www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

AMNATCHAROEN

AMNATCHAROEN : General Information

      Phra Mongkhon, Seven River basils, Sacred caves, Phra Lao, Beautiful islands and mountain, precious silk and religious people.
AMNATCHAROEN


       Phra Mongkhon, Seven River basils, Sacred caves, Phra Lao, Beautiful islands and mountain, precious silk and religious people.

       Amnat Charoen is part of lower Northeast region. The province acquires total area of 3,161 square kilometres. Its eastern boundary, at Amphoe Chanuman, is next to Mekong River. The community was firstly established during the reign of King Rama III of Rattanakosin some two centuries ago. Amnat Charoen has been part of Ubon Ratchathani until it was upgraded into province on December 1, 1993. Although it is a small and tranquil town, Amnat Charoen has various attractions distributing in different Amphoe. Visitors to Amnat Charoen can stroll around to witness sacred Buddha images, picturesque rice paddies and fruit orchards, rocky rapids of Mekong River in dry season , and excellent handicrafts particularly silk.

       Amnat Charoen comprises 7 Amphoes namely Mueang , Hua Taphan, Phana, Senangkhanikhom, Chanuman, Pathum Ratchawongsa, and Lue Amnat.

AMNATCHAROEN : How to get there

Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Nakhon Ratchasima, then take Highway No. 226 to Buriram and Surin and continue the journey along Highways No. 214 and 202 to Amnat Charoen via Suwannaphum and Yasothon, a total distance of 585 kilometres.

Bus

Scheduled buses and air-conditioning coaches leave Northeastern Bus terminal Mo Chit 2, Kamphaeng Phet Road, for Amnat Charoen daily. For more information, call 0-2936-2852-66 or visit www.transport.co.th

Rail

There is no direct train to Amnat Charoen. Visitors can take a train to Ubon Ratchathani, then continue the trip by bus to Amnat Charoen. Call 1690, 0 2223 7010-20 for more information.

Air

Thai Airways flies from Bangkok to Ubon Ratchathani, which is 75 kilometres from Amnat Charoen. Call 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 for more information.

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts 

Chanuman
Phana
Hua Taphan
Senangkhanikhom
Pathum Ratchawongsa
Lue Amnat
78
47
35
81
32
22
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

AMNATCHAROEN : Activities

 Phra Mongkhon Ming Muang

This Buddha image is housed in Dan Phra Bat Temple. The temple is situated 3 kilometres from town on the left-hand side of Highway 212. This Buddhist sanctuary built amidst the green trees of Phra Mongkon Ming Muang, designed in the attitude of Subduing Mara and decorated with golden mosaic tiles. The 20 metre-tall Buddha image was moulded in Northern Indian style in 1965. It is the most sacred Buddha image for Amnart Charoens people.

The temple also keeps a respected Buddha image called Pa La Hai, coincidentally discovered in the pond in 1962 when the temple was under renovation. This Buddha image is believed to bring good fortune to worshippers.

Phu Sa Dok Bua

Situated in Phu Sa Dok Bua National Park, the 423 metres high mountain borders three provinces namely Amnat Charoen, Mukdahan, and Yasothon. The park’s headquarter is located in Amphoe Don Tan of Mukdahan. On the mountain top, there are 11 stone pools, which is a few metres wide. It is quite strange that all of them are occupied by different species of colourful lotus, which is found normally in swamp. Locals insist that nobody plant the lotus, but all come naturally. So, they name these pools “Phu Sa Dok Bua” or literally the mountain of lotus pool. Nearby is a huge cave which can accommodate hundred of people. It once served as stronghold of Communist Party of Thailand.

Visitor who plan for trekking trip can ask Phu Sa Dok Bua National Park for more information at 0-4261-9077 , The Department of National Park 0-2562-0760 or www.dnp.go.th or Mukdaharn Forestry Office at 0-4261-1757.

Wat Chaiyatikaram

Situated at Ban Phon Mueang, Tambon Mai Klon, the temple houses a Buddha image in subduing Mara attitude. This 55 centimetres high Buddha image is among Buddhism art from Vientiane craftsman, ranking the same level to subduing Mara Buddha image at Wat Phra Kaeo, Vientaine, and Buddha image at Wat Wichun, Luang Prabang in Lao. This Buddha image can be dated back to the 17th-18th Century.

Phra Lao Thep Nimit Temple (Wat Phra Lao Thep Nimit)

Situated on highway 2134, 2 kms from Amphoe Phana, the temple has Lanna-style chapel which houses the principle Buddha image “Phra Lao Thep Nimit”. Built in 1720, the Buddha image, in subduing Mara attitude decorated by gold leaves, is considered the most beautiful Buddha image of Northeast Region. The art style mirrors Laotian art style from Vientiane which is influenced by Lanna during the 16th-17th Century. The Buddha image was probably built a bit after such period, assumed from appearance of local art style such as face pattern, higher flame over the head, lap and feet which are similar to art style found in wooden and bronze Buddha statue from the 18th -19th Century.

