www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

MAHASARAKHAM

MAHASARAKHAM : General Information

            Situated in the heart of Northeastern Thailand, the small province of Maha Sarakham is considered to be a regional education centre, earning the name "Taksila of Isan" (Taksila was a city where education of all branches centered around in ancient India).


    The province also houses a sacred Buddha image and has many historical sites, with the province being the former site of the ancient Dvaravati city of Nakhon Champa Si. Maha Sarakham's beautiful hand woven silk and cotton fabrics are sought after for their original patterns.

Maha Sarakham is 470 kilometres from Bangkok and has an area of approximately 5,291 square kilometres. The province is divided into the following districts: Muang, Kantharawichai, Kosum Phisai, Wapi Pathum, Borabue, Phayakkhaphum Phisai, Na Chueak, Chiang Yuen, Na Dun, Kae Dam,Yang Si Surat, Kut Rang and Chuen Chom.

 

MAHASARAKHAM : How to get there
By Car

From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 2 to Nakhon Ratchasima and use Highway No.226 to Buri Ram, then take Highway No. 219 via Satuek, Phayakkhaphumphisai and Borabue to Maha Sarakham, a total distance of 475 kilometres.


By Bus

Air-conditioned and non air-conditioned buses depart from Bangkok's Mochit 2 Bus Terminal to Maha Sarakham every day. Contact Transport Co.Ltd at Tel: 0 2936 2852-66 for more information. The private-owned bus service providers include Mongkol Tour 0 4371 1072 Cherdchai Tour 0 4374 0359.


By Rail

There is no direct train from Bangkok to Maha Sarakham. Visitors can take a train to Khon Kaen and connect a bus to Maha Sarakham. for more information, call 1690, 0 2223 7010-20.


By Air

Visitors can fly from Bangkok to Khon Kaen and then connect a bus to Maha Sarakham. For more information, call Thai Airways, Tel: 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000.

MAHASARAKHAM : Activities
Walai Rukavej Research Institute

Located east of Phra That Na Dun, the institute makes research on conserving, improving, and distributing flora of the region. It has bamboo terrain, herbal garden, Isan Cart Museum, and Isan traditional house museum that features different kinds of house in Isan such as Phu Thai house, Isan fishery house, Isan musician house, animal traps house, doctor house, and weaver’s house. Tourist can stay overnight in these unique and interesting houses. For more information, call 0-4379-7048, 0-4372-3539.

Ku Santarat

Ku Santarat is on the way to Na Dun. To get there, take Highway No. 2040 past Kae Dam and Wapi Pathum, then turn right onto Road No. 2045 and drive for 1 kilometre. The site is a stone sanctuary built in the reign of King Jayavoraman VII. This Bayon-style building was completed during 1157-1207. This square laterite structure is similar to Ku Maha That. The front doorway has a remarkably beautiful lintel.

Kosamphi Forest Park

Acquiring total area of 125 rais (50 acres) in Tambon Hua Khwang, by Chi River, the park was established on October 1, 1976. The shady park is home to different big trees such as Yang, Tabaek (Lagerstroemia floribunda Jack) and Kathum (Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich.ex Walp.) whose canopies connect to each other. With natural pond and scenery, this park is home to different kinds of bird, big herd of crab-eating macaque, as well as rare golden crab-eating macaque.Attractions in the park include.

Kaeng Tat. Rapids in Chi River is situated at north and east of the park. Base rock acquires wide area in the river. When the river descends between November and May, shallow water allows rapids to appear. It has beautiful setting around the area.

Lan Khoi. The terrain is occupied by toothbrush trees. Today, over 200 of them are bended into different shapes.

Crab-eating macaque. The animals make this park their home. There are two kinds of crab-eating macaques in the park, the grey and golden macaque.

How to get there, From Maha Sarakham City, take highway 208 for 28 kilometres. At Kosum Phisai Intersection, get into asphalt road and keep going for 450 metres.
tourists.

Ban Phaeng

Ban Phaeng village is famous for making reed mats. It is 38 kilometres from town (Highway No. 208). The mats are local products that are used widely in Thailand. The village does extensive reed farming and has set up a reed-mat-making co-operative to demonstrate the process of making mats and sell them at very affordable prices.

