www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    


KHONKAEN

KHONKAEN : General Information

            Khon Kaen is the commercial,administrative an educational
      centre of the Northeast,which is often used by travellers as a base for visiting many parts of upper Isan.


    Khon Kaen National Museum houses objects from the Dvaravati period and bronze sculptures from Ban Chiang. Kaen Nakhon Lake in the centre of town is a popular spot for picnics and dining,while Wat That on its bank features typical Isan spires.

Khon Kaen is the centre of the northeastern silk industry with numerous villages producing their own mudmee designs. Chonnabot is noted for its quality silks. Every December the city hosts a Silk Fair,when all the best materials are on sale.

Unusual animals are popular in the province,with the cobra and the turtle villages high on tourist programmes. In both villages, the residents live with their proteges,training them and putting on fascinating shows. A dinosaur is the provincial symbol ever since remains of these great beasts were unearthed in Phu Wiang National Park,an area also famous for its flora,fauna and waterfalls.

Khon Kaen is 445 kilometres from Bangkok and has an area of about 10,886 square kilometres. It comprises the districts of Muang, Ban Phai, Phon, Nam Phong, Chum Phae, Phu Wiang, Mancha Khiri, Nong Ruea, Kranuan, Nong Song Hong, Chonnabot, Si Chomphu, Waeng Noi, Ubolratana, Ban Fang, Khao Suan Kwang, Phra Yuen, Waeng Yai, Pueai Noi, Phu Pha Man, Khok Pho Chai, Nong Na Kham, Sam Sung and Ban Haet.

 

KHONKAEN : Festival & Event
Dok Khun Sisng Khaen Songkran Festival
Date : April 8 - 15, 2009
Venue : At Bueng Kaen Nakhon and Khao Neow Road, Khon Kaen

As part of the traditional Songkran Thai New Year merit-making ceremonies in Khon Kaen province, the locals perform bathing rituals to pay homage to revered Buddha images and shrines, present merit-making offerings to monks and pay respect to elders by pouring lustral water over their hands in a bathing ritual.

The rest of the Grand Songkran holidays are filled with festive fun with hours of friendly water-splashing, Miss Songkran beauty pageants and a variety of uptempo traditional Northeastern folk entertainment.

Activities
I-Saan food contest
Isaan Food Festival and ‘Best of Isaan Fair’
A showcase of Thai culture and traditions, folk art and crafts
Cultural performances and Isaan folk music
Stage drama and Mor Lam Folk Music Festival, Si Chan Road (Khao Neow Road)
Sales of local products made by the various sub-districts (tambon) of Khon Kaen under the One Tambon One Product (OTOP) campaign
Water-splashing along Si Chan Road (Khao Neow Road)

Contact information:
TAT Khon Kaen Office Te l: +66 (0) 4324 4498 - 9
E-mail: tatkhkn@tat.or.th
Website : www.songkran.net

KHONKAEN : Activities

Ubolratana dam

Ubolratana dam is the largest multi-purpose dam in the Northeast. To get there, take Highway No. 2 (Khon Kaen-Udon Thani) for 26 kilometres, turn left and drive for 24 kilometres. The dam is across the Phong river at the pass connecting Phu Kao and Phu Phan mountains. The view at the dam is magnificent. Tourists regularly frequent the area to look at the lake and sample local delicacies, including the famous grilled fish famous here.

Bang Saen II and Hat Chom Thong
The beaches are in Ban Hin Phoeng, Tambon Tha Ruea, 53 kilometres from downtown Khon Kaen. As part of the lake over Ubolratana Dam, the beaches are quite picturesque particularly when the sun sets behind the mountain ranges. There are various water sports available such as water bicycle, banana boat, and scooter. Visitors can enjoy fish a menu of freshly caught from the lake. During the holidays, the beaches are always quite lively.


Prasat Pueai Noi

Prasat Pueai Noi is the largest Khmer sanctuary in the upper Northeast. The compound comprises 3 brick buildings built on the same laterite base. All face to the east. Each pagoda has a sandstone lintel with designs. Each pagoda has a smaller chapel and a lintel with clear, lovely designs. A laterite wall surrounds the compound and there is a pool just beyond it. From Khon Kaen, take Highway No. 2 for 44 kilometres to Ban Phai, then take Highway No. 23 for 11 kilometres to Borabu district, then take a right-hand road for 24 kilometres to Ku Pueai Noi.

Phu Wiang National Park

This national park always reminds tourists about dinosaurs. Indeed, nobody had formerly ever though the Isan plateau was once home of dinosaurs. Until 1976 when a uranium survey team discovered a piece of fossil, which was examined by French specialists and declared that it was a left knee bone of a dinosaur. After that, serious execration has never ended until now.

On the hill Pratu Ti Ma, which was the first site, geologists have found fossils of a dinosaur, 15 metres high with a long neck and tail. This is a kind of plant-eating dinosaur never found else where before, so it was named Phuwiangosaurus Sirindhornae to honour H.R.H Princess Maha Chakri Sirindhorn. In this site, over ten teeth of a meat-eating dinosaur have also been found. So geologists and scientists presumed that the long-necked dinosaur was prey for these teeths owner. Among these teeths, one is different. After a study, scientist found that it belonged to a new species of dinosaur never found before. So it was named Siamosaurus Suteethorni after the discoverer, Mr. Warawuth Suteethorn.
All the three sites are not far from the headquarters, and tourists can also visit the second and third sites nearby.

Fossils of Siamotyrannus Isanensis found here are the oldest ones, dating back 120-130 million years. This indicates that tyrannosaurus originated in Asia. These fossils are now displayed in the museum of the Department of Mineral Resources.

At the 8th site, there are 68 footprints of dinosaurs, dating back 140 million years ago. Most of them belong to the world's smallest species of meat-eating dinosaur, which walked on two legs. Among such footprints, there is one bigger footprint, assumed to belong to Carnosaurus.

These sites are 19 kilometres from the headquarters. It takes an hour to get there by car and four-wheel drive vehicle is recommended. In many sites, geologists found fossils of dinosaur babies, small crocodiles and mussels dating back to 150 million years ago.
Besides fossils of dinosaurs, there are also traces of ancient civilizations in this area including a high relief of the reclining Buddha on the cliff, at the crest of Phu Wiang Mountain. The Buddha image was carved in the 9th century, mirroring an influence from Indian art. Nearby is Tham Famue Daeng, Dang, or Red Palm Cave, at Ban Hin Rong. The cave wall houses prehistoric paintings of cavemen's hands from sprays of red ochre.
Natural attractions in the park include waterfalls and field of wild flowers. Namtok Thap phaya Suea is a small waterfall near to Tham Famue Daeang. Namtok Tat Fa is a 15-metre high waterfall that can be accessed by car. The waterfall is 18 kilometres from Amphoe Phu Wiang. Some 5 kilometres from Namtok Tat Fa is Namtok Tat Klang which is a 8-metre high waterfall. Savanna and rock plateaus are always blanketed with wild flowers in full bloom by the end of the rainy season.

Phu Wiang National Park acquires a total area of 380 square kilometres in Amphoe Si Chomphu and Amphoe Chum Phae.

How to get there: from downtown Khon Kaen, visitors can get there via Highway 12 and connect to Highway 2038, bound for Amphoe Phu Wiang. From Amphoe Phu Wiang, talk the Phu Wiang-Ban Muaeng Mai Road, passing the national park unit, Pak Chong Phu Wiang at kilometre 23. Turn left at kilometre 30 at Ban Pho Reservoir and the national parks headquarters is 8 kilometres away. The headquarters features an exhibition about the dinosaurs and fossils found in the area. For group tourists requiring a guide, contact the headquarters in advance at Tel. 0 4324 9052.

Pattaya II

The pond acquiring an area of 20 rai is at Ban Nong Kung Soen, 78 kilometres from Amphoe Mueang. The scenic pond with the backdrop of Phu Phan Mountain is a nice place where the locals love to relax. Besides delicious freshwater fish cuisine available around the pond, there are various water sports tourists can enjoy.
How to get there: from Amphoe Mueang, tourists can get there via Highway 12 and turn right on Highway 2038, continue for another 12 kilometres then turn right onto Kiatsuranond Road. Go for another 12 kilometres, then turn left to Ban Kho. Turn another left at Wat sopha Rattana Phatthanaram, go ahead and make a right turn.