Don Chao Pu

Located 40 kilometres from Amnat Charoen city, the park acquires 260 rais area of mixed deciduous forest. The park is home to various wildlife particularly crab-eating macaques, plenty of which can be easily spotted. The park houses a sacred shrine, as well as Buddha image in the attitude of birth, enlightenment, the first sermon, and reclining in the park.

Wat Pho Sila

The temple is situated at Ban Pueai Hua Dong, Tambon Pueai. The temple houses interesting antique, big white sandstone Sema leaves from Dvaravati period which can be dated back to 1,000 years ago. Built during 7th-8th Century in Khmer style, the sandstone Sema has sharp end, board leave and narrow base carved in lotus shape. Above the carved lotus is pattern of stupa, water pot and bell. Core of the stone leaves are carved with three-ended leave carrying 3 half flowers in three rings lying next to others. Its crest is carved like a flag decorated with lotus’s petal-pattern ornament. Base of the stone leaves is influenced by lotus’s petal pattern from altar of Buddha image or Dhamma Wheel from Dvaravati found in Central Thailand. Half flowers carved in three connecting rings carry the same pattern found in half flowers found in the arc, of which angels are sitting with hands pressing together towards the mid of lintel which was found at eastern gate of Norhtern stupa, Khao Noi Si Chomphu Khmer Ruins, Amphoe Aranyaprathet, Sa Kaeo Province.

Tham Saeng Phet Temple (Wat Tham Saeng Phet)

The temple is located on Amnat Charoen-Khemarat Road, 18 kilometres from the city, and 2 kilometres off the main road uphill. Located on spacious sandstone plain, the temple has vihara, pagoda, and huge reclining Buddha. North of the vihara is a big cave housing a beautiful Buddha image. Tourist can walk around to enjoy rock formation of Sala Phun Hong. This cave is named Saeng Phet or ‘diamond’s glitters’ due to its flashing glitter rock. Wat Tham Saeng Phet is meditation centre of those who honour Achan Cha Suphatto, famous monk from Wat Nong Pa Phong. Foreign monks always come for practicing mediation here.

Ban Chang Tho Royal Folk Arts and Craft Training Centre

Located 5 kilometres from Amphoe Hua Taphan, the centre offers training course on various local crafts such as weaving and gems cutting. The centre here produces world-class gems cutting technician. Tourist can enjoy witness the production process and wide selections of products.

Phuttha Utthayan Reservoir

This reservoir is opposite to Wat Dan Phra Bat , three kilometres away from town. This large reservoir under the Irrigation Department offers beautiful scenery. It is an ideal place to visit with resorts and food shops scattered all around.

Mo Lam Village

The cultural attraction of Amnat Charoen is situated at Tambon Pla Khao, 20 kilometres from Amnat Charoen City. Mo Lam is famous traditional performance of Northeast Thailand. Performance features dancing and playing traditional music. Ban Pla Khao Village found by Phu Thai ethnic group some 200 years ago. Here is the biggest Mo Lam village of Thailand, with 20 bans of Mo Lam living in the village. Besides conserving the traditional performance, some bans have developed into contemporary style. They perform countrywide and earn lots of money. Mo Lam performance of Ban Pla Khao is awarded Amnat Charoen’s OTOP (One Tambon One Product).

Chitsakon Agricultural Centre

Located close to Chidsakol Resort, the famous farm features flower and beautiful plants. Its huge plantation of African marigold always turn the whole field into bright yellow hue when in full bloom. Visitor to the farm can join activities such as taking care of the plantation or cut flowers.

Ban Kham Phra Handicraft Centre

Ban Kham Phra Handicraft Centre
The centre is located at Ban Kham Phra, on Hua Taphan-Amnat Charoen highway, 2 kilometres from Amphoe Hua Taphan’s Office. The centre offers various handicrafts made by housewife. “Khit”, hand woven cloth with delicate pattern, and handicrafts made from the beautiful fabric are available. Tourist can watch the production demonstration and enjoy great selection of the products.

Ban Kham Phra Handicraft Centre

The centre is located at Ban Kham Phra, on Hua Taphan-Amnat Charoen highway, 2 kilometres from Amphoe Hua Taphan’s Office. The centre offers various handicrafts made by housewife. “Khit”, hand woven cloth with delicate pattern, and handicrafts made from the beautiful fabric are available. Tourist can watch the production demonstration and enjoy great selection of the products.

Rapids in Maekhong River

Chanuman is a peaceful district about 80 kilometres from the provincial town where the land run along side the Maekhong River for a distance of 38 kilometres, affording a wonderful view of the natural scenery of both side of the river. Rapids emerge during the dry season (February-May).