Ban Nong Khuean Chang

Ban Nong Khuean Chang is at Mu 7, Tambon Ban Song Khon. This village is renowned for making quality silk and cotton materials. It is 12 kilometres from town on the Maha Sarakham-Kosum Phisai Road. Turn left at the 12-km marker onto Highway No. 1027 and drive for 2 kilometres.

Phra Yuen Mongkhon and Phra Ming Muang

Phra Yuen Mongkhon and Phra Ming Muang Buddha images are the most important Buddha images of the province. They are at Tambon Khan Than Rat on Highway No. 213, about 14 kilometres from town. The images are in the Dvaravati style and are made of red sandstone. It is believed that they can make rainfall in the rainy season. Legend says a man built the Ming Muang image, while a woman built the Yun Mongkhon image.

Phra That Na Dun

Phra That Na Dun, or the Buddha Monthon of Isan, is the area where historical and archaeological findings that proved the magnificence of the ancient city of Champa Si were made. Artefacts found here are now on display at the Khon Kaen National Museum. The most important piece is the stupa (pagoda) encasing the holy relics of Lord Buddha in gold, silver and bronze caskets. The site was from the Dvaravati period of the 8th-10th century. This model for Phra That Na Dun comes alive every Makha Bucha Day.
How to get there, From Maha Sarakham City, use highway 2040 via Amphoe Kae Dam and Wapi Pathum, turn right into highway 2045 to Amphoe Na Dun. Prathat is 65 kms from Maha Sarakham City.

Ban Isan Museum

Ban Isan Museum is another interesting place that shows the way of life of the Isan people. It is located a short way from Phra That Na Dun. The museum is a research project of Maha Sarakham University. It comprises model houses of the various tribes in the region and there are exhibitions displaying household items.

Dun Lamphan No-hunting Area

Situated in Amphoe Na Chueak, 60 kilometres from Maha Sarakham City, the area features two forest types namely deciduous dipterocarp forest and peat swamp forest which is nourished by stream all the time in particular spots. The area is rich in endemic and rare species for both flora and fauna. The most famous endemic species found here is Mealy Crab Thaipotamon chulabhon Naiyanetr, 1993, or Pu Thunkramom (named by HRH Princess Chulabhorn). A bit bigger than ricefield crab, this kind of crab is quite colourful in purple, orange, yellow, and white. Now, this endemic crab is enlisted as protected animals. This No-hunting area is also good for bird watching and studying the ecological system. For more information, call 08-1817-9441, 08-1799-5795.

How to get there, Dun Lamphan No-hunting Area is situated on highway 219 (Borabue- Na Chueak-Phayakkhaphum Phisai), some 3 kilometres from Amphoe Na Chueak Office.

Pottery Village

The villaged is situated in Tambon Khwao, 4 kilometres from Maha Sarakham city via highway 23 (Maha Sarakham-Roi Et). The villagers here inherited ancient method of pottery from their ancestor. From water pot and cooking pots, they have diversified their products into various design to cope with modern living style.


Khong Kut Wai Fish Sanctuary

Situated 10 kilometres from Maha Sarakham City, the lake is home to over 100 species of freshwater fish. It is a nice place where people can enjoy feeding the fish and relax.


Kaeng Loengchan

The big reservoir is situated back of Rajabhat Maha Sarakham University , some 3 kilometres from Maha Sarakham city. Around the area is fishery station which breeds and distributes different kinds of fresh water fish to provinces in the region. Beautiful scenery around the reservoir attracts a number of people to enjoy holiday here.


Isan Arts and Culture Research Institute

Isan Arts and Culture Research Institute is in Maha Sarakham University. The institute has exhibits on Isan arts and culture. Of particular interest are displays on the origin of weaving, the development of local fabrics, basketry and woodwork, metalwork, the development of pottery, household items, animal traps and related tools, musical equipment, literature, ancient language inscriptions, and contemporary art of students, as well as various media on regional arts and culture for sale.

City Shrine

Located in front of Lak Mueang Maha Sarakham School, the shrine was built since 1865 by Thao Mahachai, the first ruler of Maha Sarakham who has moved from Roi-Et to build new city here. The city shrine was built as a sacred icon of the city where Maha Sarakham people pay lot of respect.

Chi Long Forest Park

Chi Long Forest Park is at Ban Wang Wa, 10 kilometres from town on the way to Kosum Phisai. The park is on an island that was formed by a course divergence of the Mun River, a main waterway of the Northeast. The island is covered with shady rubber trees and a road circling it makes sightseeing most enjoyable.


Hat Wangko

The 500-metre-long beach on the bank of Chi River is situated in Ban Tha Duea, Tambon Nong Bon. Tourist can get there via Kosum Phisai-Tha Phra-Khon Kaen Road. With clear and shallow water, the beach is a good place for relaxing. Facilities available on the beach include, beach beds, speed boat, banana boat, jet ski, donut ski, life vest and etc.


Bueng Bon

The lake packed with elephant’s ear plants is a nice place to picnic for people in Kosum Phisai and nearby . Situated in Tambon Hua Khwang, 100 metres from Kosamphi Forest Park, the lake is 2.50 metres deep and acquires total area of 120 rais (48 acres). How to get there. Use the same way with Kosamphi Botanical Park.


มหาสารคาม : ข้อมูลทั่วไป

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร

       มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น “ตักศิลาแห่งอีสาน” เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ ยางสีสุราช อำเภอกุดรังและอำเภอชื่นชม

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดขอนแก่น

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4372 1396
  2. เทศบาลเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4374 0825
  3. ประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4371 1231
  4. โรงพยาบาลมหาสารคาม โทร. 0 4374 0993-6
  5. สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4377 7356
  6. สถานีตำรวจอำเภอเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4371 1205

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม
http://www.mahasarakham.go.th


มหาสารคาม : ข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลการเดินทางของ จ. มหาสารคาม

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดนครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 226) เข้าจังหวัดบุรีรัมย์(ทางหลวงหมายเลข 219) ผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอ บรบือ เข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม รวมระยะทางประมาณ 475 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการวันละหลายเที่ยว รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดมหาสารคามคือ มงคลทัวร์ โทร. 0 4371 1072 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3638-9 www.transport.co.th
สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟ หรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคามอีกประมาณ 72 กิโลเมตร

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.มหาสารคาม
การเดินทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
  2. อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
  3. อำเภอโกสุมพิสัย 28 กิโลเมตร
  4. อำเภอแกดำ 28 กิโลเมตร
  5. อำเภอวาปีปทุม 40 กิโลเมตร
  6. อำเภอชื่นชม 40 กิโลเมตร
  7. อำเภอเชียงยืน 55 กิโลเมตร
  8. อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
  9. อำเภอนาดูน 64 กิโลเมตร
  10. อำเภอยางสีสุราช 70 กิโลเมตร
  11. อำเภอกุดรัง 70 กิโลเมตร
  12. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 82 กิโลเมตร


มหาสารคาม : วัฒนธรรมประเพณี

งานบุญพาข้าวลิง
วันที่ 2 เมษายน 2552
ณ วนอุทยานโกสัมพี จังหวัดมหาสารคาม

กิจกรรม
จัดเลี้ยงอาหารลิง

สอบถามรายละเอียด
อำเภอโกสุมพิสัย โทร. 0 4376 1010

งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดมหาสารคาม
วันที่ 13 - 14 เมษายน 2552
ณ บริเวณหอนาฬิกา และหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม

กิจกรรม
ขบวนแห่สงกรานต์ การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4374 0826-28 ต่อ 115


มหาสารคาม : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

กู่สันตรัตน์

เป็น ปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

อยู่ ทางทิศตะวันออกของพระธาตุนาดูน เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ อนุรักษ์ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์ไม้ในภาคอีสาน ภายในสถาบันฯ จะมีอุทยานลานไผ่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน ซึ่งแต่ละแห่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4379 7048

บึงบอน

ตั้ง อยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพี


พิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย

ตั้ง อยู่ในตัวเมืองมหาสารคาม เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของภาคอีสาน เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูปในสมัยโบราณ บานประตู คันทวยแกะสลักอายุประมาณ 100-200 ปี นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรวบรวมวรรณคดีภาคอีสาน และพระธรรมใบลานอยู่เป็นจำนวนมาก

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)

ตั้ง อยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระอยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเรียบร้อยแล้ว
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและต้นไม้ หลายชนิด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน

ตั้ง อยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งได้จัดนิทรรศการแบบถาวรไว้ให้ชม เปิดให้ชมในวันและเวลาราชการ ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ (หากติดต่อล่วงหน้าสถาบันฯ ก็ยินดีเปิดให้ชมเป็นพิเศษ) ผู้เข้าชมจะได้ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ความเป็นมาของการทอผ้า การประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง เครื่องจักสานและงานไม้ งานหล่อโลหะ การพัฒนาเครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องดนตรี วรรณกรรม จารึกภาษาโบราณ รวมทั้งผลงานศิลปะร่วมสมัยของนิสิต นักศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4372 1686

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

ศูนย์ ศิลปวัฒนธรรมอีสาน ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ภาพแสดงความเป็นมาของศิลปะอีสานตลอดจนศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผ้า ลายผ้าต่างๆ นอกจากนั้นก็มีวรรณคดีอีสานประเภทใบลานซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนั้นยังมี ภาพสไลด์ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสานให้ชมด้วย

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ตั้ง อยู่ถนนหน้าโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกได้รวบรวมไพร่พลจากร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ได้สร้าง หลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับเพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่ บ้านคู่เมืองนับเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ชาวจังหวัดมหาสารคามให้ความเคารพ นับถือกันมาก

แก่งเลิงจาน

เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน อยู่ด้านหลังของสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก

พระธาตุนาดูน

พุทธ มณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญ ยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร

ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้า ธรณี

ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก

2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี

พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน

เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติ มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นๆ และหายากเช่น ต้นลำพัน, เห็ดลาบ, ปลาคอกั้ง, งูขา และ ปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่นม่วง, ส้ม, เหลือง และขาว และจะพบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง

หมู่ ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมซื้อสินค้าที่ระลึกแห่งนี้ได้ การเดินทางจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายมหาสารคาม-โกสุมพิสัย ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47-48 ไปตามทางลาดยางหมายเลข 1027 สู่บ้านโนนตาล เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง


บ้านแพง ตำบลแพง

เป็น หมู่บ้านที่มีอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 208 (มหาสารคาม-โกสุมพิสัย-ขอนแก่น) เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางโกสุมพิสัย-ขอนแก่น ระหว่างกิโลเมตรที่ 20-21 ห่างจากอำเภอโกสุมพิสัย 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองประมาณ 38 กิโลเมตร

วนอุทยานโกสัมพี

มี เนื้อที่ 125 ไร่ มีลักษณะเป็นสวนป่ามีต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้นยางขนาดใหญ่ ต้นตะแบก และยังมีลิงแสมฝูงใหญ่จำนวนหลายพันตัว มีลิงแสมขนสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หายาก ไม่ดุร้าย วนอุทยานโกสัมพีมีสิ่งที่น่าสนใจคือแก่งตาด ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม น้ำจะตื้นเขินมองเห็นหินดาน และยังมีลานข่อย ซึ่งมีต้อนข่อยกว่า 200 ต้น ตกแต่ง ดัดแปลงเนไม้แคระตกแต่งเป็นรูปต่างๆ

พระพุทธรูปยืนมงคล

เป็น พระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมืองและผู้หญิงสร้างพระพุทธรูป ยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดม สมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก


พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี

พระ พุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี สร้างด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยทวาราวดีที่ชาวมหาสารคามนับถือกัน มาประดิษฐานที่วัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 213 (มหาสารคากาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ (อยู่ทางด้านซ้ายมือ)

หมู่บ้านปั้นหม้อ

ตั้ง เขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 (มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด) ประมาณ 4 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้เป็นหม้อน้ำ หม้อแกง กรรมวิธีทำยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations