-5 โทรสาร 0 2261 0227 สำนักงานที่บุรีรัมย์ โทร. 0 4468 0132-3 โทรสาร 0 4468 1533 www.pbair.com

บุรีรัมย์ : วัฒนธรรมประเพณี

งานประเพณีมหัศจรรย์พนมรุ้ง (งานขึ้นเขาพนมรุ้ง)
วันที่ 2 - 5 เมษายน 2552
ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรม

วันที่ 2-3-4 เมษายน 2552 บริเวณปราสาทพนมรุ้ง
เวลา 06.03 น. ชมปรากฎการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกตรง 15 ช่องประตู

2-5 เมษายน 2552
เวลา 10.00-21.00 น. การออกร้าน
สินค้าOTOP,การจัดตลาดโบราณ,การแสดงนิทรรศการ,การนวดแผนโบราณ,การจัดแสดงเส้นทางอโรคยาศาลา

3-4 เมษายน 2552 บริเวณปราสาทพนมรุ้ง
เวลา 18.00-19.00 น. ชมขบวนแห่ของพระนางภูปตีนทรลักษมี พร้อมขบวนบวงสรวงเทพพาหนะทั้งสิบ นางกำนัล เหล่าทหาร ข้าทาสบริวาร
เวลา 19.30-21.00 น. ชมการแสดง แสง สี เสียงจำลองปรากฎการณ์มหัศจรรย์พระอาทิตย์สาดส่องตรง 15 ช่องประตู พร้อมรับประทานอาหาร(เป็นโตก โตกละ 2,000 บาท)

ค่าเข้าชมอุทยานฯ ตามปกติ คนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

สอบถามรายละเอียด
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โทร. 08 6255 6533
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 3315

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
ประวัติ / ความเป็นมา
การขึ้นเขาพนมรุ้ง จัดเป็นประเพณีเก่าแก่ประจำท้องถิ่นของชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับเขาพนม รุ้ง ถือปฏิบัติว่าในวันเพ็ญเดือน 5 ของทุกปี ต้องขึ้นไปทำบุญตักบาตรปิดทองนมัสการรอยพระพุทธบาท เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัด
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนเขา (พนม คือ ภูเขา รุ้ง คือ กว้างใหญ่ รวมความแล้วเป็น “ภูเขาใหญ่”) ปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ตั้งอยู่บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 360 เมตร ผู้สร้างปราสาทหลังนี้ตามจารึกกล่าวถึงพระราชาองค์หนึ่งนามว่า “หิรัญยะ” สร้างอุทิศให้แก่พระบิดานักพรต นาม “นเรนทราทิตย์” ตรงกับสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ตามจารึกที่พบ ณ ปราสาทหินพนมรุ้งนั้นว่า มีการสร้างระบุมหาศักราช 1000-1100(พ.ศ.1621-1721)ซึ่งร่วมสมัยกับการสร้างปราสาทหินพิมายและปราสาท พนมวัน (พ.ศ.1623-1650) จังหวัดนครราชสีมา
ตามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ในสมัยที่อาณาจักรขอมมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองยโสธรปุระ และมีเมืองหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ในภาคอีสาน มีชื่อว่า เมืองมหิธรปุระ ทั้งสองเมืองต่างมีราชวงศ์ปกครองเมืองควบคู่กันเรื่อยมา ทางเมืองยโสธรปุระมีชื่อเรียกราชวงศ์ว่า อาทิตยวงศ์ ส่วนทางเมืองมหิธรปุระมีชื่อเรียกว่า จันทรวงศ์ ราชวงศ์ทั้งสองเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน การสืบสันตติวงศ์มีการเกี่ยวพันกัน บางครั้งมีการต่อสู้กันบ้าง
เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ในช่วงระหวางการรบพุ่ง กัน และได้สำเร็จโทษพระปิตุลาตาย ส่วนนางภูปตินทรลักษมีเทวี ชายาของพระปิตุลา และบุตรชาย คือ นเรนทราทิตย์ได้รับการไว้ชีวิต แต่กระนั้นเพื่อความปลอดภัย นเรนทราทิตย์ ผู้ซึ่งได้รับการจารึกคุณสมบัติไว้ว่า เป็นชายรูปงามเสด็จไปทางไหนก็จะมีสาวๆ เดินตาม และมีความสามารถยิงธนูได้โดยที่ไม่ต้องเล็ง มีความกล้าหาญโดยเสด็จออกไปล่าช้างป่า แล้วตัดหัวโยนทิ้งน้ำจนกลายเป็นทะเลเลือด ต้องเสด็จหนีราชภัยสละเพศพรหมจรรย์ไปบำเพ็ญภาวนา บวชเป็นฤาษีอยู่ในถ้ำบนภูเขาใหญ่ และสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้งขึ้น
การวางผังการก่อสร้างถือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 การก่อสร้างใช้วิธีเล็งแนวจากดวงอาทิตย์ให้ตรงกับประตูทั้ง 15 ช่อง มีหลักฐานเป็นรอยบากไว้ให้เป็นเส้นตรงยาว และกากบาทขนาดเล็ก
เมื่อกาลเวลาผ่านไป พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี ทรงรำลึกถึงบุตรชาย คือ นเรนทราทิตย์และหลานหิรัญยะ จึงเสด็จออกจากนครยโสธรปุระมุ่งหน้าสู่เขาพนมรุ้ง โดยมีนางจริยา นางสนองพระโอษฐ์และเหล่าสวรรค์กำนัลในตามเสด็จ พร้อมกับมีจิตศรัทธาให้จัดสร้างรูปเทพพาหนะทั้ง 10 ทิศ เพื่อเป็นเทวะสักการะแด่เทพทั่วไปในจักรวาล พร้อมกันนั้น พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี ยังให้จัดเตรียมโค 10 ตัว แพะ 100 ตัว ถวายแด่นเรนทราทิตย์มหาฤาษี จากเหตุการณ์นี้ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้ร่วมจัดเทศกาลขึ้นเขาพนมรุ้งขึ้น

กำหนดงาน
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
จุดเด่นของงานในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 นั้น เป็นวันที่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นผ่านทั้ง 15 ประตูเป็นแนวเดียวกันซึ่งหนึ่งปีมีวันนี้วันเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังจัดจำลองขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี พร้อมด้วยนางจริยา นางสนองพระโอษฐ์ และขบวนสัตว์พาหนะทั้ง 10 ได้แก่ หงส์ ช้าง วัว แรก คชสีห์ นกยูง นาค ม้า รากษส กระบือ โดยขบวนต่างๆ จะจัดไปตามลำดับใช้ผู้ร่วมขบวนเกือบ 1,000 คน การแต่งกายแต่งอย่างสมัยขอมโบราณ นับว่าหาชมได้ยาก

บุรีรัมย์ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญ คือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร (คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่”) ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น

ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอดอันเปรียบ เสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและ ด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้าง ขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17

ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า “โรงช้างเผือก”

กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือ รื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราชที่ 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน

เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ ได้แก่ โบราณสถาน ปราสาทเมืองต่ำ ที่อำเภอประโคนชัย ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 0 4478 2715, 0 4478 2717

ปรากกการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ตรง 15 ช่องประตู
ในรอบ 1 ปีนักท่องเที่ยวสามารถชมปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรง 15 ช่องประตูของปราสาทจำนวน 4 ครั้งด้วยกัน