Buffalo Conservation Village

Supported by the provincial livestock offices, villagers have kept lots of water buffaloes until the village was honoured as the centre to conserve and develop Thai water buffalo. For more information, call Nawa Subdistrict Administration Organisation at Tel. 0 4321 1466.

Phu Pha Man National Park

The obvious natural landmark of this park is the towering limestone cliff that looks like a huge curtain. Lush jungle and mixed forest keep this place cool almost all the year round. Acquiring a total area of 218,750 rai, the park covers areas in Amphoe Phu Pha Man and Amphoe Chum Phae of Khon Kaen as well as Amphoe Phu Kradueng of Loei.

Attractions in this national park include:

Tham KlangKhao The cave is in Phu Pha Man Mountain, 2.5 kilometres from Amphoe Phu Pha Man. The caves entrance is some 100 metres above ground level. Inside is the habitat of millions of bats, whose accumulated droppings cause a strong smell.

Every evening, around 6 pm., these bats always leave the cave in line, over ten kilometres long. It takes some 30-45 minutes until the last bat leaves the cave.

Wat Sa Bua Kaeo

The temple is located at Ban Wang Khun. The mural and sculptural works of this temple is worth a visit. Crouching guardian lion replicas are on both sides of the stairway leading up to the Ubosot, ordination hall, with sculptures of men stretching their legs in front in front. Luangpho Phui, preceptor of the temple, created all of these sculptures. Murals on four walls of this concrete ordination hall, both exterior and interior, features the peoples' lifestyle, history of the Lord Buddha, heaven and hell and folklore. The pictures are separated by the so-called Sinthao line, a flash-shape pattern which is widely found in murals from the Ayutthaya and Rattanakosin periods, not in the Isan region. By the unique brushwork, the murals mirror freedom of the artist in expressing emotion into the pictures, trees and animals, like Western impressionists. The favorite colors include yellow, indigo, red ochre, green, blue and black.

How to get there: From downtown Khon Kaen, visitors can go via Highway 2 (Mitraphap Road), heading to Amphoe Phon for 75 kilometres, then turn left to Highway 207 bound for Amphoe Nong Song Hong for another 17 kilometres. At kilometre 27-28, turn right at Ban Wang Khun and go ahead for a kilometre.

Nam Phong National Park

Acquiring a total area of 197 square kilometres, the park covers a large area in Khon Kaen namely; Nong Ruea, Ubolratana, Phu Wiang, Ban Fang, Mancha Khiri, and Khok Pho Chai as well as two Amphoes in Chaiyaphum provinces, Ban Thaen and Kaeng Khro.

The park headquarters is located by the lake over Ubolratana Dam. Forest in this national park is watershed of the chi and Phong Rivers. The deciduous dipterocarp and dry everygreen forests in this mountain range are a major source of herbs. There are viewpoints in the park. Hin Chang Si is a group of rocks, where wild elephants use for scratching their flanks. This point has a scenic view of the Uboltatana lake and Khon Kaen city. Hin Chang Si viewpoint can be accessed by car, eight kilometres from Sok Tae Reforestation Park. From the head quarters, walking to Hin Chang Si takes around two hours. Some 30 minutes on foot from Hin Chang Si is Plan Chat viewpoint. Pha Sawan is another viewpoint from where visitors can witness beautiful scenery of the lake. The cliff is a two-hour walk from the headquarters. Another interesting attraction in the park is Phon Kham, crater-like rock well. For more information, call Nam Phong National Park at Tel. 0 4324 8006 or of National Park, Wildlife and Plant Conservation Department in Bangkok at Tel. 0 2562 0760.

How to get there: Nam Phong National Park can be reached from two routes.
1. From Khon Kaen, go via Highway 12 to Chum Phae District, then turn right at kilometre 30 to Ban PHue for another 19 kilometres via Highway 3034 (Nong Saeng-Tha Ruea). This route is 49 kilometres.
2. From Khon Kaen, bound for Amphoe Ubolratana via Highway 2, heading for Udon Thani, then turn left to Amphoe Ubolratana. In the Amphoe, use Highway 3034, which lies along the lake over Ubolratana Dam. This route is 65 kilometres long.

Prem Tinsulanonda Military Fort and Hall of Honour

The hall of honour features the biography and achievement of statesman Gen. Prem Tinsulanonda who devoted himself for developing Thailand in different areas. Group visitors can contact in prior at the Prem Tinsulanonda Fort, Tel. 0 4324 9490.

Phrathat Kham Kaen

Located in Wat Chetiyaphum, the Phrathat is believed to be the origin of Khon Kaen city since ancient times. Phrathat Kham Kaen can be date the 20th century A.D. According to the legend, a back to king who ruled Mori town in the Khmer kingdom assigned 9 senior monks to bring relics of the Lord Buddha to be placed in Phrathat Phanom. On the way, the caravan spent a night here, setting a camp by the heartwood of a dead tamarind tree. The caravan reached Nakhon Phanom on the next day just to learn that Phrathat Phanom had already been completed, so they returned on the same route with a wish to place the relics at their hometown instead. On the way back, they were surprised to find the dead tamarind tree buddingly lush. Therefore, they decided to build a Phrathat here and placed the relics and Buddha images inside, naming Phrathat Kham Kaen which means the stupa of tamarind heartwood.

The Phrathat is now well renovated and landscaped. A celebration is held annually on the full moon day of the 6th lunar month. Phrathat Kham Kaen is 12 kilometres from downtown Khon Kaen. Visitors can get there via Highway 209 (Khon Kaen-Kalasin route). After crossing the Nam Phong River, turn left and keep going for another 14 kilometres.

Ban Khok Sanga king cobras village

King Cobras Village Ban Khok Sa-nga in Tambon Sai Mun is famous for its strange pets, king cobra, kept at every house. The villagers formally earned extra income by selling herbal medicines by travelling around through viillages. By 1951, a local doctor, Ken Yongla initiated a cobra show, which was successful to attract clients to the village. Anyway, a cobra show was too dangerous as the snake can spit its poison for two metres making a man blind. So he changed to conduct the show with a king cobra and inherited such skill to the villagers.

Today, after the harvest season, with better transportation, villagers of Khok Sa-nga always travel around to organise a snake show and offer their herbal medicine. In the village, a snake show is held at Wat Si Thamma, performing different series of show such as snake dancing and boxing between king cobra and man. Exhibitions regarding the king cobra as well as nursery are located nearby.

How to get there: Ban Khok Sa-nga is 49 kilometres from downtown Khon Kaen. Visitors can go via Highway 2 and make a right turn at kilometre 33 to Highway 2039. At kilometre 14, opposite Phang Thui police box, turn right onto a soil road. Then keep going through Ban Na Ngam and make a left turn at the intersection, continue for another 600 metres.

Phra Mahathat Kaen Nakhon

Phra Mahathat Kaen Nakhon or The 9-storey stupa Located in Wat Nong Waeng, a royal temple on Klang Mueang Road, the Phra Mahathat houses relics of the Lord Buddha and important Buddhist scriptures. Doors and windows of the 9 storeys of the stupa are beautifully carved, featuring the life and former reincarnations of the Lord Buddha, 16 classes of visible deities in the Brahmas world, and Buddhist rites. Murals within the stupa feature history of the town. The top floor, on the 9th storey, houses relics of the Lord Buddha. Visitors can enjoy a panoramic view of the town from there.

Hong Mun Mang or Khon Kaen City Museum

This museum is situated by the Kaen Nakhon Lake in the town.

Hong: means a tower for keeping treasures. Hong Mun Mang is a tower where accumulated historical articles of Khon Kaen are preserved. It is a museum which reflects the way of life of Khon Kaen people from the past to the present.

This museum was established in order to link each community in Khon Kaen province and to make people feel pride in their community. It is also a center of study and research on the history of Khon Kaen. There are 5 zones:

Zone 1 : Introduction to Khon Kaen province
Zone 2 : History and Culture of Khon Kaen
Zone 3 : The founding of the city
Zone 4 : Towns and lifestyles of Khon Kaen people
Zone 5 : Khon Kaen Today.

The museum is open daily, except Mondays, from 12 noon - 8.00 p.m. Entrance fee is 90 baht. For more information please contact The Town Council Office of Khon Kaen, Prachasamran Road, Mueang District, Khon Kaen Province, Tel.0 4327 1173, 04322 4032 during office hours.

Art and Cultural Centre

Located in the compound of Khon Kaen University, the Isan barn-style building features local knowledge in different areas; namely, arts, geography and history through a modern display. The centre can be accessed through the Si Than Gate.

Tortoise Village

The villagers keep a large amount of tortoises as their mutual pets. The brownish yellow shelled tortoises, called Tao Phek in local dialect, always travel around in the village to be fed.

How to get there: from downtown Khon Kaen, motorists can drive via Highway 12 (Khon Kaen Chum Phae) for ten kilometres then turn left to Highway 2062 (Khon Kaen-Mancha Khiri) for another 54 kilometres. The entrance to the tortoise village is on the left at Ban Kok, two kilometres prior to Amphoe Mancha Khiri. It is easy to notice with two tortoise replicas on the roadside opposite to Wat Si Sumang. Turn left through Ban Kok, the tortoise village is 50 metres away.

Sim (ubosot of Wat Sa Thong Ban Bua )

This Sim, ordination hall, is architectural heritage of Isan with outstanding local characters. The exterior is decorated with colourful mural and glass. The Sim houses a rare Isan-style sandstone Buddha image. In 2002, the Sim was awarded a precious architecture, heritage and cultural conservation of the Asia Pacific by UNESCO.

Chang Kra

Having grown wild over a century ago in Wat Pa Mancha Khiri, over 4,000 Chang Kra orchid-Rhyncostylis gigantean (Lindl.) are in full bloom on the branches of some 280 trees every year during January and February. These wild orchids always fill the whole area with their mild fragrance.

How to get there: the temple is only a kilometre from downtown Amphoe Mancha Khiri, 57 kilometres from downtown Khon Kaen. From Bangkok, motorists can drive via Highway 2 (Mitraphap Road) then turn left to Amphoe Chonnabot, via Highway 229 (Chonnabot-Mancha Khiri). The entrance to the temple is on the left before reaching Amphoe Mancha Khiri or some 35 kilometres from Mitraphap Road. From Khon Kaen, motorists can go via Highway 2731 and 2062 through Amphoe Phra Yuen.

Wat Udom Khongkha Khiri Khet

Good for meditation practicing, the temple is located deep in lush forest in Tambon Ban Khok. Luangpu Phang, a Buddhist monk famous in meditation, once lived here. Today, Buddhists come to visit the temple and pay respect to his monument in the temple compound.

How to get there: visitors can go via Highway 12 (Khon Kaen-Chum Phae) for 14 kilometres then turn left to Highway 2062 (Ban Thum-Mancha Khiri Road) for another 44 kilometres and get on highway 229 (Mancha Khiri-Chaiyaphum Road) for 12 kilometres and turn right into the temple, 12 kilometres away.

Tham Pha Phuang Forest Park

Tham Pha Phuang Forest Park is in Ban Dong Lan, Tambon Pha Nok Khao, 123 kilometres from Khon Kaen on the Khon Kaen-Chum Phae road by Highway No. 12 and 201. A 4-kilometre road on the right then takes you to the park. Tham Pha Phuang is a huge limestone cave. Inside, is a large chimney-shaped rock and lovely stalagmites and stalactites.

Non Mueang Ancient Town

The ancient town is located at Ban Na Pho, 80 kilometres from downtown Khon Kaen. Legends say the hill known as Non Mueange was the location of an ancient town. Acquiring a 216 rai area, the oval hill has double moats. Archaeologists have found sandstone Sema boundary markers in Dvaravati style in the town and nearby. Potsherds were scattered around. Some were painted in red, and some decorated with incising and cord-marked patterns.

In the soil layer of the Dvaravati period (7-11th century), none of the funeral-related artifacts was found. So, archaeologists presumed that the funeral of this town changed after the arrival of Buddhism. In deeper soil, more interesting historical evidence was found. Archaeologists found that there used to be a human settlement here since the late pre historic period. They discovered human skeletons dating back 2,500 years ago. Funeral tools and utensils were buried together with the bodies. The utensils found included pottery decorated with painted , incising and cord-marked pattern, bronze and animal-bone bangles, shells, colorful beads, as well as iron tools such as hoe, sickle, and animals bones; namely deer, barking deer, and different fishes. These artifacts prove that people in this community lived on agriculture until the Lop Buri period (11-12th century).
How to get there: Motorists can get there via Highway 12, Khon Kaen-Chum Phae Road, then make a left turn at Chum Phae Post Office, continuing for another 5 kilometres.

Sala Mai Thai

Located in Khon Kaen Vocational College, Sala Mai Thai is part of the project to celebrate the 60th birthday anniversary of Her Majesty the Queen (August 12, 1992). The silk centre was established to support Her Majesty the Queens mission to promote silk and silk products from Isan as well as conserve the traditions. The centre feature the silk production process from dyeing to weaving, tools for silk production and rare equipment, and different ancient silk textiles various pattern. The centre also exhibits the world's most expensive Mudmee silk textile woven by the people of Chonnabot people. The silk textile has won Asian award in silk contest.

Sala Mai Thai is open daily during official hours, Monday to Friday during 8.30 a.m. to 4.30 p.m. For more information, contact the Khon Kaen Vocational College, Amphoe Chonnabot, Khon Kaen 40180 at Tel. 0 4328 6160.

How to get there: From downtown Khon Kaen, visitors can go via Highway 2 (Khon Kaen-Korat) for 44 kilometres. Turn right at Ban Phai Intersection to Highway 229 and go for another 11 kilometres. Sala Mai Thai is on the left, opposite to Kong Kaeo Lake.

Scientific Centre for Education

Located on a 51 rai plot of land, the centre is a knowledge hub in science and technology for children, youth, students, and the public. The 2-storey building has various exhibitions regarding science and environment as well as the Scientist Princess Room which features history and performances of Prof. Dr. Princess Chulabhorn and the Primeval World Room which features dinosaur and fossils.

The scientific center is open on weekdays from 8.30 am. to 4.30 pm. Call 0 4327 4154 for more information.

Hat Sawan

Acquiring a 62 rai area, the scenic beach by the lake over Ubolratana Dam is an ideal place for recreation among the locals and tourists.


ขอนแก่น : ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่
ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก

        หากจะอ้างถึงประวัติของจังหวัดขอนแก่นซึ่งเริ่ม ก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 อายุเพียงแค่สองร้อยกว่าปีก็คงจะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นเมืองเก่า แต่ที่จริงแล้วดินแดนบนที่ราบสูงแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากไม่ว่า จะเป็นทางธรรมชาติ หรือทางอารยธรรม ดังที่มีการค้นพบซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อายุนับล้านปี พบชุมชนเมืองโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่ง ตลอดจนปราสาทขอมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยอารยธรรมที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สิ่งที่พบที่นี่ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถานต่างๆ จึงล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้ทราบความเป็นมาของคนไทยและชาติไทย

ขอนแก่นไม่เพียงจะเป็นศูนย์กลางของภาคอีสานโดยเหตุผลทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและเทคโนโลยี ด้วยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในอำเภอเมืองรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการหลายสาย มีที่พักบริการหลายระดับตั้งแต่ห้องพักราคาย่อมเยาว์ ไปจนถึงโรงแรมระดับห้าดาว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวด้วย ขอนแก่นมีพื้นที่ประมาณ 10,885 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และชัยภูมิ

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. สำนักงาน ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 (ขอนแก่น) โทร. 0 4324 4498-9
  2. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 0 4322 6195-6
  3. ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. 0 4323 6115
  4. เทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0 4322 1185, 0 4322 4032
  5. ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4323 3015, 0 4324 6853, 0 4324 6649
  6. สถานกงสุลลาว โทร. 0 4324 2856-8
  7. สถานกงสุลเวียดนาม โทร. 0 4324 2190
  8. สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 4322 1162
  9. ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4323 6882, 0 4323 9381
  10. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โทร. 0 4324 2331-44
  11. โรงพยาบาลขอนแก่น โทร. 0 4323 6005-6

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดขอนแก่น
http://www.khonkaen.go.th
ททท.สำนักงานขอนแก่น
http://www.tourismthailand.org/khonkaen


ขอนแก่น : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. ขอนแก่น

รถยนต์
ขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตามทางรถยนต์ 449 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดขอนแก่น

อีกเส้นทางหนึ่ง เมื่อถึงสระบุรีแล้วตรงไปตามถนนสระบุรี-ลำนารายณ์ แยกขวาเข้าเส้นทางม่วงค่อม-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ-ขอนแก่น หรือสระบุรี-อำเภอลำนารายณ์-อำเภอเทพสถิต-ชัยภูมิ-อำเภอมัญจาคีรี-อำเภอพระ ยืน-ขอนแก่น

รถไฟ
ขบวนรถไฟ ออกจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดขอนแก่น ไปจังหวัดอุดรธานี และหนองคายทุกวัน รถที่ให้บริการมีทั้งรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. 0 4322 1112 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2 ) มีรถโดยสารธรรมดา รถปรับอากาศ และรถนอนพิเศษชนิด 24 ที่นั่ง วิ่งบริการทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0 2936 2852-66 สถานีขนส่งขอนแก่น (รถธรรมดา) 0 4323 7472 สถานีรถปรับอากาศ 0 43 23 9910 www.transport.co.th

รถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ
บริษัทขนส่งจำกัด และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ร่วมเปิดเส้นทางเดินรถระหว่าง ขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ โดบจัดรถปรับอากาศมาตรฐาน 45 ที่นั่ง ให้บริการ 2 เที่ยวต่อวัน มีต้นทางและปลายทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 2 และ สถานีรถเมล์ขนส่งผู้โดยสารตลาดเช้า นครหลวงเวียงจันทน์ โดยไม่มีจุดจอดระหว่างทาง

ตารางเดินรถระหว่างประเทศเส้นทาง ขอนแก่น-เวียงจันทน์

 

เวลาเดินรถ
ขอนแก่น

เวลาเดินรถ
นครเวียงจันทน์

ระยะเวลาเดินทาง

ราคาค่าโดยสาร

เที่ยวแรก

08.15 น.

08.15 น.

4 ชั่วโมง

180 บาท/50,000 กีบ

เที่ยวสอง

14.15 น.

14.15 น.

4 ชั่วโมง

180 บาท/50,000 กีบ


 

เครื่องบิน
บมจ. การบินไทย เปิดบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ บมจ. การบินไทย โทร. 1566,0 2628 2000 www.thaiairways.com และ สำนักงานขอนแก่น โทร.0 4322 7701-5
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ขอนแก่น

มีบริการรถโดยสารให้เลือกหลายประเภท ได้แก่
รถตุ๊กๆค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 30 บาท
สามล้อปั่นราคาเริ่มต้นคือ 20 บาท ส่วนใหญ่จะวิ่งบริการภายในตัวเมืองและเขตเทศบาล

รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กวิ่งบริการในเขตเมืองขอนแก่นหลายสาย มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารวิ่งระหว่างอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่างๆ ตลอดวัน

การเดินทางจากอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอเมือง - กิโลเมตร
  2. อำเภอบ้านแฮด 18 กิโลเมตร
  3. อำเภอบ้านฝาง 22 กิโลเมตร
  4. อำเภอพระยืน 30 กิโลเมตร
  5. อำเภอซำสูง 39 กิโลเมตร
  6. อำเภอน้ำพอง 43 กิโลเมตร
  7. อำเภอบ้านไผ 44 กิโลเมตร
  8. อำเภอหนองเรือ 45 กิโลเมตร
  9. อำเภออุบลรัตน์ 50 กิโลเมตร
  10. อำเภอชนบท 55 กิโลเมตร
  11. อำเภอมัญจาคีรี 58 กิโลเมตร
  12. อำเภอโนนศิลา 58 กิโลเมตร
  13. อำเภอเขาสวนกวาง 59 กิโลเมตร
  14. อำเภอกระนวน 66 กิโลเมตร
  15. อำเภอภูเวียง 68 กิโลเมตร
  16. อำเภอแวงใหญ 72 กิโลเมตร
  17. อำเภอพล 74 กิโลเมตร
  18. อำเภอโคกโพธิ์ไชย 75 กิโลเมตร
  19. อำเภอเปือยน้อย 80 กิโลเมตร
  20. อำเภอหนองนาคำ 80 กิโลเมตร
  21. อำเภอชุมแพ 82 กิโลเมตร
  22. อำเภอแวงน้อย 96 กิโลเมตร
  23. อำเภอหนองสองห้อง 96 กิโลเมตร
  24. อำเภอภูผาม่าน 109 กิโลเมตร
  25. อำเภอสีชมพู 114 กิโลเมตร

ขอนแก่น : วัฒนธรรมประเพณี

งานประเพณีวันงูจงอาง
วันที่ 12 - 16 เมษายน 2552
ณ บ้านโคกสง่า อำเภอน้ำพอง จังหวดัขอนแก่น

กิจกรรม
ขบวนแห่ธิดางูรอบ ๆ หมู่บ้าน บายศรีสู่ขวัญงูจงอาง จัดเลี้ยงโต๊ะจีนงูจงอาง การแสดงคนชกมวยกับงูจงอาง

สอบถามรายละเอียด
ชมรมงูจงอางแห่งประเทศไทย บ้านโคกสง่า โทร. 08 1974 9499

งานนมัสการพระธาตุขามแก่น
วันที่ 13 เมษายน 2552
ณ วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

กิจกรรม
สรงน้ำองค์พระธาตุขามแก่น รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

สอบถามรายละเอียด
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม โทร. 0 4343 6024

ประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว

กำหนดจัดงาน
วันที่ 8 - 15 เมษายน 2552

พื้นที่จัดงาน
บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น

กิจกรรมในงาน
การประกวดเกวียนบุปผชาติ การประกวดอาหารอีสาน งานมหกรรมอาหารของดีเมืองขอนแก่น ขบวนแห่สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การแสดงศิลปวัฒนธรรม

Hi-Light
วันที่ 13 เมษายน 2552 เวลา 10.00 น. ชมขบวนแห่เกวียนบุปผชาติ ประดับด้วยดอกคูนไม้ดอกประจำเมือง การเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถนนศรีจันทร์ หรือถนนข้าวเหนียว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0 4322 4032, 0 4322 4029 ต่อ 1504
ททท. สำนักงานขอนแก่น โทรศัพท์ 0 4324 4498-9

ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลดอกคูณ-เสียงแคน
ประวัติ / ความเป็นมา
เป็นการริเริ่มฟื้นฟูงานบุญสงกรานต์ในฮีตเดือนห้า ของภาคอีสาน โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 เป็นครั้งแรกเพื่อสร้างเอกลักษณ์ขอการจัดงานประเพณีประจำของจังหวัดของแก่น สืบไป และเป็นการสนับสนุนปีท่องเที่ยวไทยด้วย ทั้งนี้ได้ใช้เอกลักษณ์เด่นในภาคอีสานมาเป็นชื่องานคือ “ดอกคูน-เสียงแคน” และยืนหลักกิจกรรมในงานตามแบบประเพณีของท้องถิ่นที่ถือว่างานสงกรานต์เป็น งานทำบุญและสนุกสนานพร้อมกันในเทศกาลปีใหม่ จะมีการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญตักบาตร มีขบวนแห่การละเล่นพื้นบ้าน และการเล่นน้ำสงกรานต์

กำหนดงาน
วันที่ 11-15 เมษายน ของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
ในตอนเช้ามือมีการทำบุญตักบาตร หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนผ้าครองศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแบะการห่มผ้าพระธาตุ ขามแก่นซึ่งเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองขอนแก่น กิจกรรมตามประเพณีต่อมาได้แก่การสรงน้ำพระพุทธรูป ตลอดจนข้าราชการผู้ใหญ่ ทางด้านกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริงจะมีการจัดขบวนแห่รถบุปผชาติซึ่งตกแต่งด้วย ดอกคูนอย่างสวยงานไปรอบเมือง มีการประกวดธิดาดอกคูน การประกวดลายแคน การแข่งขันพลุตะไล แข่งขันเส็งกลอง แข่งขันปรุงส้มตำ และมีมหรสพพื้นบ้าน

ขอนแก่น : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ


อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง

ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าพัฒนา อำเภอเวียงเก่า เป็นสวนสาธารณะริมเส้นทางระหว่างทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีพื้นที่ 25 ไร่ มีฉากหลังเป็นเทือกเขาภูเวียง ในบริเวณจัดทำเป็นสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ มีโขดหิน น้ำตก บ่อน้ำ สวนหย่อม สนามนั่งเล่น มีหุ่นไดโนเสาร์จำลองเรียงรายทั่วบริเวณนับร้อยตัว บางตัวสามารถร้องได้ เคลื่อนไหวได้คล้ายของจริง เป็นไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลในภาคอีสาน
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยเดินทางจากขอนแก่นถึงอำเภอภูเวียงระยะทาง 70 กิโลเมตร และเดินทางจากตัวอำเภอต่อไปอีก 7 กิโลเมตร จะเห็นอุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงอยู่ด้านซ้ายมือ