อำนาจเจริญ : ข้อมูลทั่วไป

พระ มงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

       จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 อำนาจเจริญแม้จะเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบแต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชมทั้งวัดวาอาราม ธรรมชาติที่สวยงามและหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่น่าซื้อเป็นของใช้ ของฝาก จังหวัดอำนาจเจริญประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอลืออำนาจ

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับอำเภอเขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4551 1396
  2. โรงพยาบาลอำนาจเจริญ โทร. 0 4551 1940-8
  3. สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4551 1909
  4. สถานีขนส่งอำนาจเจริญ โทร. 0 4545 2511
  5. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 4551 2007

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ
http://www.amnatcharoen.go.th

อำนาจเจริญ : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. อำนาจเจริญ

รถยนต์

จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทางประมาณ 704 กิโลเมตร

รถไฟหรือเครื่องบิน

สำหรับผู้ที่ใช้บริการทางเครื่องบิน และรถไฟจะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดอำนาจ เจริญอีกประมาณ 75 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-อำนาจเจริญ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หมอชิต 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 2852-66 www.transport.co.th

อำนาจเจริญ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

วัดโพธิ์ศิลา

ตั้งอยู่ที่บ้านเปือยหัวดง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ สิ่งที่น่าสนใจในวัดคือใบเสมาสมัยทวาราวดีขนาดใหญ่ สร้างจากหินทรายขาว อายุประมาณ 1,000 ปี ราว พ.ศ. 1,200-1,300 ศิลปะขอมแบบไพรกเมง มีลักษณะเรียว ปลายแหลม คล้ายใบหอกป้าน ด้านล่างคอดส่วนฐานสลักลายดอกบัวบาน ใบเสมาเหนือแนวกลีบบัวสลักแนวแกนเสมาคล้ายรูปสถูปจำลองหรือปลียอดสถูป ด้านล่างเป็นรูปหม้อน้ำตั้งซ้อนอยู่บนองค์ระฆังคว่ำ ถัดไปเป็นปล้อง มีแนวลวดลายบัวคั่นตรงกึ่งกลาง แกนเสมาสลักลายใบไม้ 3 แฉก หงายขึ้นรับลายดอกไม้ครึ่งดอก ในขอบวงโค้ง 3 วงเรียงต่อกันส่วนยอดเป็นพุ่มปลายแหลมเหมือนยอดธงมีอุบะห้อย ลวดลายกลีบบัว บนฐานเสมาได้รับอิทธิพลมาจากลายกลีบบัวฐานพระพุทธรูปหรือธรรมจักรศิลป ทวาราวดีทางภาคกลางของประเทศไทย ส่วนลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้ง 3 วงที่เรียงต่อกันเป็นวงเดียวกันนั้นคล้ายคลึงกับลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้ง ที่ปรากฎอยู่บนฐานเทวดาซึ่งย่อตัวพนมมือหันเข้าหาจุดกึ่งกลางของทับหลัง ซึ่งขุดพบที่บริเวณประตูด้านทิศตะวันออกของปรางค์ทิศเหนือของปราสาทเขาน้อย สีชมพู อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อ

ตั้ง อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าถึง เป็นศูนย์ผลิตและฝึกอบรมงานด้านหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภท เช่น การทอผ้า และการเจียรไนพลอย เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการผลิตและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ด้วย

อุทยานดงลิงดอนเจ้าปู่

เป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณกว่า 200 ไร่ ซึ่งประชาชนท้องถิ่นสงวนรักษาไว้เป็นดอนปู่ตา มีศาลเจ้าปู่ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านและเป็นที่อาศัยของลิงจำนวนมาก

วัดไชยาติการาม

ตั้งอยู่ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยสูง 55 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วเมือง เวียงจันทน์และพระพุทธรูปที่วัดวิชุล เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23

สวนเกษตรชิตสกนต์

ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับชิตสกนธ์รีสอร์ท เป็นสวนเกษตรประเภทไม้ดอกไม้ประดับซึ่งมีหลายประเภทและที่มีชื่อเสียงได้แก่ สวนดอกดาวเรือง นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมสวนฯ สามารถร่วมกิจกรรมทางการเกษตรของสวนฯ ได้

พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง

ตั้ง อยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น “พุทธอุทยาน” ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปะอินเดียเหนือ (ปาละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร บัวบุศย์ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กครอบองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2508 เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านหลัง ของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลือง มีนามว่า “พระละฮาย” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “พระขี่ล่าย” หมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทำฝายกั้นน้ำเชื่อกันว่าเป็นพระที่ ให้โชคลาภประชาชนมักเดินทางมาขอพรอยู่เสมอ

ศูนย์จำหน่ายหัตถกรรมบ้านคำพระ

ตั้งอยู่ที่บ้านคำพระ ริมทางหลวงสายอำเภอหัวตะพาน-อำนาจเจริญ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหัวตะพานประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทหัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน ที่มีสินค้าหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผ้าขิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขิต

วัดพระเหลาเทพนิมิตร

ตั้ง อยู่ที่อำเภอพนา บนทางหลวงหมายเลข 2134 ห่างจากตัวอำเภอพนาประมาณ 2 กิโลเมตร พระอุโบสถของวัดมีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีพระประธานคือ “พระเหลาเทพนิมิตร” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มากเป็นต้นว่าเค้าพระ พักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้นสัดส่วนของพระเพลาและพระบาทซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏ อยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24

วัดถ้ำแสงเพชร

ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางขึ้นเขาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร พื้นที่วัดมีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์และพระนอนที่ก่อสร้างอย่างสวยงาม ทางด้านทิศเหนือของวิหารมีถ้ำขนาดใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม นอกจากนี้บริเวณศาลาพันห้องสามารถชมธรรมชาติที่สวยงามโดยรอบแวดล้อมด้วยโขดหินน้อยใหญ่มากมาย เหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำแสงเพชรก็เนื่องมาจากประกายของเกล็ดหินยามเมื่อต้องกับแสงตะวันจะวาววับคล้ายกับแสงเพชร วัดถ้ำแสงเพชร เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมสายพระอาจารย์ชา สุภัทโท สาขาที่ 5 ของวัดหนองป่าพง มีพระภิกษุนานาชาติมาปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ

หมู่บ้านหมอลำ หนองปลาค้าว

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาประมาณ 200 ปี ประชากรมีเชื้อสายภูไท เป็นหมู่บ้านที่มีคณะหมอลำมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 20 คณะ มีการอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ การพัฒนา ประยุกต์หมอลำ เป็นหลายรูปแบบ เช่น หมอลำกลอน หมอลำพื้น หมอลำชิงชู้ หมอลำหมู่ หมอลำซิ่ง และหมอลำผสมวงดนตรี นำไปแสดงในงานต่าง ๆ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลปลาค้าว

ก่อนที่คณะหมอลำจะไปแสดงในงานต่าง ๆ จะมีพิธีไหว้ครูหมอลำ หรือที่เรียกว่าเปิดวง ซึ่งมีบุคลากรตั้งแต่ 80 – 200 คน แสดงให้ชมฟรีก่อนออกไปรับงาน หมอลำบ้านปลาค้าวสร้างรายได้เข้าสู่ตำบลปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบันมีการฝึกหมอลำน้อย โดยมีการลำว่ากลอนปากเปล่าปล่อยเสียงเป็นจังหวะจะโคน พร้อมกับฟ้อนร่ายรำอย่างถูกวิธี ทั้งชายหญิง นับว่าเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่จะมาชม/ฟังฝีปากหมอลำน้อยที่บ้านปลา ค้าวแห่งนี้

นอกการการแสดงหมอลำแล้วชาวบ้านปลาค้าวยังได้เก็บรักษาโบราณวัตถุอันเป็น เอกลักษณ์พื้นบ้านไว้อย่างดียิ่ง อาทิ วิหารช่างญวน ตั้งอยู่ที่วัดศรีโพธิ์ชัย พระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ที่มีอายุราว 200 ปี พระพุทธรูปแกะสลักไม้ พระยานาค (รางสรงน้ำพระ) มีงานฝีมือผลิตเครื่องดนตรี อาทิ พิณ แกะสลักลวดลายต่าง ๆ งานแกะสลัก การทอผ้า และมีระบบการจัดการนำเที่ยว Home Stay จำนวน 25 หลัง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประธานกลุ่มโฮมสเตย์ และวัฒนธรรมบ้านปลาค้าว อ.เหรียญชัย โพธารินทร์ โทร. 08 1878 7833 หรือดูเว็บไซต์ www.plakaow.th.gs

ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง

อำเภอชานุมานมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ทำให้มีลักษณะทางธรรมชาติและทัศนียภาพของบรรยากาศสองฟากฝั่งโขงที่งดงามน่า ประทับใจโดยเฉพาะบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน มีทางเดินเลียบริมฝั่งโขงเป็นระยะทางยาวเหมาะแก่การเดินชมทัศนียภาพ ในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) จะมองเห็นแก่งกลางแม่น้ำโขง เช่น แก่งตางหล่าง ที่หมู่บ้านศรีสมบูรณ์ใกล้กับตัวอำเภอและแก่งหินขัน ที่บ้านหินขัน (ห่างจากตัวอำเภอไปทางใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร)

อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน

อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระมงคลมิ่งเมือง เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญทางด้านเกษตรและประมง พร้อมทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลมพัดเย็นสบาย ริมอ่างเก็บน้ำเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทหลายแห่ง

 
 

 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations