www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

PATTANI

PATTANI : General Information

     
Pattani is an east-coast province in the south, adjacent to the Gulf of Thailand, with the area of approximately 1,940 square kilometres.
avis thailand


    There are two major rivers: Tani and Sai Buri. Being a civilized town in the past, the present Pattani still maintains some ruined ancient town in Amphoe Yarang. Due to its mountainous area and long seashore of about 170 kilometres, Pattani has been an important port and the centre of the administration, trading, and culture. There are several tourism resources of nature, historical ancient places, and traditional culture which have been the integration of Thai, Chinese and Islam.

Pattani is administratively divided into 12 Amphoe: Muang Pattani, Yarang, Nong Chik, Khok Pho, Yaring, Panare, Mayo, Sai Buri, Kapho, Mai Kaen, Thung Yang Daeng, and Mae Lan.

Boundary

North: Songkhla
South: Narathiwat and Yala
West: Yala and Songkhla
East: Gulf of Thailand.


PATTANI : How to get ther

Car

Pattani is about 1,055 kilometres from Bangkok. Visitors can use highway no.35 (Thon buri - Pak Tho) for about 90 kilometres, then turn left to highway no.4 to Chumphon for about 460 kilometres. After that, use highway no.41 or 42 pass Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Songkhla, Pak-nam Thepa to Pattani. The total distance is around 505 kilometres.

Bus

There are service of regular and air-conditioned buses of Transport Co., Ltd. The buses leave from the Southern Bus Terminal to Pattani every day.
For more details, call 0 2435 1119 and 0 2434 5557-8 or visit www.transport.co.th

Train

From Hua Lamphong Station, there are both express and rapid trains to Pattani (Khok Pho) Station everyday. For more details, contact Service Unit at Tel:1690, 0 2223 7010 and 0 2223 7020.
From Pattani Station, buses and taxis are available between Khok Pho and Amphoe Muang which takes about 29 kilometres.

Plane

There is no direct flight to Pattani. Visitors need to travel to Hat Yai (Thai Airways International provided round-trip shuttle bus (Hat Yai-Pattani) twice daily free-of-charge for passengers who make the reservation in advance). Alternatively, visitors can use regular bus or taxi from Hat Yai to Pattani for about 104 kilometres and traveling time is approximately one hour and a half. Flight information can be requested at Tel: 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 or at Pattani Office Tel: 0 7333 5938.

Distance from Amphoe Mueang to Other Districts : 

Nong Chik
Yaring
Yarang
Khok Pho
Mayo
Panare
Sai Buri
Thung Yang Daeng
Mae Lan
Mai Kaen
Kapho
8
14
15
26
29
43
50
45
30
65
68
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

Distance from Pattani to nearby provinces :

Yala
Narathiwat
Songkhla
35
92
99
kms.
kms.
kms.



PATTANI : Festival & Event

Fishing makes friends

Game fishing competition in the Deep South attracts teams from Singapore and Malaysia.

Sports events are few and far between in April, possibly due to soaring summer temperatures. Schools are on holiday to give children a break from the heat, while Thailand’s most important festival, Songkran, the celebration of the traditional New Year, has a practical application too. It’s the one time in the year when it’s cool to throw a bucket of water over your neighbour.

But for the hardy go-any-where fishing community it appears the heat of the summer sun is not a deterrent, nor apparently is the sensitive security issues surrounding the event’s venue in the Deep South province of Pattani.

Both local and foreign anglers, many from neighbouring countries, meet in Pattani province and make friends at one of the oldest sports fishing events in the country, the 22nd Sai Buri Fishing Competition.

Pattani hosts this event, 24 to 26 April, at Wa Sukri Beach, 50 km from Pattani town. Talubun Municipality, in Sai Buri district, organises the annual event that features both on-shore fishing competitions for individuals and off-shore contests for teams with a maximum of three members per boat.

The on-shore contests require competitors to cast their reels to catch fish that dwell close to shore, or take shelter under rocky outcrops. In the off-shore team events, anglers travel some distance by boat to snarl game fish as large and marlin and tuna.

Depending on the swing of the monsoon season, the event has been held annually for 21 years, either in late April, or early May. Last year, it was held early May and welcomed 157 people for the on-shore competition and 38 teams for the off-shore boat game fishing competitions. Most of the participants at this competition are Thais, but there is also a strong representation in the team events from neighbouring countries such as Malaysia and Singapore.

The registration fee is Bt100 for individuals and Bt2,000 for a team including meals during the event. Participants have to bring their own fishing tackle, rods and reels, while teams rent fishing boats for the off-shore event at around Bt1,300 per day. Bait is provided.

The off-shore, competition starts at Wat Sukri Pier, with boats heading for fishing grounds near Losin or Laopi islands. Trophies and prizes are based on species and weight of the fish caught.

For more information, contact Talubun municipality in Sai Buri district at, Tel: 073 411 810 and 073 411 015.

PATTANI : Activities

Laem Ta Chi or Laem Pho

This is another white-sand beach extended from Talo-kapo Beach. It has been the accumulation of sand spit into the Gulf of Thailand on the north. At the end of the beach is an open area with wider view, best for sight-seeing. There are two routes to Laem Ta Chi: by boat from the mouth of Pattani River to Laem Ta Chi which will take about more than an hour, or from the pier in Yaring, go along Yamu Canal, out of sea, to Laem Ta Chi. The most preferable way is by car, from Yaring, cross Yamu Canal for about 10 kilometre to the tip of Laem Ta Chi.

Hat Talo-kapo Beach

This beach is about 18 kilometres from Pattani town. The way to get to the beach is to go along highway no.42 (Pattani - Narathiwat route, turn left at Amphoe Yaring, cross Yamu canal and pass the forest area and villages. With its long white sand, line of pines and coconut trees, this beach is one of the most popular ones in Pattani. There are many Kolae boats with their unique colorful characteristics of the southern fishermen. This beach is extended due to the current of sea move sand in. This venue is most suitable for relaxation and view watching.

Hat Wasukri

The beach is about 52 kilometres from Pattani and about 2 kilometres from Sai Buri. It is in Patatimo Village, TambonTaluban. Visitors can use the Pattani-Narathiwat route or use the route passing Hat Khae Khae to Sai Buri, or directly turn left at the junction to Sai Buri. The beach is parallel to the pine line. Bungalows are also available for service.

Palas Market

Being approximately 30 kilometres from Pattani by highway no.42, the market can be visited in the morning of every Wednesday and Sunday. Also, this venue reflects the real rural lifestyle of the southern Thai Muslims whereby shoppers are clad in their local costumes and colorful batik head bands.

Hat Ratcharak

This beach is extended from Chalalai, Maruad, and Khae Khae Beaches. It is only one kiometre from Hat Maruad and is two kilometres before approaching Hat Khae Khae. Visitors can use the same route to Chalalai and Maruad Beaches. The large beach surrounded by rocks and hills is the most striking site for view watching.

Hat Panare

Situated about three kilometres from Panare town on the same route to Talo-kapo Beach, there are many households of fishermen, Kolae and boats along the beach.

Hat Ma Ruat

Located next to Chalalai Beach for about 2 kilometres, this beach is characterized by the amazing site of the aggregated small rock mountains overlapping each other. Visitors can use the long walkway to the top of the mountain.

Hat Khae Khae

Situated 43 kilometres from Pattani. Khae Khae is a local Malay word (Yawee) which means loud noise. The beach is in Tambon Nam Bo and is 2 kilometres from Hat Ratcharak. With its large granite rocks along the coast, the beach looks quite different from the others and is naturally reputed as the most beautiful beaches in Panare.

Hat Chalalai

Situated about two kilometres far from District Hall on Pattani - Narathiwat route, the beach is highlighted by a large pond near the pine line, which is shaded for relaxation.

Somdet Phra Srinagarindra Park

Located at Tambon Rusamilae, Amphoe Mueang, about one kilometre from town, this public park is on the left side of the Pattani River, next to the Songkhla Nakharin University. The Park is decorated with many flowers, and a very beautiful landscape.

 

Pattani Central Mosque

Located on Yarang Road on Yarang - Pattani route in Pattani Mucipality, this is the most beautiful and largest mosques in Thailand. Built in 1954, the construction of this mosque took almost nine years. It is the centre for religious ceremonies to be performed by the Muslims in the South. The architecture is western, with similarity to the Taj Mahal of India. With the big dome in the centre, there are four surrounding small ones with two finerets. A big pond is in front of the mosque and inside is a large hall and two sided corridors.

City Pillar Shrine

Situated in Sak Seni ground of Banchama Rachutit School, just opposite to the City Hall, on the left bak of Pattani River, the shrine was constructed on 13 April 1951 when Phraya Rattana Phakdi was the Governor. This site is mostly worshipped by the Pattani people and visitors.

Chao Mae Lim Ko Niao Chinese Shrine or Leng Chu Kiang Shrine

The location of Chao Mae Lim Ko Niao sculpture and Chinese gods is on A No Ru road. On the day of the 3rd lunar month every year, there is the colorful procession carrying Chao Maes sculpture along several roads in town, walking on fire in front of the shrine, and swimming across the river near Dechanuchit Bridge. The city welcomes numerous worshippers every year.

Khao Ruesi

This is the mountain situated at Mu 2, Tambon Mayo, about 3 kilometres from Mayo town. The highlight of this mount is the natural rocky formation. Also, there are two ponds containing water which has been believed to be very holy and was used in the Coronation of many Kings. On this mount, is also the location of Wat Khao Ruesi Plaeng San which is worshipped by People in Pattani and nearby provinces.

Wat Chang Hai Rat Buranaram

This monastery is at Ban Pa Rai, Tambon Tung Pala, close to the railway (Hat Yai - Sungai Kolok route) between Na Pradu and Pa Rai Stations. It is located about 31 kilometres from Pattani town. By car, visitors can use highway no.42 (Pattani - Khok Pho), pass Na Ket Junction, then use highway no.409 (Pattani-Yala), pass Na Pradu Municipality and Wat Chang Hai Training Centre and turn to Wat Chang Hai for another 700 metres.

This old monastery was built for more than 300 years, with the sculpture of Luang Pu Tuad, once an abbot of the temple. Also, the architecture of stupa, chedi, temple, and bell tower are magnificently beautiful. Luang Pu Thuat, Wat Chang Hai, being respected by people all over the country, Luang Pu Thuat was an educational monk It was told that he was able to turn sea water into fresh water. Died in Malaysia, his body was brought back to Wat Chang Hai. The annual festival to pay respect to his bone and ashes is in April. At Wat Chang Hai, visitors can pay respect during 8 a.m.-5 p.m. daily.

Wat Chang Hai Royal Folk Arts and Crafts Centre The centre displays and sells many southern handicrafts such as batik, imitated Kolae boat, handicrafts, mats, and ceramics.

Namtok Sai Khao National Park

Located in Tambon Sai Khao, covering the forest in Pattani, Yala, and Songkhla, with the total area of 68,750 Rai, this evergreen forest is full of various kinds of plants, and a variety of waterfalls. The most beautiful waterfalls is Sai Khao Waterfalls which can be reached on foot from the Parks Office along the creek. At the end, is the waterfall which is 40 metres high. The surroundings are evergreen forest. Visitors can swim in some natural ponds. Visitors can use highway no.409 (Pattani - Yala)for 28 kilometres to Na Pradu Junction, then turn to Napradu - Sai Khao route for about 7 kilometres. The Park also has bungalows available. For more details, visitors can contact the Forestry Department, Bang Khen, Bangkok, at Tel: 0 2570 5734, 0 2570 7223.

Yaring Natural Study Centre

Located near Yamu Canal, opposite to Yaring District Hall, the centre is in Yaring National Forest, with the area of 500 Rai. There is a 1,250 metre wooden bridge as the walkway for natural study of the forest. Along the natural trail, there are several species of plants, rest area and a bird-watching tower with the height of 13 metres.

Besides, there are delightful boat trips for visitors of nature lovers. There are 3 canals: Bang Pu, Klang, and Kolae. Along both banks, visitors can experience the fertility of water animals, birds, local lifestyles. For more details, contact Pattani Forest Regional Office at Tel: 0 7334 9146 ext.4146.

Dato Mosque

Located at Mu 4, Ban Dato, Tambon Laem Pho, it is about ten kilometres from Yaring District Hall on the same route to Talo-kapo Beach. This old Mosque is surrounded by Islamic community and graveyard, and has been renovated and is still used for religious ceremony.

Yarang Ancient Town

The city was one of the oldest communities in the history of the southern part of Thailand. It is believed that it was the location of the ancient kingdom of Lanka Suka which had its boundary covering the area of Songkhla, Pattani, Yala and Narathiwat of Thailand, Kalantan and Tarang Kanu of Malaysia according to the documents of China, Java, Malayia, and Arab. It was a port with long wide trading history with the foreigners since B.E.12. The structure of the ancient town was the large oval shape in the area of 9 square kilometres. There are three connecting towns as the followings:

Ban Wat Ancient With a square in the centre of town, and is surrounded by moats, the town has more than 25 scattered and ruined ancient hills in the western and northern area.

Ban Cha-le Ancient Town With a pond in the centre of town and is surrounded by square-shape moats, this town is only one kilometre north of Ban Wat Ancient Town. The most important ancient monument is the ruined religious venue made of bricks, with large square base. Due to the discovery of several ancient materials in the area, there is proof that this venue must have been the Buddhist community.

Ban Prawae Ancient Town It is a small rectangular town with 4 forts in the corners. Also, there were canals connecting with Ban Ja-le in the north.

Moreover, there are at least 30 areas of ruined ancient hills. Visitors can use Sirorot Road (highway no.410) from Pattani to Yala for another 15 kilometres, turn left to highway 4061 (Yarang- Mayo) for 1.2 kilometres to Ancient town area. Then turn left to the north for 400 metres to Ban Ja-le Ancient Town.

Visitors in group can contact the Head of the Ancient Yarang Town Exploring Project on the official days and working hours at Tel: 0 7343 9093.

Wat Mutcharinthawapiwihan

Located about 10 kilometres on the route Pattani - Khok Pho in Nong Chik, this ancient Wat was built in 1845 on the same occasion of moving the Nong Chik District Office to Tambon Tuyong. It was formally called Wat Tuyong, and was changed to Wat Mutjarintawapiwihan on the state visit of King Rama V to Nong Chik. At present, its temple is still beautiful. With the sculptures of the past 3 abbots, especially Phra Ratchaphuttharangsi, the 5th abbot.

Ban Paseyawo

This is a well-known venue for Kolae Boat making. This kind of boat is for the fishermen in Pattani and Narathiwat. The highlighting characteristics of the Kolae is the narrowing head and tail, with unique color. Besides the real Kolae for fishery, there are also imitations made for souvenirs. The making of Kolae by the local people here has been accepted by its neatness which integrates arts between Thai and Muslims. Otherwise, Ban Paseyawo is also reputed as best in producing tasteful Budu southern sauce.

Krue Se Mosque

This mosque is on highway no.42 (Pattani - Narathiwat route) at Ban Krue Se, and is about 7 kilometres from the Pattani town. At present, this ancient venue is near Chao Mae Lim Ko Niao Chinese Shrine. Both places had their legend of the relationship depending on the beliefs. This mosque has round pillars which is the middle-east arts style. The most important part is the domes roof which has never been finished. It has been assured that this mosque was built during the reign of King Naresuan the Great (1578 - 1593).


Kallayaniwatthana Institute of Arts and Culture

Located in Songkhla Nakharin University, Pattani Campus, the institute is divided into two sections:

1. Phra Thepyanmoli Museum displays the history, activities, and utensils of Phra Thepyanmoli. Besides, there are Buddha images, ancient materials, and Chinese, European and Thai pottery, souvenir coins, and bank notes, etc.

2. Khatichon Witthaya Museum displays the stories, case studies of the Muslim household in the Southern border provinces, local utensils, local arts and displays, ancient utensil materials in pre-historic and the beginning of community periods, history of the ancient town of Yarang, pottery, local beliefs and technology.

This centre is open on Mondays - Fridays during 9 a.m. - 11:30 a.m. and 1 p.m.-4 p.m. except public holidays, free of charge. For groups or in case of guide needed, can contact in advance at the Education Service Unit, Kallayani Wattana Institute of Arts and Culture, Songkhla Nakharin University, Pattani Campus, Amphoe Mueang, Pattani Province 94000, Tel: 0 7331 3930 -50 ext. 1472, 1473, 1476 and 0 7333 1250, Fax: 0 7333 1250.


Chao Mae Lim Ko Niao Graveyard

Situated at Ban Krue Se, Tambon Tanyong Lulo, Amphoe Mueang on highway no.42 (Pattani - Narathiwat route), near Krue Se Mosque. As per the story from the legend, Lim Ko Niao, a Chinese girl came to Siam by ship to look for Lim To Khiam, her elder brother who had got married with Pattani Governors daughter and had changed his religion to Islam. However, she was not successful. Therefore, she hung herself on the cashew nut tree. Her brother buried her at this place. The Pattani people built the shrine to commemorate her and carved the tree where she hung herself in the shape of her figure.

 

Namtok Phong Phong

Being one of the tourist attractions in Namtok Sai Khao National Park, this waterfall is at Mu 8, Tambon Pak Lo. Accessibility to this site is by using highway no.42 (Pattani - Yala) and turn to highway no.409 to Ban Pak Lo, then turn right for another 5 kilometres. With seven levels, this waterfall has a big pond at the lowest level. The area near the waterfalls is shaded with many plants, suitable for relaxation.

Namtok Aran Warin

Situated at Mu 4, Tambon Tung Pala, this waterfall is accessible by using highway no.409 (Pattani - Yala), turn right at the junction to Wat Huai Ngo for 6 kilometres. The total distance from Pattani is about 30 kilometres. Namtok Aran Warin is in San Kala Khiri mountain range. There are 7 levels, where each level is about 300 - 500 metres apart.

King Rama VII Pavilion

This Thai style pavilion was built for King Rama VII during his visit to watch the eclipse in 1929. It is about 26 kilometres from Pattani town on highway no. 42 in Khok Pho District Office.


ปัตตานี : ข้อมูลทั่วไป

บูดูสะอาด หาดทรายสวย
รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

ปัตตานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,940.356 ตารางกิโลเมตร
มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานี และ แม่น้ำสายบุรี ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากเคยมีฐานะเป็น เมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ
ซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธ

ในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รัฐกลันตัน กับรัฐตรังกานูในมาเลเซีย ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรังใน ปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ 170 กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม

ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี ยะรัง หนองจิก โคกโพธิ์ ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ สายบุรี กะพ้อ ไม้แก่น ทุ่งยางแดง และแม่ลาน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดปัตตานี โทร. 0 7334 9002, 0 7333 1154
http://www.pattani.go.th

ปัตตานี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. ปัตตานี
การเดินทางจากปัตตานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
1. ยะลา 35 กิโลเมตร
2. นราธิวาส 92 กิโลเมตร
3. สงขลา 99 กิโลเมตร

รถยนต์
ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,055 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จนถึงจังหวัดชุมพร รวมระยะทางประมาณ 460 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 41 หรือ 42 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ผ่านปากน้ำเทพา เข้าสู่จังหวัดปัตตานี รวมระยะทางประมาณ 505 กิโลเมตร

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี (โคกโพธิ์) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปจังหวัดปัตตานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444 หรือ www.transport.co.th

จากสถานีปัตตานี จะมีรถโดยสารประจำทางและรถแท๊กซี่บริการ ระหว่างอำเภอ โคกโพธิ์-อำเภอเมือง ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร

เครื่องบิน
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถรับส่งระหว่างสนามบินหาดใหญ่-ปัตตานี หรือสามารถต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถแท๊กซี่จากตัวเมืองหาดใหญ่ไปปัตตานี ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชั่วโมง
ปัตตานี : วัฒนธรรมประเพณี

การแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี
วันที่ 24 - 26 เมษายน 2552
ณ หาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

กิจกรรม
การแข่งขันตกปลา กิจกรรมต่างๆ การแสดงทางวัฒนธรรม

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี โทร. 0 7341 1810

 

ประเพณีลาซัง (ปูยอบือแน)

ประวัติ / ความเป็นมา
ชาวไทยในภาคใต้ของระเทศ มีประเพณีอันเนื่องมาจากอาชีพอยู่อย่างหนึ่ง คือ งานประเพณีเซ่นสรวงบูชาเทพแห่งข้าว หรือการบูชาแม่โพสพ ซึ่งประเพณีดังกล่าวชาวไทยพุทธมักจะเรียกว่า “ลาซัง” หรือ ล้มซัง หรือ กินท้องข้าว หรือ กินพ้องข้าว เป็นต้น ส่วนชาวนาไทยมุสลิมมักจะเรียกประเพณีนี้ว่า ปูยอมือแน หรือ ปูยอบือแน ซึ่งเพี้ยนไปตามสำเนียงของภาษาที่พูดในแต่ละท้องถิ่น
กำหนดงาน

กำหนดการจัดงานประเพณีดังกล่าว แตกต่งกันออกไปตามแต่ความพร้อมในแต่ละพื้นที่โดยส่วนใหญ่กำหนดสวันหลังจาก ที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมาตกลงร่วมกัน กำหนดวันงานขึ้น เช่น ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี กำหนดวันงานในวันจันทร์ใดจันทร์หนึ่งของเดือนโดยเลือกทำในวันดี จะเป็นวันข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ เช่น วัน 1 ค่ำ 3 ค่ำ หรือ 5 ค่ำ เป็นต้น แล้วแต่ความพร้อม ส่วนใหญ่จะเป็นราวเดือน 5-6
สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
การประกอบพิธีลาซังหรือปูยอมือแน แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นและศาสนา แต่สามารถกล่าวถึงลักษณะโดยส่วนรวม ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ ประเพณีแบบที่ทำกันในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยเมื่อชาวบ้านกำหนดงันงานกันขึ้นเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเกี่ยวฟางข้าวในนาของตน ซึ่งเก็บเกี่ยวหลังสุดมาประมาณคนละ 3 กำ เมื่อถึงเช้าของวันงาน ชาวบ้านจะนำเอาฟางข้าว และอาหารคาวหวานมา 2 ชุด โดยชุดแรกนำไปร่วมประกอบพิธีส่วนอีกชุดนำเอาไป

ถวายพระในงาน
งานเริ่มขึ้นในตอนเช้า โดยมีหมดทางไสยศาสตร์ทำการรวบรวมฟางข้าวที่ชาวบ้านนำมาด้วยมารวมกันทำเป็น หุ่นชาย – หญิง คู่หนึ่ง เรียกว่า “ชุมพุก” โดยชุมพุกผูหญิงได้รับการแต่ตัวอย่างสวยงามด้วยดอกไม้ เสื้อผ้า เพื่อนำมาเข้าพิธีแต่งงาน หลังจากนั้นชาวบ้านจะทำศาลเพียงตาขนาดเล็กขึ้นที่ปลายนา อันเป็นสถานที่ประกอบพิธี และนำเอาอาหารคาวหวานมาวางไว้ เพื่อใช้บูชาเพทแห่งข้าว เจ้าที่นา และแม่โพสพ ส่วนใกล้ๆ กับศาลปูเสื่อแล้ววางหมอนหนุนเชี่ยนหมากไว้ จากนั้นหมอทางไสยศาสตร์จะร่มพิธีโดยการกล่าวบูชาพระรัตนตรัย จัดพิธีสงฆ์จนจบจากนั้นกล่าวอัญเชิญเทพเจ้าแห่งข้า เจ้าที่นาและแม่โพสพมาร่วมรับเครื่องบูชาเซ่นสรวง และขอพระให้การทำนาในปีหน้าเจริญสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น เป็นอันเสร็จพิธีบวงสรวงบูชา และการแต่งงานให้ชุมพุก จากนั้นชาวบ้านจะอาบน้ำ ทาแป้ง พรมน้ำอบให้ชุมพุกแล้วแห่แหนชุมพุกไปยังปลายนา เมื่อถึงแล้วก็ช่วยกันตัดเชือกที่มัดหุ่นชุมพุกแล้วโยนซังข้าวที่เป็นตัวชุม พุกขึ้นฟ้าเป็นอันเสร็จพิธี

ตัวชุมพุกในงานพิธีดังกล่าวนี้ เปรียบเสมือนตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยให้การปลูกข้าวได้ผลดี เจริญสมบูรณ์อยู่เสมอมา
ประเพณีลาซังอีกแบบหนึ่งของชาวไทยพุทธ ก็คือ ประเพณีที่จัดอยู่บริเวณอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งจะมีการเตรียมงานที่เอิกเกริกอย่างมาก คือ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ในการเตรียม อาหารและการจัดพิธี ระหว่างนี้ชาวบ้านจะช่วยกันทั้งหนุ่ม-สาว และเด็ก ตลอดจนผู้อาวุโสทุกท่าน อาหารส่วนใหญ่ที่จัดเตรียมกัน คือ ขนมจีน

เมื่อถึงวันงานในตอนเช้า ชาวบ้านมารวมกันบริเวณลานกว้างปลายนา ที่ได้ช่วยกันปลูกศาลาชั่วคราวไว้แล้ว โดยพระสงฆ์เริ่มพิธีทางพุทธศาสนา เพื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้วก็เป็นการทำพิธีเซ่นสรวงบูชาเทพแห่งข้าว เจ้าที่นา และแม่โพสพ โดยกล่าวคำขอบคุณ และขอพระเพื่อให้การทำนาในปีต่อๆ ไปได้ผลดีและอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในงานนี้จะมีการเลี้ยงพระทั้งเช้าและเพล เมื่อเสร็จพิธีลาซังแล้ว ในช่วงบ่ายมีการละเล่นต่างๆ เช่น ชนไก ชนวัว เป็นต้น และในบางท้องถิ่นอาจจัดให้มีการละเล่นนานถึง 2 วันจึงจะเสร็จงานในปีนั้นๆ
ส่วนในหมู่ชาวไทยมุสลิม เรียกประเพณีนี้ว่า “ปูยอมือแน” หรือ “ปูยอบือแน” จะจัดพิธีโดยในวันกำหนดงานตอนเช้าร่วมกันนำอาหารคาวหวานไปชุมนุมกันยังที่ นัดกันไว้ ส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลายนา เชิญโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม โต๊ะปาแก ไปอ่านดูอา ขอพรจากพระเจ้า เพื่อบันดาลให้การทำนาในปีต่อๆ ไปได้ผลดีมีความอุดมสมบูรณ์ เสร็จแล้วก็มีการจัดเลี้ยงอาหาร และมอบเงินให้โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม โต๊ะปาแก เป็นอันว่าเสร็จพิธี ส่วนในตอนบ่ายก็มีการละเล่นต่างๆ ตามแบบของชาวไทยมุสลิม

การจัดงานประเพณีดังกล่าวนี้ นอกจากจะแสดงออกถึงความกตัญญูต่ออาชีพของชาวนาแล้ว ยังก่อให้เกิดความสามัคคี ความสนุกรื่นเริงในการละเล่นต่างๆ เป็นการผ่อนคลายหลังจากทำการเกษตรมาตลอดฤดูกาล อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกในความเชื่อทางศาสนาและประเพณีอันสืบทอดกันมานาน

งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

ประวัติ / ความเป็นมา
งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันได้ว่าเป็นพิธีเฉลิมฉลองสำคัญพิธีหนึ่งของชาวปัตตานีและภาคใต้ เป็นโอกาสที่ผู้เคารพศรัทธาในอภินิหารของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จากทุกสารทิศ นิยมเดินทางมาร่วมงานฉลองสมโภชนี้ มีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวจีน จากสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ด้วยเชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้ผู้เคารพบูชาสมประสงค์ในสิ่งที่หวัง หรือตามคำบนบางได้ นอกจากผู้ศรัทธาในเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมชมขบวนแห่ และการแสดงต่างๆ ในงานนี้ด้วย

ศาลเจ้าแม่ปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” แปลว่า ศาลเทพเจ้าแห่งความเมตตา แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่บนถนนอารูเนาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ย้ายมาจากศาลเจ้าแม่เดิมที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง และไม่สะดวกต่อการประกอบพิธีกรรม จึงได้บูรณะศาลเจ้าซูก๋ง และอัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานไว้ยังศาลใหม่แห่งนี้

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นเจ้าแม่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวจีนในไทยเคารพนับถือกันมาก ด้วยเชื่อถือตามตำนานอภินิหาร ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับมัสยิดกรือเซะ
ตามตำนานเล่าว่า ในสมัยพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหม็ง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2065-2109) ชายชื่อลิ้มเต้าเคียน หลบหนีการจับกุมฐานกบฏต่อกษัตริย์จีน มาอยู่ที่เมืองปัตตานี ปรากฏมีท่าเรือ เรียกว่า ท่าเรือลิ้มเต้าเคียน

ขณะนั้น เมืองปัตตานีมีผู้ครองเมืองเป็นนางพญา ชื่อ รายาบีรู (พ.ศ. 2159-2167) และได้ธิดารายาเป็นภรรยาทั้งได้เปลี่ยนมาเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม ไม่กลับเมืองจีน น้องสาวชื่อลิ้มกอเหนี่ยวจึงเดินทางจากจีนมาตามให้พี่ชายกลับบ้าน เพื่อดูมารดาชราตามธรรมเนียมชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียนไม่ยอมกลับ เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็นผู้ควบคุมงานสร้างมัสยิดกรือ เซะ จึงขออยู่เมืองปัตตานีจนกว่างานจะแล้วเสร็จ
ลิ้มกอเหนี่ยวอ้อนวอนไม่สำเร็จจึงน้อยใจ ผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ และได้อธิษฐานสาปแช่งพี่ชาย ให้ดำเนินงานสร้างมัสยิดไม่สำเร็จ แม้จะเป็นช่างที่มีความสามารถเพียงใดก็ตาม ปรากฏว่าเมื่อสร้างถึงส่วนหลังคาและโดม ได้เกิดอสุนีบาตฟาดโดมและหลังคาพังลงมา เป็นเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง ลิ้มเต้าเคียนหวาดกลัว จึงยอมทิ้งงานก่อสร้างไว้เพียงเท่านั้น

หลังจากนั้น เล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยวได้แสดงอภินิหารเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและประชาชนบริเวณ นั้นเสมอ จนทำให้มีประชาชนผู้เลื่อมใสสละทุนทรัพย์สร้างศาลขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ และสร้างรูปจำลองลิ้มกอเหนี่ยวไว้เพื่อสักการะบูชา และได้มีการประกอบพิธีอัญเชิญวิญญาณลิ้มกอเหนี่ยว มาสิงสถิตในรูปจำลองนั้น (รูปจำลองแกะสลักจากกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางผูกคอตาย)

ความศรัทธาในเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ขยายออกไปเรื่อยๆ ตามกิตติศัพท์เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้มีผู้มาสักการะมากขึ้นเรื่อยๆ จวบจนทุกวันนี้ ทุกปีจึงมีการจัดงานสมโภชขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์มีขบวนแห่เจ้าแม่ไปรอบ เมือง มีการแสดงอภินิหารต่างๆ บริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง

กำหนดงาน
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามจันทรคติจีน (หลังตรุษจีน 14 วัน) ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ทางจันทรคติไทย คือ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
งานเริ่มแต่เช้าตรู่ คือ
- ตั้งขบวนแห่ตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดยอัญเชิญรูปจำลองเจ้าแม่ องค์พระประธานพระหมอ ตลอดจนพระต่างๆ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลแห่งนี้ขึ้นเสลี่ยง จัดขบวนแห่ มีการเชิดสิงโต ขบวนธง ดนตรี ร่วมขบวนแห่ไปตามถนนสายต่างๆ รอบตัวเมืองปัตตานี
- เคลื่อนขบวนแห่ เมื่อเคลื่อนผ่านสะพานเดชานุชิต คนหามเสลี่ยงเจ้าแม่ พระบูชา และเทพอื่นๆ จะทยอยหามเสลี่ยงเดินลุยน้ำ เรียก พิธีลุยน้ำตรงริมแม่น้ำปัตตานี เพื่อเป็นการระลึกถึงการรอนแรมข้ามทะเลด้วยความยากลำบาก เพื่อตามหาพี่ชายจนกระทั่งต้องจบชีวิตลงด้วยความกตัญญู
ผู้หามเสลี่ยง จะว่ายน้ำพร้อมพยุงคานหามข้ามแม่น้ำจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก จากนั้นแห่แหนไปรอบเมืองตามกำหนด แล้วกลับมายังลานกว้างหน้าศาลเจ้า เพื่อทำพิธีลุยไฟ คือ การหามเสลี่ยงเจ้าแม่ พระบูชา และเทพอื่นๆ เดินข้ามกองไฟ ซึ่งกำลังลุกโชน ผู้ที่มาลุยไฟนั้นต้องเข้ารับการทดสอบจากผู้อาวุโสที่ศาลเจ้า และนักลุยไฟรุ่นพี่ก่อนว่า พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ หากได้รับอนุญาตให้ลุยไฟได้ ต้องมาอยู่ประจำศาลเจ้าระยะหนึ่งก่อนงานพิธี เพื่อถือศีล กินเจ ปฏิบัติธรรม รักษากายใจให้บริสุทธิ์ ชาวจีนเชื่อกันว่า ผู้เข้าหามเสลี่ยงลุยไฟนี้จะได้บุญกุศลมาก ผู้ลุยไฟในพิธีนี้จะลุยผ่านไฟอย่างปลอดภัย
- ตอนกลางคืน มีการจัดงานมหรสพสมโภช บริเวณลานกว้างหน้าศาลเจ้า มีทั้งงิ้ว มโนราห์ รำลง ภาพยนตร์ การแสดงของนักเรียน การออกร้านขายของ
- จัดงาน 2 วัน ในระหว่างงานมีผู้มาสักการะบูชาที่ศาลเจ้าอย่างคับคั่งด้วย

ประเพณีแห่นกของจังหวัดปัตตานี

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีแห่นก เป็นประเพณีพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นงานใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส อาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริง จัดในงานเฉลิมฉลองตามเทศกาล หรือเพื่อต้อนรับอาคันตุกะสำคัญ ไม่ใช่ประเพณีเนื่องในศาสนา หรือประเพณีตามนักขัตฤกษ์แต่อย่างใดa

สันนิษฐานว่า ประเพณีแห่นกของชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ คงรับมาจากประเทศอินโดเซีย ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะแพร่หลายเข้ามายังภูมิภาคนี้ เมื่อราว พ.ศ. 2060 โดยอาศัยหลักฐานจากพิธีกรรมบางอย่าง เช่น การตั้งพิธีสวดมนต์ตามวิธีการทางไสยศาสตร์ และคาถาแห่นก ซึ่งอ่านเป็นโองการก่อนปล่อยนกออกแห่ แต่ อนันต์ วัฒนานิกร นักวิชาการท้องถิ่น ได้เสนอความเห็นว่า ประเพณีแห่นกน่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ภูมิภาคนี้ได้รับศาสนาอิสลามเข้ามา เป็นศาสนาประจำท้องถิ่นแล้ว โดยเสนอว่า ประเพณีแห่นกน่าจะมีที่มาจากเรื่องราวของนกอัลโบรัก ซึ่งเป็นทูตแห่งสวรรค์ ตามความเชื่อของศาสนาอิสลามและจากพิธีเจ้าเซ็น ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ก็ปรากฏรูปนกอัลโบรักขนาดใหญ่ เข้าร่วมในขบวนนี้ด้วย จึงน่าจะเป็นที่มาของประเพณีแห่นกนี้ แต่สาเหตุที่ชื่อนกอัลโบรัก หรือบอเราะฮ์ ไม่ปรากฏในรายชื่อนกประดิษฐ์ขึ้นแห่แหนในพิธี อาจะเป็นเพราะอิทธิพลของวรรณคดีอินเดีย โดยเฉพาะเรื่องราวของมหากาพย์รามายณะ ซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนแถบนี้ก่อนแล้ว จึงนิยมใช้ชื่อนกตามวรรณคดีเรื่องนั้นแทน

ปัจจุบัน ประเพณีแห่นกยังคงนิยมแพร่หลาย ทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีตำนานเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีแห่นกว่า เริ่มขึ้นที่ ยาวอ (ชวา) รายอองค์หนึ่งมีโอรสธิดาหลายพระองค์ พระธิดาองค์สุดท้ายเป็นที่รักใคร่ของพระบิดาอย่างยิ่ง พระบิดาและข้าราชบริพารรักใคร่เอาใจ สรรหาสรรพสิ่งมาบำเรอเอาใจ รวมทั้งมีการจัดทำนกประดิษฐ์ ตกแต่งสวยงาม แล้วมีขบวนแห่จัดแก่วนรอบพระที่นั่ง พระธิดาพอพระทัยมาก จึงโปรดให้มีการแห่นกทุก 7 วัน แต่บางตำนานก็เล่าว่ารายอมีโอรสธิดาสี่พระองค์ องค์สุดท้องเป็นชาย มีพระสิริโฉมงดงาม ทั้งยังทรงปฏิภาณไหวพริบ ฉลาดเฉียบแหลมกว่าพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีทั้งหมด พระบิดาและพระมารดาจึงรักใคร่มาก ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระโอรสประสงค์รายอ จะทรงเสาะแสวงหามาให้เสมอ วันหนึ่งรายอเสด็จประพาสทรงเบ็ด พบชาวประมงกลุ่มหนึ่ง และได้สดับฟังเรื่องนกประหลาดจากทะเล ซึ่งหัวหน้าชาวประมงเล่าถวาย นกนั้นผุดจากท้องทะเลมีขนาดใหญ่ ดวงตาโตแดงก่ำ มีงวง มีงา และเขี้ยว ประหลาดน่ากลัว แต่เมื่อนกนั้นบินขึ้นสู่อากาศกลับมีรูปร่างสีสันทั้งปีกและหางสวยงามกวานก ทั้งปวง ชาวประมงเหล่านั้นเชื่อว่า คงเป็นนกแห่งสวรรค์เป็นแน่

เมื่อรายอเสด็จกลับคือสู่อิสตานา ได้ทรงเล่าเรื่องราวนี้แก่ปะไหมสุหรี และโอรสธิดาฟัง พระโอรสสุดท้องพอใจเรื่องนกมหัศจรรย์มาก จนรบเร้าให้รายอสร้างรูปยกจำลองขึ้น พระองค์จึงสั่งให้อำมาตย์และนายช่างทั้งหลายดำเนินการ จากคำบอกเล่าของชาวประมงผู้พบเห็น ช่างแกะสลักจึงได้แกะสลักไม้เป็นรูปหัวนก ซึ่งร่างโดยช่างเขียน เกิดเป็นนกประดิษฐ์แตกต่างกันไป ตามภาพวาดของนายช่าง หัวนกไม้ทั้งสี่มีนามว่า กาเฆาะซูรอ กรุดา บือเฆาะมาส และบุหรงซีงอ ในงานเฉลิมฉลองนก พระโอรสธิดา ทั้งสี่พระองค์ได้ประทับบนหลังนกเข้าขบวนแห่ไปรอบอิสตานา เป็นกระบวนแห่มโหฬาร เชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีแห่นก ซึ่งยังคงกระทำอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีแห่นกของจังหวัดปัตตานี ชาวปัตตานีถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ ซึ่งจัดขึ้นในงานเทศกาลเฉลิมฉลอง หรือจัดเพื่อต้อนรับอาคันตุกะสำคัญของบ้านเมือง หรืองานมงคลทั่วไป เช่นเดียวกับที่ยึดปฏิบัติในท้องถิ่นอื่นตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

มีหลักฐานกล่าวถึงการจัดประเพณีแห่นกครั้งสำคัญๆ ของเมืองปัตตานีแต่อดีต เช่น พระยาวิชิตภักดี (ตนกูอับดุลกอเดร์) อดีตเจ้าเมืองปัตตานี เมื่อจัดพิธีสุหนัตให้แก่ตนกูจิซึ่งเป็นน้องชาย ก็ได้จัดให้ผู้เข้าสุหนัตขี่นกเข้าขบวนแห่ ซึ่งจัดอย่างเอิกเกริกใหญ่โตด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2406 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคใต้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชาวเมืองปัตตานี ก็ได้จัดขบวนแห่นกถวาย เพื่อแสดงความจงรักภักดีด้วย แต่เรือกลไฟพระที่นั่งติดสันดอน แล่นเข้าไปยังตัวเมืองไม่ได้ เจ้าเมืองปัตตานี (พระยาวิชิตภักดี) และเจ้าเมืองยะหริ่ง (พระยาพิพิศเสนามาตย์) จึงจัดขบวนเรือรับเสด็จ โดยใช้หัวนกกาฆะซูรอ ติดโขนเรือพระที่นั่งอัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินสู่เมืองปัตตานี แทนขบวนแห่นก

พ.ศ. 2458 ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปัตตานี ผู้ว่าราชการเมืองต่างๆ จัดขบวนแห่นกถวายทอดพระเนตรถึง 65 ขบวน

พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนภาคใต้ ชาวเมืองปัตตานีได้จัดขบวนแห่นกรับเสด็จ

พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม มีการแห่นกในพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภช พระเศวตคชาธารฯ ช้างเผือกคู่พระบารมีในรัชกาลปัจจุบัน ณ จังหวัดยะลา

พ.ศ. 2524 การแห่นกในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเขต ครั้งที่ 14 จังหวัดปัตตานี

กำหนดงาน
จัดในโอกาสสำคัญเป็นครั้งคราว เช่น งานเฉลิมฉลองตามเทศกาล รับอาคันตุกะสำคัญเทศกาลฮารีรายอ

กิจกรรม / พิธี
ประเพณีแห่นก จะมีการจัดขบวนแห่ ประกอบด้วยอุปกรณ์และกำลังคนมากมาย ก่อนจะเริ่มขบวนแห่นั้น ต้องมีการประกอบพิธีกรรมเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คนทั่วไป และผู้ร่วมพิธีด้วย

พิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆ เริ่มกระทำกันตั้งแต่ก่อนจัดแห่นก โดยมีลำดับต่อไปนี้
1. การประดิษฐ์นก นิยมเลือกไม้เนื้อแข็งเหนี่ยว จำพวกไม้ตะเคียน ไม้กายี เป็นต้น เพราะไม่แข็งจนเปราะสะดวกต่อการแกะสลักของช่าง ทนทาน ใช้งานได้นาน

ระยะเวลาต่อการแกะสลักหัวนก 1 หัว จะใช้เวลาราว 1-2 เดือน เพราะต้องใช้ฝีมือความชำนาญเรื่องงานแกะสลัก ทั้งยังใช้เวลานานต่องานชิ้นหนึ่งๆ ทำให้ระยะหลังจึงมักนิยมสานหัวนกด้วยไม้ไผ่ หุ้มกระดาษสีเป็นส่วนมาก
ตัวนก ใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นโครงติดคานหาม นำกระดาษติดรองพื้นใช้กระดาษสีตัดเป็นขนประดับส่วนต่างๆ นิยมใช้สีเขียว สีทอง (เกรียบ) ประดับตกแต่งให้สีตัดกัน แลดูเด่นขึ้น

นกที่นิยมประดิษฐ์เข้าขบวนแห่มีเพียง 4 ตัว (ดังตำนานเรื่องเล่าข้างต้น) คือ
ก.) นกกาเฆาะซูรอ หือ นกกากะสุระ ตามการสันนิษฐานเป็นนกการเวก ตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ คือ “กากนาสูร” ชาวพื้นเมืองเรียก “นกทูนพลู”
นิยมแต่งให้มีหงอนสูงแตกเป็น 4 แฉก ตานกประดับด้วยลูกแก้วสี กลอกไปมาได้ มีงาคล้ายงาช้างเล็กๆ ยื่นจากปาก ทำให้แปลกจากนกธรรมดา เพื่อให้สมกับเรื่องเล่าว่าเป็น “นกสวรรค์”

ข.) นกกรุดา หรือ นกครุฑ ภาษาถิ่นปัตตานี เรียกครุฑว่า “การุดอ” ลักษณะของนกประดิษฐ์จะเป็นเช่นที่พิมพ์บนธนบัตรไทย ปัจจุบันไม่นิยมจัดทำนกชนิดนี้เข้าขบวนแห่ เพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์เกิดแก่ผู้ทำ ทำให้เจ็บป่วย ถือว่าผีแรง ถ้าขาดผู้รู้จริงจะไม่สามารถปัดรังควานได้สำเร็จ เมื่อตกแต่งเสร็จจะดูน่ากลัว

ค.) นกบือเฆาะมาศ หรือ นกยูงทองคล้ายกับนกกาเฆาะซูรอ ชาวไทยมุสลิมจะยกย่องนกยูงทองมาก และไม่บริโภคเนื้อ เพราะเป็นนกรักขนมาก เมื่อติดบ่วงจะยอมตายไม่ยอมเสียขน การประดิษฐ์นก#