วัดพระพุทธบาทภูพานคำ

ตั้งบริเวณไหล่เขาภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองในมณฑป และ พระพุทธรูปสีขาวขนาดใหญ่ หรือหลวงพ่อใหญ่ สูง 14 เมตร อยู่บนยอดเขา มีบันไดทางขึ้นจากลานวัดไปยังยอดเขาจำนวน 1,049 ขั้น หรือจะขับรถยนต์ขึ้นไปถึงยอดเขาก็ได้ บนยอดเขามองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบเขื่อนอุบลรัตน์ได้สวยงาม
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ ก่อนถึงประตูทางเข้าบริเวณเขื่อนจะมีป้ายวัดอยู่ด้านซ้ายมือ หรือจะใช้ทางเข้าวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาลอุบลรัตน์ก็ได้

วัดอุดมคงคาคีรีเขต

ตั้ง อยู่ที่ตำบลบ้านโคก เป็นวัดป่าของหลวงปู่ผางซึ่งเคยเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว แต่มีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิของหลวงปู่ผางอยู่ในบริเวณวัด วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีต้นไม้ป่าขึ้นอยู่ร่มรื่น เป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติวิปัสสนา
การเดินทาง ไปตามเส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ประมาณ 14 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าเส้นทางสายบ้านทุ่ม-มัญจาคีรี (ทางหลวงหมายเลข 2062) อีกประมาณ 44 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าเส้นทางสายมัญจาคีรี-ชัยภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 229) ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าวัดอีก 12 กิโลเมตร

บางแสน 2 และหาดจอมทอง

ตั้ง อยู่ที่บ้านหินเพิง ตำบลท่าเรือ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 53 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ แต่อยู่ก่อนถึงเขื่อนอุบลรัตน์มีทางทางแยกไป บรรยากาศโดยรอบของชายหาดริม ทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ สวยสะดุดตาเมื่อพระอาทิตย์ฉายส่องลงมาในยามเย็นกระทบกับทิวเขาภูเก้าที่ตั้ง ตระหง่านอยู่ด้านหลัง กิจกรรมกีฬาทางน้ำที่น่าสนใจก็คือ การบริการให้เช่าจักรยานน้ำ, บานาน่า โบ๊ต, ห่วงยาง นอกจากนี้ยังมีบริการอาหารเลิศรสที่ปรุงจากปลาภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ ได้แก่ ปลานิล, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาช่อน ฯลฯ ช่วงเทศกาลสำคัญ หรือ วันหยุด มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมธรรมชาติ และเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก

อุทยานกล้วยไม้ป่าช้างกระ วัดป่ามัญจาคีรี

อยู่ บนถนนสายมัญจาคีรี-ชนบท ห่างจากตัวอำเภอมัญจาคีรี 1 กิโลเมตร หรือห่างจากขอนแก่นประมาณ 57 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นเนินดินขนาดใหญ่กลางทุ่ง มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้เก่าแก่จำนวนมากที่มีอายุหลายร้อยปี โดยเฉพาะต้นมะขาม และยังมีต้นตะโก กระถินป่า รวมประมาณ 280 ต้น มีกล้วยไม้ป่าพันธุ์ช้างกระเกาะอยู่ตามกิ่งไม้และเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติ อยู่เป็นจำนวนมากกว่า 4,000 ต้น กล้วยไม้เหล่านี้จะเริ่มออกช่อในราวเดือนธันวาคมและดอกสีชมพูขาวจะชูช่อบาน เต็มที่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ไปทั่วบริเวณ

สิม (โบสถ์) วัดสระทองบ้านบัว

ตั้ง อยู่ที่บ้านบัว ตำบลกุดเค้า เป็นอาคารทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมที่แสดงลักษณะเด่นชัดของพื้นถิ่นอีสาน มีการแต้มสีภาพ โดยภายนอกอาคารประดับแว่นแก้วฐานชุกชี ภายในประดิษฐานพระประธานศิลาทรายรูปแบบอีสาน โดยในปี 2545 ได้รับรางวัลอาคารทรงคุณค่าด้านการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมแห่งเอเชีย แปซิฟิก(Award of Merit)จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO)

หมู่บ้านเต่า

จะ มีเต่าบกชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า “เต่าเพ็ก”) ลักษณะกระดองจะมีสีเหลืองแก่ปนน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก บ้างก็จะอยู่บริเวณใต้ถุนบ้านเพื่อรออาหารจากชาวบ้าน บ้างก็เดินอยู่ตามถนนภายในหมู่บ้านซึ่งจะหาดูได้ไม่ยาก เมื่อเดินทางไปถึงจากขอนแก่นไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2062 ประมาณ 44 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอมัญจาคีรี 2 กิโลเมตร) ถึงบริเวณบ้านกอก ปากทางเข้าหมู่บ้านเต่าอยู่ด้านซ้าย จะสังเกตเห็นเป็นรูปเต่าจำลอง 2 ตัว วางอยู่บนแท่นหินสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดศรีสุมัง จากนั้น เลี้ยวซ้ายข้างวัดเข้าสู่เขตหมู่บ้านกอก ประมาณ 50 เมตร ก็จะถึงหมู่บ้านเต่า ปัจจุบันมีบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 7222 7859 , 08 9574 3480

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

ตั้ง อยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอนแก่น และกรมทรัพยากรธรณี เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์ของสังคมและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ต่อไป อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบริการ ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ส่วนวิชาการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงาน ห้องสมุด และส่วนนิทรรศการ ได้แก่ ห้องจัดแสดงชั้นล่างและชั้นบน จัดแสดงนิทรรศการการกำเนิดโลก หิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง กรมทรัพยากรธรณี โทร. 0 4343 8204-6

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง จากขอนแก่นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 อีก 22 กิโลเมตรถึงอำเภอภูเวียงและเดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตรถึงพิพิธภัณฑ์

พัทยา 2

ตั้ง อยู่ที่บ้านหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบประมาณ 20 ไร่ ทะเลสาบมีอาณาเขตติดต่อกับเขื่อนอุบลรัตน์ โดยมีเทือกเขาภูพานคำทอดยาวเป็นฉากหลัง เหมาะแก่การพักผ่อน รับประทานอาหาร และเล่นน้ำในบรรยากาศคล้ายชายทะเล ในบริเวณมีร้านอาหารบริการอาหารพื้นเมือง ปลาเผา และมีอุปกรณ์เพื่อกิจกรรมทางน้ำไว้บริการ เช่น ห่วงยาง จักรยานน้ำ บาบาน่าโบ๊ต มักจะมีผู้คนท้องถิ่นมาพักผ่อนหย่อนใจกันมากในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงแยกหนองเรือเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 ตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านอำเภอภูเวียง ทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางเข้าไปยังพัทยา 2 ไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

เมื่อ พูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน นั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อนจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูกหัว เข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน

อุทยานแห่งชาติภูเวียงครอบคลุมพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ ประกอบด้วยสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่

บนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่งมีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อ ไดโนเสาร์ พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosauras Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าโซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้แต่ใน กลุ่มฟันเหล่านี้มีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฎว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่ เคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานและยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ฟอสซิล "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียเพราะ ฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด(120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯ
บริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอยอายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าหล่านั้น มีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กิโลเมตร ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆ ที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันอยู่ตามหลุมต่างๆ
ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีเพียงแต่ไดโนเสาร์เท่านั้นยังมีการพบร่องรอย อารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ "พระพุทธรูปปางไสยาสน์" ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวาแขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้"ถ้ำฝ่ามือแดง" ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะของภาพเกิดจากการพ่นสีแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป้ นรูปฝ่ามือขึ้น
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง "น้ำตกทับพญาเสือ" เป็นน้ำตกเล็กๆตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง "น้ำตกตาดฟ้า" เป้นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กิโลเมตร และขึ้นเขาไปอีก 6 กิโลเมตร ตรงต่อไปจากน้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กิโลเมตร จะถึง"น้ำตกตาดกลาง" นอกจากน้ำตกก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภอทุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝนได้แก่"ทุ่งใหญ่เสาอาราม" "หินลาดวัวถ้ำกวาง" และ"หินลาดอ่างกบ"

การเดินทาง อุทยานแห่งชาติภูเวียงอยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่น 86 กิโลเมตร จากจังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 ไปประมาณ 38 กิโลเมตร ผ่านตัวอำเภอภูเวียง และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่องภูเวียง) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียงที่ภูประตูตีหมา

สิ่งอำนวยความสะดวก มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพัก ลานกางเต็นท์ สามารถติดต่อได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตู้ ปณ.1 ต.ในเมือง อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น 40150 โทรศัพท์ 08 5852 1771 สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 เว็บไซต์ www.dnp.go.th

ผานกเค้า

เป็น ภูเขาสูงตั้งตระหง่านอยู่ริมลำน้ำพอง อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 125 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายขอนแก่น-วังสะพุง (หมายเลข 2 และ 201) ผานกเค้าอยู่ทางด้านซ้ายมือของบ้านดงลาน ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย บริเวณที่จะมองเห็นเค้าโครงของนกเค้าได้ชัดเจนควรเดินเข้าไปในศูนย์เพาะชำ กล้วยไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้ ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากถนน จะเห็นว่าลักษณะผาเหนือจะงอยปากขึ้นไปมีลักษณะเป็นหงอน ถัดลงมาเป็นหินกลมโค้งต่ำจากส่วนหงอนลงมาเป็นส่วนหัว ตรงกลางหัวมีรอยหินกะเทาะเป็นสีส้มอยู่ในตำแหน่งดวงตา ต่ำลงมาจากส่วนหัวจะถึงแนวปีกทั้งสองข้างที่กางออก

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน

รูปลักษณ์ภายนอกของอุทยานแห่งนี้คือเทือกเขาหินปูนที่มีหน้าผาตัดตรงดิ่งลง มาเป็นริ้วๆคล้ายผ้าม่าน สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานอยู่กระจัดกระจายกันจึงแบ่งเส้นทางท่องเที่ยวได้สองเส้นทางดังต่อไปนี้
- เส้นที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน ไปตามเส้นทางชุมแพ - เพชรบูรณ์ (ทางหลวงหมายเลข 12) เลี้ยวขวาไปตามทาง สาย 201 ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางสู่ที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน
ถ้ำ ค้างคาว ตั้งอยู่บนภูผาม่าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 2.5 กิโลเมตรอยู่บริเวณหน้าผาด้านหน้าสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 100 เมตร เมื่อเข้าใกล้จะได้กลิ่นเหม็นของค้างคาว ปากถ้ำสามารถมองเห็นแต่ไกล ภายในถ้ำมีค้างคาวขนาดเล็กอาศัยอยู่นับล้านๆ ตัว ภายในถ้ำมีกลิ่นเหม็นฉุนจัด ทุกวันค้างคาวจะออกจากถ้ำในเวลาประมาณ 18.00 น. ตอนบินออกจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที โดยจะบินออกเป็นกลุ่มยาวนับสิบกิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถมานั่งพักผ่อนและชมความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่มีค้าง คาวอยู่รวมกันนับล้าน ไปพร้อมกัน

ถ้ำพระ อยู่ใกล้เคียงกับถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำที่มีลักษณะยาวเฉียงขึ้นด้านบนสามารถเดินทะลุถึงยอดภูผาม่านได้แต่ เส้นทางค่อนข้างลำบากภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีเสาหินขนาดใหญ่ รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี แต่เหมาะที่จะท่องเที่ยวในฤดูหนาวเนื่องจากในฤดูฝนมีน้ำไหลผ่านถ้ำทำให้มี ตะไคร่จับก้อนหิน

โครงการพัฒนาป่าดงลาน 4 ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบหมู่ 1 ตำบลวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯ ประมาณ 14 กิโลเมตร ที่นี่เป็นที่ทำการของหน่วยงานกรมป่าไม้ บริเวณรอบๆ เงียบสงบ อากาศหนาวเย็น มีบ้านพักรับรองแขกได้ประมาณ 30-50 คน นอกจากนั้นยังมีห้องประชุมขนาดย่อม เหมาะสำหรับผู้ที่มาพักผ่อนเป็นหมู่คณะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4324 9001

ถ้ำภูตาหลอ ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯ 17 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้เฉพาะในฤดูแล้ง เป็นถ้ำที่โอ่งโถง พื้นที่ประมาณไร่เศษ เพดานถ้ำสูงประมาณ 5-7 เมตร มีหินงอกหินย้อยซึ่งยังอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติ พื้นถ้ำเป็นดินเรียบอากาศภายในเย็นสบาย หินบางก้อนมีลักษณะคล้ายหินเขี้ยวหนุมาน

น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้าซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในท้องที่บ้านดงสะคร่าน หมู่ 7 ตำบลวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 40 กิโลเมตร รถสามารถเข้าไปถึงแค่บ้านตาดฟ้า หลังจากนั้นต้องเดินเท้าต่อไปอีก มีน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่สวยงามที่สุดคือ ชั้นสุดท้ายซึ่งมีความสูงประมาณ 80 เมตร ฤดูที่น้ำตกตาดฟ้าจะสวยที่สุดคือฤดูฝน

- เส้นสำนักงานอุทยานฯ ตรงต่อมาจากเส้นทางเดิม ตามทางหลวงหมายเลข 201

ถ้ำพญานาคราช ภายในมีหินงอกหินย้อยลักษณะเป็นริ้วคล้ายม่านประดับด้วยเกร็ดประกายแวววาว ของหินแร่สวยงามมาก ถ้ำนี้มีความคดเคี้ยวคล้ายดั่งตัวพญานาค ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

ถ้ำลายแทง อยู่ถัดจากถ้ำพญานาคราชมาประมาณ 800 เมตร มีภาพเขียนสีโบราณบนผนังถ้ำกว้างประมาณ 2 ตารางเมตร ภาพมีลักษณะต่างๆ เช่น ภาพคน สัตว์และอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 70 ภาพ เมื่อชาวบ้านมาพบคิดว่าเป็นลายแทงบอกสมบัติจึงเรียกว่าถ้ำลายแทง
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่งคือ “น้ำตกตาดร้อง” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกตาดฮ้อง” อยู่ในเขตจังหวัดเลยระหว่างรอยต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและอุทยานแห่งชาติ ภูผาม่านและลำน้ำพอง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 70 เมตร เล่ากันว่าน้ำตกแห่งนี้ร้องได้เพราะบริเวณใต้น้ำตกมีแผ่นหินขนาดใหญ่ยื่นออก มารองรับน้ำตกเปรียบเสมือนลิ้นขนาดใหญ่เวลาน้ำตกลงมากระทบแผ่นหิน และแฉลบไปตามซอกหินต่างๆ ทำให้เกิดเสียงดังประหลาดก้องไปทั่วป่า
ที่อุทยานแห่งนี้ยังไม่มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจเที่ยวชมควรเตรียมพร้อมในทุกด้าน รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760

ปราสาทเปือยน้อย

ถึงแม้จะเป็นปราสาทหินที่มีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับปราสาทหินพิมายหรืออีกหลาย แห่งที่พบทางอีสานตอนใต้แต่ก็นับเป็นปราสาทเขมรที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง ปราสาทเปือยน้อย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุกู่ทอง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู แผนผังการก่อสร้างมีความหมายเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นแกนจักรวาลอันเป็น ที่สถิตย์ของเทพเจ้าที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต” สิ่งก่อสร้างภายในบริเวณปราสาทเป็นไปตามแบบแผนของศาสนสถานขอมโบราณ หน้าบันขององค์ปรางค์ประธานสลักเป็นพระยานาคราชมีลวดลายสวยงามมาก ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่นับว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ "โคปุระ" (ซุ้มประตู) อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านข้างโคปุระเจาะเป็นช่องหน้าต่าง "กำแพงแก้ว" มีฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย มีการสลักศิลาแลงเป็นร่องแบบลาดบัว

การเดินทางจากขอนแก่นจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-บ้านไผ่) ระยะทาง 44 กิโลเมตร เข้าทางหลวงหมายเลข 23 (บ้านไผ่-บรบือ) ไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเปือยน้อยอีก 24 กิโลเมตร

พระธาตุขามแก่น

สร้าง ขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่าโมริยกษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ใน อาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระ พุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพัก ชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้าน เมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับ ยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระ ธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่นถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 209 (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อข้ามลำน้ำพองแล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านโคกสีไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร หรืออีกเส้นทางหนึ่ง ไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง-ค่ายศรีพัชรินทร์-บ้านโคกท่า ถึงสะพานข้ามแม่น้ำพอง เลี้ยวขวาจะเจอป้ายไปพระธาตุขามแก่นอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

หมู่บ้านงูจงอาง

บ้าน โคกสง่า ตำบลทรายมูล ชาวบ้านโคกสง่าแต่เดิมมีอาชีพขายยาสมุนไพรควบคู่กับการทำนามาแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย การขายยาสมุนไพรในสมัยก่อนต้องเดินเท้าไปเร่ขายยาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อปีพ.ศ. 2494 พ่อใหญ่เคน ยงลา หมอยาบ้านโคกสง่าจึงได้คิดหางูเห่ามาแสดงเพื่อเป็นการดึงดูดคนมาดู แทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆ หมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่าการแสดงประสบความสำเร็จสามารถเรียกคนมาดูได้มากพอสมควร แต่เนื่องจากงูเห่านั้นมีอันตรายมากสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตรพ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแสดงแทนและถ่ายทอดวิชาแสดงงูให้คนในหมู่ บ้าน เมื่อว่างเว้นจากการเกษตรชาวบ้านจะรวมกลุ่มเดินทางออกเร่แสดงงูเพื่อขายยา สมุนไพร ส่วนการแสดงที่หมู่บ้านนั้นจะจัดขึ้นบริเวณลานวัดศรีธรรมา และรอบๆ บริเวณก็จะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงูจงอาง รวมทั้งมีโรงเรือนเพาะเลี้ยงงูจงอางอยู่ด้วยปัจจุบันการแสดงงูจงอางบ้านโคก สง่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน มีการจัดแสดงหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดให้คนสนใจยิ่งขึ้น เช่นการแสดงละครงูตามจังหวะเพลง การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอางจนชาวบ้านที่มีชื่อเสียงทางการแสดงงูมีฉายา ประจำ เช่น กระหร่องน้อย เมืองอีสาน, ทองคำ ลูกทองชัย ฯลฯ
การเดินทาง รถยนต์ หมู่บ้านงูจงอางบ้านโคกสง่าอยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 50 กิโลมตร จากตัวเมืองขอนแก่นเดินทางไปตามถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงกิโลเมตรที่ 33 บริเวณตัวอำเภอน้ำพอง เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2039 ทางไปอำเภอกระนวน 16 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้านงูจงอาง ให้เลี้ยวขวาไป 2 กิโลเมตร ถึงวัดศรีธรรมา รถประจำทาง สามารถนั่งรถสายดาวสิงห์-กะนวนมาลงที่สี่แยกน้ำพอง แล้วนั่งรถสกายแล็ปมาลงที่หมู่บ้านงูจงอาง วัดศรีธรรมา
การแสดงงู มีการจัดแสดงงูของชมรมผู้เลี้ยงงูจงอางแห่งประเทศไทย และมีงูสายพันธุ์ต่าง ๆ เลี้ยงไว้ในกรงพร้อมป้ายนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับงู เปิดการแสดงทุกวันระหว่างเวลา 8.00 -17.00 น. นอกจากที่วัดศรีธรรมาแล้ว ตามเส้นทางก่อนถึงวัดศรีธรรมายังมีการจัดแสดงงูของชาวบ้านในพื้นที่ให้ชมอีก ด้วย

เมืองโบราณโนนเมือง

เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี ยุคสมัยศิลปะทวารวดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งความจริงสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่นได้จัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญของขอนแก่นไว้นานแล้วแต่เพิ่งจะขุดค้นพบ เป็นบางส่วนไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 พบว่าใต้ดินลึกลงไปจากบริเวณโนนเมืองเป็นร่องรอยถิ่นฐานของสังคมประวัติ ศาสตร์สมัยหนึ่งในอดีตเมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ เรียกว่า โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 80 กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าลือสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมือง นั้นเป็นเมืองเก่าเมืองโบราณจากการสำรวจของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น พบในเสมาหินทรายศิลปะทวารวดี 3 ใบ ตั้งใกล้เคียงและบนผิวพื้นดินทั่วไปของเนินพบเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้ง ชนิดเขียนสีแดง ชนิดลายขูดขีด และลายเชือกทาบลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ 170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตรการขุดค้นของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น โดยเปิดหลุมขุด 2 หลุมขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ได้พบว่าตรงความลึกประมาณ 270 เซนติเมตร เป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ ที่มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมกับศพ เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์เช่น กระดูกหมู กระดูกควาย เขากวาง และกระดองเต่าใกล้กับโครงกระดูกด้วย สำหรับหลุมแรกพบโครงกระดูกจำนวน 5 โครงและหลุมที่ 2 จำนวน 2 โครง อย่างไรก็ดี ขณะนี้เพียงสันนิษฐานว่าโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบน่าจะเป็นคนในยุคสมัย ทวารวดีจนกว่าจะมีการพิสูจน์ วิเคราะห์ตามหลักวิชาการที่ถูกต้องด้านโบราณคดีต่อไปในภายหลัง
การเดินทาง ใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12 ) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์ เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร

ศาลาไหมไทย หรือ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี

ตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ (12 สิงหาคม 2535) เพื่อเป็นศูนย์สืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพด้านผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของ ภาคอีสาน รวมทั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน ภายในอาคารจัดแสดงกรรมวิธีการผลิตตั้งแต่มัดย้อมจนถึงวิธีการทอ อุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับไหมและของเก่าแก่ควรอนุรักษ์ รวมถึงผ้าไหมมัดหมี่โบราณลวดลายต่างๆ ที่พิเศษที่สุดคือที่นี่จัดแสดงผ้าไหมมัดหมี่ที่แพงที่สุดในโลกฝีมือชาวอ. ชนบท และเคยชนะการประกวดผ้าไหมของเอเชีย พร้อมทั้งได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราช กุมารี
ศาลาไหมไทย เปิดให้นักท่องเที่ยวชมทุกวันพฤหัสบดี-วันอังคาร ปิดวันพุธ ในเวลาราชการ รายละเอียดติดต่อที่วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 40180 โทร. 0 4328 6218 www.salamaithai.com
การเดินทาง จากขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-โคราช) 44 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่สี่แยกบ้านไผ่เข้าทางหลวงหมายเลข 229 ไปอีก 11 กิโลเมตร ศาลาไหมไทยอยู่ทางซ้ายมือ (ตรงข้ามกับหนองกองแก้ว หนองน้ำงดงามของอำเภอชนบท)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

ตั้ง อยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง จัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่นอีสานเหนือ ในทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งเรื่องราวตามหัวข้อ ดังนี้
1.สภาพภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาอีสานเหนือ
1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์
-การตั้งถิ่นฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ พิธีกรรม การฝังศพ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ
-เมืองและชุมชนโบราณ
1.2 สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมรหรือลพบุรีและวัฒนธรรมไทยลาว
2. วิวัฒนาการศิลปะในประเทศไทย
3. เมืองขอนแก่น ประกอบด้วย ร่องรอยอดีต ประวัติชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้าน
โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ มี
-ใบเสมาหินจำหลักสมัยทวารวดี ชิ้นที่งามที่สุด คือ ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ พระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นภาพจำหลักที่ชัดเจนและสมบูรณ์กว่าแผ่นอื่น ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท เป็นภาพแสดงการถวายความเคารพบูชาอย่างสูง ได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระพุทธรูปสำริด ภาพปูนปั้นและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีได้จากการขุดแต่งเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แผ่นเงินดุน ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ภาพบุคคล และเจดีย์บรรจุอยู่ในหม้อดินเผา ได้จากการขุดค้นเมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
-โบราณวัตถุสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 เช่น
-เทวรูปพระอิศวรหินทราย พบที่บริเวณกู่น้อย เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
-เทวรูปพระนารายณ์สี่กร ขุดพบระหว่างการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน เมืองนครจำปาศรี ได้พบแต่องค์ ไม่พบเศียร พระโพธิสัตว์หินทราย ศิลปะลพบุรี หน่วยศิลปากรที่ 7 ขุดพบที่กู่สันตรัตน์ เมืองนครจำปาศรี ทับหลังหินจำหลัก จากโบราณสถานกู่สวนแตง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเป็นตัวอย่างฝีมือการจำหลักหินซึ่งเป็นชิ้น ส่วนสถาปัตยกรรมปราสาทหินสม้ยลพบุรี พิพิธภัณฑ์ฯนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ปิดวันจันทร์วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โทร. 0 4324 6170 www.thailandmuseum.com

บึงแก่นนคร

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น เป็นบึงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 603 ไร่ นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ "เจ้าเพียเมืองแพน" ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่นแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่นิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมนันทนาการของชาวเมืองเพราะมีบรรยากาศสบายๆ พื้นที่โดยรอบมีการปรับปรุงตกแต่งให้เป็นสวนสุขภาพ ประดับประดาด้วยประติมากรรมรูปต่างๆ ดูเพลินตาเพลินใจ ยิ่งไปกว่านั้นทางเทศบาลยังปลูกต้นคูณ และไม้ดัดไว้โดยรอบเพิ่มความร่มรื่นสวยงามให้กับสถานที่ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่นและร้านอาหารเปิดบริการหลายประเภทอีกด้วย


สิมอีสาน (วัดป่าแสงอรุณ)

ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์ สิมอีสาน ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ตลอดจนความวิจิตรงดงามของภาพเขียนฝาผนังลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป

วัดไชยศรี

ตั้งอยู่ที่บ้านสะวี ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2408 สิ่งที่น่าสนใจคือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ดูสวยงามแปลกตาฝีมือนายทอง ทิพย์ชา ช่างพื้นบ้านชาวมหาสารคาม ภาพจิตรกรรมที่วัดนี้จะเขียนทั้งภายในและภายนอกสิม(โบสถ์) สิ่งที่สะดุดตาอันดับแรกคือการใช้สี ช่างจะเขียนด้วยสีฝุ่นโทนสีคราม เหลือง ขาว มองสบายตา ลักษณะการเขียนภาพเน้นสัดส่วนที่เกินจริง อารมณ์ของภาพดูสนุกสนาน ตัวละครจะออกท่าทางโลดโผน เรื่องราวที่เขียนบนฝาผนังด้านนอกเป็นรูปนรกแปดขุม ภาพพระเวสสันดร นิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์สินไชย ภาพทวารบาล ส่วนด้านในจะเล่าเรื่องพุทธประวัติ มีภาพเทพ มนุษย์และสัตว์ต่างๆ แต่ปรกติวัดในต่างจังหวัดยังคงเคร่งตามประเพณีเดิม คือผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปภายในโบสถ์ได้ ซึ่งวัดไชยศรีก็เป็นวัดหนึ่งที่ยังรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ลักษณะทาง สถาปัตยกรรมของสิมโบราณ เดิมเป็นหลังคาแบบอีสานคือมีปีกยื่น ต่อมาหลังคาชำรุดชาวบ้านจึงร่วมกันปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ซึ่ง ไม่สามารถกันแดดกันฝนได้ทั่วถึงจึงทำให้ภาพจิตรกรรมที่ผนังด้านนอกเลือนไป บ้างแต่อย่างไรก็ดีกรมศิลปากรก็ได้เข้ามาต่อเติมปีกด้านข้างของโบสถ์แล้ว นอกจากนั้นยังยกพื้นขึ้นเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะฐานด้วย
การเดินทาง ไปตามถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-ชุมแพ ถึงกิโลเมตรที่ 14 แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมู่บ้านสาวะถี ผ่านบ้านม่วงรวมระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าจะไปโดยทางลาดยางตลอดต้องอ้อมเล็กน้อยผ่านบ้านม่วง บ้านโคกล่าม บ้านหนองตาไก้ บ้านม่วงโป้ บ้านโนนกู่และเข้าสู่บ้านสาวะถี

วัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร)

ตั้ง อยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานตากแห ภายในองค์พระธาตุมีอยู่ 9 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงกลางและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น โดยเฉพาะบานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติและมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น
ชั้นที่ 2 เป็นหอพัก บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัย ตามผนังด้านบนมีภาพเขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคะลำ หรือข้อห้ามต่าง ๆ ของชาวอีสาน
ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม
ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่าบานประตูหน้าต่างภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศและตัวพึ่ง-ตัวเสวย
ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร
ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้
ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น
ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นบึงแก่นนครได้สวยงามมาก
ทางวัดได้จัดให้มีมัคคุเทศน์น้อยนำชม อธิบายภาพเขียนต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งของที่จัดแสดงไว้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เริ่ม ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 บนพื้นที่ประมาณกว่า 5,000 ไร่ บริเวณ “มอดินแดง” เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2510 มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร มีทางเข้าสองทางคือ ด้านถนนมิตรภาพ (สายขอนแก่น-อุดรธานี) และด้านถนนประชาสโมสร (สายขอนแก่น-เลย) สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ “บึงสีฐาน” ซึ่งมีนกเป็ดน้ำอพยพมาอาศัยอยู่ในช่วงฤดูหนาว

โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น

โฮ ง คือหอเก็บสมบัติ โฮงมูนเมืองขอนแก่น คือ หอเก็บสมบัติที่เก็บรวบรวมเรื่องราวอันเป็นที่มาของเมืองขอนแก่น ตั้งอยู่บริเวณบึงแก่นนคร อ.เมือง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตและเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้น คว้าข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น โดยแบ่งออกเป็น 5 โซน คือ
โซนที่ 1 แนะนำเมืองขอนแก่น
โซนที่ 2 ประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่นและวัฒนธรรมชาวขอนแก่น
โซนที่ 3 การตั้งเมือง
โซนที่ 4 บ้านเมืองและวิถีชีวิตของชาวขอนแก่น
โซนที่ 5 ขอนแก่นวันนี้
ค่าเข้าชม เด็ก คนละ 10 บาท ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 90 บาท เปิดให้เข้าชมทุกว้น เวลา 12.00-20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0 4327 1173, 0 4322 4031 ต่อ 1603 ในวันและเวลาราชการ

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

ครอบ คลุมพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 320 ตารางกิโลเมตร หรือ 201,250 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ใบไม้จะเปลี่ยนสีผลัดใบในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานจะอยู่บริเวณภูพานคำริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบล รัตน์มีทิวทัศน์ที่สวยงามมากโดยเฉพาะเวลาพระอาทิตย์ตก ภายในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีสถานที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมได้ สิ่งที่น่าสนใจส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภูเก้าในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนในสมัยบ้านเชียง เช่น ภาพเขียนสีและภาพสลักตามผนังถ้ำต่างๆ และรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์เดียวกับรอยเท้าที่พบที่ อำเภอภูเวียง เป็นต้น

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์ จากนั้นใช้เส้นทางอุบลรัตน์-โนนสัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือขึ้นรถโดยสารประจำทางสายเขื่อนอุบลรัตน์-โนนสังที่ตลาด อำเภออุบลรัตน์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

เขื่อนอุบลรัตน์

เนื่องจากสร้างข้ามแม่น้ำพองโดยปิดกั้นลำน้ำพองตรงบริเวณช่องเขาที่เป็นแนว ต่อระหว่างเทือกเขาภูเก้าและภูพานคำ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดไปจนถึงเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ภายในบริเวณมีร้านอาหารเรือนพานคำ บ้านพัก สนามกอล์ฟ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เดินชมสวนพรรณไม้ในวรรณคดี สวนประติมากรรมไดโนเสาร์ วังมัจฉาและร้านอาหารตามสั่งภายในบริเวณเขื่อน เปิดทุกวัน เวลา 07.00-20.00 น. อีกด้วย นอกจากนี้ ที่ปลายสุดสันเขื่อนยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิริสัตตราช หรือ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ทำการเขื่อนอุบลรัตน์ โทร. 0 4344 6231, 0 4322 4129 ต่อ 2864 หรือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2436 6046-8
การเดินทาง ไปได้ตามทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์อีก 24 กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวเมือง 50 กิโลเมตร

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations